เคล็ดลับธุรกิจ

อยากยื่นขอใบแทนใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำยังไง ?

เอกสารใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ก.พ.20 ผู้ประกอบกิจการจะได้รับเอกสารใบนี้เมื่อ ธุรกิจได้รับรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี โดยวิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ขั้นตอนการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)  ใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ก.พ.20 เป็นเอกสารขนาด A4 ผู้ประกอบการมักเก็บไว้ในกรอบหรืออุปกรณ์ที่สามารถป้องกันไม่ให้เอกสารเสียหายได้ ซึ่งในเอกสารก็จะมีข้อมูลของ จุดสถานที่ตั้งของสถานประกอบการ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี และวันทีให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนและข้อมูลสำคัญอื่นๆ  แต่ถ้าเอกสารได้รับความเสียหานจะทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ ทำให้มีการใช้งานเอกสารทดแทนที่เรียกว่า “ใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม” และมีวิธีการขอเอกสารอย่างไร 

ใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ

เอกสารที่ใช้ทดแทน “ใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม” ที่ชำรุดหรือเสียหายได้

วิธีการยื่นขอใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรณีที่ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน ยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่แล้วแต่กรณี หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร https://www.rd.go.th 

หมายเหตุ : ต้องยื่นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลาย

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • แบบคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.04) จำนวน 3 ฉบับ
  • ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ที่ชำรุด
  • ใบแจ้งความกรณีสูญหาย
  • หนังสือมอบอำนาจ กรณีให้ผู้อื่นทำการแทนปิดอากรแสตมป์ 10 บาท
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว

เอกสารใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นจริงๆ เท่านั้น ทางที่ดีควรดูและเอกสารใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับจริงให้ดี จะดีกว่า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่จะตามมาภายหลัง หรือความยุ่งยากในการไปขอเอกสารใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 

ขั้นตอนการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ง่าย ๆ

หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจในปัจจุบัน สำหรับเหล่าผู้ประกอบการที่ได้รับรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เราจะมาแนะนำขั้นตอนการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแบบง่ายๆ ว่าต้องเตรียมอะไรบ้าง และต้องเริ่มทำอย่างไร

สามารถยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ได้ที่ไหน

วิธีการยื่นเอกสารขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีหลักๆ อยู่ 2 วิธี คือ

1. การยื่นจดทะเบียน VAT แบบยื่นเอกสาร

การยื่นเอกสารคำขอจดทะเบียนจะแบ่งตามกรณีของบริษัทแต่ละบริษัท 3 กรณี ดังนี้

1. กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่

2. กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ และกรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอที่กรมสรรพากรมิได้จัดอัตรากำลังไว้ ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเดิมที่เคยควบคุมพื้นที่นั้น กรณีมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในท้องที่ที่สถานประกอบการอันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่เพียงแห่งเดียว

3. กรณีสถานประกอบการที่อยู่ในความดูแลของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่น ณ สำนักงานบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือจะยื่นผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ก็ได้ 

2. การยื่นจดทะเบียน VAT แบบออนไลน์

สำหรับวิธีการแบบออนไลน์ ให้ยื่นแบบคำขอผ่านทางเว็บไซต์ www.rd.go.th 

เอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

เอกสารทื่ผู้ประกอบการต้องใช้ยื่นกับกรมสรรพากร ประกอบด้วย

เมื่อไหร่ที่เราจะต้องเริ่มยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 

แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเมื่อไหร่ที่เราจะต้องเริ่มยื่น มีระยะเวลาอย่างไร

  • หลังจากวันที่มีมูลค่ารายรับมากกว่า 1.8 ล้านบาท ภายใน 30 วัน
  • วันที่เริ่มการประกอบกิจการไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้า หรือการให้บริการ รวมไปถึงกรณีระหว่างการเตรียมที่จะประกอบกิจการ มีการซื้อสินค้าหรือการเข้ารับตัวบริการ ที่เข้าเงื่อนไขการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการจะเริ่มยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายใน 6 เดือน ก่อนวันเปิดกิจการอย่างเป็นทางการ

และนี่ก็เป็นวิธีการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ง่าย ๆ จาก Acccloud ERP โดยวิธีแต่ละแบบก็สามารถเลือกได้ตามความสะดวกของผู้ประกอบการแต่ละท่าน ให้ประกอบการตัดสินใจอีกครั้ง และการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ไม่ได้จำเป็นที่จะต้องมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปีก็สามารถยื่นได้ เช่นกัน

นักทำบัญชีฟรีแลนซ์ vs นักทำบัญชีในองค์กร ต่างกันอย่างไร

นักทำบัญชี คือบุคคลหรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีและการเงินขององค์กรหรือบริษัท ซึ่งหน้าที่หลักของนักทำบัญชี คือ การบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนสำหรับการรายงานแก่ผู้บริหาร นักลงทุน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นักทำบัญชีฟรีแลนซ์ คือ

คือ บุคคลหรือนักวิชาชีพที่ทำงานเป็นอิสระ ให้บริการทางการบัญชีแก่ลูกค้าหรือองค์กรต่างๆ โดยไม่ต้องเป็นพนักงานประจำในองค์กรใด ๆ นักทำบัญชีฟรีแลนซ์มักมีความเชี่ยวชาญในการจัดทำบัญชีทางการเงิน การวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน การเตรียมเอกสารภาษี และงานที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีและการเงินในองค์กร

นักทำบัญชีในองค์กร คือ

นักทำบัญชีในองค์กร คือบุคคลที่ได้รับการจ้างเป็นพนักงานขององค์กรหรือบริษัท เพื่อดำเนินการทางด้านการบัญชีและการเงินขององค์กรนั้น ๆ ซึ่งมีหน้าที่หลักในการจัดการและบันทึกข้อมูลทางการเงินเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ในองค์กร

อยากขึ้นทะเบียนนักทำบัญชี เตรียมตัวยังไง ?

