การผลิตสินค้า

ปัจจัยเบื้องต้นกับการวางแผนการผลิต

การวางแผนและควบคุมการผลิต

 

มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดและให้เป็นที่พอใจแก่ความต้องการของลูกค้าความหมายของทรัพยากรในที่นี้รวมหมายถึงสิ่งอํานวยความสะดวกในการผลิตเช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์แรงงานและวัตถุดิบ การใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดนั้น เป็นหน้าที่ของผู้บริหารโรงงาน โดย ผ่านหน้าที่ของฝ่ายวางแผนและควบคุมการผลิต โดยมีหน้าที่เกี่ยวกับการพยากรณ์การวางแผน การ กําหนดงาน การวิเคราะห์การควบคุมสินค้าคงคลัง และการควบคุมการดําเนินงานการผลิต

 

ดังนั้น ในขั้นตอนของการวางแผน จะต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ เช่น จำนวนของสินค้าคงคลัง เครื่องจักร หรือ แรงงานที่สามารถใช้ได้ ณ เวลาหนึ่งๆ ระยะเวลาในการรอคอยของลูกค้า(ความเร่งด่วน) และต้นทุนที่เกี่ยวข้องมาช่วยในการตัดสินใจ การจัดส่งต่างๆ และอื่นๆตามในรูปที่ 1 แสดงถึงตัวแปรที่เกี่ยวข้องสำหรับการตัดสินใจวางแผนการผลิต

 
 
 
 

รูปที่ 1 แสดงผังการตัดสินใจในการวางแผนการผลิต

การวางแผนและควบคุมการผลิต

1 การจัดตารางการผลิตหลัก (Master Production Scheduling : MPS)

 

การจัดตารางการผลิตหลัก (MPS) เป็นการจัดทําแผนการผลิตที่ระบุเจาะจงลงไปว่าจะ ทําการผลิตชิ้นงานอะไร จํานวนเท่าใด และจะต้องเสร็จสมบูรณ์เมื่อใด โดยทั่วไปมักจะจัดทํา ตารางการผลิตหลักเป็นรายเดือนหรือรายสัปดาห์ ข้อมูลในตารางการผลิตหลักจะมาจากการแปลงค่าจากการพยากรณ์ยอดขาย ซึ่งอาจจะคํานวณ ตามหลักทางสถิติหรือมาจากใบสั่งซื้อของลูกค้า

 

2 การวางแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirement Planning : MRP)

 

การวางแผนความต้องการวัสดุ (MRP) เป็นเทคนิคในการจัดการเกี่ยวกับความต้องการ วัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบและวัสดุอื่นๆ เพื่อให้สามารถรู้ถึงปริมาณความต้องการในแต่ละ ช่วงเวลาและสามารถจัดหาได้อย่างเพียงพอและทันเวลา

 

โดยข้อมลจากตารางการผลิตหลัก (MPS) ซึ่งจะบอกถึงสิ่งที่จะต้องผลิตว่ามีจํานวนเท่าใด ในเวลาใด จากนั้นจะพิจารณาถึงส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตว่าประกอบด้วยวัตถุดิบ ชิ้นส่วน ชิ้นส่วนประกอบและวัสดุอื่นๆ อะไรบ้าง เพื่อจะใช้ในการจัดหา

 

3. การวางแผนความต้องการกําลังการผลิต (Capacity Requirement Planning : CRP)

 

การวางแผนความต้องการกําลังการผลิต (CRP) เป็นการจัดทําแผนที่เกี่ยวข้องกับการ กําหนดกําลังการผลิตที่จําเป็นสําหรับแต่ละสถานีงาน (Working Station) เช่น แรงงาน เครื่องจักร หรือปัจจัยการผลิตทางกายภาพอื่นๆ ว่าควรจะต้องมีปริมาณเท่าใด และต้องการในช่วงเวลาใด โดยจะรับข้อมลความต้องการวัสดุจาก MRP มาทําการประเมินผลเกี่ยวกับภาระงาน (Work Load) ของสถานีงานต่างๆ ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่

 

Function ต่างๆเหล่านี้สามารถพบได้ใน โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP

โปรแกรมบัญชี

วิธีการลดต้นทุนการผลิต

 
 
 

 

 

วิธีการลดต้นทุนการผลิต 7 ประการ

 

1) ความสูญเสียจากการผลิตมากเกินความจำเป็น (over production) นำมาซึ่งการ Over stock ของสินค้าคงคลัง การผลิตที่มากเกินความจำเป็นหรือความต้องการของลูกค้า เนื่องมาจาก

 

1.1 ประมาณการความต้องการผลิตภัณฑ์ผิดพลาด

1.2 การวางแผนการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ

1.3 อื่นๆ

 

แนวทางในการลดต้นทุนที่เกิดจากการผลิตมากเกินความจำเป็น ฝ่ายขายต้องคอยอัพเดตและวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณการสั่งซื้อของลูกค้า ฝ่ายวางแผนการผลิตต้องมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายขายเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์

 

2) ความสูญเสียจากการรอคอย(Waiting) การรอคอยเป็นกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์และมูลค่า

