โปรแกรมบัญชีออนไลน์

ซอฟต์แวร์ erp ตัวช่วยจัดการธุรกิจเชื่อมต่อบน “แพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์”

การทำธุรกิจ E-commerce หรือร้านค้าออนไลน์มีการการเติบโตและพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ช่วยให้สามารถซื้อขายสินค้าต่างๆ ได้ตลอดเวลาแบบ 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะกลุ่มร้านค้าที่ได้มีการขายบนแพลตฟอร์มใหญ่ๆ เช่น Shopee Lazada และ Tiktok ที่จะมีลูกค้าสั่งของตลอดเวลา ทำให้ต้องมีการจัดการข้อมูลที่เป็นระบบชัดเจน ป้องกันความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดไม่ให้เกิดขึ้น แต่บางทีเราก็อาจจะตกหล่นไปบ้าง ทำให้เกิดผลตอบรับในแง่ลบจากผู้ซื้อได้ จะดีกว่าไหมถ้าเราหันมาใช้ตัวช่วยจัดการธุรกิจที่จะทำให้การจัดการธุรกิจของคุณง่ายกว่าที่เคยด้วย “ระบบซอฟต์แวร์ erp ”

ระบบซอฟต์แวร์ ERP คืออะไร 

ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning ซึ่งหมายถึง ซอฟต์แวร์ระบบการเงินที่จะช่วยจัดการวางแผนของการจัดการรูปแบบธุรกิจของคุณ เช่น การผลิต การขาย การสั่งซื้อ การบริการ การเงิน ฯลฯ รวมไปจนถึงกระบวนการต่างๆ ภายในองค์กรธุรกิจ โดยจะมีการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ภายใน Database หลัก และฝ่ายอื่นๆ ภายในองค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ ทำให้วางแผนการทำงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์จากการใช้งานระบบซอฟต์แวร์ ERP

การเลือกใช้ระบบ ERP ภายในองค์กรนั้นมีข้อดีมากมาย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • การเก็บข้อมูลการทำงานทั้งหมดจากแต่ละฝ่ายภายในองค์กรไว้ในระบบเดียวกัน (Database)
  • การแชร์ทรัพยากรภายใน Database ให้แต่ละฝ่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลและทำงานร่วมกันได้
  • ป้องกันการทำงานซ้ำซ้อน จากแต่ละหน่วยงาน ด้วยระบบอัพเดตข้อมูลแบบ Real-Time
  • ลดต้นทุนการใช้เครื่องมือช่วยเหลือที่มากเกินความจำเป็น
  • ช่วยให้มองเห็นถึงภาพรวมขององค์กรทั้งหมด ทำให้จัดการวางแผนได้ง่ายขึ้น

การเชื่อมต่อระบบซอฟต์แวร์ ERP กับร้านค้าออนไลน์

อย่างที่เรารู้ๆ กันว่าการทำร้านค้าออนไลน์ E-commerce ต้องมีการเก็บข้อมูลที่เยอะมากๆ และมีกระบวนการทำงานที่เรียกว่าซับซ้อนเลยก็ว่าได้ ทั้งข้อมูลสินค้า ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการสั่งของจาก Partner ข้อมูลคำสั่งซื้อ และอีกเยอะแยะมากมาย ทำให้ปัจจุบันมีการหันมาใช้ระบบ ERP ร่วมกับแพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์มากขึ้น ช่วยรองรับการทำงานแบบรอบด้านได้ดี เช่น เก็บข้อมูลสินค้า คำสั่งซื้อ และข้อมูลของลูกค้า ทำให้รูปแบบการทำงานโอกาสเกิดข้อมผิดพลาดน้อยลง และจัดการดูแลข้อมูลได้ง่าย เมื่อเทียบกับการทำแบบแยกแพลตฟอร์มที่อาจเกิดการพิมพ์คำสั่งซื้อซ้ำหรือข้อมูลคำสั่งซื้อตกหล่นได้ ทำให้เกิดผลลัพธ์เชิงลบตามมา

การเตรียมความพร้อมก่อนใช้ระบบซอฟต์แวร์ ERP

ก่อนที่จะเริ่มใช้ระบบ ERP กับแพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์ ควรเริ่มศึกษาข้อมูลก่อนว่าธุรกิจจะเข้ากับการทำงานของระบบ ERP ได้ไหม และถ้ามั่นใจแล้วว่าจะทำการใช้ระบบ ERP ก็ต้องมีการเริ่มเตรียมความพร้อมก่อนเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์ ดังนี้

  1. การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Database 
  2. จัดการวางแผนขั้นตอนการทำงาน
  3. ตรวจสอบปัญหาที่พบในขั้นตอนการทำงาน (ก่อนใช้ระบบ ERP)
  4. เลือกใช้ระบบ ERP ที่เหมาะสมและตอบโจทย์ที่สุด

เลือกใช้โปรแกรม Acccloud ERP เป็นตัวช่วยจัดการธุรกิจของคุณ

โปรแกรมบัญชี Acccloud ERP เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้ธุรกิจขสามารถจัดระเบียบการทำบัญชีได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดกลาง-ใหญ่ และมีคุณภาพเทียบเท่าโปรแกรม ERP ในเกรดราคาประหยัด เข้าถึงได้ง่าย แต่คุณภาพดีเยี่ยม พร้อมเชื่อมต่อระบบช่องทางการขายออนไลน์

โปรแกรมบัญชี Acccloud ERP เชื่อมต่อแพลตฟอร์มอะไรได้บ้าง

การเชื่อมต่อระบบ ERP กับแพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์ทำได้หลายช่องทาง และช่วยให้รูปแบบการทำงานสะดวก ง่ายขึ้น ไม่ยุ่งยาก แล้วมีแพลตฟอร์มไหนบ้างที่โปรแกรมบัญชี Acccloud ERP เชื่อมต่อได้บ้าง มาดูกัน

แพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์

ดึงข้อมูลยอดขายจาก ร้านค้าออนไลน์ และเชื่อมโยงอัตโนมัติ มายังโปรแกรมบัญชี AccCloud ERP ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูสถานะของคำสั่งซื้อบนแพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์ ได้ตลอดเวลาที่จะมีการเชื่อมโยงระบบ และสามารถ Update ข้อมูล Stock สินค้าย้อนกลับไปยังคลังได้เช่นเดียวกัน โดยไม่ต้องไปบันทึกข้อมูลซ้ำอีกรอบนึง ได้แก่

  • Lazada
  • Shopee 
  • Tiktok 
  • LINE MyShop

แพลตฟอร์มบริการขนส่งสินค้า

ระบบสามารถทำการเรียกรถขนส่ง โดยทางเราไปเชื่อม API กับ shippop.com ซึ่งสามารถเรียกรถขนส่งสินค้าจากระบบ AccCloud ได้ เช่น ไปรษณีย์ไทย, Flash, Kerry, DHL และ Lalamove 

ซอฟต์แวร์ ERP เป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถช่วยยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กรให้ดีขึ้นได้ องค์กรใดที่กำลังมองหาแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงาน ควรพิจารณาการนำซอฟต์แวร์ ERP เข้ามาช่วยงาน

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โปรแกรมบัญชี Acccloud ERP เพิ่มเติมได้ที่ https://acccloud.tech/ และสำหรับใครที่สนใจสามารถ ทดลองใช้โปรแกรม Acccloud ERP ได้ฟรี!! ก่อนตัดสินใจซื้อ >> คลิก

Freelance มืออาชีพ ต้องรู้! ความสำคัญของเอกสารทางธุรกิจที่ต้องออกเอง มีอะไรบ้าง?

อาชีพการทำงานมีหลากหลายงานและหลายรูปแบบการทำงาน บางทีก็ทำเป็นบริษัท บางที่ก็ทำเป็นหน่วยงานเล็กๆ แต่ที่มาแรงที่สุดทุกวันนี้คือการทำงาน Freelance ที่ให้อิสระที่ยืดหยุ่นได้มากกว่า การทำงานภายใต้บริษัทหรือองค์กร เพราะประสานงานกับลูกค้าได้โดยตรง ทำงานทีไหนเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ต้องมากังวลว่าจะต้อง WFH ไหม หรือทำงานวันหยุด เพราะ Freelance เป็นนายตัวเอง อยากทำงานเมื่อไหร่ก็ได้ หรืออยากหยุดวันไหนก็ได้ แต่เรื่องหนึ่งที่สำคัญมากๆ คือการทำเอกสาร เพราะ Freelance ต้องออกเอกสารเอง ทำบัญชีเอง และอื่นๆ ตามที่ขั้นตอนของการทำงานทั่วไปทั้งหมดด้วยตัวเอง แล้วเอกสารอะไรบ้างที่ Freelance มืออาชีพ ควรรู้ไว้ เรามีคำตอบ