การขึ้นทะเบียน สามารถทำได้ผ่านระบบเว็บไซต์ออนไลน์ได้ โดยจะทำผ่าน เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเมนูผู้ทำบัญชี ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ เมื่อทำการลงทะเบียนและได้รับการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว เราจะได้เลขประจำตัวมาเพื่อใช้แสดงความน่าเชื่อถือว่าเรานั่นเอง

เอกสารสำคัญที่ใช้ในการขึ้นทะเบียน

  1. สำเนาบัตรประชาชน
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. สำเนาวุฒิการศึกษา
  4. รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าชัดหลังตรง ไม่มีปิดบังใบหน้า สวมชุดสุภาพ พื้นหลังสีพื้น ไม่มีลวดลาย 
  5. ใบการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
  6. ใบเสร็จค่าสมาชิกสภาวิชาชีพที่ยังไม่หมดอายุ
  7. รายชื่อลูกค้าที่รับทำบัญชี
  8. หลักฐานการพัฒนาความรู้วิชาชีพ (CPD)

สรุปก็คือ นักทำบัญชีฟรีแลนซ์มีความอิสระในการทำงานและให้บริการแก่ลูกค้าจากหลากหลายธุรกิจต่าง ๆ ในขณะที่นักทำบัญชีในองค์กร มักมีบทบาทและความรับผิดชอบในการบัญชีและการเงินขององค์กรโดยเฉพาะ และจำต้องปฏิบัติตามกำหนดที่มีในสถานที่ทำงาน เพื่อให้สะดวกต่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ทำธุรกิจด้านการขนส่ง ต้องเตรียมตัวเสียภาษีอะไรบ้าง

ธุรกิจด้านการขนส่ง เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการขนส่งในทุกด้านของเศรษฐกิจ การขนส่งเป็นส่วนสำคัญของภูมิภาคพาณิชย์และการเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจแต่ละแขนงกัน นอกจากนี้ยังรวมถึงบริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและควบคุมกระบวนการขนส่ง เช่น การจัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าในเวลาที่กำหนด เป็นต้น

แล้วธุรกิจการขนส่ง ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง ?

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

เป็นภาษีที่คิดจากมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นในกระบวนการซื้อขายสินค้าหรือบริการ ภาษี VAT ถูกคิดจากมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการซื้อขายและตามท้องถิ่นที่มีกำหนดในแต่ละประเทศค่า ภาษี VAT ที่เรียกเก็บจากลูกค้าของธุรกิจส่วนใหญ่นั้นสามารถถูกหักลดหย่อนในกระบวนการซื้อขายในภายหลังได้ และเฉพาะค่าภาษี VAT ที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้าหรือบริการที่มีความเกี่ยวข้องกับการซื้อขายของธุรกิจการขนส่ง

  • ภาษีบุคคลธรรมดา

เป็นภาษีที่บุคคลธรรมดาต้องเสียตามรายได้ที่ได้รับต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงรายได้จากธุรกิจการขนส่งหากธุรกิจนั้นถูกดำเนินโดยบุคคลธรรมดา การเสียภาษีบุคคลธรรมดาจะขึ้นอยู่กับกฎหมายและเงื่อนไขภาษีของแต่ละประเทศ และอาจมีการลดหย่อนรายได้ต่าง ๆ ที่อาจช่วยลดจำนวนภาษีที่ต้องเสียลงด้วย

  • ภาษีนิติบุคคล

เป็นภาษีที่บริษัทหรือนิติบุคคลต้องเสียตามกำไรหรือกำไรสุทธิที่ได้รับจากธุรกิจของตน และมีผลกระทบต่อธุรกิจการขนส่งเช่นกัน ภาษีนิติบุคคลจะถูกคำนวณตามกำไรหรือกำไรสุทธิที่ขนส่งสร้างขึ้น โดยมีอัตราภาษีที่กำหนดโดยรัฐบาลของแต่ละประเทศ และอาจมีการลดหย่อนรายได้หรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่อาจช่วยลดจำนวนภาษีที่ต้องเสียลงด้วย

  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

สำหรับธุรกิจการขนส่ง ภาษีหัก ณ ที่จ่ายอาจเกี่ยวข้องกับการจ่ายให้กับบุคคลหรือบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น การจ้างบริการโรงแรมสำหรับคนขับรถหรือการจ่ายค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการขนส่ง เมื่อธุรกิจการขนส่งจ่ายเงินให้กับบุคคลหรือบริษัทดังกล่าว บางส่วนของเงินจ่ายนี้อาจถูกหักเป็นภาษีหัก ณ ที่จ่าย และส่งให้กับหน่วยงานภาษีหรือรัฐบาลตามกฎหมายภาษีที่ใช้ในประเทศนั้น ๆ

อย่างไรก็ตาม การเสียภาษีในธุรกิจการขนส่ง สิ่งสำคัญที่ต้องทำคือปฏิบัติตามกฎหมายภาษีและและเสียภาษีอย่างถูกต้อง การปรึกษาทนายความหรือที่ปรึกษาด้านภาษี ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่น เพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขนส่งของเรา รวมถึงประกอบธุรกิจได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

อยากเปิดธุรกิจของตัวเอง ต้องรู้จักภาษีอะไรบ้าง ?

การดำเนินธุรกิจของตัวเอง ไม่เพียงแค่เรื่องของการผลิตหรือการขายสินค้าและบริการเท่านั้น ยังต้องพิจารณาถึงเรื่องทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับภาษี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงภาษีที่คนทำธุรกิจต้องทำความรู้จักเพื่อประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของตนเอง

1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (บุคคลธรรมดา)

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่คนที่มีรายได้จากการทำงานหรือกิจการต่างๆ ต้องชำระตามร้อยละของรายได้ที่ได้รับ เป็นเงินได้ที่สะสมมาจากเงินเดือน ค่าจ้างทำงานอิสระ รายได้จากการลงทุน และกิจกรรมอื่นๆ ภาษีนี้มีอัตราภาษีที่แตกต่างกันไปตามระดับรายได้ คำนวณและส่งเสียตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้รัฐมีเงินทุนในการดำเนินงานสาธารณะต่างๆ

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

VAT เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการขายสินค้าและบริการ แต่จะถูกนำไปเก็บจากกลุ่มธุรกิจในระหว่างกระบวนการผลิตและกระบวนการจำหน่าย หรือกระบวนการส่งเสริมการขาย การคิดคำนวณภาษี VAT จะอิงตามราคาขายของสินค้าหรือบริการ และส่งเสียให้รัฐเป็นจำนวนเงินที่ได้รับจากผู้บริโภค