สาเหตุที่ทำให้เกิดการรอคอย วัตถุดิบไม่เพียงพอ เครื่องจักรเสีย

แนวทางในการลดต้นทุนที่เกิดจากการรอคอย มีการกำหนด safety stock ที่เหมาะสม จัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร (preventive maintenance) เพื่อลดการหยุดการผลิตที่เกิดจากเครื่องจักรเสีย(machine break down)

 

3) ความสูญเสียจากการขนส่ง(Transportation) สาเหตุของความสูญเสียจากการขนส่ง วางผังโรงงานที่ขาดประสิทธิภาพ วางแผนกระบวนการที่ขาดประสิทธิภาพ

 

 

 

การลดต้นทุนการผลิตที่เกิดจากการขนส่ง ทำการปรับผังกระบวนการผลิตและผังโรงงานโดยคำนึงถึงความต่อเนื่อง,

 

4) ความสูญเสียจากการเก็บวัสดุคงคลังมากเกินไป(Excess Inventory) สาเหตุของของสูญเสียจากการเก็บวัสดุคงคลังมากเกิน เป็นผลมากจากการผลิตที่มากเกิน จำนวนจัดเก็บเพื่อความปลอดภัย และ ปริมาณการสั่งซื้อขั้นต่ำ ไม่เหมาะสม

 

การลดต้นทุนที่เกิดจากการจัดเก็บวัสดุคงคลังมากเกินไป ทบทวน Minimum Stock และ Safety Stock ทบทวนแผนการผลิต

 

 

 

5) ความสูญเสียที่เกิดจากงานเสีย(Defect) สาเหตุของความสูญเสียจากงานเสีย พนักงานขาดทักษะ ประมาท เลินเล่อ วิธีการทำงานไม่เหมาะสม วัตถุดิบไม่มีคุณภาพ เครื่องจักรประสิทธิภาพต่ำ การลดต้นทุนที่เกิดจากงานเสีย โดยปกติแล้วงานเสียที่เกิดในกระบวนการผลิตทางหน่วยงานด้านคุณภาพจะเข้ามาวิเคราะห์ร่วมกันกับฝ่ายผลิตเพื่อสาเหตุของงานเสีย

 

6) ความสูญเสียที่เกิดจาการเคลื่อนไหวมากเกินไป(Excess Motion) สาเหตุของการสูญเสียที่เกิดจากการเคลื่อนไหวมากเกินไป วิธีการทำงานที่ขาดประสิทธิภาพ ทักษะของพนักงานไม่เพียงพอ ผังของกระบวนการไม่เหมาะสม

 

 

 

การลดต้นทุนการผลิตที่เกิดจากเคลื่อนไหวมากเกินไป ใช้หลักการของ work study เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ แก้ไข และปรับปรุง จัดทำวิธีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน

 

7) ความสูญเสียของกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าหรือผลิตภัณฑ์ (Non-Value Added Processing) สาเหตุของความสูญเสียที่เกิดจากกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า ขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนอย่างแท้จริง ยึดติดกับวิธีการเก่าที่ทำต่อเนื่องกันมา เลยทำให้อยากที่จะเปลี่ยนแปลง การลดต้นทุนการผลิตที่เกิดจากกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า มีการวิเคราะห์และศึกษากระบวนการอย่างเป็นระบบ ใช้หลักการของวิศวกรรมคุณค่า (Value Engineering) เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์

 
 
 
 

โปรแกรมบัญชี www.acccloud.tech

 

 

 

 

 

 

วิธีการหาจุดสั่งซื้อสินค้าที่ประหยัดที่สุด

 
 

หากท่านทำธุรกิจด้านการผลิต มักจะมีคำถามว่าจะสั่งซื้อวัตถุดิบเมื่อไหร่ดี จำนวนละเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม ในบทความนี้จะอธิบายวิธีการคำนวณจำนวนและ ช่วงเวลาในการสั่งซื้อที่เหมาะที่สุดแบบง่ายๆให้ทุกท่านอ่านกันครับ

 

การหาจุดสั่งซื้อที่ประหยัด เป็นเทคนิคในการคำนวณจำนวนในการสั่งซื้อที่เหมาะสม แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการต้องทราบด้วยเช่นกันว่า ในปีนั้นๆต้องสั่งสินค้าเท่าไหร่ เทคนิคนี้จะมีไว้เพื่อบริหารคลังสินค้าไม่ให้มีสินค้าคงคลังเหลือมากหรือน้อยเกินความจำเป็น

 

(โดยทั่วไปการที่มีสินค้าเหลือมากเกินไปจะทำให้เกิดต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าสูงมาก ในขณะสินค้าที่เหลือน้อยเกินไปอาจเกิดความเสี่ยงต่อการผลิต หรือ สินค้าหมดและเสียโอกาสในการขายได้)

 

จุดสั่งซื้อที่ประหยัดหรือ Economic Order Quantity (EOQ) จึงเป็นวิธีคำนวณที่ช่วยให้สามารถสั่งสินค้าได้ในปริมาณที่เหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามมีข้อระวังคือ EOQ อาจจะคลาดเคลื่อนได้ในกรณีที่ประมาณการสินค้าที่ต้องการใช้ในแต่ละปี (D) มากหรือน้อยเกินไปจากความเป็นจริง ดังสูตรนี้

 
 
 
 

เมื่อ D คือ ปริมาณความต้องการสินค้าทั้งปี

 

