ภาษี

เคล็ดลับทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายเพื่อยื่นภาษี สำหรับบุคคลธรรมดา

การเริ่มต้นทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เป็นสิ่งสำคัญสำหรับบุคคลธรรมดา ที่ประกอบอาชีพหรือมีรายได้ เพื่อใช้ประกอบการยื่นภาษีอากร การทำบัญชีที่ดี ช่วยให้ เรารู้สถานะทางการเงิน สามารถวางแผนการใช้จ่ายได้ นำข้อมูลไปลดหย่อนภาษี ยื่นภาษีอากรได้อย่างสะดวก เราจะมาแนะนำเคล็ดการทำบัญชีเพื่อยื่นภาษี สำหรับบุคคลธรรมดา แบบเข้าใจง่ายให้ได้อ่านกัน

4 ทริคการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายเพื่อยื่นภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา 

1. บันทึกรายรับ-รายจ่ายอย่างละเอียด

การจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายต้องจดให้ครบทุกบาททุกสตางค์ เพื่อให้เราเห็นยอดที่แท้จริง และแยกประเภทของรายรับรายจ่ายให้ชัดเจน เช่น รายได้เงินเดือน รายจ่ายค่าเช่า หรือถ้ามีการทำธุรกิจด้วยก็ต้องแยกบัญชีธุรกิจไว้ตะหากและทำการบันทึกแบบเดียวกัน อย่าลืมที่จะจดรายจ่ายส่นตัวที่สามารถนำไปใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ เช่น เบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของเรา

2. เก็บใบเสร็จและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ใบเสร็จและ ใบกำกับภาษี รวมถึงรายการหลักฐานการจ่ายเงินต่างๆ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการหักลดหย่อนภาษี เพื่อนำไว้ใช้แนบในการยื่นภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา

3. แพลตฟอร์มการบันทึกข้อมูลที่ปลอดภัย

แต่ละคนอาจจะมีรูปแบบการบันทึกข้อมูลรายรับ-รายจ่ายที่ไม่เหมือนกัน อาจจะเป็นการจดผ่านสมุบันทึก แอพพลิเคชั่น หรือโปรแกรมบัญชีคอมพิวเตอร์ ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละบุคคล เพราะการบันทึกแต่ละวิธีก็มีข้อดีแตกต่างกันไป 

4. รีเช็คความถูกต้องของข้อมูลบัญชี

ตรวจสอบยอดรายรับรายจ่ายทั้งหมดที่บันทึกว่าถูกต้องไหม  ยอดคงเหลือเท่ากับันทึกรายรับรายจ่ายไหม เอกสารที่เตรียมข้อมูลตรงกันไหม เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการทำบัญชีผิดพลาด

การยื่นภาษีบุคคลธรรมดาต้องทำอย่างไร

การยื่นภาษีกับกรมสรรพากรสำหรับบุคคลธรรมดา สามารถทำได้ทั้งการยื่นแบบออนไลน์ www.rd.go.th และที่หน่วยงานของกรมสรรพากร สามารถตรวจสอบรายละเอียดและกำหนดการชำระภาษีได้ที่ ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างไร และเมื่อใด? 

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณสามารถจัดการกับบัญชีรายรับ-รายจ่าย ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน พร้อมทั้งสามารถยื่นภาษีสำหรับบุคคลธรรมดาได้อย่างสบายใจ ไร้ความกังวล

โปรแกรมบัญชี AccCloud เป็นโปรแกรมที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ครบถ้วน เป็นโปรแกรมระดับ ERP แต่ราคาระดับโปรแกรมบัญชีทั่วไป เหมาะกับองค์กรขนาดกลาง-ใหญ่ และแบบฟอร์มเอกสารสำหรับยื่นสรรพากรที่เพรียบพร้อม เลือกเข้าชมบริการเพิ่มเติมได้ที่ โปรแกรมบัญชี AccCloud

ภาษีย้อนหลังคืออะไร ทำไมต้องมีการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ?