3. ภาษีนิติบุคคล

ภาษีนิติบุคคลเป็นภาษีที่บริษัทหรือนิติบุคคลต้องชำระจากกำไรที่ได้รับจากกิจการของตน อัตราภาษีนิติบุคคลจะแตกต่างกันไปตามกฎหมายและรัฐบาลของแต่ละประเทศ การวางแผนเรื่องภาษีนิติบุคคลจำเป็นเพื่อให้บริษัทสามารถจัดการกำไรให้เกิดประสิทธิภาพที่สูงที่สุด

4. ภาษีธุรกิจเฉพาะอื่นๆ

นอกจากภาษีที่กล่าวมานี้แล้ว ยังมีภาษีธุรกิจเฉพาะอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อธุรกิจ เช่น ภาษีอสังหาริมทรัพย์ ภาษีป้าย ภาษีสรรพสิ่ง และอื่น ๆ ที่อาจมีการบังคับใช้ในระหว่างการดำเนินกิจการธุรกิจนั้น ๆ

ตัวอย่างกิจการธุรกิจ ที่ต้องเสียภาษี

  • ร้านค้าปลีก
  • บริษัทที่จดทะเบียน
  • ธุรกิจอิสระ
  • ธุรกิจออนไลน์
  • ผู้ประกอบการวิชาชีพ
  • โรงงาน
  • กิจการร้านอาหาร
  • ฟรีแลนซ์

การทำธุรกิจไม่เพียงแค่ความสามารถในการผลิตหรือการบริการเท่านั้น การทราบและเข้าใจเกี่ยวกับภาษีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการทุกคนควรทำความรู้จัก การวางแผนเรื่องภาษีให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายจะช่วยให้ธุรกิจเติบโตและยั่งยืนอย่างเป็นระบบ การปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีก่อนการดำเนินการก็เป็นสิ่งที่แนะนำอีกอย่างหนึ่งเพื่อประสบความสำเร็จในการบริหารธุรกิจของคุณได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

เรื่องน่ารู้นักธุรกิจ 6 วิธีลดหย่อนภาษีนิติบุคคล ภาษีบริษัท

การเริ่มต้นธุรกิจต้องเริ่มจากการเสียภาษี เพื่อให้เรามีสิทธิ์เป็นเจ้าของธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายและสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้อง และเริ่มต้นธุรกิจอย่างเป็นธรรมในสังคม การจัดการภาษีเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการทำธุรกิจ เพื่อทำให้ธุรกิจมีกำไรสูงสุดและเติบโตอย่างยั่งยืน ความรู้และความเข้าใจในเรื่องภาษีช่วยให้เรามีวิธีการจัดการกับภาษีให้เหมาะสมและลดหย่อมภาระในการเสียภาษีนั่นเอง

การยื่นภาษี SMEs คืออะไร

การยื่นภาษีสำหรับธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (Small and Medium-sized Enterprises – SMEs) เป็นกระบวนการที่สำคัญและต้องทำอย่างถูกต้องเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายภาษีและลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดพลาดหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ขั้นตอนในการยื่นภาษี SMEs ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ และกฎหมายที่ใช้อยู่ในประเทศที่ธุรกิจกำลังดำเนินการ นอกจากนี้ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถมีความน่าเชื่อถือและน่าสนใจในสายตาของนักลงทุนและลูกค้า ดังนั้นควรให้ความสำคัญในการศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและข้อกำหนดในการยื่นภาษีในประเทศให้ได้มากที่สุด

6 วิธีการลดหย่อนภาษีสำหรับนิติบุคคล

สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีสำหรับนิติบุคคลมีหลากหลายแบบและมีความแตกต่างไปตามกฎหมายภาษีและนิติบุคคลในแต่ละประเทศ เช่น

1. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจสำหรับนิติบุคคลคือค่าใช้จ่ายที่นิติบุคคลต้องจ่ายเพื่อให้ธุรกิจดำเนินการอย่างปกติและสร้างรายได้ให้กับองค์กร ซึ่งอาจรวมถึงค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบ ค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าหรือบริการ ค่าเช่าพื้นที่ธุรกิจ ค่าจ้างพนักงาน และค่าใช้จ่ายในการโฆษณาและตลาดสินค้า การหักค่าใช้จ่ายออกมาจากรายได้ในการคำนวณภาษีจะทำให้นิติบุคคลต้องชำระภาษีน้อยลง เนื่องจากภาษีคำนวณจากยอดกำไรหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ซึ่งอย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายที่สามารถหักลดหย่อนภาษีอาจมีข้อจำกัดและเงื่อนไขตามกฎหมายภาษีของแต่ละประเทศ

2. ค่าเสื่อมสภาพ

สินทรัพย์ทางธุรกิจที่มีอายุการใช้งานยาวนานอาจถูกต้องลดหย่อนภาษีเนื่องจากค่าเสื่อมราคา การลดหย่อนนี้สามารถให้กับสินทรัพย์ทางธุรกิจเช่นอาคาร รถยนต์ อุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในธุรกิจ สำหรับนิติบุคคลเป็นกระบวนการลดมูลค่าของสินทรัพย์ในธุรกิจตามอายุการใช้งานของสินทรัพย์นั้น ๆ หรือตามอายุการใช้งานที่กำหนดโดยกฎหมายภาษี ซึ่งเป็นข้อกำหนดสำคัญในการหักลดหย่อนภาษีในนิติบุคคล ค่าเสื่อมราคามีวัตถุประสงค์เพื่อให้นำเสนอการสูญเสียมูลค่าของสินทรัพย์ในเวลาที่เป็นความจริง และช่วยให้บริษัทหรือนิติบุคคลมีความสมเหตุสมผลในการคำนวณภาษีอากร