S คือ ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อแต่ละครั้ง

 

H คือ ต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าต่อหน่วยต่อปี

 

เช่นบริษัท A มีความต้องการสินค้าต่อปีเท่ากับ 7000 หน่วย โดยต้นทุนในการสั่งซื้อแต่ละครั้งเท่ากับ 20 บาท และมีต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้า 1.5 บาทค่อหน่วยต่อปี วิธีคำนวณ D = ความต้องการต่อปี 7000 หน่วย

S = ต้นทุนการสั่งซื้อครั้งละ 20 บาท H = ต้นทุนจัดเก็บ 1.5 บาท

 

ดังนั้น EOQ = 432 ชิ้น

 

ต้องสั่ง = 7000/432 = 16 ครั้งต่อปี

 

ใน 1 ปี ทำงาน 250 วัน ต้องใช้เวลาสั่งประมาณ 250/16 = 15 วันสั่งครั้งนึง

 

ที่มา: www.acccloud.tech

การติดตั้งรหัสสินค้าในอุตสาหกรรมผลิต

ทำไมต้องติดตั้งรหัสสินค้าในอุตสาหกรรมผลิต

โดยอุตสาหกรรมการผลิต จะมีลักษณะคล้ายๆกัน (ร่วมกัน) เกี่ยวกับสินค้าและวัตถุดิบ ดังนี้

 
  1. วัตถุดิบมีจำนวนมาก แต่ที่ใช้จริงๆมีไม่ถึง 20% ที่เหลือเป็น วัสดุสิ้นเปลือง

  2. วัตถุดิบที่มีจำนวนมาก โดยมากจะไม่ทราบถึงจำนวนสต๊อกคงเหลือที่แท้จริง

  3. สินค้าสำเร็จรูป เดียวกัน แต่สูตรการผลิตแตกต่างกัน ตามลูกค้าแต่ละเจ้า ทำให้สินค้าเดียวกัน กลายเป็นหลายสินค้าไป

และอื่นๆ

 

ดังนั้น การติดตั้งรหัสสินค้า ในระบบบริหารการผลิต จึงเป็นหัวใจที่สำคัญ เนื่องจาก รหัสสินค้าจะเป็นโครงของระบบ เป็นหัวใจของการควบคุมสต๊อก เพื่อให้ทราบว่าสินค้าแต่ละตัวมีจำนวนคงเหลือเท่าไหร่กันแน่

การติดตั้งรหัสสินค้าในอุตสาหกรรมผลิต

การติดตั้งรหัสสินค้านับเป็นศาสตร์และศิลป์ ในการตั้งไปพร้อมๆกัน เช่น การตั้ง Code ให้อ่านได้รู้เรื่อง เช่น กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ประเภท TV LED ยี่ห้อ Samsung รุ่น AD1885 เราอาจจะตั้งเป็น TVLED-EL-AD1885

 

โปรแกรมบัญชี AccCloud.co
 

โดยที่ความหมายคือ TVLED กลุ่ม EL(ectric) รุ่น AD1885 ข้อดีคือผู้อ่านจะเข้าใจทันที โดยไม่ต้องไปหาชื่อสินค้า แต่ข้อเสียคือ ต้องคิดและวางแผนการตั้งรหัสก่อน เพื่อให้สื่อความหมายและใข้ได้ในระยะยาว

 

หรือประเภท 2 คือ การตั้งโดยยึดจาก Running No. เช่น TV000001 เป็นต้น วิธีนี้ข้อดีคือง่าย แต่ข้อเสียคือ ไม่สื่ออะไรเลย (โดยมากผมจะเจอรหัสที่ตั้งแบบนี้เป็นจำนวนมาก จากโปรแกรมบัญชีตามท้องตลาด) พอใช้ไปนานๆเข้า จะกลายเป็นสินค้าเดียวกันแต่มีหลายรหัส เพราะเราจำไม่ได้ว่าเคยตั้งไปแล้วหรือยัง

 

ดังนั้น การตั้งรหัส ควรจะแยกประเภทเป็น สินค้าสำเร็จรูป และ วัตถุดิบ และ วัตถุดิบสิ้นเปลือง

โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP
 

ประเภทสินค้าสำเร็จรูป และวัตถุดิบ ควร ตั้งเป็นรหัสที่อ่าน Code ออกและ ประชุมวางแผนการตั้งรหัสให้เรียบร้อยเสียก่อน ส่วนวัตถุดิบสิ้นเปลือง ควรจะต้องวิเคราะห์ว่าเราจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องคุม Stock ถ้าจำเป็นให้ตั้งรหัสที่มีความแตกต่างจาก สินค้าสำเร็จรูป และ วัตถุดิบ ส่วน ถ้าไม่จำเป็น ก็ไม่ต้องตั้ง ใช้รหัสกลาง แต่เปลี่ยนชื่อสินค้าตอนออกเอกสารเอา โปรแกรมบัญชี ทั้วไปจะไม่สามารถทำแบบนี้ได้ ยกเว้นโปรแกรมบัญชี AccCloud ERP ซึ่งมี Function รองรับทุกรูปแบบในการตั้งรหัส เนื่องจาก โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP ได้ผ่านการนำไปใช้ในโรงงานผลิตจำนวนมาก และได้มีการปรับแก้ไขให้รองรับกรณีต่างๆเหล่านี้แล้ว