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีเรื่องภาษีย้อนหลัง (Retroactive tax) เกิดขึ้นบ่อยมากในวงการธุรกิจและการเงิน นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้มีผู้ประกอบการและนักลงทุนหลายคนได้รับความเสียหายอย่างมาก วันนี้เราจึงมาทำความเข้าใจกับเรื่องแนวทางการเรียกเก็บภาษีย้อนหลังว่ามันคืออะไร และทำไมถึงต้องมีการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง 

ภาษีย้อนหลังคืออะไร ?

ภาษีย้อนหลังคือภาษีที่ต้องชำระสำหรับรายได้ที่ได้รับในปีภาษีที่ผ่านมา แต่ยังไม่ได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือชำระภาษีสำหรับรายได้ดังกล่าว

ทำไมต้องมีการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ?

มีหลายกรณีที่อาจทำให้มีการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง เช่น

  • ผู้เสียภาษีไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับปีภาษีที่ผ่านมา
  • ผู้เสียภาษีคำนวณภาษีผิดพลาดและชำระภาษีน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
  • ผู้เสียภาษีมีรายได้ที่ไม่ได้แจ้งไว้ในแบบแสดงรายการภาษี
  • ผู้เสียภาษีมีการเปลี่ยนแปลงสถานะทางภาษี เช่น เปลี่ยนจากโสดเป็นสมรส หรือเปลี่ยนจากพนักงานประจำเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ

การเรียกเก็บภาษีย้อนหลังสามารถทำได้นานแค่ไหน ?

โดยทั่วไปแล้วกรมสรรพากรสามารถเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ภายใน 5 ปี นับจากวันที่ครบกำหนดชำระภาษีสำหรับปีภาษีนั้นๆ อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี กรมสรรพากรอาจสามารถเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้นานกว่า 5 ปี เช่น ในกรณีที่ผู้เสียภาษีมีการหลีกเลี่ยงภาษีโดยเจตนา

หากได้รับการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ควรทำอย่างไร?

หากได้รับการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ผู้เสียภาษีควรดำเนินการดังนี้

  • ตรวจสอบเอกสารการเรียกเก็บภาษีย้อนหลังอย่างละเอียดเพื่อให้แน่ใจว่าถูกต้อง
  • หากมีข้อสงสัยหรือข้อผิดพลาดใดๆ ควรติดต่อกรมสรรพากรเพื่อสอบถามหรือยื่นคำร้องขอทบทวนคำสั่งเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง
  • หากไม่สามารถชำระภาษีย้อนหลังได้เต็มจำนวนในคราวเดียว สามารถขอผ่อนชำระภาษีย้อนหลังได้โดยติดต่อกรมสรรพากร

การหลีกเลี่ยงการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง

เพื่อหลีกเลี่ยงการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ผู้เสียภาษีควรปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีให้ตรงเวลาและครบถ้วน หากมีข้อสงสัยหรือคำถามใดๆ เกี่ยวกับภาษี ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีหรือกรมสรรพากร

สรุปคือ ภาษีย้อนหลัง (Retroactive tax) เป็นเรื่องที่มีความสำคัญสำหรับผู้เสียภาษีและรัฐ เพราะเป็นทางเลือกที่ดีในทางการบัญชีเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและสอดคล้องกับหลักการบัญชีที่เป็นข้อบังคับ ในการจัดการเงินเกิน ภาษีย้อนหลังจึงเป็นเครื่องมือที่ทำให้ความเข้าใจกับกฎหมายภาษีเกิดขึ้นอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรการเงินของรัฐในทางการเสียภาษีได้ดีขึ้น

การชำระภาษีธุรกิจของคุณ ชำระได้ที่ไหนบ้าง ?

ส่วนของภาษีธุรกิจคือภาษีที่จัดเก็บจากกิจการเฉพาะ เช่น กิจการธนาคาร ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ การรับประกันชีวิต เป็นต้น ซึ่งมีความแตกต่างจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ทำการจัดเก็บจากกิจการทุกประเภท ภาษีธุรกิจมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บรายได้จากกิจการที่มีความเสี่ยงสูง หรือกิจการที่มีรายได้สูง โดยกำหนดอัตราภาษีที่สูงกว่าภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วการชำระภาษีธุรกิจของคุณ ชำระได้ที่ไหนบ้าง ? เราได้รวมคำตอบมาไว้ให้แล้ว

ช่องทางสำหรับการชำระภาษีธุรกิจ มีทางไหนบ้าง?

