ธุรกิจ

บทความความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับธุรกิจ เพื่อเป็นแหล่งความรู้ในการต่อยอดหรือไอเดียการทำธุรกิจ

ไขข้อสงสัย SAP ERP และ Local ERP ระบบไหนคุ้มกว่ากัน

SAP ERP และ Local ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning) ทั้งสองระบบมีจุดเด่นและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน การเลือกระบบ ERP ที่เหมาะสมจึงควรพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ เช่น ประเภทธุรกิจ ขนาดองค์กร งบประมาณ เป็นต้น

SAP ERP 

เป็นระบบ ERP ระดับโลกที่พัฒนาโดยบริษัท SAP จากประเทศเยอรมนี มีฟังก์ชันการทำงานที่ครอบคลุมทุกด้านของธุรกิจ ตั้งแต่การผลิต การเงิน ทรัพยากรบุคคล การขายและการตลาด เป็นต้น SAP ERP ได้รับการยอมรับจากองค์กรชั้นนำทั่วโลกว่าเป็นระบบ ERP ที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า

ข้อดีของ SAP ERP

  • ครอบคลุมทุกด้านของธุรกิจ
  • มีประสิทธิภาพและใช้งานง่าย
  • ได้รับการยอมรับจากองค์กรชั้นนำทั่วโลก

ข้อเสียของ SAP ERP

  • ราคาแพง
  • ใช้เวลาในการติดตั้งและปรับใช้นาน
  • ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งและใช้งาน

Local ERP 

เป็นระบบ ERP ที่พัฒนาโดยบริษัทในประเทศ มีฟังก์ชันการทำงานที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจไทยโดยเฉพาะ Local ERP มีข้อดีคือ ราคาไม่แพงและใช้งานง่ายกว่า SAP ERP แต่อาจไม่ครอบคลุมทุกฟังก์ชันการทำงานเหมือนกับ SAP ERP

ข้อดีของ Local ERP

  • ราคาไม่แพง
  • ใช้งานง่าย
  • ตรงกับความต้องการของธุรกิจไทยโดยเฉพาะ

ข้อเสียของ Local ERP

  • ครอบคลุมฟังก์ชันการทำงานน้อยกว่า SAP ERP
  • อาจไม่มีประสิทธิภาพเท่า SAP ERP

SAP ERP และ Local ERP ระบบไหนคุ้มกว่ากัน ?

ระบบ ERP ไหนคุ้มกว่ากันนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ประเภทธุรกิจ ขนาดองค์กร งบประมาณ เป็นต้น 

หากองค์กรมีขนาดใหญ่ มีความต้องการใช้ฟังก์ชันการทำงานที่ครอบคลุมทุกด้านของธุรกิจ และมีเงินทุนเพียงพอ SAP ERP อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า Local ERP 

แต่หากองค์กรมีขนาดเล็ก มีความต้องการใช้ฟังก์ชันการทำงานที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจไทยโดยเฉพาะ และงบประมาณจำกัด Local ERP อาจเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่ากว่า ที่สำคัญ แนะนำว่าให้ลองศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบระบบ ERP จากหลายบริษัท เพื่อประกอบการตัดสินใจ

5 เหตุผลสำคัญที่ธุรกิจ SMEs ควรใช้ระบบ ERP

ในยุคดิจิทัล การแข่งขันทางธุรกิจมีความรุนแรงมากขึ้น ธุรกิจทุกขนาดจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญที่ธุรกิจ SMEs ควรพิจารณาคือ ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning)

ระบบ ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กรที่รวมเอาข้อมูลและกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของธุรกิจเข้าไว้ด้วยกันในที่เดียว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความซ้ำซ้อน และลดต้นทุนในการดำเนินงาน

รวม 5 เหตุผลสำคัญที่ธุรกิจ SMEs ควรใช้ระบบ ERP

ระบบ ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กรที่รวมเอาข้อมูลและกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของธุรกิจเข้าไว้ด้วยกันในที่เดียว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความซ้ำซ้อน และลดต้นทุนในการดำเนินงาน

1. ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน

ระบบ ERP ช่วยรวบรวมข้อมูลและกระบวนการทำงานต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลและทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดขั้นตอนการทำงานซ้ำซ้อน และลดความผิดพลาดในการทำงาน  สามารถเข้าถึงข้อมูลการขายและการตลาดได้อย่างง่ายดาย ทำให้สามารถวางแผนการตลาดและการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือระบบ ERP สามารถช่วยลดขั้นตอนการทำงานซ้ำซ้อน การบันทึกข้อมูลลูกค้าและคำสั่งซื้อ ทำให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. เพิ่มความแม่นยำของข้อมูล

ระบบ ERP ช่วยจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้องและครบถ้วนมากขึ้น ช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถช่วยจัดเก็บข้อมูลการเงินอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้บริหารสามารถติดตามสถานะทางการเงินของธุรกิจได้อย่างแม่นยำ ช่วยติดตามข้อมูลการผลิตและสินค้าคงคลัง ทำให้ผู้บริหารสามารถวางแผนการผลิตและควบคุมสต็อกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ลดต้นทุนการดำเนินงาน

ระบบ ERP ช่วยลดความซ้ำซ้อนของงาน ทำให้สามารถลดจำนวนพนักงานลงได้ ช่วยลดต้นทุนในการจ้างงานและฝึกอบรมพนักงาน ช่วยลดขั้นตอนการทำงานซ้ำซ้อน เช่น การบันทึกข้อมูลลูกค้าและคำสั่งซื้อ ทำให้สามารถลดจำนวนพนักงานที่ทำงานในส่วนนี้ลงได้ ช่วยจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถลดเวลาในการค้นหาข้อมูลลงได้

4. เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

ระบบ ERP ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดความผิดพลาด ทำให้ธุรกิจสามารถแข่งขันกับธุรกิจอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยปรับปรุงกระบวนการผลิต ทำให้สามารถผลิตสินค้าได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพมากขึ้น ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากขึ้น

5. ยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการธุรกิจ

ระบบ ERP ช่วยยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการธุรกิจให้เทียบเท่าธุรกิจขนาดใหญ่ ทำให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของลูกค้ามากขึ้น  สามารถช่วยจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ธุรกิจมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากขึ้น ติดตามกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของธุรกิจ ทำให้ธุรกิจสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานได้ง่าย 

สรุปแล้ว ระบบ ERP เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับธุรกิจ SMEs ช่วยให้ธุรกิจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความผิดพลาด ลดต้นทุน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ธุรกิจ SMEs ควรลงทุนติดตั้งระบบ ERP เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น 

อยากยื่นขอใบแทนใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำยังไง ?

เอกสารใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ก.พ.20 ผู้ประกอบกิจการจะได้รับเอกสารใบนี้เมื่อ ธุรกิจได้รับรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี โดยวิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ขั้นตอนการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)  ใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ก.พ.20 เป็นเอกสารขนาด A4 ผู้ประกอบการมักเก็บไว้ในกรอบหรืออุปกรณ์ที่สามารถป้องกันไม่ให้เอกสารเสียหายได้ ซึ่งในเอกสารก็จะมีข้อมูลของ จุดสถานที่ตั้งของสถานประกอบการ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี และวันทีให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนและข้อมูลสำคัญอื่นๆ  แต่ถ้าเอกสารได้รับความเสียหานจะทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ ทำให้มีการใช้งานเอกสารทดแทนที่เรียกว่า “ใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม” และมีวิธีการขอเอกสารอย่างไร 

ใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ

เอกสารที่ใช้ทดแทน “ใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม” ที่ชำรุดหรือเสียหายได้

วิธีการยื่นขอใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรณีที่ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน ยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่แล้วแต่กรณี หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร https://www.rd.go.th 

