ภาษีย้อนหลัง คืออะไร ? ตรวจสอบยังไงได้บ้าง ?

การเสียภาษี เป็นกระบวนการทางการเงินที่สำคัญที่ประชาชนและธุรกิจทุกอย่างต้องปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศที่ตนอยู่ การเสียภาษีเป็นวิธีที่รัฐบาลรวบรวมเงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐ ซึ่งเงินที่รัฐรวบรวมจากภาษีนี้จะถูกใช้ในการจ่ายค่าให้บริการสาธารณะ เช่น การศึกษา การดูแลสุขภาพ การเคลื่อนที่ และโครงการอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์สาธารณะ

ภาษีย้อนหลัง คือ

เป็นการชำระภาษีที่ไม่ครบตามกำหนด ซึ่งสรรพากรจะตรวจสอบว่าเข้าข่ายการเลี่ยงภาษีหรือไม่ โดยตรวจสอบจากย้อนชำระเก่า ๆ หากมียอดชำระที่แปลกไป สรรพากรจะตรวจสอบและติดต่อเราให้ชำระภาษีให้ครบตามที่กำหนดนั่นเอง

ค่าปรับภาษีย้อนหลัง

1. ยื่นเสียภาษีทันกำหนด แต่ไม่ครบ

  • เสียค่าปรับ 0.5 – 1 เท่าของภาษี

2. ยื่นเสียภาษีเกิดกำหนด

  • เสียค่าปรับ 1 -2 เท่าของภาษี
  • มีโทษทางอาญาสูงสุด 2,000 บาท

3. ตั้งใจไม่ยื่นเสียภาษี

  • เสียค่าปรับ 2 เท่าของภาษี
  • มีโทษทางอาญาสูงสุด 5,000 บาท จำคุกสูงสุด 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. เจตนาหนีภาษี

  • เสียค่าปรับ 2 เท่าของภาษี
  • มีโทษทางอาญาสูงสุด 200,000 บาท จำคุกสูงสุด 7 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

ภาษีย้อนหลัง มีอายุความกี่ปี

  • ภาษีเงินได้

ภาษีเงินได้ทั้งแบบบุคคลธรรมดาและแบบนิติบุคคล มีอายุความ 2 ปี สามารถขอขยายอายุความได้สูงสุด 5 ปี รวมถึงสรรพากรมีสิทธิในการดูรายการเดินบัญชีได้ตลอดเวลา

  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ

เป็นภาษีทีมาจากการประกอบกิจการ มีอายุความมากถึง 10 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มยื่นภาษี ตามมาตรา 193/31 

ทำยังไง หากไม่อยากโดนเรียกภาษีย้อนหลัง ?

  • ยื่นและชำระภาษีให้ครบตามกำหนดทุกปี
  • ทำบัญชีการยื่นภาษีแบบรายเดือน
  • ตรวจสอบเอกสารรายรับของธุรกิจ
  • ติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้งกับภาษี

ดังนั้น การปฏิบัติตามกฎหมายและชำระภาษีตามกำหนดอย่างถูกต้อง เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันความเสี่ยงในการโดนเรียกภาษีย้อนหลัง การปฏิบัติตามกฎหมายช่วยปกป้องความถูกต้องและลดความเสี่ยงในการเผชิญกับการโดนเรียกภาษีย้อนหลังจากกรมสรรพากรได้นั่นเอง

Education Template

Scroll to Top