การชำระภาษีธุรกิจสามารถชำระได้หลายช่องทาง ดังนี้

1.ที่สำนักงานสรรพากร 

ทางผู้ประกอบการสามารถชำระภาษีธุรกิจได้ที่สำนักงานสรรพากรสาขาที่ตนเองจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยนำแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.40) ไปยื่นพร้อมชำระภาษี 

2.ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ 

สำหรับใครที่สะดวกชำระภาษีธุรกิจผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร (www.rd.go.th) โดยเข้าเมนู “ชำระภาษี”

3.ธนาคารหรือสถาบันการเงิน

ถ้าไม่ได้อยู่ใกล้บริเวณสำนักงานสรรพากร สามารถไปติดต่อชำระภาษีธุรกิจผ่านธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ร่วมรายการแทนได้ โดยนำแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.40) ไปยื่นพร้อมชำระภาษี เช่นเดียวกับสำนักงานสรรพากร 

4.ธนาณัติ 

การชำระภาษีธุรกิจด้วยธนาณัติ ต้องเข้าข่ายเงื่อนไข “ผู้มีเงินได้ที่ยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร“ จากนั้นให้ดำเนินการส่งธนาณัติที่เท่ากับจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ ส่งไปพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 (ห้ามหักค่าธรรมเนียม ในการส่งธนาณัติ) โดยสั่งจ่าย         

แล้วกรณีเจ้าของกิจการไม่ได้อยู่ในประเทศ ต้องทำอย่างไร?

สำหรับกรณีผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร สามารถใช้ช่องทางการชำระภาษีธุรกิจผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น โดยเข้าเมนู “ชำระภาษี” บนเว็บไซต์กรมสรรพากร

ทั้งนี้ผู้ประกอบการธุรกิจทุกท่านควรชำระภาษีธุรกิจให้ตรงตามกำหนดเวลา เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียเบี้ยปรับของภาษี หรือศึกษาข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ วิธีการชำระภาษี – กรมสรรพากร เพื่อตรวจสอบเงื่อนไขและข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกัับการเสียภาษีเพิ่มเติมจากกรมสรรพากรได้

โปรแกรมบัญชี AccCloud เป็นโปรแกรมที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ครบถ้วน เป็นโปรแกรมระดับ ERP แต่ราคาระดับโปรแกรมบัญชีทั่วไป เหมาะกับองค์กรขนาดกลาง-ใหญ่ และแบบฟอร์มเอสารสำหรับยื่นสรรพากรที่เพรียบพร้อม เลือกเข้าชมบริการเพิ่มเติมได้ที่ โปรแกรมบัญชี AccCloud

ต้องเริ่มเสียภาษีเงินเดือนเท่าไหร่ พร้อมทริควิธีการลดหย่อนภาษี

สำหรับมนุษย์เงินเดือนทุกคน หลังจากได้เริ่มทำงานมาได้ซักพักก็ต้องมีความคิดที่ว่า ถ้าเราทำงานแล้วต้องเริ่มเสียภาษีเงินเดือนเมื่อไหร่  แล้ววิธีการลดหย่อนภาษีให้คุ้มที่สุด บทความนี้เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับเกณฑ์การคิดภาษี ของปี 2567 แบบอย่างง่าย พร้อมวิธีการคิดแบบเสร็จสรรพ

เกณฑ์การเสียภาษีเงินเดือนสำหรับปี 2567 

เพื่อที่จะอธิบายให้เข้าใจทุกอย่างแบบง่ายๆ เราจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

1. กลุ่มที่ไม่ต้องเสียภาษี : เงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน และเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี (หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน)

2. กลุ่มที่ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี : เงินเดือน 10,001 – 26,583 บาทต่อเดือน และเงินได้สุทธิ 150,001 – 300,000 บาทต่อปี

3. กลุ่มที่ต้องเสียภาษี : เงินเดือน 26,584 บาทขึ้นไปต่อเดือน และเงินได้สุทธิ 300,001 บาทขึ้นไปต่อปี

