โปรแกรมบัญชี

โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP

Google Trends คืออะไร และมีประโยชน์ต่อธุรกิจเราอย่างไร

โลกเราในปัจจุบันหมุนไปเร็วมาก และเราก็อยากตามทันเทรนด์โลกปัจจุบันบ้าง แต่ก็ไม่รู้ว่าจะต้องตามยังไงให้ทัน วันนี้เรามีเครื่องมือ Google ที่จะมาช่วยให้คุณตามทันทุกเทรนด์ทั้งในและต่างประเทศแล้ว และเป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้ง่ายมากๆ นั่นก็คือ Google Trends แล้วมันคืออะไร ทำอะไรได้บ้างสำหรับการทำการตลาด

Google Trends คืออะไร?

Google Trends คือ เครื่องที่ช่วยในการวิเคราะห์แนวโน้มการค้นหาคำต่างๆ ผ่าน Google Search Engine กล่าวคือทุกครั้งที่เราทำการดำค้นอะไรก็ตาม Googleจะจดจำที่เราพิมพ์เข้าไป และ จะประมวลผลเอามาแสดงให้เห็นว่า ในแต่ละ keyword มีการค้นหามากน้อยแค่ไหน โดยข้อมูลจะแสดงเป็นเส้นกราฟเส้นดังรูป

 

ตัวย่างการใช้งาน Google Trends
การเปรียบเทียบระหว่าง Samsung + iPhone + OPPO + XIAOMI

จากรายงานการเปรียบเทียบของ Google Trends ทั้ง 4 keyword จะสังเกตได้ว่า คำค้นหาว่า iPhone มีการค้นหาในปริมาณที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับใน keyword อื่นๆ นอกจากแผนภูมิแท่งและกราฟเชิงเส้นแล้วยังมีรายงานข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมของแต่ละ keyword ไว้ใช้สำหรับการประเมินวัดผลได้

รูปภาพ : อัตราการค้นหาของแต่ละภูมิภาคในประเทศไทย

รูปภาพ : อัตราการค้นหา Samsung ของแต่ละภูมิภาคในประเทศไทยและคำค้นหาที่เกี่ยวข้อง

รูปภาพ : อัตราการค้นหา iPhone ของแต่ละภูมิภาคในประเทศไทยและคำค้นหาที่เกี่ยวข้อง

รูปภาพ : อัตราการค้นหา OPPO ของแต่ละภูมิภาคในประเทศไทยและคำค้นหาที่เกี่ยวข้อง

รูปภาพ : อัตราการค้นหา XIAOMI ของแต่ละภูมิภาคในประเทศไทยและคำค้นหาที่เกี่ยวข้อง

ดังนั้นหากเราต้องการวิเคราะห์ keyword ใด ก็สามารถใช้เครื่องมือนี้ช่วยได้ทันที ประโยชน์ที่เห็นๆคือ การช่วยวิเคราะห์ด้านการตลาด ที่ข้อมูลอ้างอิงได้จริง และนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายทาง

วิธีการใช้ประโยชน์จาก Google Trends

โปรแกรมบัญชี AccCloud
Google Trends นั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการทำการตลาด ทั้งในเรื่องของเทรนในการทำคอนเทนต์ หรือแม้แต่การเปรียบเทียบจำนวนการค้นหาหรือโอกาสทางการตลาด เช่น
 
  1. นำมาช่วยวัด Rating ของสินค้าของเราจะจัดจำหน่าย เช่น เสื้อสีฟ้า เสื้อสีม่วง เสื้อสีเหลือง เราเพียงแค่พิมพ์ keyword เหล่านี้เข้าไป เราจะทราบถึง Trend ของคนที่ค้นหานี้
  2. เปรียบเทียบกับคู่แข่งสินค้าประเภทเดียวกันในเรื่อง Branding เช่นเปรียบเทียบว่า AIS, DTAC หรือ TRUE ใครมีการถูกค้นหามากไปกว่ากัน
  3. นำมาหาโอกาสทางการตลาด เช่น เราอยากทราบถึงสินค้าใดที่มีการค้นหามากน้อยกว่ากัน รองเท้ากีฬา รองเท้าลำลอง รองเท้านักเรียน เป็นต้น

และเทคนิคอื่นๆ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้

Customer Insights ด้วย Google Trends

สำหรับใครที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจหรือคิดอยู่ว่าจะทำอะไรดี อย่างการทำคลิปที่อินเทรนด์ทันกระแส หรือขายของ แนะนำให้เลือก Google Trends เพื่อจับทางเทรนด์การตลาดที่น่าสนใจได้ รวมถึงการดูพฤติกรรมการค้นหาของผู้บริโภคในเขตพื้นที่ที่เราสนใจจะตีตลาดได้
ตัวอย่าง XIAOMI 14 สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ที่พึ่งมีการประกาศเปิดตัวไปไม่นาน (อัปเดตวันที่ 14 มี.ค. 2567) ทำให้กราฟการค้นหามีอัตราพุ่งสูงในช่วงวันที่ 13-14 และถ้าภายในช่วงนี้ทำคอนเทนต์รีวิวบอกได้เลยว่ายอดเอนเกจพุ่งแน่นอน เพราะว่า “การที่เรารีวิวก่อน ใช้ก่อน ยอดเอนเกจก็จะมากกว่า” หรือจะเสิร์ชหาสิ่งอื่นๆ ที่กำลังสนใจก็สามารถเสิร์ชคำค้นหาอื่นๆ เพื่อมาประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน

อัปเดต Topic เรื่องไหนมาแรงแบบเรียลไทม์

ดังนั้นหากเราคิดจะเริ่มต้นทำการตลาดใดๆ ก็ตามขอให้นึกถึงลูกค้าต้องการเป็นอันดับแรกจากนั้นจึงค่อยเริ่มต้นดำเนินการขั้นถัดไป ด้วยการมีอยู่ของ Google Trends ก็จะช่วยให้การดูกลุ่มลูกค้าเทรนด์ความนิยมนั้นง่ายขึ้น และประเมินได้อย่างมีหลักการและข้อมูลที่เชื่อถือได้
 

โปรแกรมบัญชี AccCloud.tech ได้มี function การวิเคราะห์แบบเดียวกันนี้ในรูปแบบของ Business Intelligent เลือกที่ วิเคราะห์และกราฟ >> ระบบขาย   ด้วยระบบนี้เราสามารถวิเคราะห์ Trend ได้ไม่ต่างจาก Google Trend เช่นเดียวกัน

 

 

ภาษีย้อนหลังคืออะไร ทำไมต้องมีการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ?