เอกสารเรื่องธุรกิจที่  Freelance มืออาชีพต้องรู้ไว้

เอกสารธุรกิจเป็นเอกสารที่มีความสำคัญในการทำงานมาก เพราะมีความเกี่ยวข้องด้านการเงินด้วย และอีกทั้งยังทำให้การทำงาน Freelance ของเราเนี่ย ดูเป็นมืออาชีพมากๆ น่าเชื่อถือ และจัดระเบียบงานได้เป็นอย่างดี เพราะการทำงานร่วมกับองค์กรต่างๆ ควรทำงานให้เป็นทางการ และเอกสารธุรกิจเหล่านี้ยังช่วยชี้แจ้งให้ได้รับข้อมมูลที่ชัดเจนกันทั้ง 2 ฝ่ายด้วย ทำให้ “เอกสารธุรกิจ” เป็นเรื่องที่ชาว Freelance ควรรู้เพราะมีผลอย่างมากในการรับงานจากบริษัทหรือองค์กรต่างๆ

มีเอกสารอะไรบ้างที่ Freelance มืออาชีพต้องออกด้วยตัวเอง

ว่าด้วยเรื่องความสำคัญของเอกสารธุรกิจไปแล้ว มีเอกสารธุรกิจอะไรบ้างที่ Freelance ต้องออกด้วยตนเองเพื่อส่งให้กับลูกค้า องค์กร หรือบริษัท ที่เราได้รับงานมาบ้าง มาดูกัน

1. ใบเสนอราคา

อันดับแรก ใบเสนอราคาหรือ Quotation เป็นเอกสารที่ใช้สำหรับชี้แจงแผนการทำงานและราคา (Cost) ที่ลูกค้าต้องจ่าย เอกสารใบนี้จะหลังจากได้ผ่านการคุยงานกับลูกค้า สอบถามถึงความต้องการและขอบเขตงานต่างๆ เมื่อบรีฟข้อมูลงานกันเรียบร้อยแล้วก็จะมีการทำเอกสารตัวนี้ออกมาเพื่อส่งให้กับลูกค้าต่อไป

ข้อมูลภายในเอกสาร ใบเสนอราคา

  • รายละเอียดของงาน ตามความต้องการของลูกค้า
  • ราคาการทำงาน ที่กำหนด
  • เงื่อนไขการทำงาน เช่น แก้ไขข้อมูลได้กี่ครั้ง
  • การคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่นอกเหนือจากบริการ (ถ้ามี) 
  • ช่องทางการติดต่อ
  • เลขประจำตัวประชาชน

2. ใบแจ้งหนี้

ใบแจ้งหนี้หรือ Invoice เป็นเอกสารสำคัญเพราะใช้ในการเรียกเก็บเงินกับลูกค้าหลังจากเราได้ทำข้อตกลงการทำงาน อาจจะเป็นการเก็บเงินบางส่วนก่อนการเริ่มงาน การเรียกเก็บแบบแบ่งงวด หรือหลังการทำงานเสร็จสิ้นลงแล้ว

ข้อมูลภายในเอกสาร ใบแจ้งหนี้

  • รายละเอียดของงานจากใบเสนอราคา
  • ยอดที่ต้องลูกค้าาต้องจ่าย
  • ระยะเวลาในการชำระยอด
  • การคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่นอกเหนือจากบริการ (ถ้ามี) 
  • ช่องทางการติดต่อ
  • เลขที่บัญชีสำหรับการชำระเงิน

3. ใบเสร็จรับเงิน

แล้วตัวเอกสารของใบเสร็จรับเงินหรือ Receipt เนี่ย Freelance ต้องออกเองด้วยไหม หลายคนคงสงสัย และคำตอบก็คือ”ทำครับ” เอกสารใบเสร็จรับเงินจะใช้ออกหลังจากได้ส่งใบแจ้งหนี้ให้กับลูกค้า และได้รับยอดการชำระเงินจากลูกค้าแล้ว เพื่อใช้ยืนยันว่าได้รับยอดการชำระเงินจากลูกค้าแล้ว แต่สำหรับ Freelance นั้นไม่จำเป็นต้องมีใบกำกับภาษี ซึ่งจะต่างจากบริษัทหรือองค์กรที่ต้องมี

ข้อมูลภายในเอกสาร ใบเสร็จรับเงิน

  • รายละเอียดของงานจากใบเสนอราคา
  • จำนวนเงินที่ได้รับยอดการชำระเงิน
  • วันที่การรับเงิน
  • ช่องทางการรับชำระเงิน
  • ช่องทางการติดต่อ

เอกสารสำคัญที่ Freelance มืออาชีพต้องเก็บไว้ ห้ามลืมเด็ดขาด

การทำ Freelance ไม่เพียงแค่ต้องออกเอกสารเองเท่านั้น ยังต้องมีการเก็บเอกสารไว้อีกด้วย เอกสารที่เหล่า Freelance ต้องเก็บไว้นั้นก็คือ  “หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย” หรือเรียกอีกชื่อว่า “ใบทวิ 50” เป็นเอกสารที่ Freelance จะได้รับจากบริษัทหรือองค์กรที่ได้ร่วมงานกัน  เพราะต้องใช้ในการยื่นภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาในแต่ละปี และถ้าได้รับไม่ถึงเกณฑ์ก็สามารถติดต่อขอคืนได้เช่นกัน

เปลี่ยนการทำเอกสารให้กลายเป็นเรื่องง่ายๆ ด้วยโปรแกรมบัญชีออนไลน์ AccCloud 

สำหรับ Freelance หลายๆ คนอาจจะไม่ได้มีความรู้ด้านการทำเอกสารมากนัก หรือบางคนก็อาจจะไม่เคยทำเลย การหันมาใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ AccCloud การทำเอกสารจะง่ายขึ้นเพราะมีฟังค์ชั่นให้เลือกใช้หลากหลายและปรับให้เข้ากับไลฟ์สไตล์การทำงานของคุณได้

  • ปรับแบบฟอร์มเอกสารได้ตามความต้องการ
  • รองรับการออกเอกสารในนามบุคคล
  • รองรับพร้อมกับรูปแบบเอกสารสำหรับคนทำงาน Freelance เช่น
    •  ใบเสนอราคา
    •  ใบแจ้งหนี้
    •  ใบเสร็จรับเงิน
  • ระบบการแจ้งเตือนข้อมูล
  • รองรับการเก็บข้อมูลบนระบบ Cloud ป้องกันข้อมูลศูนย์หาย
  • รองรับการ Export ไฟล์เป็น .pdf และส่งผ่าน E-mail

ถ้าคุณรู้สึกสนใจโปรแกรมบัญชี Accloud ยังสามารถ ทดลองเข้าใช้งานโปรแกรม ก่อนได้ เพื่อดูว่าระบบการทำงานแบบไหน แบบฟอร์มเป็นยังไง ตรงกับความต้องการของเราหรือไม่ และสำหรับใครที่อยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถเข้าดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ acccloud.tech หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ติดต่อเรา

แนวโน้มการใช้งานโปรแกรมบัญชี ERP ในอนาคต

ในยุคที่เทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงในสภาวะการเงิน เข้ามามีบทบาทสำคัญในการบริหารธุรกิจ การใช้งานโปรแกรมบัญชีเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่สำคัญสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและกลาง (SMEs) และธุรกิจขนาดใหญ่ตามท้องถิ่น โดยที่การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบัญชีช่วยให้การจัดการทางการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องยิ่งขึ้น

การใช้งานโปรแกรมบัญชี ERP

โปรแกรมบัญชี ERP (Enterprise Resource Planning) คือระบบซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยในการบริหารจัดการทั้งหมดของธุรกิจ ไม่เพียงแค่ด้านการเงินและบัญชีเท่านั้น แต่รวมถึงด้านอื่น ๆ ทั้งการผลิต การจัดซื้อ การขาย การจัดการคลังสินค้า การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และกระบวนการทางธุรกิจอื่น ๆ อีกมากมาย

ระบบ ERP ช่วยในการผสานการทำงานของระบบต่าง ๆ ในองค์กร เพื่อให้ข้อมูลและกระบวนการทำงานสามารถประสานกันได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยประสิทธิภาพในการใช้งาน ERP มาจากการใช้ข้อมูลที่เหมือนกันในระบบเดียวกัน ช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมีข้อมูลที่ถูกต้องและมีความเชื่อถือได้นั่นเอง

ฟังก์ชันหลัก ๆ ของโปรแกรมบัญชี ERP

  • การบริหารงานการเงินและบัญชี: ช่วยในการบันทึกรายรับรายจ่าย, การจัดการสมุดบัญชี, การสร้างงบการเงิน, การคำนวณภาษี, และรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง
  • การจัดการคลังสินค้า: ช่วยในการติดตามสินค้าในคลัง, การจัดการออร์เดอร์, การจัดส่งสินค้า และการจัดการระบบคลังสินค้าเพื่อให้สามารถรับ-ส่งสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การจัดการโครงการ: ช่วยในการวางแผนและติดตามการดำเนินงานของโครงการ รวมถึงการจัดการทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการนั้น
  • การจัดการการผลิต: ช่วยในการวางแผนการผลิต, การติดตามกระบวนการผลิต, การจัดการการสั่งซื้อวัตถุดิบ, การวางแผนการใช้วัตถุดิบ และการจัดการสินค้าสำเร็จรูป
  • การบริหารทรัพยากรมนุษย์: ช่วยในการบันทึกข้อมูลพนักงาน, การจัดการเวลาทำงาน, การคำนวณเงินเดือน, การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ และการจัดการกับข้อมูลความรู้ของพนักงาน