ทริคการลดหย่อนภาษีแบบที่คุ้มที่สุด

สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าวิธีการลดหย่อนภาษี สามารถใช้วิธีไหนได้บ้าง เพื่อลดหย่อนภาษีให้ได้มากที่สุด มีรายการดังนี้

  • ค่าใช้จ่าย: หักได้ 50% ของเงินได้ ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว: 60,000 บาทต่อปี
  • ประกันสังคม: หักเบี้ยประกันสังคมที่จ่ายทั้งปี
  • ประกันชีวิต: หักเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายทั้งปี สูงสุด 30,000 บาท
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: หักเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สูงสุด 15% ของเงินเดือน
  • ค่าลดหย่อนอื่นๆ: เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าดูแลบิดามารดา ค่าจ้างพนักงาน เงินบริจาค ฯลฯ

วิธีการคำนวณภาษีแบบอย่างง่าย

ตัวอย่าง นายเอ ได้รับเงินเดือน 27,000 บาทต่อเดือน หักจ่ายประกันสังคม 750 บาทต่อเดือน และจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 15,000 บาทต่อปี

ขั้นที่ 1 คำนวณเงินได้ = 27,000 บาท x 12 เดือน = 324,000 บาท

ขั้นที่ 2 คำนวณค่าใช้จ่าย = 324,000 บาท x 50% = 162,000 บาท

ขั้นที่ 3 เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย = 324,000 บาท – 162,000 บาท = 162,000 บาท

ขั้นที่ 4 หักค่าลดหย่อน = 60,000 บาท + (750 บาท x 12 เดือน) + 20,000 บาท = 106,000 บาท

ขั้นที่ 5 ยอดเงินได้สุทธิ = 162,000 บาท – 106,000 บาท = 56,000 บาท

สรุปได้ว่า นายเอมีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท จึงถูกจัดอยู่ในกลุ่มไม่ต้องเสียภาษี

ข้อมูลข้างต้นนี้เป็นวิธีการคิดอย่างง่ายเท่านั้น สำหรับข้อมูลการยื่นภาษีต่างๆ สามารเข้าตรวจสอบหรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.rd.go.th และศึกษากำหนดการยื่นภาษีอยู่ช่วงไหนที่ >>>  https://www.rd.go.th/558.html <<<

โปรแกรมบัญชี AccCloud เป็นโปรแกรมที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ครบถ้วน เป็นโปรแกรมระดับ ERP แต่ราคาระดับโปรแกรมบัญชีทั่วไป เหมาะกับองค์กรขนาดกลาง-ใหญ่ และแบบฟอร์มเอกสารสำหรับยื่นสรรพากรที่เพรียบพร้อม เลือกเข้าชมบริการเพิ่มเติมได้ที่ โปรแกรมบัญชี AccCloud

อยากยื่นขอใบแทนใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำยังไง ?

เอกสารใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ก.พ.20 ผู้ประกอบกิจการจะได้รับเอกสารใบนี้เมื่อ ธุรกิจได้รับรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี โดยวิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ขั้นตอนการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)  ใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ก.พ.20 เป็นเอกสารขนาด A4 ผู้ประกอบการมักเก็บไว้ในกรอบหรืออุปกรณ์ที่สามารถป้องกันไม่ให้เอกสารเสียหายได้ ซึ่งในเอกสารก็จะมีข้อมูลของ จุดสถานที่ตั้งของสถานประกอบการ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี และวันทีให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนและข้อมูลสำคัญอื่นๆ  แต่ถ้าเอกสารได้รับความเสียหานจะทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ ทำให้มีการใช้งานเอกสารทดแทนที่เรียกว่า “ใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม” และมีวิธีการขอเอกสารอย่างไร 

ใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ

เอกสารที่ใช้ทดแทน “ใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม” ที่ชำรุดหรือเสียหายได้

วิธีการยื่นขอใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรณีที่ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน ยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่แล้วแต่กรณี หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร https://www.rd.go.th 

หมายเหตุ : ต้องยื่นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลาย

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • แบบคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.04) จำนวน 3 ฉบับ
  • ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ที่ชำรุด
  • ใบแจ้งความกรณีสูญหาย
  • หนังสือมอบอำนาจ กรณีให้ผู้อื่นทำการแทนปิดอากรแสตมป์ 10 บาท
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว

เอกสารใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นจริงๆ เท่านั้น ทางที่ดีควรดูและเอกสารใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับจริงให้ดี จะดีกว่า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่จะตามมาภายหลัง หรือความยุ่งยากในการไปขอเอกสารใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 

ขั้นตอนการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ง่าย ๆ

หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจในปัจจุบัน สำหรับเหล่าผู้ประกอบการที่ได้รับรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เราจะมาแนะนำขั้นตอนการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแบบง่ายๆ ว่าต้องเตรียมอะไรบ้าง และต้องเริ่มทำอย่างไร

สามารถยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ได้ที่ไหน

วิธีการยื่นเอกสารขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีหลักๆ อยู่ 2 วิธี คือ

1. การยื่นจดทะเบียน VAT แบบยื่นเอกสาร

การยื่นเอกสารคำขอจดทะเบียนจะแบ่งตามกรณีของบริษัทแต่ละบริษัท 3 กรณี ดังนี้

1. กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่

2. กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ และกรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอที่กรมสรรพากรมิได้จัดอัตรากำลังไว้ ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเดิมที่เคยควบคุมพื้นที่นั้น กรณีมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในท้องที่ที่สถานประกอบการอันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่เพียงแห่งเดียว

3. กรณีสถานประกอบการที่อยู่ในความดูแลของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่น ณ สำนักงานบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือจะยื่นผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ก็ได้ 

2. การยื่นจดทะเบียน VAT แบบออนไลน์

สำหรับวิธีการแบบออนไลน์ ให้ยื่นแบบคำขอผ่านทางเว็บไซต์ www.rd.go.th 

เอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

เอกสารทื่ผู้ประกอบการต้องใช้ยื่นกับกรมสรรพากร ประกอบด้วย

เมื่อไหร่ที่เราจะต้องเริ่มยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 

แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเมื่อไหร่ที่เราจะต้องเริ่มยื่น มีระยะเวลาอย่างไร

  • หลังจากวันที่มีมูลค่ารายรับมากกว่า 1.8 ล้านบาท ภายใน 30 วัน
  • วันที่เริ่มการประกอบกิจการไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้า หรือการให้บริการ รวมไปถึงกรณีระหว่างการเตรียมที่จะประกอบกิจการ มีการซื้อสินค้าหรือการเข้ารับตัวบริการ ที่เข้าเงื่อนไขการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการจะเริ่มยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายใน 6 เดือน ก่อนวันเปิดกิจการอย่างเป็นทางการ

และนี่ก็เป็นวิธีการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ง่าย ๆ จาก Acccloud ERP โดยวิธีแต่ละแบบก็สามารถเลือกได้ตามความสะดวกของผู้ประกอบการแต่ละท่าน ให้ประกอบการตัดสินใจอีกครั้ง และการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ไม่ได้จำเป็นที่จะต้องมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปีก็สามารถยื่นได้ เช่นกัน

ภาษีย้อนหลัง คืออะไร ? ตรวจสอบยังไงได้บ้าง ?

การเสียภาษี เป็นกระบวนการทางการเงินที่สำคัญที่ประชาชนและธุรกิจทุกอย่างต้องปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศที่ตนอยู่ การเสียภาษีเป็นวิธีที่รัฐบาลรวบรวมเงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐ ซึ่งเงินที่รัฐรวบรวมจากภาษีนี้จะถูกใช้ในการจ่ายค่าให้บริการสาธารณะ เช่น การศึกษา การดูแลสุขภาพ การเคลื่อนที่ และโครงการอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์สาธารณะ

ภาษีย้อนหลัง คือ

เป็นการชำระภาษีที่ไม่ครบตามกำหนด ซึ่งสรรพากรจะตรวจสอบว่าเข้าข่ายการเลี่ยงภาษีหรือไม่ โดยตรวจสอบจากย้อนชำระเก่า ๆ หากมียอดชำระที่แปลกไป สรรพากรจะตรวจสอบและติดต่อเราให้ชำระภาษีให้ครบตามที่กำหนดนั่นเอง