หมายเหตุ : ต้องยื่นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลาย

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • แบบคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.04) จำนวน 3 ฉบับ
  • ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ที่ชำรุด
  • ใบแจ้งความกรณีสูญหาย
  • หนังสือมอบอำนาจ กรณีให้ผู้อื่นทำการแทนปิดอากรแสตมป์ 10 บาท
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว

เอกสารใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นจริงๆ เท่านั้น ทางที่ดีควรดูและเอกสารใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับจริงให้ดี จะดีกว่า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่จะตามมาภายหลัง หรือความยุ่งยากในการไปขอเอกสารใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 

ขั้นตอนการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ง่าย ๆ

หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจในปัจจุบัน สำหรับเหล่าผู้ประกอบการที่ได้รับรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เราจะมาแนะนำขั้นตอนการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแบบง่ายๆ ว่าต้องเตรียมอะไรบ้าง และต้องเริ่มทำอย่างไร

สามารถยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ได้ที่ไหน

วิธีการยื่นเอกสารขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีหลักๆ อยู่ 2 วิธี คือ

1. การยื่นจดทะเบียน VAT แบบยื่นเอกสาร

การยื่นเอกสารคำขอจดทะเบียนจะแบ่งตามกรณีของบริษัทแต่ละบริษัท 3 กรณี ดังนี้

1. กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่

2. กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ และกรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอที่กรมสรรพากรมิได้จัดอัตรากำลังไว้ ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเดิมที่เคยควบคุมพื้นที่นั้น กรณีมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในท้องที่ที่สถานประกอบการอันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่เพียงแห่งเดียว

3. กรณีสถานประกอบการที่อยู่ในความดูแลของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่น ณ สำนักงานบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือจะยื่นผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ก็ได้ 

2. การยื่นจดทะเบียน VAT แบบออนไลน์

สำหรับวิธีการแบบออนไลน์ ให้ยื่นแบบคำขอผ่านทางเว็บไซต์ www.rd.go.th 

เอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

เอกสารทื่ผู้ประกอบการต้องใช้ยื่นกับกรมสรรพากร ประกอบด้วย

เมื่อไหร่ที่เราจะต้องเริ่มยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 

แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเมื่อไหร่ที่เราจะต้องเริ่มยื่น มีระยะเวลาอย่างไร

  • หลังจากวันที่มีมูลค่ารายรับมากกว่า 1.8 ล้านบาท ภายใน 30 วัน
  • วันที่เริ่มการประกอบกิจการไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้า หรือการให้บริการ รวมไปถึงกรณีระหว่างการเตรียมที่จะประกอบกิจการ มีการซื้อสินค้าหรือการเข้ารับตัวบริการ ที่เข้าเงื่อนไขการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการจะเริ่มยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายใน 6 เดือน ก่อนวันเปิดกิจการอย่างเป็นทางการ

และนี่ก็เป็นวิธีการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ง่าย ๆ จาก Acccloud ERP โดยวิธีแต่ละแบบก็สามารถเลือกได้ตามความสะดวกของผู้ประกอบการแต่ละท่าน ให้ประกอบการตัดสินใจอีกครั้ง และการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ไม่ได้จำเป็นที่จะต้องมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปีก็สามารถยื่นได้ เช่นกัน

เปิดโอกาสทางธุรกิจในยุคดิจิทัล แค่ใช้โปรแกรมบัญชี ERP กับแพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์

ปัจจุบัน ธุรกิจการขายของออนไลน์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว เพราะคนยุคใหม่เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตมาซื้อของออนไลน์มากขึ้น และมีแนวโน้มการซื้อหน้าร้านน้อยลง เจ้าของธุรกิจจึงต้องเปลี่ยนแนวทางการขายจากหน้าร้านค้าเพียงอย่างเดียว มาขายของผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ซื้อ ซึ่งมักนิยมซื้อ-ขายของผ่าน Lazada และ Shopee เป็นหลัก และยังมีแพลตฟอร์มอื่นๆ ที่เริ่มได้รับความสนใจอย่าง Tiktok และ Line My shop ด้วย