แนวโน้มการใช้งานโปรแกรมบัญชี ERP ในอนาคต

แนวโน้มการใช้งานโปรแกรมบัญชี ERP ในอนาคต ิยังคงมีความสำคัญและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีคุณสมบัติและประโยชน์ที่ส่งผลให้ธุรกิจนั้น ๆ มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทั้งภายในและภายนอก ดังนี้

1. การบริหารจัดการทั้งหมด

โปรแกรมบัญชี ERP จะเป็นศูนย์กลางที่รวมการบริหารจัดการทั้งหมดของธุรกิจ เช่น การเงิน การผลิต การขาย คลังสินค้า ทรัพยากรมนุษย์ และกระบวนการทางธุรกิจอื่น ๆ ที่ส่งผลให้การเชื่อมโยงข้อมูลและกระบวนการทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

2. ความสามารถในการปรับแต่ง

โปรแกรมบัญชี ERP ในอนาคต จะมีความสามารถในการปรับแต่งให้เหมาะสมกับธุรกิจและองค์กรแต่ละแห่งมากยิ่งขึ้น ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถกำหนดกระบวนการทำงานและรายละเอียดที่เป็นพิเศษให้เหมาะสมกับความต้องการของตน

3. การใช้เทคโนโลยีเชิงนวัตกรรม

การพัฒนาทางเทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างระบบคลาวด์ (Cloud) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระบบเข้ารหัส (Encryption) และการวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) จะทำให้โปรแกรมบัญชี ERP มีความสามารถในการให้ข้อมูลที่มีคุณค่าและประสิทธิภาพสูงขึ้น

4. ความเชื่อมโยงกับอุปกรณ์ IoT

อุปกรณ์ IoT (Internet of Things) ที่เชื่อมต่อกับโปรแกรมบัญชี ERP สามารถให้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการผลิต คลังสินค้า การขาย และกระบวนการธุรกิจอื่น ๆ ที่สามารถนำมาวิเคราะห์และใช้ในการตัดสินใจได้

5. ระบบการชำระเงินและการเงินดิจิทัล

โปรแกรมบัญชี ERP ในอนาคตอาจมีการรวมระบบการชำระเงินและการเงินดิจิทัลเข้ากับระบบ ช่วยในการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์และการจัดการการเงินให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

6. การปรับใช้ตามกฎหมายและข้อกำหนด

โปรแกรมบัญชี ERP จะต้องสามารถปรับใช้เพื่อตรงกับข้อกำหนดทางกฎหมายและข้อกำหนดทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงได้ เช่น การปฏิบัติตามข้อกำหนดภาษี การบัญชีที่ตรงตาม GAAP และอื่น ๆ

7. การทำงานร่วมกับอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง

ส่วนใหญ่แล้ว, การทำงานร่วมกับเครือข่ายแห่งสรรพสิ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถแบ่งปันข้อมูลกับคู่ค้า ผู้จัดการ ลูกค้า และอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ การใช้งานโปรแกรมบัญชี ERP ในอนาคตจะเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการที่ทั้งอยู่ในองค์กรและเชื่อมโยงกับโลกภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นขึ้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจ โดยที่ยังคงให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกับแผนกและกระบวนการทางธุรกิจที่แตกต่างกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดที่สุด

ประโยชน์ของโปรแกรมบัญชีในธุรกิจขนาดเล็กและกลาง

ธุรกิจขนาดเล็กและกลาง (Small and Medium-sized Enterprises หรือ SMEs) คือธุรกิจที่มีขนาดไม่ใหญ่มากและไม่ใช่บริษัทใหญ่หรือองค์กรขนาดใหญ่ ธุรกิจประเภทนี้มักมีลักษณะต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับประเทศและส่วนกฎหมาย ซึ่งอาจจะกำหนดความเป็น SMEs ตามผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ธุรกิจ จำนวนพนักงาน รายได้ประจำปี หรือตัวชี้วัดอื่น ๆ ตามท้องถิ่น

ธุรกิจขนาดเล็กและกลาง หมายถึงอะไร

ธุรกิจขนาดเล็กและกลาง (SMEs) หมายถึงกลุ่มของธุรกิจที่มีขนาดเล็กถึงกลางตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ธุรกิจในกลุ่มนี้มักมีลักษณะการดำเนินงานที่เป็นตัวของเจ้าของธุรกิจ มีจำนวนพนักงานน้อยกว่าบริษัทใหญ่ และมักมีทางเลือกในการจัดการและตัดสินใจที่รวดเร็วมากขึ้น โดยทั่วไปแล้ว มีการกำหนดข้อกำหนดเพื่อจำแนกธุรกิจขนาดเล็กและกลางตามตัวชี้วัดต่าง ๆ เช่น จำนวนพนักงาน, ยอดขายประจำปี, สินทรัพย์รวม, และอื่น ๆ ซึ่งข้อกำหนดเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศหรือเขตภูมิภาค ยิ่งไปกว่านั้น การจำแนก SMEs อาจยังคำนึงถึงลักษณะด้านการดำเนินธุรกิจ เช่น ธุรกิจตามกลุ่มอุตสาหกรรม หรือลักษณะพิเศษอื่น ๆ ที่กำหนดโดยหน่วยงานหรือกฎหมายในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งธุรกิจขนาดเล็กและกลาง มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจของประเทศ มีบทบาทในการสร้างงานและรายได้ ส่งเสริมนวัตกรรมและความสร้างสรรค์ และมีส่วนในการกระจายความเจริญรุ่งเรืองในระดับพื้นที่นานาชาติอีกด้วย

ประโยชน์ของโปรแกรมบัญชีใน SMEs

  • ความแม่นยำและความถูกต้องในการบันทึกข้อมูล: โปรแกรมบัญชีช่วยในการบันทึกข้อมูลการเงินอย่างถูกต้องและมีความแม่นยำ ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากข้อผิดพลาดในกระบวนการบัญชีและการเงิน
  • รายงานทางการเงิน: โปรแกรมบัญชีช่วยในการสร้างรายงานการเงินที่สำคัญ เช่น งบการเงิน, งบทดลอง, รายงานภาษี เพื่อให้ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจและวางแผนธุรกิจ รวมถึงวิเคราะห์และปรับแผนการเงินเพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน
  • การประหยัดเวลาและทรัพยากร: ช่วยลดความซับซ้อนในกระบวนการบัญชีและการเงิน ช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรที่จะเสียไปในกระบวนการดำเนินธุรกิจ
  • การปฏิบัติตามกฎหมายและภาษี: โปรแกรมบัญชีช่วยในการคำนวณภาษีและการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีและการเงิน ช่วยในการป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
  • การวิเคราะห์ผลกระทบของการตัดสินใจทางการเงิน: โปรแกรมบัญชีช่วยในการวิเคราะห์ผลกระทบของการตัดสินใจต่าง ๆ ทางการเงินต่อธุรกิจ ช่วยให้ SMEs สามารถวางแผนเติบโตและการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การบริหารจัดการธุรกิจ: ช่วยในการวิเคราะห์สถานะการเงินของธุรกิจ ช่วยให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการและเติบโตในอนาคตได้

ดังนั้น โปรแกรมบัญชีในธุรกิจขนาดเล็กและกลาง หรือ SMEs เป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจในหลายประเทศ เนื่องจากมีบทบาทที่สำคัญในการสร้างงานและสร้างรายได้ รวมถึงเป็นแหล่งสร้างนวัตกรรมและความสร้างสรรค์ในสังคมธุรกิจ. การใช้เทคโนโลยีและการบริหารแบบเป็นระบบจะช่วยให้ SMEs สามารถเติบโตและเหนือกว่าคู่แข่งในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โปรแกรมบัญชี ERP กับ โปรแกรมบัญชี ต่างกันตรงไหน

องค์กรธุรกิจต่างๆ เริ่มหันมาใช้โปรแกรมบัญชีกันมากขึ้น เพราะเป็นโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ธุรกิจติดตามและจัดการธุรกรรมทางการเงินได้ง่ายและเลี่ยงโอกาสเกิดของข้อผิดพลาดได้ดี ปกติแล้วโปรแกรมบัญชีทั่วไปจะมีคุณสมบัติสำหรับการบันทึกรายงาน เช่น ใบแจ้งหนี้ ค่าใช้จ่าย และการชำระเงิน และจัดการสินค้าคงคลัง นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่อเตรียมยื่นเอกสารการคืนภาษีและจัดการบัญชีเงินเดือนได้ ซึ่งมีรูปแบบโปรแกรมบัญชีต่างๆ ให้เลือกมากมาย ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ แล้วถ้าเราอยากรู้ว่าโปรแกรมบัญชีไหนที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจหรือองค์กรของเรา้องคำนึงถึงอะไรบ้าง หาคำตอบได้ที่นี่