 

ดูรายละเอียดได้ที่ www.acccloud.tech

เทคนิคการวางแผนจัดการสินค้าคงคลัง

การวางแผนสินค้าเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อมิให้เกิดภาวะที่ผู้ค้าปลีกมีสินค้าคงคลังมากหรือน้อยเกินไป (มากไปต้นทุนก็จมอยู่ที่วัตถุดิบ และ ต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บ น้อยไปก็เสี่ยงต่อสินค้าไม่พอผลิต) ดังนั้นหน้าที่ของฝ่ายคลังสินค้าคือ ต้องควบคุมปริมาณของสินค้าคงคลัง หรือ การบันทึกจำนวนหน่วยสินค้าที่อยู่ในมือ ที่สั่งซื้อ และขายในงวดหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งแสดงถึงระดับการยอมรับของลูกค้าต่อสินค้าแต่ละรายการ การควบคุมปริมาณจะเป็นการติดตามจำนวนรายการหรือชิ้นของสินค้า เพื่อช่วยผู้ซื้อในกรณีที่จะทราบว่าควรจะซื้อสินค้าจำนวนเท่าใด วิธีการง่ายๆ และไม่แพง ในการควบคุมปริมาณ เช่น การดูด้วยสายตา การนับสินค้าคงเหลือเฉพาะส่วนหนึ่งทุกวัน และผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ระบบการบันทึกในเอกสารเมื่อมีการขาย

 

การแก้ปัญหาเรื่องสินค้าที่สาเหตุ คือการใช้หลักการของ Logistic หรือ ห่วงโซ่อุปทาน เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ โดยมีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยระหว่าง Supplier ไปจนถึง กิจการ เช่น ระบบ Vender chain WareHouse Management หรือ ใช้ Electronic Data Interchange (EDI) เป็นต้น เพื่อให้เกิดการ Stock ให้น้อยที่สุด แค่พอเพียงต่อการใช้เท่านั้น

 
 
 
 

ลอจิสติกส์ หมายถึง กิจกรรมทุกอย่างที่ทำขึ้นเพื่อทำความแน่ใจว่าสินค้า และบริการจะเดินทางจากจุดกำเนิดไปยังลูกค้าขั้นสุดท้าย ส่วน การจัดการลอจิสติกส์ หมายถึง กระบวนการทั้งหมดในการจัดหาวัตถุดิบ การรับ การติดป้ายชื่อ และการเคลื่อนย้ายตัวสินค้า และบริการไปยังลูกค้า ในการทำลอจิสติกส์ของสินค้า และการจัดการประกอบด้วยมุมมองทุกด้านของระบบ ตั้งแต่การจัดการลอจิสติกส์ การเลือกวิธีการขนส่ง การตรวจสอบ การจัดเก็บสินค้า และการจัดการโซ่อุปทาน

 

ผู้ค้าปลีกยังมีภาระเพิ่มในการพัฒนาระบบรีเวอสลอจิสติกส์ (Reverse Logistics) หมายถึง การพัฒนานโยบาย และวิธีการสำหรับการคืนสินค้าที่ซื้อโดยลูกค้าไปยังร้านค้าหรือผู้ขายหรือผู้ผลิต

 

การจัดการ Logisitic ได้สำคัญอย่างแรกคือข้อมูลทางด้าน Stock ต้องดีในขั้นต้นแล้ว จึงสามารถขยับไปทำต่อได้ ดังนั้นหากธุรกิจคิดจะทำด้าน Logisitc เริ่มต้นคือ โปรแกรมบัญชี ต้องรองรับให้ได้ดีเสียก่อน จึงมีข้อมูลเพียงพอจะเดินหน้าต่อไปได้ โปรแกรมบัญชี AccCloud เหมาะสำหรับธุรกิจที่ในอนาคตจะใช้ระบบ Logistic ครบวงจร เนื่องจาก 1 ระบบโปรแกรมบัญชี AccCloud ERP นั้น Online และ มี Function ที่ซับซ้อนเพียงพอกับการรับส่งข้อมูลเชิงลึกระหว่างกัน 2 โปรแกรมบัญชี AccCloud มี API Webservice ที่รอบรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ทุกชนิด

BOM ตัวช่วยธุรกิจกำหนดสูตรการผลิตสินค้าสำเร็จรูป

การผลิตสินค้าสำเร็จรูปที่มีคุณภาพและตรงตามเวลาเป็นสิ่งสำคัญ ต่อความสำเร็จของธุรกิจใดๆ สิ่งสำคัญในการเตรียมกระบวนการนี้อยู่ที่การวางแผน การกำหนดเวลากิจกรรมการผลิต และมีความพร้อมในการจัดส่งตรงต่อตลาด เราจึงอยากแนะนำหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญในการกำหนดการผลิตเรียกว่า Bill of Materials (BOM) ว่ามีการทำงานยังไง และเหมาะกับธุรกิจใดบ้าง

สินค้าสำเร็จรูปคืออะไร?