ค่าปรับภาษีย้อนหลัง

1. ยื่นเสียภาษีทันกำหนด แต่ไม่ครบ

  • เสียค่าปรับ 0.5 – 1 เท่าของภาษี

2. ยื่นเสียภาษีเกิดกำหนด

  • เสียค่าปรับ 1 -2 เท่าของภาษี
  • มีโทษทางอาญาสูงสุด 2,000 บาท

3. ตั้งใจไม่ยื่นเสียภาษี

  • เสียค่าปรับ 2 เท่าของภาษี
  • มีโทษทางอาญาสูงสุด 5,000 บาท จำคุกสูงสุด 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. เจตนาหนีภาษี

  • เสียค่าปรับ 2 เท่าของภาษี
  • มีโทษทางอาญาสูงสุด 200,000 บาท จำคุกสูงสุด 7 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

ภาษีย้อนหลัง มีอายุความกี่ปี

  • ภาษีเงินได้

ภาษีเงินได้ทั้งแบบบุคคลธรรมดาและแบบนิติบุคคล มีอายุความ 2 ปี สามารถขอขยายอายุความได้สูงสุด 5 ปี รวมถึงสรรพากรมีสิทธิในการดูรายการเดินบัญชีได้ตลอดเวลา

  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ

เป็นภาษีทีมาจากการประกอบกิจการ มีอายุความมากถึง 10 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มยื่นภาษี ตามมาตรา 193/31 

ทำยังไง หากไม่อยากโดนเรียกภาษีย้อนหลัง ?

  • ยื่นและชำระภาษีให้ครบตามกำหนดทุกปี
  • ทำบัญชีการยื่นภาษีแบบรายเดือน
  • ตรวจสอบเอกสารรายรับของธุรกิจ
  • ติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้งกับภาษี

ดังนั้น การปฏิบัติตามกฎหมายและชำระภาษีตามกำหนดอย่างถูกต้อง เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันความเสี่ยงในการโดนเรียกภาษีย้อนหลัง การปฏิบัติตามกฎหมายช่วยปกป้องความถูกต้องและลดความเสี่ยงในการเผชิญกับการโดนเรียกภาษีย้อนหลังจากกรมสรรพากรได้นั่นเอง

ทริคการคำนวณภาษี สำหรับพนักงานเงินเดือน คำนวณยังไง เสียเท่าไหร่บ้าง ?

“ภาษี” คือเงินที่คนหรือธุรกิจต้องจ่ายให้รัฐหรือรัฐบาล เพื่อรองรับงบประมาณและการดำเนินกิจกรรมของรัฐ ภาษีมีบทบาทสำคัญในการเก็บเงินสำหรับรัฐเพื่อใช้ในการให้บริการสาธารณสุข การศึกษา การสร้างสถานที่สาธารณะ และอื่น ๆ ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับประชาชน ซึ่งแต่ละประเภทของภาษีมีอัตราภาษีที่แตกต่างกันไป 

ฐานภาษี 

คือ ค่าหรือปริมาณที่ใช้เป็นพื้นฐานในการคำนวณจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายในภาษี ฐานภาษีสามารถเป็นรายได้ มูลค่า ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เป็นวัตถุสภาพที่ใช้ในกระบวนการเก็บเงินภาษี โดยทั่วไปแล้ว ภาษีจะเริ่มต้นที่กลุ่มเงินได้สุทธิไม่ถึง 150,000 บาทต่อปี สูงสุดมากกว่า 5 ล้านบาทต่อปี มีวิธีคำนวณสูตรง่าย ๆ คือ

เงินได้สุทธิ = เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี

ภาษีมีอะไรบ้าง 

  • ภาษีเงินได้แบบบุคคลธรรมดา และ แบบนิติบุคคล
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ
  • ภาษีอากรแสตมป์
  • ภาษีสรรพสามิต