ความแตกต่างของโปรแกรมบัญชี  ERP และ โปรแกรมบัญชีทั่วไป

โปรแกรมบัญชีทั้งสองตัว  เป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับธุรกิจ แต่มีวัตถุประสงค์และความสามารถที่แตกต่างกันออกไปค่อนข้างมาก หวังว่าหลังจากที่ได้อ่านบทความทุกคนจะสามารถเข้าใจถึความแตกต่างของทั้ง 2 ตัวได้มากขึ้น 

โปรแกรมบัญชี ERP คือ

เป็นระบบที่ครอบคลุมมากขึ้นซึ่งรวมทุกด้านของการดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจ ซึ่งรวมถึงการบัญชี การจัดการสินค้าคงคลัง การผลิต การขาย และการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) โดยทั่วไประบบบัญชี ERP จะใช้โดยธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องจัดการการดำเนินงานที่ซับซ้อน

ข้อดีของโปรแกรมบัญชี ERP

  1. การเข้าถึงและใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา: โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ERP สามารถเข้าถึงและใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้เหมาะสำหรับการทำงานร่วมกันระหว่างทีมที่ต้องการการเข้าถึงข้อมูลและการทำงานร่วมกันอย่างรวดเร็ว

  2. การอัพเดตและการบำรุงรักษาโปรแกรมอัตโนมัติ: โปรแกรมบัญชีออนไลน์มักมีการอัพเดตและการบำรุงรักษาโปรแกรมโดยอัตโนมัติ ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการดูแลรักษาระบบเอง

  3. ความสะดวกสบายในการแชร์ข้อมูล: ช่วยให้ทีมงานสามารถแชร์ข้อมูลและทำงานร่วมกันได้สะดวกและรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องส่งไฟล์ไปมาผ่านทางอีเมลให้ยุ่งยาก

  4. ค่าใช้จ่ายไม่สูง: เพราะโปรแกรมบัญชีออนไลน์มีการเรียกเก็บค่าบริการในรูปแบบเป็นรายเดือนหรือรายปี ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมากและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของธุรกิจ

โปรแกรมบัญชีทั่วไป คือ

เป็นระบบพิเศษที่เน้นงานบัญชี เช่น การรายงานทางการเงิน บัญชีเจ้าหนี้และลูกหนี้ และการกระทบยอดธนาคาร โดยทั่วไปแล้วซอฟต์แวร์บัญชีจะใช้โดยธุรกิจขนาดเล็กหรือแผนกภายในธุรกิจขนาดใหญ่นั่นเอง

ข้อดีของโปรแกรมบัญชีทั่วไป

  1. การทำงานแบบออฟไลน์ได้: โปรแกรมบัญชีทั่วไปสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งมีประโยชน์ในกรณีที่ไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้หรือในสถานที่ที่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่คงที่

  2. ความปลอดภัยของข้อมูล: โปรแกรมบัญชีแบบออฟไลน์ เป็นการทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นของตัวเอง ซึ่งสามารถควบคุมระดับความปลอดภัยของข้อมูลได้มากกว่าในระบบออนไลน์

  3. ความเป็นส่วนตัว: โปรแกรมบัญชีออฟไลน์ไม่ต้องมีการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ภายนอก ทำให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเป็นส่วนตัวมากขึ้น

  4. ความยืดหยุ่นในการปรับแต่ง: สำหรับโปรแกรมบัญชีออฟไลน์างตัวอาจมีความยืดหยุ่นในการปรับแต่งฟีเจอร์ตามความต้องการของผู้ใช้เพิ่มเติมได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอการอัปเดต

วิธีเช็คว่าองค์กรควรเลือกใช้โปรแกรมบัญชี ERP หรือโปรแกรมบัญชี?

อย่างที่เราเคยบอกไปก่อนหน้านี้ ว่าถ้าจะต้องเลือกระหว่างบัญชี ERP กับโปรแกรมบัญชี สิ่งที่เราต้องเช็คเลยก็คือเรื่องของความต้องการขององค์กรนั่นเอง ปัจจัยในการเลือกก็มีไม่มาก ตามข้างล่างนี้เลย 

 

1.พิจารณาจากขนาดขององค์กร เป็นหลัก

โดยทั่วไปแล้วระบบบัญชี ERP มีราคาแพงและซับซ้อนกว่าโปรแกรมบัญชี  ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการดำเนินงานทางการเงินที่ซับซ้อนกว่ามาก โปรแกรมบัญชี เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับองค์กรขนาดเล็กหรือกลาง ที่ไม่มีความซับซ้อนมาก หรือแผนกภายในองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการจัดการงานบัญชีเท่านั้น

 

2.ขอบเขตความต้องการ

โดยทั่วไปแล้วระบบบัญชี ERP จะรวมทุกด้านของการดำเนินการทางการเงินของธุรกิจ รวมถึงการบัญชี การจัดการสินค้าคงคลัง การผลิต การขาย และการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ซอฟต์แวร์บัญชีมักมุ่งเน้นไปที่งานบัญชี เช่น การรายงานทางการเงิน บัญชีเจ้าหนี้และลูกหนี้ และยอดในธนาคาร ถ้าองค์กรของเราไม่จำเป็นต้องใช้ระบบการคลัง แนะนำให้เลือกเป็นโปรแกรมบัญชีจะดีกว่า 

 

3.การผสานรวมกับระบบอื่นๆ

โดยทั่วไปแล้วระบบบัญชี ERP ได้รับการออกแบบให้ผสานรวมกับระบบธุรกิจอื่นๆ เช่น CRM และการจัดการสินค้าคงคลัง สิ่งนี้สามารถช่วยให้ธุรกิจมีความคล่องตัวในการดำเนินงานและปรับปรุงประสิทธิภาพ ซึ่งในส่วนนี้โปรแกรมบัญชี จะซอฟแวร์ที่ใช้รองรับในส่วนนี้

 

4.ค่าใช้จ่าย

โดยทั่วไปแล้วระบบบัญชี ERP จะมีราคาแพงกว่า ค่าใช้จ่ายของระบบบัญชี ERP จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร คุณสมบัติที่มีอยู่ในระบบ และระดับของการปรับแต่งที่จำเป็น หรือต่อให้ระบบจะไม่ได้มีการปรับแต่งเพิ่มเติมก็มีราคาที่แพงกว่าอยู่ดี

 

5.ความซับซ้อน

โดยทั่วไปแล้วระบบบัญชี ERP มีความซับซ้อนในการติดตั้งและใช้งานมากกว่า โปรแกรมบัญชี  เนื่องจากระบบบัญชี ERP ผสานรวมกระบวนการทางธุรกิจที่หลากหลายและต้องการการปรับแต่งในระดับสูง โดยทั่วไปแล้วทำให้โปรแกรมบัญชีจะมีความซับซ้อนน้อยกว่า ใช้ระยะเวลาในการตั้งค่าปรับใช้งานไม่นาน

สุดท้ายแล้ว ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับองค์กรจะขึ้นอยู่กับความต้องการและข้อกำหนดเฉพาะขององค์กร หากองค์กรต้องการระบบที่ครอบคลุมเพื่อจัดการทุกด้านของการดำเนินงานทางการเงิน การบัญชี ERP เป็นตัวเลือกที่ดี หากองค์กรต้องการเพียงระบบเพื่อจัดการงานด้านบัญชี ซอฟต์แวร์บัญชีก็เป็นตัวเลือกที่ดีกว่า

โปรแกรมบัญชี AccCloud เป็นโปรแกรมที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ครบถ้วน เป็นโปรแกรมระดับ ERP แต่ราคาระดับโปรแกรมบัญชีทั่วไป เหมาะกับองค์กรขนาดกลาง-ใหญ่ และแบบฟอร์มเอกสารสำหรับยื่นสรรพากรที่เพรียบพร้อม เลือกเข้าชมบริการเพิ่มเติมได้ที่ โปรแกรมบัญชี AccCloud

การทำบัญชีชุดเดียวคืออะไร มีข้อดียังไงบ้าง­­

ธุรกิจและการทำบัญชีนับว่าเป็นของคู่กันที่ขาดกันไม่ได้ เมื่อเราเริ่มต้นบริษัทหรือองค์กรอะไรสักอย่างขึ้นมา เราก็จะต้องมีเงินทุนตั้งต้น เงินในการดำเนินงาน และมีค่าใช้จ่ายอีกมากมายหลายอย่าง ซึ่งกว่าที่เราจะบรรลุเป้าหมายของธุรกิจของเราได้นั้น หากไม่มีการบริหารจัดการทางการเงินที่ดีพอก็อาจจะทำให้เกิดผลเสียขึ้น ยอดเงินที่ลงทุนลงแรงไปก็อาจจะเสียเปล่า ขาดทุน ไม่มีผลกำไรกลับคืนมา วิธีป้องกันปัญหาก็คือการทำบัญชี ซึ่งจะช่วยให้เราเห็นถึงข้อมูลตัวเลขและความเป็นไปในธุรกิจได้อย่างชัดเจน ยิ่งถ้าต้องการดูผลลัพธ์ของธุรกิจแบบสรุปทุกข้อมูลเอาไว้ เราก็ควรจัดเก็บข้อมูลแบบบัญชีชุดเดียว