คือ สินค้าซึ่งตามสภาพอาจอุปโภคบริโภคได้ โดยไม่จำต้องเปลี่ยน หรือดัดแปลง หรือนำไปผสมกับสิ่งอื่น แต่สิ่งใดจะเป็นสินค้าสำเร็จรูป ต้องคำนึงถึงการใช้ตามสภาพด้วย มิใช่สักแต่ว่าอาจใช้ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนดัดแปลง หรือผสมแล้วก็เป็นสินค้าสำเร็จรูปไปทันที (ตามประกาศ กรมสรรพากร)

 

โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP

Bill of Material หรือ BOM คืออะไร

Bill of Material หรือ BOM หมายถึงรายการสินค้าคงคลัง รวมถึงส่วนประกอบ วัตถุดิบ ชิ้นส่วน ฯลฯ ที่จำเป็นในการวางแผน การผลิต และการจัดการผลิตภัณฑ์ และในบางที่จะประยุกต์ใช้เข้ากับการจัดซื้อรายการส่วนประกอบ สูตรผลิตภัณฑ์ หรือโครงสร้างผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด

 

ประโยชน์ของ Bill of Material

Bill of Material นั้นมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ช่วยองค์กรระบุส่วนประกอบของสินค้าได้ คำนวณงบประมาณ วางแผนการผลิต จัดการสินค้าคงคลัง และอื่นๆ เช่น

การระบุส่วนประกอบของสินค้าสำเร็จรูป
BOM ช่วยให้บริษัทระบุและจัดระเบียบส่วนประกอบที่จำเป็นในการสร้างผลิตภัณฑ์ โดยมีขั้นตอนลำดับชั้นของการผลิตสินค้าสำเร็จรูปพร้อมกับส่วนประกอบที่ใช้ ช่วยให้ธุรกิจสามารถบันทึกและจัดระเบียบส่วนประกอบต่างๆ ได้เป็นระเบียบ

 

การคำนวณงบประมาณที่ต้นทุน
BOM จะช่วยคำนวณต้นทุนของส่วนประกอบแต่ละรายการที่ใช้ในผลิตสินค้า ทำให้ธุรกิจสามารถประมาณการต้นทุนการผลิต และจัดทำงบประมาณได้ และทำให้กำหนดราคาสำหรับจำหน่ายสินค้าสำเร็จรูปและทบกำไรได้

 

จัดทำรายงานเอกสารข้อมูลการผลิต
BOM เป็นแหล่งข้อมูลจริงแหล่งเดียว สำหรับทุกคนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ช่วยให้ทุกคนสื่อสารและส่งต่อข้อมูลการผลิตได้อย่างชัดเจนและ ลดโอกาสที่จะเกิดความเข้าใจผิดหรือการสื่อสารผิดพลาด

 

การจัดการสินค้าคงคลังและวางแผนการผลิต
ช่วยจัดเก็บข้อมูลสินค้าคงคลังเพื่อประเมินแผนการผลิตสินค้าในแต่ละครั้ง พร้อมการกำหนดระยะเวลาได้ ป้องกันการที่สินค้าขาดตลาดหรือม่ให้สินค้าล้นสต็อก

BOM มีส่วนช่วยการกำหนดการผลิตยังไง

Bill of material (ฺBOM) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกำหนดการผลิต เพื่อช่วยในการวางแผนการผลิตที่สามารถระบุว่าสินค้าแต่ละชิ้นจำเป็นต้องผลิตด้วยวัสดุและส่วนประกอบใดบ้าง และช่วยให้สามารถประมาณการการใช้ทรัพยากรต่างๆ เช่น แรงงาน วัสดุ และเครื่องจักรได้อย่างถูกต้อง

 

ด้วยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ได้รับจาก Bill of material (ฺBOM) ทำให้ธุรกิจต่างๆ สามารถปรับปรุงการจกำหนดการผลิต เพื่อลดการเสียวัตถุดิบ ลดความเสี่ยงของความล่าช้าในการผลิตได้ และยังช่วยในการควบคุมคุณภาพโดยรับรองว่ามีการใช้วัสดุที่ถูกต้องในแต่ละขั้นตอนของการผลิต ซึ่งจะช่วยควบคุมคุณภาพของสินค้าสำเร็จรูปได้

ธุรกิจแบบไหนที่ควรประยุกต์ใช้ BOM

การนำ BOM ไปใช้กับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า โดยไม่จำเป็นต้องเฉพาะอุตสาหกรรมเท่านั้น มั่นใจได้ว่าจะได้รับประโยชน์จากการนำ BOM ไปใช้ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การบินและอวกาศ สินค้าอุปโภคบริโภค และธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการที่มีส่วนประกอบในการผลิต เช่น บริการบำรุงรักษาและซ่อมแซม

 

ธุรกิจที่ดำเนินงานในอุตสาหกรรมที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวด ซึ่งความแม่นยำและการปฏิบัติตามกฎระเบียบเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง จะได้รับประโยชน์เป็นพิเศษจากการใช้ BOM นอกจากนี้ บริษัทที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ ควรพิจารณารวม BOM เข้ากับกระบวนการวางแผนการผลิตของตน

ตัวอย่างการใช้ BOM สำหรับอุตสาหกรรม

ในภาคการผลิต กว่าจะเป็นสินค้าสำเร็จรูปได้ จะต้องมีการผ่านขั้นตอนการผลิต และ จะต้องมีสูตรในการผลิตสินค้าชั้นนั้นๆ