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีเรื่องภาษีย้อนหลัง (Retroactive tax) เกิดขึ้นบ่อยมากในวงการธุรกิจและการเงิน นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้มีผู้ประกอบการและนักลงทุนหลายคนได้รับความเสียหายอย่างมาก วันนี้เราจึงมาทำความเข้าใจกับเรื่องแนวทางการเรียกเก็บภาษีย้อนหลังว่ามันคืออะไร และทำไมถึงต้องมีการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง 

ภาษีย้อนหลังคืออะไร ?

ภาษีย้อนหลังคือภาษีที่ต้องชำระสำหรับรายได้ที่ได้รับในปีภาษีที่ผ่านมา แต่ยังไม่ได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือชำระภาษีสำหรับรายได้ดังกล่าว

ทำไมต้องมีการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ?

มีหลายกรณีที่อาจทำให้มีการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง เช่น

  • ผู้เสียภาษีไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับปีภาษีที่ผ่านมา
  • ผู้เสียภาษีคำนวณภาษีผิดพลาดและชำระภาษีน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
  • ผู้เสียภาษีมีรายได้ที่ไม่ได้แจ้งไว้ในแบบแสดงรายการภาษี
  • ผู้เสียภาษีมีการเปลี่ยนแปลงสถานะทางภาษี เช่น เปลี่ยนจากโสดเป็นสมรส หรือเปลี่ยนจากพนักงานประจำเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ

การเรียกเก็บภาษีย้อนหลังสามารถทำได้นานแค่ไหน ?

โดยทั่วไปแล้วกรมสรรพากรสามารถเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ภายใน 5 ปี นับจากวันที่ครบกำหนดชำระภาษีสำหรับปีภาษีนั้นๆ อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี กรมสรรพากรอาจสามารถเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้นานกว่า 5 ปี เช่น ในกรณีที่ผู้เสียภาษีมีการหลีกเลี่ยงภาษีโดยเจตนา

หากได้รับการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ควรทำอย่างไร?

หากได้รับการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ผู้เสียภาษีควรดำเนินการดังนี้

  • ตรวจสอบเอกสารการเรียกเก็บภาษีย้อนหลังอย่างละเอียดเพื่อให้แน่ใจว่าถูกต้อง
  • หากมีข้อสงสัยหรือข้อผิดพลาดใดๆ ควรติดต่อกรมสรรพากรเพื่อสอบถามหรือยื่นคำร้องขอทบทวนคำสั่งเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง
  • หากไม่สามารถชำระภาษีย้อนหลังได้เต็มจำนวนในคราวเดียว สามารถขอผ่อนชำระภาษีย้อนหลังได้โดยติดต่อกรมสรรพากร

การหลีกเลี่ยงการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง

เพื่อหลีกเลี่ยงการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ผู้เสียภาษีควรปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีให้ตรงเวลาและครบถ้วน หากมีข้อสงสัยหรือคำถามใดๆ เกี่ยวกับภาษี ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีหรือกรมสรรพากร

สรุปคือ ภาษีย้อนหลัง (Retroactive tax) เป็นเรื่องที่มีความสำคัญสำหรับผู้เสียภาษีและรัฐ เพราะเป็นทางเลือกที่ดีในทางการบัญชีเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและสอดคล้องกับหลักการบัญชีที่เป็นข้อบังคับ ในการจัดการเงินเกิน ภาษีย้อนหลังจึงเป็นเครื่องมือที่ทำให้ความเข้าใจกับกฎหมายภาษีเกิดขึ้นอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรการเงินของรัฐในทางการเสียภาษีได้ดีขึ้น

ทำไมต้องจ้างสำนักงานบัญชี ทั้งที่มีโปรแกรมบัญชีอยู่แล้ว

องค์กรหลายแห่งในปัจจุบันน่าจะมีฝ่ายจัดทำบัญชีกันเองอยู่แล้ว รวมถึงบางองค์กรก็มีการใช้ โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป เพื่อให้มีความง่ายต่อการจัดการกันเอง เพราะโปรแกรมบัญชีก็มีรูปแบบการทำงานที่ชัดเจนและรอบด้าน ทั้งการทำบัญชี การออกใบเสนอราคา ซื้อ-ขาย และบันทึกรายการบัญชีต่างๆ แต่ถึงจะมีข้อดีรอบด้านขนาดนี้ องค์กรก็ยังมีความจำเป็นที่ต้องใช้งาน สำนักงานบัญขี อยู่ดี เพราะหลักๆ การปิดงบประมาณนั้น จำเป็นต้องให้นักบัญชีหรือสำนักงานบัญชีที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเป็นฝ่ายจัดการ ซึ่งเป็นกฏระเบียบทื่สรรพากรกำหนดในมีนักบัญชีลงนามรายงานเพื่อจัดส่งภาษี

บทบาทของ สำนักงานบัญชี คืออะไร

1. บันทึกบัญชีและจัดทำงบการเงิน

งานหลักของสำนักงานบัญชีคือการบันทึกบัญชีและจัดทำงบการเงิน ซึ่งรวมถึงการบันทึกรายการทางบัญชีต่าง ๆ เช่น รายการรายได้ รายการค่าใช้จ่าย รายการสินทรัพย์ รายการหนี้สิน และรายการทุน การจัดเตรียมงบการเงินเพื่อแสดงฐานะทางการเงิน ผลการดําเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงินของกิจการ

2. ตรวจสอบบัญชี

สำนักงานบัญชีมีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีของกิจการ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลทางการเงินที่จัดทำขึ้นนั้นถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีและภาษีอากร

3. ให้คำปรึกษาด้านบัญชีและภาษี

สำนักงานบัญชีให้คำปรึกษาแก่กิจการเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบัญชีและภาษี เช่น การเลือกวิธีการบันทึกบัญชี การจัดโครงสร้างทางการเงิน วางแผนภาษี และปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

และให้บริการด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบัญชีและภาษี สำนักงานบัญชีอาจให้บริการด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบัญชีและภาษี เช่น ยื่นแบบภาษี จัดทำเอกสารทางภาษี จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน และจัดทำรายงานทางการเงิน