มารู้จักกับบัญชีชุดเดียว


บัญชีชุดเดียว คือ การจัดทำบัญชีโดยรวบรวมข้อมูลการทำบัญชีต่างๆ เช่น ข้อมูลรายรับ รายจ่าย และเอกสารทางการเงิน มารวมเข้าไว้ในบัญชีเดียว มีการจัดลงข้อมูลเอกสารการลงบัญชีอย่างชัดเจน ไม่มีการหลบเลี่ยงหรือแยกบัญชีเพื่อหนีภาษี ข้อมูลบัญชีชุดเดียวจะมีความครบถ้วน สมบูรณ์ สามารถนำไปยื่นเสียภาษีอากรได้ถูกต้องตามกฎหมาย


ข้อดีของบัญชีชุดเดียว


1. ตรวจสอบบัญชีง่าย สามารถเช็คข้อมูลกำไร-ขาดทุนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว


เป้าหมายหลักของการทำบัญชี คือ การเก็บข้อมูลการเงินเพื่อให้บริหารจัดการงานด้านการเงินของบริษัทได้อย่างเหมาะสม ซึ่งบัญชีจะมีการลงข้อมูลค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งรายรับ รายจ่าย ต้นทุน ผลกำไร ยอดขาย ผลลัพธ์ของการลทุน พร้อมสรุปผลให้เห็นเป็นตัวเลขอย่างชัดเจน เมื่อเรารู้ข้อมูลเหล่านี้อย่างละเอียดก็จะบริหารงานได้ง่าย สามารถเช็คข้อมูลความถูกต้องของบัญชีได้ตลอดเวลา


2. ช่วยให้ประเมินผล และวางแผนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การทำบัญชีนั้นจะช่วยให้เราเห็นผลชัดเจนว่าธุรกิจของเรามีผลกำไรมาน้อยเพียงใด แผนการดำเนินงานของบริษัทหรือองค์กรควรจะปรับเปลี่ยนไปในทิศทางไหนบ้าง เมื่อเรารู้ตัวเลขต้นทุน ค่าใช้จ่าย เราก็จะรู้ว่าควรมีการปรับแผนให้เหมาะสมมากขึ้นอย่างไรบ้าง ซึ่งจะช่วยให้การทำงานของบริษัทมีประสิทธิภาพมากขึ้น


3. สร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัท สามารถกู้สินเชื่อได้ตามจริง


บริษัทหรือองค์กรที่มีการทำบัญชีชุดเดียวจะมีความน่าเชื่อถือกว่าการทำบัญชีทั่วไป เพราะบัญชีเดียวมีข้อมูลรายละเอียดครบถ้วน เมื่อต้องการยื่นกู้สินเชื่อก็มีความน่าเชื่อถือ จึงมีโอกาสมากที่ธนาคารจะอนุมัติการกู้ให้กับเรา ต่างจากบัญชีที่มีการตกแต่งบัญชีอย่างผิดปกติ บัญชีเหล่านี้ที่สุ่มเสี่ยงต่อการโดนตรวจสอบและอาจติดแบล็คลิสต์จากธนาคาร


4. วางแผนภาษีได้ง่าย คิดภาษีธุรกิจโดยตรงได้แบบไม่เกิดปัญหา


บัญชีชุดเดียวเป็นการรวบรวมข้อมูลของการทำบัญชีของบริษัททั้งหมดไว้ในที่เดียว เมื่อเราจำเป็นจะต้องคำนวณค่าใช้จ่ายของภาษีก็สามารถนำข้อมูลตรงนี้ไปคิดได้ทันที ไม่ต้องปวดหัวกับการรวมตัวเลขที่ซับซ้อนอีกต่อไป ช่วยให้สามารถจัดการกับภาษี ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจ และวางแผนค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว


5. ไม่ถูกตรวจสอบบัญชีย้อนหลัง


เมื่อคุณจัดทำบัญชีชุดเดียวแล้ว ข้อมูลทางบัญชีนั้นถือเป็นข้อมูลที่มีความละเอียด ครบถ้วน และชัดเจน สามารถตรวจสอบได้ง่าย จ่ายภาษีได้อย่างถูกต้อง ไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย ภาครัฐจึงมีมาตรการยกเว้นการตรวจสอบบัญชีย้อนหลังให้แก่บริษัทหรือองค์กรที่มีการจัดทำบัญชีชุดเดียว คุณจึงไม่ต้องกังวลกับปัญหาภาษีย้อนหลังเลย
การทำบัญชีชุดเดียวถือเป็นวิธีการหนึ่งที่ทุกธุรกิจควรนำไปปรับใช้ เพราะช่วยให้ธุรกิจและองค์กรของคุณสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจได้ง่ายขึ้น สามารถคำนวณเงินต้นทุน เงินลงทุน ยอดผลกำไร ขาดทุน ยอดโบนัส ผลประกอบการต่างๆ รวมถึงบริหารข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีได้อย่างเป็นระบบ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความซ้ำซ้อนจากงานต่างๆ เพิ่มโอกาสให้ธุรกิจก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว

การทำบัญชีชุดเดียว

3 คุณสมบัติสำคัญที่จำเป็นต่อโปรแกรมบัญชีในยุคดิจิทัล

โปรแกรมบัญชี หรือ ระบบซอฟต์แวร์ที่เก็บข้อมูลหรือค้นหาแบบข้อมูลที่สำคัญแบบเรียลไทม์ ที่หลายองค์กรมักนำมาใช้ในปัจจุบัน และข้อดีอื่นๆของโปรแกรมบัญชีก็คือ ช่วยลดขยะที่เป็ฯข้อมูลสำคัญในองค์กร ลดการผิดพลาดในการทำงาน รวมไปถึงสามารถตรวจอบข้อมูลย้อนหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังตอบโจทย์ทั้งธุรกิจขนาดเล็ฏ ขนาดกลาง ไปจนถึงขนาดใหญ่ และในปัจจุบันที่เป็นยุคดิจิทัล หลายๆองค์กรก็มองหาโปรแกรมบัญชี แต่ก่อนที่เราจะขยับขยายในด้านเทคโนโลยี เราจึงจำเป็นต้องมี 3 คุณสมบัติสำคัญ ที่จำเป็นต่อโปรแกรมบัญชีในยุคดิจิทัล ไปดูกันว่าจะมีอะไรบ้าง

1.องค์กรและบุคลากรมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง

ยุคดิจิทัลหรือยุคออนไลน์ แน่นอนอยู่แล้ว่าองค์กรของคุณ จะต้องมีการใช้การเก็บข้อมูลแบบเก่ามาสักระยะหนึ่ง เพราะฉะนั้นการปรับตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นคุณสมบัติข้อที่สำคัญมาก เพราะหากไม่มีความพร้อม โปรแกรมบัญชีก็เป็นเพียงซอฟแวร์ที่เพิ่มความยุ่งยากให้กับคุณเท่านั้น โปรแกรมบัญชีในยุคดิจิทัล เป็นแบบระบบเป็นออนไลน์ เพือให้เหมาะกับการใช้งานในุคดิจิทัล เพื่อเข้ามาช่วยธุรกิจขององค์กรนั้นๆ และยังสามารถทำงานได้ตลอดเวลา เพียงมีอินเตอร์เน็ต ก็สามรถทำงานได้จากทุกทาง ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือหรือแล็ปท็อป ผู้บริหารหรือบุคลากรผู้มีความเกี่ยวข้อง สามารถดูข้อมูลได้อย่างเรียลไทม์ และทำงานได้อย่างทันถ่วงที เพราะฉะนั้นการมีความพร้อมจึงจำเป็นอย่างมากจริงๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงเช้าสู่ยุคดิจิทัลที่แท้จริง

2.พร้อมรับกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในการใช้โปรแกรมบัญชี

เรื่องนี้ก็เป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างมากในองค์กรเช่นกัน และจะเชื่อมโยงไปถึงขนาดขององค์กรที่ต้องใช้โปรแกรมบัญชี เพราะในบางครั้งบริษัทนาดเล็กที่ยังไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่าย ต่อการนำโปรแกรมบัญชีมาใช้ ก็ควรจะมีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน แต่หากองค์กรขนาดเล็กแต่มีงบประมาณ ก็สามารถพิจารณาการใช้โปรแกรมบัญชีได้เช่นกัน โปรแกรมบัญชีออนไลน์ในยุคดิจิทัล จะมีค่าบริการแรกเข้า ค่าบริการรายเดือนในการดูแล ทั้งนี้ราคาหรือส่วนลด ก็ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการที่คุณเลือกใช้โปรแกรมบัญชี เพราะฉะนั้นแล้วการวางแผนงบประมาณที่จะต้องใช้สำหรับการใช้โปรแกรมบัญชี จึงเป็นคุณสมบัติที่สำคัญเช่นกัน