 

สูตรการผลิตของสินค้าสำเร็จรูปแต่ละประเภทถึงแม้จะเป็นชิ้นเดียวกันก็อาจจะไม่เหมือนกัน ขึ้นกับว่าสินค้านั้นเป็นการสั่งผลิตเฉพาะลูกค้ารายนั้นๆ หรือ สั่งผลิตโดยทั่วๆไป เช่น ถ้าผลิตทั่วไป ไม่ต้องใส่วัตถุดิบประเภทสารเคมี A แต่ถ้าผลิตให้กับลูกค้าเฉพาะรายนี้ต้องใส่สารเคมี A

 
 
 
 

ดังนั้นถ้าในภาคอุตสาหกรรมหรือ กิจการไม่วางแผนเรื่องการสร้างรหัสให้ดีๆ รหัสสินค้ามีโอกาสขยายตัวได้อย่างรวดเร็วตาม Order และจะทำให้ Stock เยอะและมั่วได้ในเวลาไม่ช้า

 

ดังนั้นการกำหนดสูตรการผลิตจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการวางระบบ ERP ในองค์กร ถ้ามีการวางแผนที่ดีด้วยโปรแกรมที่ตอบโจทย์ การควบคุม Stock และ กระบวนการจะสามารถทำได้ไม่ยาก

 

สูตรการผลิต จะประกอบด้วยวัตถุดิบหลายประเภท กิจการมักจะมีคำถามว่าอะไรควรใส่ในสูตร จะเอาทุกอย่างใส่ในสูตรเลยดีหรือไม่ คำตอบคือ เอาเฉพาะสินค้าที่เราต้องการคุม Stock เท่านั้นครับ ตรงส่วนที่ไม่จำเป็นให้ ตัดออกเป็นวัสดุสิ้นเปลืองไป เพื่อให้เกิดความง่ายในการคุม สต๊อกการผลิตและการปฏิบัติงานด้วยเช่นกัน

 

การกำหนดสูตรที่ดี ระบบจะต้องสามารถสร้างเป็นสัดส่วนของการผลิตได้ เช่น ในการผลิตสินค้าสำเร็จรูป 150 ชิ้น ต้องประกอบด้วยวัตถุดิบเท่าไหร่ และเวลาเปิด Job ผลิต ระบบจะต้องสามารถคำนวณอัตราส่วนการเบิกใช้และต้นทุนตามสัดส่วนได้เช่นเดียวกัน

 

สรุปได้ว่า Bill of material (ฺBOM) ทำหน้าที่เป็นรากฐานสำคัญในขอบเขตของการวางแผนการผลิต ช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถจัดการการผลิตสินค้าสำเร็จรูปได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับจาก  Bill of material (ฺBOM) ธุรกิจต่างๆ จะสามารถจัดการกับความซับซ้อนของการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร และส่งมอบผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงที่ตรงกับความต้องการของตลาดอุตสาหกรรม

โปรแกรมบัญชี AccCloud เป็นโปรแกรมที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ครบถ้วน เป็นโปรแกรมระดับ ERP แต่ราคาระดับโปรแกรมบัญชีทั่วไป เหมาะกับองค์กรขนาดกลาง-ใหญ่ และแบบฟอร์มเอกสารสำหรับยื่นสรรพากรที่เพรียบพร้อม เลือกเข้าชมบริการเพิ่มเติมได้ที่ โปรแกรมบัญชี AccCloud

เทคนิคการติดตั้งรหัสสินค้า/วัตถุดิบ

โปรแกรมบัญชี AccCloud.co
 
 

การตั้งรหัสสินค้า/วัตถุดิบ หลักการพื้นฐานเลยคือการตั้งให้อ่านง่าย เข้าใจง่ายและเป็นตัวแทนของสินค้า/วัตถุดิบรายการนั้นๆ

 

การตั้งรหัสที่ดีต้องสอดคล้องกับการใช้งานผู้ใช้ระบบ กล่าวคือ ผู้ใช้ระบบเมื่อเห็น Code แล้ว ควรจะพอเดาได้ว่า Code นั้นสื่อถึงสินค้าตัวไหน นอกจากนั้น รหัสที่ดีจะต้องไม่ยาวจนเกินไป ควรจะกระชับได้ใจความสำคัญ

เช่น

แท่งอลูมิเนียมอัลลอย 6061 เกรด T651 = AL6061T651 อยู่ในกลุ่มของ Aluminum หรือ

ทีวีSamsung LED TV 24 นิ้ว รุ่น UA24H4003 (Black) = SS-UA24H4003 อยู่ในกลุ่มของ TV เป็นต้น

 

จำนวนรายการของ Code สินค้า บางกิจการ 100รายการ ก็ถือว่ามากเกินไป บางกิจการ 1000 รายการก็น้อยเกินไป ไม่มีสูตรตายตัวว่าควรเท่าไหร่ แต่จุดประสงค์ของการสร้าง Code/รหัส ก็คือต้องการควบคุม ดังนั้น หากเราต้องการคุม Stock สินค้าตัวไหน เราก็ควรใส่ Code ให้กับสินค้าตัวนั้น

 