  • ตัวอย่างการคำนวณค่าเสื่อมสภาพ: ถ้านิติบุคคลซื้อรถยนต์ใหม่ในมูลค่า 1,000,000 บาทและมีอายุการใช้งานประมาณ 5 ปี ค่าเสื่อมราคาสำหรับรถยนต์นี้อาจถูกคำนวณว่า 1,000,000 / 5 = 200,000 บาทต่อปี ดังนั้นในแต่ละปีนิติบุคคลสามารถหักลดหย่อนภาษีที่ต้องชำระลงจากกำไรสุทธิตามจำนวนค่าเสื่อมราคานี้

3. การลงทุนในโครงการพัฒนา

การลงทุนในโครงการพัฒนาสำหรับนิติบุคคลเป็นกระบวนการที่นิติบุคคลลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการหรือโครงการในสาขาต่างๆ เพื่อสร้างรายได้ สร้างมูลค่าเพิ่มใหม่ และขยายธุรกิจใหม่โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ การลงทุนในโครงการพัฒนานี้อาจเป็นการสร้างอาคารสำหรับใช้งาน การพัฒนาและสร้างอุตสาหกรรม การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การขยายตลาดใหม่ หรือการลงทุนในโครงการที่ส่งเสริมความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพสูง จึงมีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากสามารถส่งผลกระทบต่อการเติบโตและกำไรขององค์กรได้โดยตรง นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่นิติบุคคลสามารถขยายธุรกิจในกลุ่มกิจการใหม่หรือตลาดใหม่ได้ นอกจากนี้การลงทุนในโครงการพัฒนายังส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมและพัฒนาเทคโนโลยีในองค์กร ช่วยเสริมสร้างชื่อเสียงให้กับองค์กร และช่วยเพิ่มมูลค่าส่วนที่อยู่ในตลาดของนิติบุคคล ในบางกรณี การลงทุนในโครงการพัฒนาหรือโครงการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานรัฐบาลอาจได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี

4. การจ้างงานสำหรับผู้สูงอายุ

การจ้างงานผู้สูงอายุสำหรับนิติบุคคลเป็นกระบวนการที่นิติบุคคลจ้างผู้สูงอายุมาทำงานในองค์กรหรือธุรกิจของตน เป็นทั้งการจ้างงานแบบประจำหรือการจ้างงานแบบชั่วคราว การจ้างงานผู้สูงอายุสามารถสร้างความหลากหลายและความเสมอภาคในองค์กร และเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจให้กับนิติบุคคลได้ ดังนั้นการจ้างงานผู้สูงอายุควรพิจารณาความสามารถและความเหมาะสมของผู้สูงอายุกับงานที่ต้องการ การให้โอกาสและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถทำงานได้อย่างเต็มความสามารถ และการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการทำงานที่มีความสุขและความสำเร็จในองค์กร

5. สิทธิประโยชน์ในการลงทุนในวิสาหกิจสามัญ

การลงทุนในวิสาหกิจสามัญสำหรับนิติบุคคลมีสิทธิประโยชน์มากมายที่สามารถเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าและเพิ่มมูลค่าให้กับนิติบุคคลได้ นี่คือสิทธิประโยชน์หลักๆ ของการลงทุนในวิสาหกิจสามัญสำหรับนิติบุคคล เช่น การทำกำไร: การลงทุนในวิสาหกิจสามัญเป็นโอกาสในการทำกำไรสูงขึ้นสำหรับนิติบุคคล เนื่องจากวิสาหกิจสามัญมีศักยภาพในการสร้างรายได้และกำไรที่เพิ่มขึ้นในระยะยาว เช่น ความเจริญเติบโตของธุรกิจ ควบคุมการเสี่ยง ส่งเสริมนวัตกรรม ส่วนแบ่งผลประโยชน์ ส่งเสริมภาพลักษณ์และสัญชาติตรา ดังนั้นควรให้ความสำคัญในการศึกษาและการวางแผนก่อนการลงทุนเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดและลดความเสี่ยงในการลงทุนในวิสาหกิจสามัญ แนะนำให้นิติบุคคลปรึกษาที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อให้เกิดผลการลงทุนที่ดีที่สุดสำหรับองค์กร ในบางกรณี การลงทุนในวิสาหกิจสามัญที่ได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานรัฐบาลอาจได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี

6. การทำประกันชีวิตสำหรับนิติบุคคล

เป็นกระบวนการที่นิติบุคคลทำการซื้อประกันชีวิตเพื่อปกป้องความเสี่ยงในกรณีที่มีเหตุขัดข้องที่อาจเกิดขึ้นกับคนที่มีตำแหน่งหน้าที่ในองค์กรหรือสำหรับพนักงานที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจ การทำประกันชีวิตสามารถให้ความคุ้มครองในกรณีที่ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนเสียชีวิต หรือป่วยเป็นโรคร้ายแรง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจหรือองค์กรในลักษณะต่าง ๆ เช่น การปกป้องความเสี่ยง การบำรุงความเชื่อถือในองค์กร การเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร การสร้างสัญญาณภาพ การดูแลสวัสดิการและพนักงาน ดังนั้นการทำประกันชีวิตจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการวางแผนการเงินให้กับนิติบุคคล โดยสามารถปรับเปลี่ยนแผนการเงินให้เหมาะสมกับความต้องการและสภาพความเสี่ยงขององค์กรได้

อย่างไรก็ตาม การลดหย่อมภาษีนิติบุคคลหรือภาษีบริษัทเป็นกระบวนการที่นิติบุคคลมีโอกาสลดจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในการดำเนินธุรกิจหรือกิจกรรมต่าง ๆ โดยใช้กฎหมายและมาตรการทางภาษีต่าง ๆ ซึ่งสามารถทำได้ตามกฎหมายที่มีในแต่ละประเทศ ดังนั้น จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายภาษีที่มีในแต่ละประเทศและควรปรึกษาเรื่องภาษีกับที่ปรึกษาทางการเงินและนักกฎหมายเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการลดหย่อมภาษีสำหรับนิติบุคคล

ใครบ้างที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม? สามารถจดได้ตอนไหน?