3.เตรียมข้อมูลสำคัญแผนกบัญชีขององค์กรให้พร้อม

ข้อสุดท้ายของคุณสมบัติสำคัญที่จำเป็นต่อการใช้โปรแกรมบัญชีในยุคดิจิทัล ข้อนี้มีความสำคัญอย่างมากเช่กัน ข้อมูลที่สำคัญด้านบัญชีในองค์กร เป็นสิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลสินค้า ข้อมูลรายรับ-รายจ่าย , ข้อมูลลูกหนี้-เจ้าหนี้ , ข้อมูลคู่ค้า , ข้อมูลกำไร , ข้อมูลสถิติ และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวกับด้านบัญชีที่องค์กรคุณมี ข้อมูลเหล่านี้คุณควรจะต้องตรวจสอบให้ถี่ถ้วนและครบถ้วน เพราะจะเป็นข้อมูลสำคัญที่ต้องอัปโหลดเข้าไปยังโปรแกรมบัญชีออนไลน์ จึงจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบให้ดีง่าไม่มีอะไรตกหล่นหรือผิดพลาด หากข้อมูลมีความพร้อม จะทำให้การใช้งานโปรแกรมบัญชีง่ายขึ้นอย่างมาก

การใช้โปรแกรมบัญชีในยุคดิจิทัล เป็นการลดขั้นตอนของการดำเนินงานในเรื่องต่างๆ ประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น อีกทั้งยังช่วยลดขยะอีกด้วย องค์กรของคุณจะได้รับข้อมูลของตัวเลขที่ถูกต้อง สรุปค่าใช้ กำไรสุทธิได้อย่างแม่นยำ ทำให้คุณได้ห็นภาพรวมขององค์กร อีกทั้งเรื่องภาษีที่คุณมองว่ายุ่งยาก ก็จะเป็นเรื่องง่ายเมื่อคุณเลือกใช้โปรแกรมบัญชี 3 คุณสมบัติง่ายๆแต่จำเป็นที่คุณต้องมี จะทำให้องค์กรของคุณเติบโตและพัฒนาไปข้างหน้าพร้อมๆกับยุคดิจิทัล หากคุณกำลังมองหาโปรแกรมบัญชี ที่ดีที่สุดในยุคนี้ สามารถปรึกษา acccloud.tech ได้ทุกเมื่อ

3 คุณสมบัติสำคัญที่จำเป็นต่อโปรแกรมบัญชีในยุคดิจิทัล

6 ปัจจัยในการเลือกซื้อโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป

การเลือกซื้อโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป ก็เหมือนการเลือกผู้ที่จะเข้ามาดูแลธุรกิจของคุณ เพราะข้อมูลทุกอย่างจะอยู่กับเค้าทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลยอดขาย เทียบสถิติกำไรแต่ละปี เปรียบเทียบยอดขายสินค้าแต่ละตัว ค่าใช้จ่ายต่างๆภายในบริษัทหรือองค์กร หรือแม้กระทั่งไตรมาสนี้บริษัทได้กำไรหรือขาดทุน โปรแกรมบัญชีจะเป็นผู้ให้ข้อมูลนี้ทั้งหมดกับคุณ เพราะฉะนั้นมันจึงจำเป็นอย่างมาก ที่เราจะเลือกโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป ที่มีความปลอดภัย เข้าใจง่าย ระบบมีความเสถียรภาพ และยังมีปัจจัยอื่นๆในการเลือกซื้ออีก ไปดูกันว่ามีปัจจัยด้านใดอีกบ้าง

1.บริษัทมีขนาดที่ต้องใช้โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป

เราขอขยายความของหัวข้อที่ว่า บริษัทมีขนาดที่ต้องใช้โปรแกรมบัญชี นั่นหมายถึงว่าคุณต้องเอาขนาดของบริษัทมาพิจารณาว่าจำเป็นจะต้องใช้มากน้อยเพียง หากเราเป็นบริษัทหรือองค์ขนาดเล็ก ที่สามารถเดินส่งเอกสารได้อย่างสะดวก โปรแกรมบัญชีก็ยังไม่มีความจำเป็นต่อบริษัท เพราะจะทำให้มีความยุ่งยากมากว่าสะดวกสบาย แต่หากคุณเป็นองค์กรขนาดใหญ่ และการเดินเอกสารนั้นสามารถทำได้ แต่มีความยากในการจัดเก็บและการค้นหา ก็เหมาะสมที่จะใช้อย่างมาก เพราะคุณจะสามารถค้นหาข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลได้แบบทันที แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นบริษัทหรือองค์กร ก็ต้องมีความพร้อมในการใช้อย่างมาก 

2.ความพร้อมของบุคลากรในการใช้งานโปรแกรมบัญชี

ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อแน่นอนว่าคุณควรที่จะจัดการประชุม หรือมีการปรึกษากันในองค์กรก่อน ว่ามีความพร้อมมากน้อยเพียงใด ไม่ควรจะเป็นความคิดเห็นของใครเพียงคนเดียว ก็เพราะว่าโปรแกรมบัญชีไม่ได้ใช้เพียงแผนกใดแผนกหนึ่ง แต่เชื่อมกันทั้งบริษัท และหากมีมติที่ตรงกัน ก็ควรมีการจัดสอนการใช้ซอฟแวร์เกิดขึ้น หลังจากที่ตัดสินใจเลือกบริษัทที่จะซื้อซอฟแวร์ได้ได้

3.เปรียบเทียบบริษัทผู้ผลิตซอฟแวร์ก่อนตัดสินใจเสมอ

เรื่องนี้สำคัญอย่างมาก เพราะหากเราไปเลือกบริษัทที่มีความผิดพลาดบ่อยๆ หรือบริษัทที่ตั้งใจมากโกงโดยเฉพาะ ก็จะเป็นเราเองที่เสียหายทั้งเวลาและเงิน เพราะฉะนั้นจะต้องดูให้ดี และมีการเปรียบเทียบหลายๆบริษัท ทั้งคุณภาพและราคา ซอฟแวร์หรือเครื่องมือที่บริษัทนั้นๆใช้พัฒนาโปรแกรม และอีกข้อหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อเราก็คือ ถ้าหากบนหน้าเว็บไซต์ของผู้ขายที่มีรีวิวจากผู้ใช้จริง ทำให้เราสามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือได้ โดยการค้นหาว่าบริษัทที่รีวิว มีตัวต้นจริงหรือไม่ และในส่วนของราคาเราก็สามารถขอใบเสนอราคา มาเปรียบเทียบได้เลย

4.ควรเลือกบริษัทที่มีการทดลองก่อนซื้อจริง

ข้อนี้เป็นข้อสำคัญที่มีประโยชน์ต่อเรามากๆ เพราะการได้ทดลองใช้งาน ทำให้เราตัดสินใจได้ง่ายมาก และทำให้เราเห็นอะไรหลายๆอย่าง ได้ทดลองใช้งานว่าเหมาะกับบริษัทเราหรือไม่ และที่สำคัญคือบริษัทนี้จะเป็นบริษัทที่มีความเชื่อถืออย่างมาก เพราะตัวบริษัทต้องการขายงานที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง และที่สำคัญยังทำให้เรามีความคล่องแคล่วในการใช้งานก่อนตัดสินใจซื้อจริง

5.บริการหลังการขายก็มีความสำคัญ

เรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ถึงแม้ว่าในการใช้งานโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปไม่ได้มีปัญหาใดๆ แต่ก็ใช้ว่าจะไม่มี และเราต้องมั่นใจได้ว่าบริษัทซอฟแวร์ที่เราเลือก มีทีมซัพพอร์ตที่พร้อมแก้ปัญหาให้คุณตลอด 24 ชั่วโมง หรือพร้อมทุกเมื่อที่คุณมีปัญหานั่นเอง นอกจากพร้อมเสมอ ผู้ซื้อควรแน่ใจว่าทีมซัพพอร์ตมีประสบการณ์มากพอที่จะอก้ปัญหาให้เราได้อย่างตรงจุด 

6.ศักยภาพการแสดงผลของโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป

ข้อนี้จะมีความเชื่อมโยงกับการทดลองก่อนซื้อจริง เพราะเราจะสามารถเห็นศักยภาพของโปรแกรมได้ทันที หรือเรียกว่าทดลองเดโม่ก่อนนั่นเอง เหมือนตอนที่เราจะซื้อมือถือมีตัวทดลองให้เล่น เราก็จะทรราบการใช้งานที่แท้จริง หน้าตาโปรแกรมเป็นแบบไหน มีความสเถียรภาพหรือไม่ และเราสามารถจำลองสถานการณ์การทำงานจริงๆ กับโปรแกรมบัญชีที่ทดลองได้เลย ทั้งน้ก็เพื่อทดสิบความเร็วของการเข้าถึงข้อมูล หรือมีความรวดเร็วเพียงใด