ประเด็นคือเมื่อไหร่จะคุมหรือไม่คุม Stock ให้ดูจากมูลค่าของ สินค้า/วัตถุดิบ ที่เราจะให้รหัสกับมัน ถ้าดูแลมูลค่าไม่มาก และ นานๆใช้ที และ ไม่ค่อยจะมีคงค้างใน Stock หรือ มีบ้างแต่ไม่มาก นั่นเราอาจจะไม่ต้องไปใส่รหัสให้มันก็ได้ ถือเป็น วัสดุสิ้นเปลืองไป แต่ถ้าตรงกันข้าม มีการใช้อยู่เรื่อยๆ หรือ มีมูลค่าที่มีนัยยะต่อสินค้าคงคลัง ตัวนั้นจำเป็นต้องใส่รหัสสินค้า

 

โดยธรรมชาติแล้วอะไรที่เยอะไปก็ไม่ดี อะไรที่น้อยไปก็ไม่ดี เช่นเดียวกัน ถ้ารหัสเยอะ สิ่งที่จะตามมาคือ ความปวดหัวในการคุม Stock รวมถึงการตรวจสอบสินค้า ถ้ารหัสเยอะ หมายถึงการตรวจสอบจะเยอะตาม นั่นก็คือ ฝ่ายคลังจะต้องงานหนักขึ้น และคนต้องมากขึ้น (ต้นทนบุคลากรก็จะสูงขึ้น)

 

ดังนั้นในการขึ้นระบบ ERP ครั้งแรก การจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานจัดเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง หากเตรียมมาไม่ดี โดยมาก ต้องขึ้นระบบใหม่ (นับ Stock กันใหม่ เตรียมข้อมูลกันใหม่) ซึ่งจะเสียเวลาเสียกำลังคนพอสมควร

 

โปรแกรมบัญชี AccCloudจัดเป็นระบบ mini ERP ที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ ERP ระบบใหญ่ ดังนั้นการจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานเพื่อขึ้นระบบจึงมีความสำคัญมากเช่นเดียวกัน

 

ในโปรแกรมบัญชี AccCloud ได้เตรียมไฟล์นำเข้าในรูปแบบของ Excel ไว้ให้กับผู้่ใช้งาน เพื่อจัดเตรียมข้อมูลและตรวจสอบเบื้องต้นก่อน จากนั้นจึงนำเข้า ดังนั้นระบบ AccCloud จึงมีการป้องกันปัญหาในอีกระดับนึง

ขั้นตอนการพัฒนาการผลิตแบบลีน (Lean Production)

การผลิตแบบลีนคืออะไร

 

ลีน คือ ปรัชญาในการผลิต ซึ่งถือว่าความสูญเปล่านั้น เป็นตัวทำให้เวลาที่ใช้ในการผลิตยาวนานขึ้น และควรมีการนำเทคนิคต่างๆ มาใช้ในการกำจัดความสูญเปล่าออกไปโดยมุ่งเน้นกำจัดความสูญเสีย

 
Conceptual Lean production | Download Scientific Diagram
 
ขั้นตอนการพัฒนาการผลิตแบบลีน การนำการผลิตแบบลีนมาปฏิบัติจะด าเนินการตามขั้นตอนหลัก 7 ขั้นตอน ดังนี้ 
1 การเตรียมความพร้อม เป็นการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ได้แก่ สถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์ จำเป็น บุคลากร และช่องทางการติดต่อสื่อสารภายในระหว่างสมาชิกผู้ดำเนินโครงการ 
2 การระบุคุณค่าของสินค้าและบริการ เป็นการระบุคุณค่าของสินค้าและบริการในมุมมองของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าภายในหรือภายนอก 
3 การสำรวจสถานะปัจจุบันของกระบวนการ เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ ทั้งหมดมาสรุปลงบนแผนภาพกระแสคุณค่าเพื่อระบุปัญหาและนำไปใช้ในการวางแผน เพื่อพัฒนาขั้นตอน ต่อไป 
4 การประเมินผลการจัดการกระบวนการ เป็นการประเมินสภาพของกระบวนการและตัวชี้วัดผล โครงการ ตามแนวทางของระบบการผลิตแบบลีนเพื่อไปใช้ประกอบซึ่งแผนพัฒนาการบริการ 
5 การวางแผนพัฒนากระบวนการสร้างคุณค่า โดยพิจารณาแผนภาพกระแสคุณค่าในทุกขั้นตอน การด าเนินงาน เพื่อหาว่ากิจกรรมใดไม่เพิ่มคุณค่าและเป็นความสูญเปล่าเพื่อวางแผนและด าเนินการปรับปรุง 
6 การขับเคลื่อนกระแสคุณค่า เป็นการท าให้กิจกรรมต่างๆที่มีคุณค่าด าเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดย ปราศจากการติดขัด การอ้อม การย้อนกลับ การคอย การเกิดของเสียและให้ความส าคัญกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการ 
7 การสร้างคุณค่าแลกำจัดความสูญเสียอย่างต่อเนื่อง เป็นขั้นตอนการค้นหาส่วนเกินที่ถูกซ่อนไว้ ซึ่งเป็นความสูญเปล่า กำจัดออกไปอย่างต่อเนื่องและขยายผลการปรับปรุงด้วยการผลิตแบบลีนไปสู่บริเวณ อื่นๆ ได้แก่ ลูกค้า ผู้ส่งมอบและผู้รับเหมาช่วงการผลิต
 