ระบบภาษีในประเทศไทย มีผลต่อธุรกิจทุกอย่างเป็นจำนวนมากธุรกิจที่ดำเนินกิจการในประเทศไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจข้อกำหนดในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับด้านภาษี เราจะพามาเจาะลึกถึงรายละเอียดว่าธุรกิจแบบใดบ้าง ที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้ข้อมูลเชิงลึกว่าเมื่อใดที่ควรจดบันทึกขั้นตอนการจดทะเบียน

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ธุรกิจที่เข้าเกณฑ์ที่กำหนดจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยทั่วไปธุรกิจที่มีหน้าที่ต้องลงทะเบียน คือ

  • ธุรกิจที่มีรายรับหรือรายได้จากการขายสินค้า หรือบริการเป็นยอดจำนวนเงินมากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี
  • ธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการ ที่พิสูจน์ได้ว่ามีการดำเนินงาน และเตรียมการประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้า หรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน หรือก่อสร้างอาคารสำนักงาน 
  • ธุรกิจที่อยู่นอกราชอาณาจักรและได้ขายสินค้าอยู่ภายในราชอาณาจักร โดยมีตัวแทนอยู่ภายในราชอาณาจักร ให้ตัวแทนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการจดทะเบียน

ต้องเริ่มจดภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อไหร่

การติดตามปริมาณการขายของธุรกิจเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญ ที่ต้องใช้ประกอบในการพิจารณาว่าเมื่อใดจำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม นี่คือเหตุผลสำคัญที่ควรพิจารณา

ตรวจสอบยอดขาย

หมั่นตรวจสอบรายได้ของธุรกิจเป็นประจำ เพื่อประเมินว่าใกล้ถึงหรือเกินเกณฑ์การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มรึยัง 

ติดตามการคาดการณ์ในอนาคต

ถ้าคุณคาดว่าธุรกิจของคุณจะเติบโตและผ่านเกณฑ์การจดทะเบียน VAT ในอนาคต เราขอแนะนำให้เริ่มกระบวนการลงทะเบียนตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนด และตามเวลา

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี

ถ้าคุณไม่แน่ใจ เกี่ยวกับข้อกำหนดในการจดทะเบียนหรือต้องการความช่วยเหลือในการปรึกษา คาดการณ์ว่าควรจดทะเบียนเมื่อใด แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีหรือกรมสรรพากรในประเทศไทย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำ

ระยะเวลาในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

เมื่อธุรกิจของคุณมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องทำการยื่นขอจดทะเบียนภายใน 30 วัน เริ่มนับจากวันที่ธุรกิจของคุณผ่านเกณฑ์หรือทราบว่าจะเกินเกณฑ์

การทำความเข้าใจข้อกำหนดในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจที่จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับด้านภาษี เมื่อระบุว่าธุรกิจของคุณเป็นไปตามเกณฑ์ และขอแนะนำให้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีหรือกรมสรรพากรเพื่อจัดการกับคำถามที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คุณอยากรู้

ถ้าคุณมีความกังวลในการทำเอกสารเกี่ยวกับภาษี
เราขอแนะนำ “โปรแกรมบัญชี” ที่จะช่วยจัดการงานด้านเอกสารเกี่ยวกับภาษีได้รวดเร็วและถูกต้อง
สนใจเข้าใช้บริการโปรแกรมบัญชี AccCloud สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : acccloud.tech

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ข้อแตกต่างของภาษีบุคคลธรรมดา กับ ภาษีบริษัท

สำหรับใครที่เริ่มทำธุรกิจมาได้สักพักแล้ว คงมีเรื่องของภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอบ่างแน่นอน ยิ่งทำไปนานวันเข้า ก็เริ่มสงสัยกับตัวเองว่าเราเหมาะสำหรับ ธุรกิจแบบบุคคลธรรมดาหรือบริษัทกันแน่นะ? พอเริ่มหาข้อมูลเองก็เริ่มสับสน ไม่แน่ใจว่าควรเลือกแบบไหนดีกว่ากัน เพราะมีทั้งข้อดีและเสียทั้งคู่

แต่ก่อนที่จะเริ่ม ตัดสินใจทำอะไรสักอย่าง เราก็ต้องมีข้อมูลเพื่อเป็นตัวช่วยในการคิด วิเคาระห์ และหาผลลัพธ์ ให้ออกมาดีที่สุด การเลือกว่าจะ เข้ามาเสียภาษีบุคคลธรรมดา หรือ ภาษีบริษัทดีก็ควรเลือกจากความเหมาะสม และความพร้อมของธุรกิจองคฺ์ก่อนจะดีที่สุด 

ข้อแตกต่างระหว่างภาษีส่วนบุคคลและภาษีบริษัท

ผู้ชำระเงิน: ภาษีส่วนบุคคลชำระในนามของบุคคลธรรมดา ในขณะที่ภาษีบริษัทจะชำระในนามของชื่อธุรกิจ

หลักเกณฑ์: ภาษีส่วนบุคคลขึ้นอยู่กับรายได้ของแต่ละบุคคล ซึ่งภาษีบริษัทขึ้นอยู่กับผลกำไรของธุรกิจ

อัตรา: อัตราภาษีส่วนบุคคลจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับรายได้ของแต่ละบุคคล กลับกันอัตราภาษีบริษัทมักจะเป็นแบบคงที่

การหักเงิน: ผู้เสียภาษีส่วนบุคคลสามารถหักค่าใช้จ่ายบางอย่างจากรายได้ที่ต้องเสียภาษี ในขณะที่ผู้เสียภาษีบริษัทสามารถหักค่าใช้จ่ายได้น้อยกว่า

เงินปันผล: เงินปันผลที่จ่ายให้กับผู้เสียภาษีส่วนบุคคลจะถูกหักภาษีเป็นรายได้ ในขณะที่เงินปันผลที่จ่ายให้กับผู้เสียภาษีบริษัทจะถูกหักภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า

ยกตัวอย่างภาษีส่วนบุคคลและภาษีบริษัทมีดังนี้

ภาษีส่วนบุคคล

หากคุณเป็นพนักงาน คุณต้องจ่ายภาษีส่วนบุคคลจากเงินเดือนของคุณ หากคุณประกอบอาชีพอิสระ คุณต้องเสียภาษีส่วนบุคคลจากกำไรจากธุรกิจของคุณ

ภาษีบริษัท

หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ คุณต้องจ่ายภาษีนิติบุคคลจากกำไรที่ธุรกิจของคุณที่ได้รับ