วิธีการคำนวณภาษี สำหรับพนักงานเงินเดือน

  • เงินได้สุทธิ 0 – 150,000 บาท : ได้รับยกเว้น
  • เงินได้สุทธิ 150,001 – 300,000 บาท : อัตราภาษี 5%
  • เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท : อัตราภาษี 10%
  • เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท : อัตราภาษี 15%
  • เงินได้สุทธิ 750,001 – 1,000,000 บาท : อัตราภาษี 20%
  • เงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 บาท : อัตราภาษี 25%
  • เงินได้สุทธิ 2,000,001 – 5,000,000 บาท : อัตราภาษี 30%
  • เงินได้สุทธิ 5,000,001 บาท : อัตราภาษี 35%

ค่าลดหน่อยภาษี 

คือ รูปแบบหนึ่งของการลดจำนวนเงินที่ต้องจ่ายในภาษีโดยตรง นั่นคือ ค่าลดหน่วยภาษีจะลดจำนวนเงินที่คุณต้องจ่ายในภาษีตรง ๆ นั่นเอง ไม่ใช่การลดรายได้ก่อนที่จะคำนวณภาษีแต่อย่างใด เช่น

  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนบุตร 30,000 บาทต่อคน (แรกเกิด – 20 ปี)
  • ค่าฝากครรภ์และตลอดบุตร ไม่เกิน 60,000 บาท
  • ค่ากองทุนสำรองชีพ 15% ไม่เกิน 500,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนตามจริง ประกันชีวิต ไม่เกิน 100,000 บาท
  • อื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม การชำระภาษีตามระยะเวลาที่กำหนด และชำระครบเป็นหน้าที่ของทุกคน เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าปรับที่เพิ่มขึ้น และช่วยให้รัฐนำภาษีไปใช้ในการพัฒนาส่วนกลาง รวมถึงบริการด้านสาธารณะต่าง ๆ ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และดำเนินชีวิตได้ดีมากขึ้นนั่นเอง

นักทำบัญชีฟรีแลนซ์ vs นักทำบัญชีในองค์กร ต่างกันอย่างไร

นักทำบัญชี คือบุคคลหรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีและการเงินขององค์กรหรือบริษัท ซึ่งหน้าที่หลักของนักทำบัญชี คือ การบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนสำหรับการรายงานแก่ผู้บริหาร นักลงทุน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นักทำบัญชีฟรีแลนซ์ คือ

คือ บุคคลหรือนักวิชาชีพที่ทำงานเป็นอิสระ ให้บริการทางการบัญชีแก่ลูกค้าหรือองค์กรต่างๆ โดยไม่ต้องเป็นพนักงานประจำในองค์กรใด ๆ นักทำบัญชีฟรีแลนซ์มักมีความเชี่ยวชาญในการจัดทำบัญชีทางการเงิน การวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน การเตรียมเอกสารภาษี และงานที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีและการเงินในองค์กร

นักทำบัญชีในองค์กร คือ

นักทำบัญชีในองค์กร คือบุคคลที่ได้รับการจ้างเป็นพนักงานขององค์กรหรือบริษัท เพื่อดำเนินการทางด้านการบัญชีและการเงินขององค์กรนั้น ๆ ซึ่งมีหน้าที่หลักในการจัดการและบันทึกข้อมูลทางการเงินเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ในองค์กร

อยากขึ้นทะเบียนนักทำบัญชี เตรียมตัวยังไง ?

การขึ้นทะเบียน สามารถทำได้ผ่านระบบเว็บไซต์ออนไลน์ได้ โดยจะทำผ่าน เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเมนูผู้ทำบัญชี ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ เมื่อทำการลงทะเบียนและได้รับการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว เราจะได้เลขประจำตัวมาเพื่อใช้แสดงความน่าเชื่อถือว่าเรานั่นเอง

เอกสารสำคัญที่ใช้ในการขึ้นทะเบียน

  1. สำเนาบัตรประชาชน
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. สำเนาวุฒิการศึกษา
  4. รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าชัดหลังตรง ไม่มีปิดบังใบหน้า สวมชุดสุภาพ พื้นหลังสีพื้น ไม่มีลวดลาย 
  5. ใบการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
  6. ใบเสร็จค่าสมาชิกสภาวิชาชีพที่ยังไม่หมดอายุ
  7. รายชื่อลูกค้าที่รับทำบัญชี
  8. หลักฐานการพัฒนาความรู้วิชาชีพ (CPD)