ข้อดีจากการจ้างสำนักงานบัญชี

1. ประหยัดเวลาและบุคลากรในการทำงาน

ไม่ต้องเสียเวลาและบุคลากรไปกับการจัดทำบัญชีและภาษี ซึ่งสามารถทุ่มเทเวลาไปกับการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.  ป้องกันความเสี่ยงในการถูกปรับและด้านกฏหมาย

สำนักงานบัญชีมีผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีและภาษีที่จะช่วยตรวจสอบและจัดทำเอกสารทางบัญชีและภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการถูกตรวจสอบและเสียค่าปรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3.  ป้องกันการทุจริตภายในองค์กร

ลดการทุจริตด้านการเงิน จากการทำบัญชีภายในบริษัท ด้วยตรวจสอบบัญชีจากผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการรีเช็คข้อมูลการซื้อขาย

4. ได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ

สำนักงานบัญชีสามารถให้คำปรึกษาแก่เจ้าของกิจการเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบัญชีและภาษี เช่น การเลือกวิธีการบันทึกบัญชี การจัดโครงสร้างทางการเงิน วางแผนภาษี และปฏิบัติตามกฎหมาย

ถ้าคุณกำลังมองหาโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปที่มีรูปแบบการทำงานตรงกับความต้องการที่สำนักงานบัญชีต้องการในการทำเอกสารเกี่ยวกับภาษี หรือรูปแบบบัญชีที่ไร้ขีดจำกัด เราขอแนะนำ “โปรแกรมบัญชี” ที่จะช่วยจัดการงานด้านเอกสารเกี่ยวกับภาษีและบัญชีได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง สนใจเข้าใช้บริการโปรแกรมบัญชี AccCloud สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : acccloud.tech 

7 เหตุผล ก่อนเลือกใช้โปรแกรมบัญชี สำหรับสำนักงานบัญชี

สำนักงานบัญชี เป็นสำนักงานที่มีหน้าที่ในการจัดทำบัญชีให้กับบริษัทอื่นๆ ที่ได้เข้ามาว่าจ้าง โดยมีหน้าที่หลักๆ อาทิเช่น การับจ้างทำบัญชี ยื่นภาษี ปิดงบประมาณ โดยเป็นบริการที่ครบวงจร สำหรับองค์กรที่กำลังมองหาคนดูแลบัญชีของบริษัท แต่การเป็นบริษัทบัญชีนั้น อาจจะมีแค่กำลังคนในการทำงานต่างๆ ทำให้ปัจจุบันหลายสำนักบัญชีหันมาใช้โปรแกรมบัญชีเพิ่มเข้ามา เพื่อให้การทำงาานออกมามีประสิทธิภาพสูงขึ้น และไม่มีข้อผิดพลาด เราจะพามาดูว่าเหตุผลอะไรที่ทำให้สำนักงานบัญชี ต้องหันมาใช่โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป

7 เหตุผล ก่อนเลือกใช้โปรแกรมบัญชี สำหรับสำนักงานบัญชี 

1. โปรแกรมบัญชีที่ได้การรับรองมาตรฐานจากกรมสรรพากร

การรับรองมาตรฐานจากกรมสรรพากร จะช่วยให้สำนักงานบัญชีสามารถจัดทำเอกสารทางบัญชีและภาษีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและเป็นไปตามระเบียบของกรมสรรพากร ซึ่งจะช่วยป้องกันปัญหาการถูกตรวจสอบจากกรมสรรพากร 

2. โปรแกรมบัญชีที่ไม่มีข้อจำกัดในการดูแลบัญชี

โปรแกรมบัญชีที่จะเลือกใช้ไม่ควรมีข้อจำกัดในการดูแลบัญชี ช่วยให้สำนักงานบัญชีสามารถดูแลบัญชีได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่บันทึกบัญชี จัดทำงบการเงิน ไปจนถึงการจัดทำเอกสารทางภาษี ซึ่งจะช่วยให้สำนักงานบัญชีทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. โปรแกรมที่สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง

โปรแกรมบัญชีที่ดีควรสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีปัญหาขัดข้องหรือล่มบ่อย ซึ่งจะช่วยให้สำนักงานบัญชีสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นและทันต่อเวลา และควรใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 1 ปี

4. สามารถ Export ข้อมูลออกมาในรูปแบบของ Excel ได้

การ Export ข้อมูลออกมาในรูปแบบของ Excel ได้ ซึ่งจะช่วยให้สำนักงานบัญชีสามารถนำไปใช้งานต่อได้ง่าย เช่น นำไปวิเคราะห์ข้อมูลหรือนำส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5. เลือกโปรแกรมที่ไม่จำกัดการสร้างและจัดการรูปแบบการเงิน

ช่วยให้สำนักงานบัญชีสามารถออกแบบรูปแบบการเงินให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าได้

6. เลือกโปรแกรมที่มีทีม Support ดูแล

โปรแกรมบัญชีที่เลือกควรมีทีม Support คอยดูแลช่วยเหลือการใช้งาน ช่วยให้สำนักงานบัญชีสามารถใช้งานโปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

7. บริการหลังการขาย

บริการหลังการขายที่ครอบคลุม เช่น การอัปเดตเวอร์ชันใหม่ การแก้ไขปัญหาการใช้งาน การอบรมการใช้งาน เป็นต้น

ถ้าคุณกำลังมองหาโปรแรกมบัญชีสำเร็จรูปที่มีรูปแบบการทำงานตรงกับความต้องการที่สำนักงานบัญชีต้องการในการทำเอกสารเกี่ยวกับภาษี หรือรูปแบบบัญชีที่ไร้ขีดจำกัด เราขอแนะนำ “โปรแกรมบัญชี” ที่จะช่วยจัดการงานด้านเอกสารเกี่ยวกับภาษีและบัญชีได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง สนใจเข้าใช้บริการโปรแกรมบัญชี AccCloud สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : acccloud.tech 