4 ข้อที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือก ภาษีบุคคลธรรมดา หรือว่า ภาษีบริษัทง่ายขึ้น

ข้อมูลต่อจากนี้จะช่วยให้คุณสามารถเลือกแนวทางการขึ้นภาษีได้ง่ายว่า รูปแบบบุคคลธรรมดาและบริษัท ทางเลือกไหนที่เหมาะกับเรามากกว่ากัน

 

ข้อที่ 1.เรื่องการจดภาษีขึ้นทะเบียน

ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจบุคคลธรรมดา หรือว่า บริษัท ก็ต้องจดทะเบียนด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งสามารถจดได้ที่ จดทะเบียนพาณิชย์ที่ สำนักงานเขต หรือ อบต.  แต่ของบริษัทจะต้อง จดทะเบียนบริษัทที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าต่อ

ธุรกิจ บุคคลธรรมดา

ข้อดี : ทำได้ง่าย  ค่าธรรมเนียมไม่แพง

ข้อเสียไม่น่าเชื่อถือ กรณีคู่ค้าต้องการทำการค้า กับนิติบุคคลเท่านั้น

ธุรกิจ บริษัท

ข้อดี :  น่าเชื่อถือกว่า

ข้อเสีย : ยุ่งยากกว่า ค่าธรรมเนียมสูงกว่า

ข้อที่ 2.เรื่องภาษี

ทุกคนเองก็รู้อยู่แล้วว่าต้องเสีบภาษีทั้งสองแบบ ซึ่งความแตกต่างในการยื่นเรื่องค่อนข้างต่างกันมาก มีอะไร้บ้างมาดูกัน

ภาษีเงินได้

ธุรกิจ บุคคลธรรมดา :  เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา

ธุรกิจ บริษัท:  เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ค่าใช้จ่าย

ธุรกิจ บุคคลธรรมดา:  ตามจริงหรือเหมา แล้วแต่ประเภทรายได้

ธุรกิจ บริษัท:  หักค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวกับบริษัท เช่น เงินเดือนพนักงาน หรือต้นทุนสินค้าต่างๆ

ฐาน

ธุรกิจ บุคคลธรรมดา:  เงินได้สุทธิ 

ธุรกิจ บริษัท:  จากกำไรสุทธิที่บริษัทได้รับ

อัตราภาษี

ธุรกิจ บุคคลธรรมดา:   อัตราก้าวหน้า สูงสุด 35 เปอร์เซ็นต์ 

ธุรกิจ บริษัท:  กำไร 300,000 บาทแรกยกเว้นภาษี, กำไรตั้งแต่ 300,000 – 3 ล้านบาท ต้องเสียภาษี 15%, กำไรมากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไป ต้องเสียภาษี 20%

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ธุรกิจ บุคคลธรรมดา:  ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นเข้าข่ายการจ่าย เงินตามมาตรา 50 ทวิและ ท.ป. 4/2528 แห่งประมวลรัษฎากร

ธุรกิจ บริษัท:  ภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีที่บริษัทต้องจ่ายให้กับสรรพกรทุกวันที่ 7 ของเดือน ต้องหักเมื่อมีการซื้อหรือจ่ายค่าบริการ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

เหมือนกัน ถ้ารายได้เกิน 1.8 ล้านบาท ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะทำธุรกิจรูปแบบใดก็แล้วแต่

ข้อที่ 3.เรื่องของค่าจ้างพนักงาน

เรื่องของค่าจ้างไม่ได้ต่างกันเลย เพราะว่าการจะมีพนักงานได้ก็ต้องมีลูกข้างมากว่า 1 คนทั้งคู่ แถมต้องทำตามกฏระเบียบให้เรียบร้อย ทำเรื่องขึ้นทะเบียนประกันสังคม และมีการส่งประกันทุกเดือนตามกฏหมาย 

ข้อที่ 4.เรื่องการส่งงบการเงิน 

จุดนี้จะทำให้เห็นได้ชัดถึงความแตกต่างของทั้งคู่อย่างชัดเจน กับในนามบุคคลธรรมดา กฏหมายไม่ได้บังคับให้ส่งงบการเงิน ซึ่งต่างจากบริษัท ที่ต้องทำบัญชีให้เรียบร้อย เพราะต้องนำงบไปส่งหน่วยงานราชการ ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจมีการจ้างฝากการบัญชีเข้ามาช่วยจัดระเบียนด้วยจะดีแะลง่ายกว่าการจัดกรข้อมูลเอง 

เชื่อว่าหลังจากที่ทุกคนอ่านข้อมูลจบแล้วจะสามารถเข้าใจ ข้อแตกต่างของภาษีบุคคลธรรมดา กับ ภาษีบริษัท และตัดสินใจเลือกได้แล้วว่าเราควรเลือกไปทางไหนดีกว่ากัน 

***ทริปเล็กๆ เรื่องความรู้เกี่ยวกับภาษี 

กฎเฉพาะสำหรับภาษีส่วนบุคคลและภาษีนิติบุคคลจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ตัวอย่างเช่น ในอินเดีย อัตราภาษีนิติบุคคลคือ 25% ในขณะที่อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอยู่ระหว่าง 5% ถึง 30%

การปิดงบการเงิน สำคัญกับบริษัทขนาดไหนมาดูกัน

การปิดงบการเงินหมายถึงกระบวนการที่ใช้ในการสรุปและบันทึกข้อมูลทางการเงินขององค์กรหรือบริษัทในระยะเวลาที่กำหนด ปกติแล้ว การปิดงบการเงินเป็นกระบวนการที่ทำขึ้นเป็นประจำทุกๆ ปีหรือระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งรวมถึงการสร้างรายงานการเงินสำคัญ เช่น งบกำไรขาดทุน (Income Statement) งบการเงินสรุปผลกิจกรรมทางการเงิน (Statement of Cash Flows) และงบสมดุล (Balance Sheet) ซึ่งเป็นเอกสารที่สำคัญในการวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินธุรกิจขององค์กร เพื่อสร้างรายงานการเงินสรุปผลกำไรหรือขาดทุนและสภาพการเงินอื่น ๆ ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น พนักงาน  และผู้อื่นที่ให้ความสนใจด้านการเงินภายในบริษัท 