หากท่านกำลังมองหาโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป เพื่อตอบสนองความรวดเร็วของการเก็บข้อมูลหรือค้นหาข้อมูลของบริษัท ก็สามารถปรึกษาเรา acccloud.tech ได้เลย จากประสบการณ์ด้านการทำซอฟแวร์ เพียงแค่คุณต้องการ เราสามารถให้คำปรึกษาได้ทันถ่วงที โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

6 ปัจจัยในการเลือกซื้อโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป

โปรแกรมบัญชีที่ดีควรประกอบด้วยอะไรบ้าง

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันโปรแกรมพื้นฐานของแต่ละกิจการมีหลักๆไม่กี่อย่างเช่น โปรแกรม Microsoft Office เช่น Excel, Word และ โปรแกรมบัญชี ที่แทบทุกกิจการจะต้องมีใช้ นอกจากนั้นก็จะเป็น โปรแกรมติดต่อสื่อสารประเภท Line หรือ email เป็นต้น

 

ในบทความนี้ผมจะมารีวิวในส่วนของโปรแกรมโปรแกรมบัญชีครับ (Romney and Steinbart (2003) )ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “โปรแกรมทางการบัญชี คือ ระบบการทำงานระบบหนึ่งซึ่งประกอบด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศ ทรัพยากรมนุษย์ และนโยบายของบริษัท เน้นถึงการใช้ข้อมูลทางการบัญชีที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อ ให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักดังนี้

 

1. การเก็บรวบรวมและบันทึกรายการค้าของธุรกิจ

 

2. การประเมินผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์ การวางแผน การสั่งการ และการควบคุม

 

3. การจัดให้มีการควบคุมข้อมูลของธุรกิจเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลมีความครบถ้วน ถูกต้อง และเชื่อถือได้ “

 
 

ดังนั้นความละเอียดซับซ้อนของโปรแกรมบัญชี จึงเป็นไปตามความละเอียดและซับซ้อนของธุรกิจ กล่าวคือ ถ้าธุรกิจเพิ่งเริ่มต้น ไม่มีความซับซ้อนอะไรสักเท่าไหร่ อาจจะไม่ต้องใช้โปรแกรมบัญชีเลยก็ได้ ใช้แค่เอกสารทำมือ หรือจะใช้ Excel ก็ได้ แต่พอทันที ที่ธุรกิจเริ่มซับซ้อนขึ้น มีข้อมูลมากขึ้นการทำมือ หรือ คุมด้วย Excel ก็อาจจะไม่พอจึงเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจโดยมากที่หันมาใช้โปรแกรมบัญชีกัน

 
 

แล้วจะรู้ได้ยังไงครับว่า ธุรกิจนั้นถึงเวลาที่จะใช้โปรแกรมบัญชี กันแล้วหรือยัง??

 

โดยธรรมชาติแล้ว ตอนเริ่มต้นธุรกิจ ผู้ประกอบการจะไม่ค่อยสนใจหรอกครับว่า บัญชีจะเป็นยังไง คือจะสนใจแต่ว่าจะขายได้ไหม จะมียอดขายจากที่ไหน ส่วนบัญชีค่อยว่ากัน ดังนั้นตอนแรกๆ ของธุรกิจจะดูยุ่งๆเหยิงหน่อย แต่เมื่อธุรกิจผ่านไปถึงปีที่ 2 ปีที่3 เริ่มมีทุนจะเริ่มหันกลับมาดูบัญชีภายในของธุรกิจเราเองว่า จริงๆแล้วที่มีเงินสดหมุนเวียนนี่มีกำไรที่แท้ทรูเท่าไหร่กันแน่ ตอนนี้ผู้ประกอบการก็จะเริ่มต้นหาโปรแกรมบัญชีที่ตอบสนองธุรกิจของเขา

 
 
 

แต่ในตลาดนี่โปรแกรมบัญชีก็มีเยอะไปหมด แล้วเราจะเลือกยังไงดี

 

ก่อนอื่นต้องมาดูก่อนว่า โปรแกรมบัญชี จะต้องมีคุณสมบัติขั้นต่ำอะไรบ้าง โดนปกติแล้วโปรแกรมบัญชีจะต้องมีคุณสมบัติตามนี้ครับ

 
  1. ด้านการ Setup ระบบ

  2. อย่างน้อยเลยต้องมีให้ Setup ดังนี้

  3. รหัสพื้นฐานเช่นพวกรหัสบัญชี รหัสสินค้า รหัสลูกหนี้ รหัสเจ้าหนี้

  4. รหัสJob งาน รหัสการบริการต่างๆ

  5. ด้านบันทึกบัญชีได้ (ถ้าลงไม่ได้ ก็ไม่ใช่โปรแกรมบัญชี)

  6. ลงบันทึกสมุดรายวันได้

  7. ลงบันทึกภาษีซื้อ ภาษีขาย ภาษีซื้อรอขอคืน ได้

  8. ลงบันทึก ภงด 1 3 53 หัก ณ ที่จ่าย ภพ 30 และ ประกันสังคมได้

  9. ออกรายงานแยกประเภท สมุดรายวัน งบกำไรขาดทุน กระดาษทำการ งบดุล วิเคราะห์งบการเงิน และ งบกระแสเงินสด ได้

  10. ด้านการซื้อ

  11. ออกเอกสารที่เกี่ยวข้องได้อย่างน้อย

  12. ใบขอซื้อ

  13. ใบสั่งซื้อ

  14. เอกสารรับสินค้า

  15. เอกสารตั้งหนี้

  16. เอกสารพวกงานซื้อประเภทต่างๆ เช่นซื้อในประเทศ ต่างประเทศ

  17. รายงานการซื้อ เช่นสรุปการสั่งซื้อ สรุปสินค้าจากการสั่งซื้อ

  18. ด้านการขาย

  19. ออกเอกสารที่เกี่ยวข้องได้อย่างน้อย

  20. ใบเสนอราคา

  21. ใบสั่งขาย

  22. ใบส่งของ/ใบกำกับภาษี

  23. ใบส่งของ/ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี

  24. เครดิตโน้ต

  25. เดบิตโน้ต

  26. รายงานเกี่ยวข้องกับการขาย

  27. ด้านการเงินรับ

  28. ออกเอกสารที่เกี่ยวข้องได้อย่างน้อย

  29. ใบวางบิล

  30. ใบเสร็จรับเงิน

  31. ใบสำคัญรับชำระ

  32. รายงานที่เกี่ยวข้องกับการรับชำระ และ พวกรายงานลูกหนี้ต่างๆ

  33. ด้านการเงินจ่าย

  34. ออกเอกสารที่เกี่ยวข้องได้อย่างน้อย

  35. การรับวางบิล

  36. ใบสำคัญจ่ายชำระ

  37. พวกเอกสารเงินสดย่อย

  38. พวกเอกสารการตั้งหนี้ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ

  39. รายงานที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายชำระ และพวกรายงานเจ้าหนี้ต่างๆ

  40. ด้านธนาคาร

  41. ออกเอกสารที่เกี่ยวข้องได้อย่างน้อย

  42. ปรับปรุงธนาคาร

  43. ดู Bank Statement

  44. บันทึกการรับจ่ายเช็ค การเข้าเช็ค การ Reconcile Cheque

  45. รายงานที่เกี่ยวข้องกับพวกความเคลื่อนไหว และ ยอดเงินในธนาคาร ซึ่งต้องสอดคล้องกับยอดบัญชีด้วยเช่นกัน

  46. ด้านสต๊อกสินค้า

  47. ออกเอกสารที่เกี่ยวข้องได้อย่างน้อย

  48. พวกเอกสารรับจ่าย ใบรับ ใบเบิกสินค้า ตรวจนับสต๊อก ปรับยอดสินค้า และอื่นๆ

  49. ในโรงงานก็ควรมีพวกเอกสารสำหรับการผลิต

  50. รายงานที่เกี่ยวข้องกับการรับจ่ายและจำนวนคงเหลือ พร้อมทั้งต้นทุนสินค้าในคลัง

  51. ระบบสต๊อกในปัจจุบันนี้ อย่างน้อย ต้องมีการคำนวณต้นทุนแบบ FIFO และ Moving Average นะครับ ถ้าไม่มีนี่ไร้ค่าเลย เราจะไม่ทราบแม้แต่ว่า ต้องกระจายสินค้าไหนออกบ้าง

  52. ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล

  53. พูดถึงโปรแกรมบัญชี ถ้ามีแต่เก็บเอกสารเก็บข้อมูล กับรายงานขั้นพื้นฐานแต่ไม่มีการวิเคราะห์ นี่มันก็ไร้ค่ายังไงไม่รู้ เพราะหัวใจของการเอาโปรแกรมบัญชีมาใช้งานก็เพื่อวิเคราะห์สถานะต่างๆของกิจการนี่เอง