องค์กรแบบไหนที่เหมาะกับการใช้ซอฟต์แวร์ ERP

รูปแบบการทำงานในแต่ละองค์กรก็จะมีรูปแบบวิธีการทำงานที่แตกต่างกันออกไปซึ่งซอฟต์แวร์ ERP ก็คือระบบการวางแผนทรัพยากรภายในองค์กร ทั้งเรื่องการเงิน การผลิต การดูแลข้อมูลลูกค้า การจัดการระบบพนักงาน จนถึงการจัดการเรื่องของภาษีต่างๆ แค่นี้ก็รับรู้ได้แล้วว่าการใช้ ERP มีความสำคัญมากแค่ไหน แล้วทำไมต้องใช้และองค์กรแบบไหนที่มีความจำเป็นต้องใช้ ERP มีคำตอบให้ครับ

ทำไมถึงต้องใช้ซอฟต์แวร์ ERP

การตัดสินใจใช้ซอฟต์แวร์ ERP สามารถมอบประโยชน์มากมายให้แก่องค์กร และต่อไปนี้เป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมองค์กรถึงต้องหันมาใช้ซอฟต์แวร์ ERP

1. กระบวนการทำงานแนวธุรกิจ

ซอฟต์แวร์ ERP เป็นการรวมกระบวนการทางธุรกิจ ในแผนกต่างๆ ที่มีภายในองค์กร มาผนวกเชื่อมต่อการทำงานเข้าด้วยกัน ช่วยให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลจะถูกส่งต่อได้อย่างราบรื่นระหว่างแผนกต่างๆ ช่วยลดความผิดพลาดของข้อมูลและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่น สามารถเชื่อมโยงการเงิน ทรัพยากร การผลิต และฟังก์ชันอื่นๆ เข้าด้วยกัน ทำให้เกิดมุมมองแบบองค์รวมของธุรกิจทั้งหมด

2. ความถูกต้องของข้อมูลและการตัดสินใจ

ด้วยการเพิ่มเข้ามาของระบบ ERP จะช่วยเก็บข้อมูลที่ถูกต้องและจัดเก็บข้อมูลไว้ในพื้นที่จัดเก็บได้ ด้วยฟังก์ชั่นนี้จะเพิ่มความแม่นยำของการรายงานและใช้ประกอบกระบวนการตัดสินใจ ด้วยการเข้าถึงข้อมูลที่เชื่อถือได้แบบเรียลไทม์(real time) ทำให้ผู้ที่มีหน้าที่ในการตัดสินใจสามารถดูข้อมูลประกอบได้ โดยมีข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน

3. เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ด้วยการทำงานและกระบวนการจัดการแบบอัตโนมัติ ช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นได้จากการทำงานด้วยตัวเองและลดข้อผิดพลาดให้เหลือน้อยที่สุด ระบบอัตโนมัตินี้นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั่วทั้งองค์กร พนักงานสามารถมุ่งเน้นไปที่งานที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น และระบบ ERP จะจัดการกิจกรรมที่ต้องทำซ้ำและใช้เวลานาน ทำให้ประหยัดต้นทุนและประหยัดเวลาในการทำงานได้ดี

4. การบริการลูกค้าได้เต็มประสิทธิภาพ

ระบบ ERP มักจะมีโมดูล (Module) การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถจัดการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการมีฐานข้อมูลลูกค้าที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างปลอดภัย ช่วยให้พนักงานสามารถปรับปรุงข้อพิจารณาต่างๆ ให้บริการได้ดีขึ้น ติดตามปฏิสัมพันธ์ของลูกค้า และตอบคำถามได้ทันที เพราะการบริการลูกค้าที่ได้รับการปรับปรุงสามารถนำไปสู่ความพึงพอใจของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น

5. ความยืดหยุ่นในการทำงาน

ระบบของซอฟต์แวร์ ERP ได้รับการออกแบบมาเพื่อปรับให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของธุรกิจ เมื่อองค์กรของคุณเติบโตขึ้น ระบบ ERP สามารถปรับขนาดเพื่อรองรับข้อมูล ผู้ใช้ และความซับซ้อนทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นได้เช่นกัน 

องค์กรที่เหมาะกับการใช้ซอฟต์แวร์ ERP

แล้วเราจะรู้ได้ยังไง ว่าองค์กรแบบไหนที่เหมาะกับการใช้ซอฟต์แวร์ ERP เรื่องนั้นก็ขึ้นอยู่กับกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ขนาดขององค์กร ประเภทของธุรกิจ กระบวนการทำงาน และความซับซ้อนของข้อมูล โดยทั่วไปแล้ว องค์กรที่เหมาะกับการใช้ซอฟต์แวร์ ERP ได้แก่

องค์กรที่มีขนาดใหญ่หรือกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

องค์กรที่มีขนาดใหญ่ มักจะมีการจัดการที่ใหญ่ตามไปด้วยด้วยเรื่องของข้อมูลการทำงานต่างๆ ความซับซ้อนของข้อมูล หรือองค์กรที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ก็มักมีกระบวนการทำงานที่ซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมาก ทำให้การใช้ซอฟต์แวร์ ERP จะช่วยทำให้กระบวนการทำงานมีความเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และช่วยให้มองเห็นภาพรวมของธุรกิจได้อย่างชัดเจน

องค์กรที่มีการทำงานที่ซับซ้อน

รูปแบบของการทำงานที่ซับซ้อน เช่น ธุรกิจการผลิต ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจบริการ ควรที่จะใช้เลือกการใช้ซอฟต์แวร์ ERP อย่างมาก เพราะจะช่วยทำให้กระบวนการทำงานมีความเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดความผิดพลาดในการทำงาน และช่วยให้ผู้บริหารสามารถควบคุมกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

องค์กรที่ต้องการปรับปรุงรูปแบบการทำงาน 

องค์กรที่ต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต การขาย การเงิน หรือทรัพยากรบุคคล การใช้ซอฟต์แวร์ ERP จะช่วยทำให้กระบวนการทำงานมีความเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดต้นทุน และช่วยให้องค์กรสามารถแข่งขันได้ในตลาดอย่างมีแบบแผน

และนี้ก็เป็นรูปแบบขององค์กรเบื้องต้น ที่ควรหันมาใช้ ระบบ ERP แต่ไม่ว่าองค์กรจะมีขนาดเล็กหรือองค์กรที่มีกระบวนการทำงานไม่ซับซ้อนก็สามารถใช้ซอฟต์แวร์ ERP ได้เช่นกัน เพียงแต่อาจต้องเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะกับขนาดและความต้องการขององค์กรเท่านั้นเอง และนอกจากเหตุผลในข้างต้นแล้ว องค์กรต้องเริ่มพิจารณาความพร้อมด้านบุคลากรและงบประมาณในการนำซอฟต์แวร์ ERP มาใช้ด้วย โดยควรมีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในซอฟต์แวร์ ERP เพื่อที่จะสามารถนำซอฟต์แวร์มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และควรมีงบประมาณเพียงพอสำหรับการลงทุนซอฟต์แวร์และค่าบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง

สรุปได้ว่า องค์กรที่เหมาะกับการใช้ซอฟต์แวร์ ERP คือ องค์กรที่มีขนาดใหญ่หรือเติบโตอย่างรวดเร็ว องค์กรที่มีกระบวนการทำงานที่ซับซ้อน หรือองค์กรที่ต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน แต่ละองค์กรควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ ข้างต้นประกอบกัน เพื่อเลือกซอฟต์แวร์ ERP ที่เหมาะกับความต้องการและเหมาะสมกับองค์กรมากที่สุด

โปรแกรมบัญชี AccCloud เป็นโปรแกรมที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ครบถ้วน เป็นโปรแกรมระดับ ERP แต่ราคาระดับโปรแกรมบัญชีทั่วไป เหมาะกับองค์กรขนาดกลาง-ใหญ่ เข้าชมบริการเพิ่มเติมได้ที่ โปรแกรมบัญชี AccCloud

รู้จักฐานข้อมูล Big Data ตัวช่วยธุรกิจ Marketplace Online

ฐานข้อมูลของ Big Data แปลตรงตัวก็คือฐานข้อมูลใหญ่ หรือฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ เกิดจากยุคก่อนๆ ที่ธุรกิจส่วนใหญ่ใช้วิธีการบันทึกข้อมูลด้วยการจดหรือ Mannual เพราะยังไม่มีระบบคลาวด์ออนไลน์ ทำให้หาข้อมูลก็ยาก และยังเสี่ยงต่อข้อมูลเสียหายหรือสูญหายอย่างมาก แต่หลังจากโลกของเราเข้าสู่ยุคดิจิตัล Big Data ก็กลายมาเป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่พร้อมเก็บข้อมูลไว้ได้อย่างมากมายมหาศาล ทำให้ธุรกิจไม่ว่าจะเล็ก กลาง หรือใหญ่ ก็สามารถใช้งาน Big Data ได้

ฐานข้อมูล Big Data มีข้อดียังไง 

  • ฐานข้อมูล Big Data สามารถรองรับได้ทั้งข้อมูลแบบโครงสร้าง (structured data) เช่น ข้อมูลตัวเลข ข้อมูลตัวอักษร และข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง (unstructured data) เช่น ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง ข้อมูลวิดีโอ
  • ช่วยให้องค์กรตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ การวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูล ทำให้องค์กรเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า แนวโน้มของตลาด และสถานการณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำและทันต่อเหตุการณ์
  • สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กร เช่น การปรับปรุงกระบวนการผลิต การลดต้นทุน และการเพิ่มยอดขาย จากผลของการวิเคราะห์ข้อมูล
  • วิเคราะห์การแข่งขันขององค์กรที่ใช้ฐานข้อมูล Big Data ได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัดความได้เปรียบในการแข่งขันกับคู่แข่ง เนื่องจากสามารถมองเห็นภาพรวมของตลาดและแนวโน้มต่างๆ ได้ดีกว่า

ฐานข้อมูล Big Data กับ Marketplace Online

Big Data เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่และหลากหลาย เช่น ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า ข้อมูลสินค้าและบริการ ข้อมูลสถิติการตลาด เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของ Marketplace Online ในด้านต่างๆ ดังนี้

Personalization 

ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าแต่ละรายได้ดีขึ้น ซึ่งช่วยให้ Marketplace Online สามารถนำเสนอสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละรายได้มากขึ้น เช่น การแนะนำสินค้าที่เกี่ยวข้อง การเสนอโปรโมชั่นที่ตรงกับความสนใจของลูกค้า เป็นต้น

Recommendation

การแนะนำสินค้าและบริการที่ตรงกับความสนใจของลูกค้าได้ ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถค้นพบสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการได้ง่ายขึ้น เช่น การแนะนำสินค้าตามประวัติการซื้อสินค้า การแนะนำสินค้าจากความสนใจของลูกค้า เป็นต้น

Targeting 

กำหนดเป้าหมายกลุ่มลูกค้าได้อย่างแม่นยำ ซึ่งช่วยให้ Marketplace Online สามารถสื่อสารและนำเสนอสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การแบ่งกลุ่มลูกค้าตามความสนใจ การแบ่งกลุ่มลูกค้าตามพฤติกรรมการซื้อ เป็นต้น

Fraud Detection

 รูปแบบการตรวจจับการทำธุรกรรมที่ผิดปกติ เช่น การทุจริต การฉ้อโกง เป็นต้น ซึ่งช่วยให้ Marketplace Online สามารถปกป้องลูกค้าและทรัพย์สินของ Marketplace Online

Customer Service 

เราสามารถนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาช่วยปรับปรุงการบริการลูกค้า เช่น การตอบคำถามลูกค้า การแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้า เป็นต้น ซึ่งช่วยให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีจาก Marketplace Online 

และนี่ก็คือความหมายของฐานข้อมูล Big Data ว่ามีประโยชน์และใช้งานในด้านระบบ Marketplace Online ได้ยังไงบ้าง หลักๆ ก็จะเป็นการประเมินถึงคุณภาพของระบบการจัดการทั้งหมด ดูองค์รวมเพื่อประมวลผลออกมา รวมถึงการนำไปใช้ปรับปรุงการดูแลลูกค้า ว่ามีข้อควรปรับตรงไหนบ้าง หรือควรแก้ไขอะไรยังไงต่อไปในอนาคตได้

โปรแกรมบัญชี AccCloud เป็นโปรแกรมที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ครบถ้วน เป็นโปรแกรมระดับ ERP แต่ราคาระดับโปรแกรมบัญชีทั่วไป เหมาะกับองค์กรขนาดกลาง-ใหญ่ เข้าชมบริการเพิ่มเติมได้ที่ โปรแกรมบัญชี AccCloud