การปิดงบการเงิน สำคัญกับบริษัทขนาดไหน

สำคัญกับบริษัททุกขนาดไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ เพราะงบการเงินเป็นเอกสารที่สำคัญในการวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินธุรกิจขององค์กร นอกจากนี้ การปิดงบการเงินยังเป็นการสร้างความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรต่อสถานะทางการเงินขององค์กรและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ 

องค์กรขนาดใหญ่ อาจมีทีมงานการเงินภายในที่รับผิดชอบในการปิดงบการเงิน โดยมีบัญชีและผู้เชี่ยวชาญทางการเงินภายในที่เป็นผู้รับผิดชอบภายในระบบ  องค์กรที่ใหญ่ขนาดยังมักมีความซับซ้อนในการดำเนินการทางการเงิน ซึ่งอาจต้องรวมกับข้อมูลทางการเงินจากสาขาหรือธุรกิจย่อยต่างๆ ภายในบริษัท 

สำหรับบริษัทขนาดเล็ก หรือร้านค้าขนาดเล็ก อาจใช้บริการจากผู้ที่มีความชำนาญในการบัญชีและการเงินภายนอกแทน อย่าง บริษัทที่ให้บริการด้านบัญชี บริการที่ปรึกษาการเงิน หรือบริษัทตรวจสอบและปิดงบการเงิน (Audit and Accounting Firms) เข้ามาทำแทน เนื่องจากการจ้างพนังงานการเงินเข้ามา อาจไม่คุ้มทุนที่ต้อเสียให้แบบรายเดิน การจ้างบรษัทภายนอก ถือว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดนั่นเอง 

ขั้นตอนการปิดงบการเงินปกติประกอบด้วยขั้นตอนหลักๆ ดังนี้:

ขั้นตอนการปิดงบการเงินอาจมีความหลากหลายและขึ้นอยู่กับลักษณะและขนาดขององค์กร แต่ขั้นตอนที่กล่าวมาเป็นขั้นตอนพื้นฐานที่ถูกนำมาใช้ในหลายองค์กรเพื่อปิดงบการเงินและสร้างรายงานการเงิน ก่อนส่งสรรพกรดท่านั้น

  1. รวบรวมข้อมูลการเงิน เริ่มต้นด้วยการรวบรวมข้อมูลทางการเงินที่จำเป็น เช่น ใบบันทึกการเงิน (financial transactions), รายงานการเงินรายเดือน/รายไตรมาส, รายงานการเงินของส่วนต่างๆ ในองค์กร เป็นต้น
  2. การบันทึกข้อมูล ข้อมูลการเงินภาษีซื้อ-ขายที่รวบรวมมาจะต้องถูกบันทึกในระบบบัญชีขององค์กร โดยใช้วิธีการบัญชีที่ถูกต้องและเป็นไปตามหลักการบัญชีที่กำหนด
  3. การตรวจสอบการเงินที่เดินบัญชี หรือ Statement ในขั้นตอนนี้จะตรวจสอบข้อมูลการเงินที่บันทึกไว้ว่าถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ และทำการปรับปรุงหากพบข้อผิดพลาดหรือข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
  4. เริ่มสร้างรายงานการเงิน หลังจากที่ข้อมูลการเงินถูกตรวจสอบและปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว จะทำการสร้างรายงานการเงินต่างๆ เช่น งบกำไรขาดทุน, งบการเงินสรุปผลกิจกรรมทางการเงิน, และงบสมดุล
  5. การตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบภายนอก (หากมี) บริษัทหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในการตรวจสอบและปิดงบการเงินอาจมาตรวจสอบรายงานการเงินเพื่อยืนยันความถูกต้องและเชื่อถือได้  เป็นข้อมูลจัดเก็บสำหรับกิจการต่อไป ไม่น้อยกว่า 5 ปี ตามที่กฎหมายกำหนด
  6. การส่งงบ รายงานการเงินที่สร้างขึ้นจะถูกนำส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมกสรรพากรภายใน 150 วัน นับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

การปิดงบการเงินในองค์กรมักมีความซับซ้อนและจำเป็นต้องมีผู้ที่มีความรู้และความชำนาญในการบัญชีและการเงินมารับผิดชอบ บางองค์กรอาจมีทีมงานการเงินภายในที่รับผิดชอบในการปิดงบการเงิน ในขณะที่องค์กรอื่นๆ อาจเลือกที่จะจ้างบริษัทการเงินภายนอกแทน เพื่อลดค่าใช่จ่ายที่ไม่จำเป็นกับบริษัท

ลงทุนอะไรดี ให้มีกำไร ปี 2566

การลงทุนในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2566 มีความหลากหลายมากขึ้น โดยในภาคส่วนต่างๆ มีศักยภาพในการเติบโตสูง ประเทศไทยเป็นเศรษฐกิจที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีโอกาสมากมายสำหรับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ หรือแม้กระทั่งบุคคลทั่วไป 

การลงทุนนั้นไม่มีข้อกำจัด เรื่องของเงินว่าต้องลงทุนที่เท่าไหร่ และเราจะมาแนะนำการลงทุนต่างๆ ที่สามารถสร้างกำไรได้ ด้วยการยกตัวอย่างการลงทุนด้วยเงิน 10,000 บาทสามารถทำอะไรได้บ้างและผลกำไรจะออกมาเป็นยังไง แต่อันดับแรกที่เราต้องรู้เลยคือการลงทุนต้องพิจารณาจากอะไรบ้าง

ข้อควรพิจารณาก่อนเริ่มการลงทุน

  1. เงินลงทุนต้องเป็นเงินเย็น 

เงินเย็นเป็นเงินที่ได้จากการเหลือเก็บ เป็นเงินที่ไม่จำเป็นต้องนำไปใช้จ่ายอะไร แต่ถ้ายังมีพัธที่อาจจะต้องใช้เงินตรงนี้แนะนำให้อย่าพึ่งลงทุนจะดีกว่า

  1. ต้องมีเงินสำรอง

ก่อนจะลงทุนควรมีเงินทุนสำรองไว้ เพราะเราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ถ้ามีเงินสำรองใช้จ่ายเพียงพอ ค่อยมาลงทุน และจะได้ไม่เสี่ยงไปกู้เงินหรือยืมเงินคนอื่นอีกด้วย