 
 
 

 

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอุปกรณ์ Barcode Reader / Scanner

เรามารู้จักกับเครื่องอ่านบาร์โค้ดกัน ว่ามันคืออะไร และทำงานกันอย่างไร อุปกรณ์ Barcode Scanner ที่ใช้กับเครื่องขายหน้าร้าน (Point of sale ; POS) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านรหัสแท่ง (รหัส BarCode) มีทั้งรูปที่เป็นสายต่อกับ computer และ ไร้สาย โดยเครื่องอ่านจะทำหน้าที่ส่งค่าที่อ่านได้ไปยัง Software ที่ฝังตัวกับเครื่องเพื่อทำการแปลสัญญาณให้เป็นข้อมูลที่สามารถอ่านเข้าใจได้

 
โปรแกรมบัญชี AccCloud.co
 
 

ตัวอุปกรณ์ Barcode จะทำการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ computer ด้วย Port แป้นพิมพ์ หรือ อุุปกรณ์ Interface ที่เรียกว่า Wedge

หลักการทำงาน ตัวอุปกรณ์ Barcode จะยิงแสงตรงไปตัดกับรหัสแท่ง และวัดจำนวนของแสงที่ทะท้อนกลับ (โดยธรรมชาติแล้วแสงสีดำจะดูดแสง ทำให้แสงทะท้อนมีไม่เท่ากับแสงที่ยิงไป แสงสะท้อนจะถูกรับด้วยอุปกรณ์รับแสงและจะแปลงมาเป็ฯข้อมูลโดยผ่านตัวถอดรหัสโดยซอฟต์แวร์ Barcode ที่ติดมากับเครื่อง หลังจากแปลงสัญญาณแลวข้อมูลที่ได้จะถูกส่งต่อไปยัง Computer อีกหน

สำหรับคำถามที่มักมีถามเข้ามาเป็นประจำว่าเครื่องอ่าน Barcode สามารถเชื่อมต่อกับโปรแกรมบัญชี AccCloud ได้หรือไม่ คำตอบคือได้นะครับ สามารถเชื่อมโยงกันได้ ในการอ่าน Barcode ของสินค้า 

ต้นทุนค่าขนส่งประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

โปรแกรมบัญชี AccCloud.co
 
งานบริการประเภทรับจ้างขนส่ง หรือ การขนส่งต่างๆ นับเป็นงานที่มีบทบาทเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ ดังนั้นการจัดการ การขนส่งจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะด้านต้นทุน
 

ต้นทุนการขนส่งประกอบไปด้วยปัจจัยต่างๆดังนี้

 
  1. ต้นทุนเริ่มต้น (Initial Cost) เป็นต้นทุนเริ่มต้น เช่น ค่ารถ ค่าอุปกรณ์ประกอบการขับรถ เครื่องมือต่างๆ

  2. ต้นทุนดำเนินการ(Operation cost) เป็นต้นทุนที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงการขนส่งไม่ว่ารถหรือพาหนะขนส่งจะเปลี่ยนแปลงปริมาณเท่าใด เช่น ค่าเช่าสถานที่ ค่าแรงที่คนขับรถ เงินเดือนพนักงาน ภาษีรถ ค่าใช้จ่ายสำนักงาน และอื่นๆ

  3. ต้นทุนผันแปร (Running cost) เป็นต้นทุนที่มีการเปลี่ยนแปลง ตามปริมาณการขนส่ง เช่น ค่าน้ำมัน ค่าโสหุ้ย ค่าซ่อมแซมตามระยะทาง ค่าบำรุงรักษา เป็นต้น โดยเราจะเอาต้นทุนคงที่ รวมกับ ต้นทุนผันแปร จะเป็นต้นทุนรวม (Total cost) ในการจัดการการขนส่งจะมีการขนส่งทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ (Backhaul ) ซึ่งในแง่ของต้นทุนจะต้องคิดรวมทั้ง 2 เที่ยวนี้ไปด้วยกัน ดังนั้น การคิดต้นทุนในแง่ของการเดินรถจะต้องคำนึงถึงปัจจัยดังนี้

  • ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการขนส่งเที่ยวเปล่า

  • ปริมาณหรือน้ำหนัก หรือ บางแห่งคิดตามปริมาตร ของสินค้า ที่บรรทุก

  • ระยะเวลาที่ใช้ในการขนถ่ายขึ้นและลงรวมถึง ระยะเวลาในการรอ (จะะท้อนมาที่ต้นทุนรวมของการขนส่งอีกหนนึง)

โปรแกรมบัญชี AccCloud.techได้มี Function ของการขนส่ง เพื่อช่วยในการจัดรถขององค์กรให้สะดวกมากขึ้นโดยเชื่อมมาจากใบส่งของ เลือกที่ ข้อมูลพื้นฐาน –> ระบบขาย –> ระบบขนส่ง –> การจัดรถขนส่ง

โดยในโปรแกรมเราสามารถบันทึกต้นทุนขนส่งทั้งแยกตาม job หรือ ต้นทุนรวมก็ได้เช่นกัน

 

 

 

ที่มา www.acccloud.co

Education Template

Scroll to Top