ประโยชน์ของโปรแกรมบัญชีในธุรกิจขนาดเล็กและกลาง

ธุรกิจขนาดเล็กและกลาง (Small and Medium-sized Enterprises หรือ SMEs) คือธุรกิจที่มีขนาดไม่ใหญ่มากและไม่ใช่บริษัทใหญ่หรือองค์กรขนาดใหญ่ ธุรกิจประเภทนี้มักมีลักษณะต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับประเทศและส่วนกฎหมาย ซึ่งอาจจะกำหนดความเป็น SMEs ตามผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ธุรกิจ จำนวนพนักงาน รายได้ประจำปี หรือตัวชี้วัดอื่น ๆ ตามท้องถิ่น

ธุรกิจขนาดเล็กและกลาง หมายถึงอะไร

ธุรกิจขนาดเล็กและกลาง (SMEs) หมายถึงกลุ่มของธุรกิจที่มีขนาดเล็กถึงกลางตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ธุรกิจในกลุ่มนี้มักมีลักษณะการดำเนินงานที่เป็นตัวของเจ้าของธุรกิจ มีจำนวนพนักงานน้อยกว่าบริษัทใหญ่ และมักมีทางเลือกในการจัดการและตัดสินใจที่รวดเร็วมากขึ้น โดยทั่วไปแล้ว มีการกำหนดข้อกำหนดเพื่อจำแนกธุรกิจขนาดเล็กและกลางตามตัวชี้วัดต่าง ๆ เช่น จำนวนพนักงาน, ยอดขายประจำปี, สินทรัพย์รวม, และอื่น ๆ ซึ่งข้อกำหนดเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศหรือเขตภูมิภาค ยิ่งไปกว่านั้น การจำแนก SMEs อาจยังคำนึงถึงลักษณะด้านการดำเนินธุรกิจ เช่น ธุรกิจตามกลุ่มอุตสาหกรรม หรือลักษณะพิเศษอื่น ๆ ที่กำหนดโดยหน่วยงานหรือกฎหมายในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งธุรกิจขนาดเล็กและกลาง มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจของประเทศ มีบทบาทในการสร้างงานและรายได้ ส่งเสริมนวัตกรรมและความสร้างสรรค์ และมีส่วนในการกระจายความเจริญรุ่งเรืองในระดับพื้นที่นานาชาติอีกด้วย

ประโยชน์ของโปรแกรมบัญชีใน SMEs

  • ความแม่นยำและความถูกต้องในการบันทึกข้อมูล: โปรแกรมบัญชีช่วยในการบันทึกข้อมูลการเงินอย่างถูกต้องและมีความแม่นยำ ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากข้อผิดพลาดในกระบวนการบัญชีและการเงิน
  • รายงานทางการเงิน: โปรแกรมบัญชีช่วยในการสร้างรายงานการเงินที่สำคัญ เช่น งบการเงิน, งบทดลอง, รายงานภาษี เพื่อให้ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจและวางแผนธุรกิจ รวมถึงวิเคราะห์และปรับแผนการเงินเพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน
  • การประหยัดเวลาและทรัพยากร: ช่วยลดความซับซ้อนในกระบวนการบัญชีและการเงิน ช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรที่จะเสียไปในกระบวนการดำเนินธุรกิจ
  • การปฏิบัติตามกฎหมายและภาษี: โปรแกรมบัญชีช่วยในการคำนวณภาษีและการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีและการเงิน ช่วยในการป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
  • การวิเคราะห์ผลกระทบของการตัดสินใจทางการเงิน: โปรแกรมบัญชีช่วยในการวิเคราะห์ผลกระทบของการตัดสินใจต่าง ๆ ทางการเงินต่อธุรกิจ ช่วยให้ SMEs สามารถวางแผนเติบโตและการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การบริหารจัดการธุรกิจ: ช่วยในการวิเคราะห์สถานะการเงินของธุรกิจ ช่วยให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการและเติบโตในอนาคตได้

ดังนั้น โปรแกรมบัญชีในธุรกิจขนาดเล็กและกลาง หรือ SMEs เป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจในหลายประเทศ เนื่องจากมีบทบาทที่สำคัญในการสร้างงานและสร้างรายได้ รวมถึงเป็นแหล่งสร้างนวัตกรรมและความสร้างสรรค์ในสังคมธุรกิจ. การใช้เทคโนโลยีและการบริหารแบบเป็นระบบจะช่วยให้ SMEs สามารถเติบโตและเหนือกว่าคู่แข่งในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

8 รายจ่ายต้องห้ามทางภาษี รู้ก่อนเสียเงินฟรี

ภาษีเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการเกิดรายได้ของรัฐบาลและมีบทบาทในการส่งเสริมความเสมอภาคในสังคม แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีบางรายจ่ายที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเราที่ไม่ต้องมีการเสียภาษีใดๆ นอกจากนี้ยังมีบางรายจ่ายที่ต้องทำการเสียภาษีเรียกว่าหนีไม่ได้เลยอย่างการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็คงจะหนีไม่พ้นสิทธิที่บริษัทเสียภาษีบนฐานของผลกำไรของบริษัท ในบทความนี้ เราจะมาพิจารณา 8 รายจ่ายที่ต้องห้ามทางภาษีในประเทศไทย ห้ามนำไปคิดคำนวณเป็นรายจ่ายตอนเสียภาษีเด็ดขาด เพราะผิดกฎหมาย มีหลักๆ ดังนี้

1.เงินช่วยเหลือหรือเงินสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐบาล

เงินช่วยเหลือหรือเงินสนับสนุนที่ได้รับจากหน่วยงานรัฐบาลในกรณีเหตุฉุกเฉินหรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันอาจไม่ต้องเสียภาษี

2.รายได้จากการทำกิจการธุรกิจที่ได้รับยกเว้นภาษี

บางธุรกิจและกิจการอาจได้รับยกเว้นภาษีในบางกรณี อย่างเช่น การลงทุนในธุรกิจของพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ (BOI) หรือธุรกิจที่ได้รับสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานรัฐบาล

3.รายได้จากการซื้อขายทองคำ

รายได้ที่ได้รับจากการซื้อขายทองคำในรูปของทองคำชนิดต่างๆ ที่ได้รับการยกเว้นภาษีซึ่งกำหนดโดยกฎหมาย