  1. ลงทุนไปเพื่ออะไร

หาเป้าหมายในการลงทุน เพื่อที่จะได้จัดสรรปันส่วนของการลงทุนออกได้อย่างถูกจุด และตรงความต้องการ เช่น ใช้ซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือไว้จัดงานแต่งงาน

  1. ต้องการใช้ระยะเวลาเท่าไหร่

คำนวณระยะเวลาที่ต้องการลงทุน เพื่อนำมาพิจารณาว่าเราควรเลือกลงทุนกับอะไร ลงทุนระยะสั้นหรือระยะยาว จะได้ไม่ลงทุนผิดประเภท

  1. พร้อมรับความเสี่ยงไหม

เพราะทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ทั้งเสี่ยงที่จะได้กำไรสูง และเสี่ยงที่จะขาดทุนจนหมด จึงควรคิดและพิจารณาให้ดีก่อนว่าต้องการลงทุนไหม และลงทุนกับอะไรที่เราจะรับความเสี่ยงได้ไหว

แล้วถ้ามีงบ 10,000 บาทควรเลือกลงทุนอะไร

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าด้วยเงิน 10,000 บาท อาจจะยังไม่สามารถทำกำไรให้ผลตอบแทนที่สูงมาก ได้ แต่อาจจะทยอยเก็บผลกำไรสะสมไว้ เมื่อเวลาผ่านไปจึงค่อยนำเงินจากการทำกำไรนั้น มารวมเป็นก้อนใหญ่แล้วนำไปลงทุนเพิ่ม เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น ตามวิธีต่างๆที่เราจะแนะนำต่อไปนี้

  1. พันธบัตรรัฐบาล 

หรือพันธบัตรออมทรัพย์ ออกโดยกระทรวงการคลัง เป็นตราสารหนี้ เพื่อกู้เงินจาก ปชช. โดยส่วนใหญ่จะมีอายุ 3-10 ปี ดอกเบี้ย 2% สูงสุด 4% แล้วแต่ระยะเวลา ยิ่งนานยิ่งมีดอกเบี้ยสูง ผลตอบแทนจะไม่สูงมาก แล้วแต่อายุของพันธบัตร และดอกเบี้ยที่ได้จะถูกหักด้วยภาษี ณ ที่จ่าย 15% 

  1. ออมทอง

การออมทองเป็นการลงทุนที่ง่าย เพราะสามารถลงทุนหลักร้อยหลักพันได้ ตามเงื่อนไขของร้านทองที่เราเลือก และเมื่อออมทองจนครบกำหนด ก็สามารถถอนทองออกมาได้ หรือเลือกฝากไว้กับร้านก็ได้ แต่ต้องเลือกร้านให้ดี และเลือกร้านที่เงื่อนไขเหมาะสมกับเรา แต่ก็จะมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งผลดีและผลเสียเพราะต้องวัดจากราคาทองว่าอยู่ขาขึ้นหรือขาลง

  1. การซื้อหุ้น

ด้วยงบ 10,000 บาทก็สามารถลงทุ้นกับการซื้อหุ้นได้ แต่ก็จะมีตัวเลือกให้น้อยมากตามงบ และการซื้อขายหุ้นก็ยังมีคาธรรมเนียมและภาษีที่จะถูกหักอีก เพราะฉะนั้นการลงทุนซื้อหุ้นจะไม่เหมาะสำหรับการเร่งรีบซื้อมา ขายไป เพราะอาจทำให้ขาดทุนหนัก อาจใช้วิธีซื้อทิ้งไว้ เพื่อให้ได้รับผลกำไรจากเงินปันผล หรือส่วนต่างของราคาได้ แต่การลงทุนกับหุ้นจำไว้ว่ามีความเสี่ยง 10-20% เลยที่จะขาดทุน ถ้าจะลงทุนกับหุ้นจริงๆ ขอแนะนำให้ศึกษาเกี่ยวกับหุ้นที่เราจะซื้อให้ดีก่อนตัดสินใจ

  1. ฝากเงินในบัญชี

วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่ไม่อยากเสี่ยงขาดทุน ให้นำเงินไปฝากกับธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยสูงๆ ปัจจุบัน มีการฝากทั้งแบบออมทรัพย์ดิจิทัล และเงินฝากประจำ ที่สามารถรับดอกเบี้ยได้มากถึง 3% ต่อปี ถ้านำเงินไปฝากไว้และไม่ถอนออกมาเลย เช่น

  • ฝากเงิน 5,000 บาท รับดอกเบี้ย 3% ครบ 1 ปี ได้รับดอกเบี้ย 150 บาท
  • ฝากเงิน 5,000 บาท รับดอกเบี้ย 3% ครบ 1 ปี ได้รับดอกเบี้ย 300 บาท
  • ฝากเงิน 5,000 บาท รับดอกเบี้ย 3% ครบ 1 ปี ได้รับดอกเบี้ย 450 บาท
  1. การลงทุนสร้างกิจการ

การลงทุนค้าขายหรือทำกิจการเล็กๆ ของตัวเอง เป็นสิ่งที่สามารถเลือกทำตามความถนัดหรือความต้องการของตัวเองได้ เป็นนายตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น

  • กิจการขายอาหาร ขนม เบเกอรี่่
  • กิจการขายเสื้อผ้า ของใช้ต่างๆ
  • ซื้อแฟรนไชส์ที่เราสนใจ
  • บริการดูแลสัตว์เลี้ยง 

แต่การเป็นนายตัวเองก็แลกมากับความเหนื่อยที่มากขึ้น เพราะต้องลงทุน ลงแรงเอง และต้องสู้ด้วยความขยัน ถ้าเราทำได้ถูกทางผลตอบแทนก็จะดีตาม


และที่เราได้ยกตัวอย่างมาให้อ่านนี้ก็คือสิ่งที่ควรรู้ก่อนการลงทุน ว่าถ้าเรามีเงินแค่ 10,000 บาท เราควรที่จะลงทุนไหม และควรที่จะลงทุนกับอะไรเพื่อให้ เกิดผลประโยชน์สูงสุดสำหรับเรา

Education Template

Scroll to Top