  54. ด้านอื่นๆ เช่นด้านการคำนวณค่าเสื่อม สินทรัพย์ ด้านเงินเดือนประกันสังคมเป็นต้น

 
 
 
 
 

คราวนี้พอเราทราบความต้องการขั้นต่ำของโปรแกรมบัญชีที่ใช้ในกิจการแล้ว เราก็ต้องมาดูต่อว่า แล้วธุรกิจเราต้องการแค่ไหน ต้องการแค่นี้ก็พอแล้ว หรือ ต้องมากกว่านี้อีกเช่น ธุรกิจเรามีการ pack สินค้าหรือ จัดชุดไปขายตามช่วงเทศกาล ธุรกิจเรามีการสั่งผลิตสินค้าเพื่อขาย ธุรกิจเราไม่ผลิตเลย แต่ไปจ้าง Supplier มาทำให้ หรือธุรกิจเราไม่มีสินค้าเลย มีแต่แค่บริการอย่างเดียวก็ต้องดูว่าจะควบคุมอะไรบ้าง เป็นต้น ธุรกิจเราปกติแล้วมีการเบิกงานไปใช้ล่วงหน้าแล้วค่อยมาเคลียร์กันหรือเปล่า หรือสินค้าของธุรกิจเรามันพิเศษเช่นมี Serial No มี วันหมดอายุ มี Lot อะไรประมาณนี้หรือไม่ ซึ่ง ถ้าเรามีความต้องการเหล่านี้ นั่นแสดงว่า โปรแกรมบัญชีที่ตอบแค่ความต้องการขั้นพื้นฐานไม่พอเสียแล้ว

 

เราจะต้องเลือกใหม่ ที่มี ฟังก์ชั่นสูงมากขึ้นๆ แต่แน่นอนว่ายิ่งสูงมากราคาก็ยิ่งแพง ถ้ายิ่งไปถึงระดับ ERP ราคายิ่งเป็นหลักล้าน ดังนั้น ในภาคธุรกิจที่ไม่ได้มีทุนทางด้านระบบสูงขนาดนั้น จึงจำเป็นต้อง ยอมปรับตัวให้เข้ากับระบบส่วนนึง เพื่อให้ใช้ระบบที่ไม่ต้องถึงขั้น ERP ให้ได้

 

ในปัจจุบันเมื่อโลกมาถึงยุค Cloud โปรแกรมบัญชี ก็ได้ปรับตัวให้ขึ้น Cloud เช่นกัน โดยเริ่มแรกในตลาดจะเป็นโปรแกรม straccountonline เกิดมาตั้งแต่ 10 ปีทีแล้ว แต่เข้าใจว่า internet ยุคนั้นช้า บวกกับความไม่เชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยบน internet โปรแกรมจึงไม่ได้เป็นที่กล่าวขวัญมากมาย ถัดมาโปรแกรม straccountonline ได้พัฒนา Version ใหม่ขึ้นมาภายใต้ชื่อ ACCCLOUD ERP ซึ่งเป็น ระบบที่มีฟังก์ชั่นสูงกว่าตัวเดิมมาก ภายใต้เทคโนโลยีใหม่ โดยโปรแกรมเน้นไปทางด้านการผลิตมากขึ้น

 

ความแตกต่างระหว่างโปรแกรมบัญชี โปรแกรมบัญชีออนไลน์ และ โปรแกรม ERP

ผู้ประกอบการโดยทั่วไปหลังจากก่อตั้งธุรกิจมาสักพัก จะเริ่มต้นหาระบบที่ช่วยในการบริหารจัดการภายใน ซึี่่งโดยมากถ้าไม่ได้ใช้ระบบอะไรที่ซับซ้อนมากนักในตอนก่อตั้งกิจการ อาจจะใช้โปรแกรม Microsoft Office ในการจัดการภายในเช่น เอาไว้ออกบิลขาย เอาไว้ออกเอกสารภายในง่ายๆ แต่จะไม่ค่อยตอบสนองในกรณีที่มีข้อมูลจำนวนมากขึ้น เช่นออกบิลมากขึ้น คุมสต๊อกที่มากขึ้น ดังนั้นขั้นถัดไปผู้ประกอบการจะเริ่มต้นหาโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ ซึ่งอาจจะซื้อมาในราคาถูกๆตอนเริ่มต้นเพื่อให้เพียงพอกับการจัดเก็บเอกสารและลงบัญชีแบบง่ายๆ ทำแค่องค์กรเล็กๆ

 

แต่ในเวลาต่อมาเมื่อบริษัทมียอดขายที่มากขึ้น เริ่มมีรายการที่ซับซ้อนมากขึ้นต้องการควบคุมมากขึ้นและ ตัวเจ้าของเองไม่ค่อยมีเวลามาที่บริษัททุกวัน และต้องการข้อมูลที่ทันเวลามากยิ่งขึ้น การเลือกใช้โปรแกรมบัญชีที่เป็น Online จะมีความจำเป็นขึ้นมาทันที แต่อย่างไรก็ดี ปรแกรมบัญชีก็ยังไม่สามารถจะวางแผนต่างๆในองค์กรได้ เนื่องจากโปรแกรมบัญชี เป็นการเอาข้อมูลในอดีตมาบันทึกเพื่อออกรายงานเท่านั้น จะไม่ถึงการวางแผน เช่นด้านการผลิตสินค้าว่า เมื่อมี Order เข้ามาแล้ว จะต้องเตรียมวัตถุดิบอะไรจำนวนเท่าไหร่ วันไหนบ้าง การจะตอบโจทย์นี้ได้ ผู้ประกอบการจะต้องเปลี่ยนจากระบบมาเป็นระบบ ERP แทน ซึ่ง

ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning หรือแปลเป็นไทยว่า การบริหารทรัพยากรขององค์กร หมายถึง การวางแผนบริหารจัดการองค์กรให้สามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยระบบ ERP จะทำหน้าที่เชื่อมโยงข้อมูล และกระบวนการทั้งหมดที่เกิดขึ้นในองค์กรนั้นให้สามารถทำงานร่วมกันได้เป็นระบบเดียว

การดำเนินงานในองค์กรหนึ่งๆ จะมีระบบข้อมูลภายในที่เป็นพื้นฐาน ได้แก่ ระบบงานทางด้านบัญชี(แผนก/ฝ่ายบัญชี) และการเงิน(แผนก/ฝ่ายการเงิน) ระบบงานทรัพยากร
บุคคล(แผนก/ฝ่ายบุคคล) ระบบการให้บริการบุคคลภายนอกองค์กร(แผนก/ฝ่ายพัสดุหรือการจัดซื้อจัดจ้าง) รวมไปถึง ระบบบริหาร/ติดตามประเมินผล(ผู้บริหารองค์กร) ซึ่งแต่ละแผนก/ฝ่าย จะมีกระบวนการทำงานที่ทำให้เกิดข้อมูลต่างๆ มากมาย ซึ่งจะมีการไหลข้อมูลส่งต่อจากฝ่ายหนึ่งไปยังฝ่ายหนึ่ง หรืออาจจบในฝ่ายนั้น ๆ ดังนั้นในองค์กรจะมีข้อมูลมากมายที่แตกต่างกันหรือเหมือนกัน ซึ่งอาจเกิดจากฝ่ายเดียวกันหรือต่างฝ่ายเสมอๆ

Enterprise Resource Planning คือ แนะนำการบริหารทรัพยากรขององค์กรด้วย ERP -  Good Material

จากที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อช่วยให้เกิดการบูรณาการข้อมูลขององค์กรจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดกระบวนการทำงานที่ชัดเจน และ/หรือการควบคุมกระบวนการต่างๆนั้นด้วยซอฟต์แวร์เพื่อไม่ให้เกิดข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ช่วยลดเวลาและขั้นตอนของการทำงาน ดังนั้น จึงทำให้เกิด ระบบ Enterprise Resource Planning หรือ ERP ขึ้น เพื่อทำให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์สูงสุดของทรัพยากร/ข้อมูลที่มีอยู่ อีกทั้งผู้บริหารองค์กรสามารถรับรู้สถานการณ์และปัญหาของงานต่างๆได้ทันที ทำให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการดำเนินงานได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

โดยทั่วไปแล้วระบบในปัจจุบันราคานับว่าสูงมากๆ และการใช้งานต้อง implement นานกว่าจะใช้งานได้เต็มที่

โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP เป็นลูกผสมระหว่างโปรแกรมบัญชีออนไลน์ และ โปรแกรม ERP กล่าวคือ สามารถใช้คุณสมบัติทั้งทางด้านออนไลน์ของโปรแกรมบัญชีได้ และ สามารถใช้คุณสมบัติการวางแผนทรัพยากร ของระบบ ERP ได้พร้อมๆกัน

 
 

 

Education Template

Scroll to Top