4.รายได้จากการรับของขวัญและบริจาค

เงินที่ได้รับจากการรับของขวัญและบริจาคที่อยู่ในกรอบที่กฎหมายกำหนดสามารถรับได้โดยไม่ต้องเสียภาษี

5.เงินเดือนและค่าจ้าง

เงินเดือนและค่าจ้างที่ได้รับจากการทำงานที่มีเงื่อนไขตามกฎหมาย ส่วนใหญ่ไม่ต้องเสียภาษีเนื่องจากภาษีได้ถูกหักก่อนการจ่ายเงินเดือนและค่าจ้าง

6.การรับประโยชน์ทางสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นๆ

การรับสวัสดิการเช่น ค่าคลอดบุตร ค่าทำฟัน สวัสดิการเงินบำนาญ และสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ได้รับจากหน่วยงานรัฐบาลในบางกรณีอาจไม่ต้องเสียภาษี

7.เงินรางวัลที่ได้รับในการแข่งขัน

เงินรางวัลที่ได้รับจากการแข่งขันต่างๆ เช่น กีฬา ศิลปะ การแสดง และกิจกรรมอื่นๆ ที่ได้รับรางวัลไม่ต้องเสียภาษี

8.เงินออมในบัญชีออมทรัพย์

เงินที่อยู่ในบัญชีออมทรัพย์ที่เปิดในธนาคารมีการยกเว้นภาษีเมื่อถอนเงินเป็นครั้งแรกไม่เกิน ฿500,000 ต่อปีภาษี สำหรับบัญชีที่อยู่ค้างไว้เกิน 7 ปีและออกให้กับคนที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป ยกเว้นการเสียภาษีอากรที่แน่นอนในทุกกรณี

ในการจัดการเงินและการวางแผนการเสียภาษี ควรให้ความสำคัญในการตรวจสอบรายจ่ายให้ดีว่ามาจากส่วนไหนบ้่างแยกเป็นหมวดหมู่อย่างละเอียด อย่านำมาปะปนกันเพื่อการวางแผนการเงินระยะยาว ของเราในอนาคต ต้องระวังไม่ให้เกิดการละเมิดกฎหมายทางภาษีอาจมาจากการที่เราทำข้อมูลรายการการเสียภาษีผิดพลาด สามารถส่งผลให้ต้องเสียภาษีเพิ่มเติม และอาจถูกเสียค่าปรับและโทษทางภาษีจากเจ้าหน้าที่หรืออาจเสียภาษีโดยไม่ได้รับการยกเว้น ดังนั้น ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภาษีและการเสียภาษีให้ละเอียดก่อนดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับเงินหรือทรัพย์สินในทุกครั้ง 

ส่วนใครที่เริ่มเสียภาษีครั้งแรก ไม่รู้ว่าต้องเริ่มจากตรงไหน สามารถตรวจสอบข้อมูลภาษี ที่เว็บ https://www.rd.go.th/272.html กรมสรรพากรได้เลย 

ใครบ้างที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม? สามารถจดได้ตอนไหน?

ระบบภาษีในประเทศไทย มีผลต่อธุรกิจทุกอย่างเป็นจำนวนมากธุรกิจที่ดำเนินกิจการในประเทศไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจข้อกำหนดในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับด้านภาษี เราจะพามาเจาะลึกถึงรายละเอียดว่าธุรกิจแบบใดบ้าง ที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้ข้อมูลเชิงลึกว่าเมื่อใดที่ควรจดบันทึกขั้นตอนการจดทะเบียน

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ธุรกิจที่เข้าเกณฑ์ที่กำหนดจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยทั่วไปธุรกิจที่มีหน้าที่ต้องลงทะเบียน คือ

  • ธุรกิจที่มีรายรับหรือรายได้จากการขายสินค้า หรือบริการเป็นยอดจำนวนเงินมากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี
  • ธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการ ที่พิสูจน์ได้ว่ามีการดำเนินงาน และเตรียมการประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้า หรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน หรือก่อสร้างอาคารสำนักงาน 
  • ธุรกิจที่อยู่นอกราชอาณาจักรและได้ขายสินค้าอยู่ภายในราชอาณาจักร โดยมีตัวแทนอยู่ภายในราชอาณาจักร ให้ตัวแทนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการจดทะเบียน

ต้องเริ่มจดภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อไหร่

การติดตามปริมาณการขายของธุรกิจเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญ ที่ต้องใช้ประกอบในการพิจารณาว่าเมื่อใดจำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม นี่คือเหตุผลสำคัญที่ควรพิจารณา

ตรวจสอบยอดขาย

หมั่นตรวจสอบรายได้ของธุรกิจเป็นประจำ เพื่อประเมินว่าใกล้ถึงหรือเกินเกณฑ์การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มรึยัง 

ติดตามการคาดการณ์ในอนาคต

ถ้าคุณคาดว่าธุรกิจของคุณจะเติบโตและผ่านเกณฑ์การจดทะเบียน VAT ในอนาคต เราขอแนะนำให้เริ่มกระบวนการลงทะเบียนตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนด และตามเวลา

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี

ถ้าคุณไม่แน่ใจ เกี่ยวกับข้อกำหนดในการจดทะเบียนหรือต้องการความช่วยเหลือในการปรึกษา คาดการณ์ว่าควรจดทะเบียนเมื่อใด แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีหรือกรมสรรพากรในประเทศไทย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำ

ระยะเวลาในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

เมื่อธุรกิจของคุณมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องทำการยื่นขอจดทะเบียนภายใน 30 วัน เริ่มนับจากวันที่ธุรกิจของคุณผ่านเกณฑ์หรือทราบว่าจะเกินเกณฑ์

การทำความเข้าใจข้อกำหนดในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจที่จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับด้านภาษี เมื่อระบุว่าธุรกิจของคุณเป็นไปตามเกณฑ์ และขอแนะนำให้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีหรือกรมสรรพากรเพื่อจัดการกับคำถามที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คุณอยากรู้

ถ้าคุณมีความกังวลในการทำเอกสารเกี่ยวกับภาษี
เราขอแนะนำ “โปรแกรมบัญชี” ที่จะช่วยจัดการงานด้านเอกสารเกี่ยวกับภาษีได้รวดเร็วและถูกต้อง
สนใจเข้าใช้บริการโปรแกรมบัญชี AccCloud สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : acccloud.tech