การที่ธุรกิจต้องปรับตัวมาขายออนไลน์ย่อมส่งผลต่อการบริหารจัดการร้านค้าไม่น้อย เพราะมีความซับซ้อนในการจัดการ เช่น การลงสินค้า อัพเดตราคา การดูแลสต็อก และรับออเดอร์ซื้อขาย รวมถึงการจัดส่ง วิธีที่ดีที่สุดที่ช่วยจัดการความยุ่งยากเหล่านี้ก็คือการเลือกใช้โปรแกรมบัญชี ERP ของ AccCloud ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มร้านค้าได้ง่ายๆ ในไม่กี่ขั้นตอบ

โปรแกรมบัญชี ERP กับแพลตฟอร์มขายออนไลน์

การเชื่อมต่อโปรแกรมบัญชี ERP กับแพลตฟอร์มขายออนไลน์มีประโยชน์มากมาย เหมาะกับผู้ประกอบกิจการขายของออนไลน์ทุกคน ไม่ว่าจะมีสินค้ามากหรือน้อยก็ไม่ต้องกังวลกับจัดการคลังสินค้า เพราะตัวระบบเชื่อมโยงกับร้านค้าได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก เรามาดูกันว่า โปรแกรมบัญชี ERP ของ AccCloud สามารถช่วยเหลือในการบริการจัดการร้านค้าได้ยังไงกันบ้าง

  • ตรวจสอบสต็อกสินค้าง่ายดาย

การเชื่อมต่อโปรแกรมบัญชี ERP ของ AccCloud กับแพลตฟอร์มขายออนไลน์จะช่วยให้เราสามารถตรวจสอบสต็อกสินค้าได้ตลอด ช่วยให้จัดการปรับจำนวนสต็อกง่าย เช็คสินค้าที่ใกล้จะหมดหรือหมดแล้วได้ทุกเวลา หากร้านค้ามีสินค้าตัวไหนหมดก็จะรู้ได้ทันที

  • ช่วยคำนวณบัญชีจากการขายสินค้า

โปรแกรมบัญชี AccCloud เพิ่มประสิทธิภาพในขายสินค้าด้วยการจัดการบัญชี ช่วยคำนวณรายรับและรายจ่ายจากการขายสินค้าได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว ซึ่งช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการธุรกิจ

  • ช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ซื้อ

ข้อดีที่มากกว่าการทำบัญชีของโปรแกรมบัญชี AccCloud คือ ช่วยติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าได้อย่างง่ายดาย เช่น ประวัติการสั่งซื้อ แนวโน้มในการซื้อ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสินค้าได้อย่างตรงจุดมากขึ้น

  • เพิ่มความถูกต้องทางการทำบัญชี

ช่วยลดความผิดพลาดทางบัญชี เนื่องจากข้อมูลการขายและการเงินถูกบันทึกอัตโนมัติ แตกต่างจากการทำข้อมูลตัวเลขด้วยตัวเอง ระบบ ERP จะทำให้สามารถรายงานผลการเงินได้อย่างถูกต้อง ไม่ต้องกังวลว่าตัวเลขบัญชีจะไม่ตรงกัน

  • วิเคราะห์และปรับกลยุทธ์การขายง่ายขึ้น

การเชื่อมต่อโปรแกรมบัญชี ERP จะช่วยให้สามารถปรับตัวตามความต้องการของตลาดได้รวดเร็ว ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าและเพิ่มยอดขายอย่างครบถ้วน เพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี

หากใครต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการขายสินค้าออนไลน์ผ่าน Shopee, Lazada, Tiktok  หรือ Line การเชื่อมต่อระบบบัญชี ERP กับแพลตฟอร์มขายออนไลน์เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับธุรกิจที่ต้องการเติบโตในยุคดิจิทัลนี้มาก เพราะจะช่วยให้สามารถบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันสมัย เปิดโอกาสในการเพิ่มยอดขายและความสำเร็จในด้านการตลาดออนไลน์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบันและอนาคต

Education Template

Scroll to Top