สรุปก็คือ นักทำบัญชีฟรีแลนซ์มีความอิสระในการทำงานและให้บริการแก่ลูกค้าจากหลากหลายธุรกิจต่าง ๆ ในขณะที่นักทำบัญชีในองค์กร มักมีบทบาทและความรับผิดชอบในการบัญชีและการเงินขององค์กรโดยเฉพาะ และจำต้องปฏิบัติตามกำหนดที่มีในสถานที่ทำงาน เพื่อให้สะดวกต่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ทำธุรกิจด้านการขนส่ง ต้องเตรียมตัวเสียภาษีอะไรบ้าง

ธุรกิจด้านการขนส่ง เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการขนส่งในทุกด้านของเศรษฐกิจ การขนส่งเป็นส่วนสำคัญของภูมิภาคพาณิชย์และการเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจแต่ละแขนงกัน นอกจากนี้ยังรวมถึงบริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและควบคุมกระบวนการขนส่ง เช่น การจัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าในเวลาที่กำหนด เป็นต้น

แล้วธุรกิจการขนส่ง ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง ?

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

เป็นภาษีที่คิดจากมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นในกระบวนการซื้อขายสินค้าหรือบริการ ภาษี VAT ถูกคิดจากมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการซื้อขายและตามท้องถิ่นที่มีกำหนดในแต่ละประเทศค่า ภาษี VAT ที่เรียกเก็บจากลูกค้าของธุรกิจส่วนใหญ่นั้นสามารถถูกหักลดหย่อนในกระบวนการซื้อขายในภายหลังได้ และเฉพาะค่าภาษี VAT ที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้าหรือบริการที่มีความเกี่ยวข้องกับการซื้อขายของธุรกิจการขนส่ง

  • ภาษีบุคคลธรรมดา

เป็นภาษีที่บุคคลธรรมดาต้องเสียตามรายได้ที่ได้รับต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงรายได้จากธุรกิจการขนส่งหากธุรกิจนั้นถูกดำเนินโดยบุคคลธรรมดา การเสียภาษีบุคคลธรรมดาจะขึ้นอยู่กับกฎหมายและเงื่อนไขภาษีของแต่ละประเทศ และอาจมีการลดหย่อนรายได้ต่าง ๆ ที่อาจช่วยลดจำนวนภาษีที่ต้องเสียลงด้วย

  • ภาษีนิติบุคคล

เป็นภาษีที่บริษัทหรือนิติบุคคลต้องเสียตามกำไรหรือกำไรสุทธิที่ได้รับจากธุรกิจของตน และมีผลกระทบต่อธุรกิจการขนส่งเช่นกัน ภาษีนิติบุคคลจะถูกคำนวณตามกำไรหรือกำไรสุทธิที่ขนส่งสร้างขึ้น โดยมีอัตราภาษีที่กำหนดโดยรัฐบาลของแต่ละประเทศ และอาจมีการลดหย่อนรายได้หรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่อาจช่วยลดจำนวนภาษีที่ต้องเสียลงด้วย

  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

สำหรับธุรกิจการขนส่ง ภาษีหัก ณ ที่จ่ายอาจเกี่ยวข้องกับการจ่ายให้กับบุคคลหรือบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น การจ้างบริการโรงแรมสำหรับคนขับรถหรือการจ่ายค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการขนส่ง เมื่อธุรกิจการขนส่งจ่ายเงินให้กับบุคคลหรือบริษัทดังกล่าว บางส่วนของเงินจ่ายนี้อาจถูกหักเป็นภาษีหัก ณ ที่จ่าย และส่งให้กับหน่วยงานภาษีหรือรัฐบาลตามกฎหมายภาษีที่ใช้ในประเทศนั้น ๆ

อย่างไรก็ตาม การเสียภาษีในธุรกิจการขนส่ง สิ่งสำคัญที่ต้องทำคือปฏิบัติตามกฎหมายภาษีและและเสียภาษีอย่างถูกต้อง การปรึกษาทนายความหรือที่ปรึกษาด้านภาษี ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่น เพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขนส่งของเรา รวมถึงประกอบธุรกิจได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

Education Template

Scroll to Top