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

8 ข้อที่ควรรู้ ก่อนเริ่มขั้นตอนการขึ้นระบบโปรแกรมบัญชี

ในปัจจุบัน การใช้แรงงานคนในการทำงาน หรือที่เรียกว่าระบบ Mannual กลายเป็นสัญลักษณ์ของความล้าหลัง ถ้าพูดถึงการทำธุรกิจก็จะมีสิ่งหนึ่งควบคู่ตามกันมาคือการทำบัญชี เพราะมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับหลายสิ่งมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายภาษี การคุมต้นทุน งบกำไรต่างๆ และการใช้คนในการทำบัญชี ก็มักจะเกิดความผิดพลาดและล่าช้า ทำให้เกิดการสร้างสิ่งที่จะช่วยให้การทำบัญชีสะดวกมากขึ้น นั่นก็คือ “โปรแกรมบัญชี” ที่จะเข้ามามีส่วนช่วยในการทำบัญชีของธุรกิจ ช่วยลดต้นทุน เก็บรักษาข้อมูล จัดแจงงานบัญชีและแบ่งส่วนงานต่างๆ ขององค์กร แต่การใช้โปรแกรมบัญชีก็ยังคงต้องการคนคอยควบคุมการทำงานอยู่แต่ใช้กำลังคนน้อยลง ทำให้ไม่ต้องจ้างพนักงานจำนวนมาก ซึ่งก่อนที่จะเริ่มใช้โปรแกรมบัญชี มีข้อที่ควรรู้ก่อนการขึ้นระบบโปรแกรมบัญชี

แนะนำข้อที่ควรรู้ ก่อนเริ่มขั้นตอนการขึ้นระบบโปรแกรมบัญชี

1. ประชุมสรุปหาความต้องการ

รวบรวมตัวแทนทีมงานแต่ละส่วน เพื่อเข้าร่วมการประชุมหาความต้องการของระบบ ว่าถ้าต้องการใช้โปรแกรมบัญชี มีความจำเป็นยังไงบ้าง และมีฟังก์ชั่นอะไรที่จำเป็นสำหรับธุรกิจของเรา และมีความจำเป็นมากพอหรือไม่ ที่จะลงทุนใช้โปรแกรมบัญชี เพื่อให้การทำงานง่ายขึ้น

2. Mapping การใช้งาน

วางแผนการใช้งานของโปรแกรมบัญชีที่ต้องการว่าแต่ละหน่วยงาน มีความจำเป็นต้องใช้ฟังก์ชั่นส่วนไหนบ้างของโปรแกรม เพื่อให้การทำงานมีความชัดเจนและราบรื่น เพราะการวางแผนที่ดีจะช่วยให้ การทำงานแต่ละหน่วยงานขึ้นและทำงานร่วมกันได้ดี

3. สอนการใช้งานหน่วยที่เกี่ยวข้อง

หลังจากประชุมสรุปหาความต้องการและวางแผนการทำงานเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องมีการเชิญตัวแทนของแต่ละหน่วยงานมาศึกษาวิธีการทำงานของโปรแกรมบัญชี เพื่อให้เข้าใจวิธีการทำงานอย่างถูกต้อง

4. จัดเตรียมข้อมูล

จัดเตรียมข้อมูลต่างๆ ที่ต้องใช้ตาม template ที่ถูกเตรียมไว้ด้วย Microsoft Excel เพื่อให้นำข้อมูลการเงินต่างๆ ที่ต้องนำเข้าระบบโปรแกรมบัญชีได้ง่าย และข้อมูลมีความถูกต้อง

5. นำข้อมูลเข้าสู่ระบบ

หลังจากทำการเตรียมข้อมูลเรียบแล้ว ให้เริ่มนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้เตรียมไว้อัพโหลดขึ้นบนโปรแกรมบัญชี ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ในการคำนวณ วิเคราะและสร้างแบบฟอร์มต่างๆ ของโปรแกรมบัญชี

6. นัดอบรมการใช้งานแยกแต่ละแผนก 

หลังจากที่ตัวแทนแต่ละหน่วยงานได้รับการสอนวิธีการใช้งานแล้ว ก็ต้องนำความรู้ที่ได้มาสอนแก่พนักงานคนอื่นภายในแผนก เพื่อให้เข้าใจวิธีการทำงานและใช้งานอย่างทั่วถึง

7. ปรับแต่งแบบฟอร์ม 

ก่อนการเริ่มใช้โปรแกรมบัญชี ต้องปรับแบบฟอร์มให้สอดคล้องกับการใช้งาน เพราะในแต่ละแบบฟอร์มจะมีรายละเอียดของธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป และจะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการแก้ไขแบบฟอร์มหลายๆ ครั้ง

8. ขึ้นระบบ และ ติดตามข้อมูลที่เข้าสู่ระบบ

เริ่มการใช้งานโปรแกรมบัญชี และคอยติดตามข้อมูลภายในโปรแกรมว่ามีความครบถ้วนหรือ จะได้ลดโอกาสเกิดความผิดพลาด และได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง 100% 

และทั้งหมดนี่ก็คือ ข้อที่ควรรู้ก่อนเริ่มขั้นตอนการขึ้นระบบโปรแกรมบัญชี ที่ทำได้ง่ายและไม่ยากการปรับมาใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ดีกว่าการทำบัญชีแบบเดิม ที่อาจเกิดข้อผิดพลาดได้ตลอดเวลาและล่าช้ามาก การหันมาใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์จะช่วยให้การทำบัญชีและการจัดการของธุรกิจคุณง่ายมากยิ่งขึ้น และลดความผิดพลาดจากการทำงาน ด้วยฟังก์ชั่นและแบบฟอร์มเอกสารที่หลากหลาย ทำให้ไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานจำนวนมาก และในทุกขั้นตอนการขึ้นระบบโปรแกรมบัญชี จะมีทีมดูแลและให้คำปรึกษาการใช้งานจากโปรแกรมบัญชีออนไลน์ ทำให้ไม่ต้องกังวลในแต่ละขั้นตอนเลย

สำหรับใครที่สนใจใช้งานโปรแกรมบัญชี AccCloud ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : AccCloud.tech
หรือถ้าอยากดูฟังก์ชั่นเพิ่มเติมก็สามารถเข้าทดลองการใช้งานได้ที่ คลิ๊ก

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Education Template

Scroll to Top