เดือน: พฤศจิกายน 2021

ปัจจัยเบื้องต้นกับการวางแผนการผลิต

การวางแผนและควบคุมการผลิต

 

มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดและให้เป็นที่พอใจแก่ความต้องการของลูกค้าความหมายของทรัพยากรในที่นี้รวมหมายถึงสิ่งอํานวยความสะดวกในการผลิตเช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์แรงงานและวัตถุดิบ การใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดนั้น เป็นหน้าที่ของผู้บริหารโรงงาน โดย ผ่านหน้าที่ของฝ่ายวางแผนและควบคุมการผลิต โดยมีหน้าที่เกี่ยวกับการพยากรณ์การวางแผน การ กําหนดงาน การวิเคราะห์การควบคุมสินค้าคงคลัง และการควบคุมการดําเนินงานการผลิต

 

ดังนั้น ในขั้นตอนของการวางแผน จะต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ เช่น จำนวนของสินค้าคงคลัง เครื่องจักร หรือ แรงงานที่สามารถใช้ได้ ณ เวลาหนึ่งๆ ระยะเวลาในการรอคอยของลูกค้า(ความเร่งด่วน) และต้นทุนที่เกี่ยวข้องมาช่วยในการตัดสินใจ การจัดส่งต่างๆ และอื่นๆตามในรูปที่ 1 แสดงถึงตัวแปรที่เกี่ยวข้องสำหรับการตัดสินใจวางแผนการผลิต

 
 
 
 

รูปที่ 1 แสดงผังการตัดสินใจในการวางแผนการผลิต

การวางแผนและควบคุมการผลิต

1 การจัดตารางการผลิตหลัก (Master Production Scheduling : MPS)

 

การจัดตารางการผลิตหลัก (MPS) เป็นการจัดทําแผนการผลิตที่ระบุเจาะจงลงไปว่าจะ ทําการผลิตชิ้นงานอะไร จํานวนเท่าใด และจะต้องเสร็จสมบูรณ์เมื่อใด โดยทั่วไปมักจะจัดทํา ตารางการผลิตหลักเป็นรายเดือนหรือรายสัปดาห์ ข้อมูลในตารางการผลิตหลักจะมาจากการแปลงค่าจากการพยากรณ์ยอดขาย ซึ่งอาจจะคํานวณ ตามหลักทางสถิติหรือมาจากใบสั่งซื้อของลูกค้า

 

2 การวางแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirement Planning : MRP)

 

การวางแผนความต้องการวัสดุ (MRP) เป็นเทคนิคในการจัดการเกี่ยวกับความต้องการ วัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบและวัสดุอื่นๆ เพื่อให้สามารถรู้ถึงปริมาณความต้องการในแต่ละ ช่วงเวลาและสามารถจัดหาได้อย่างเพียงพอและทันเวลา

 

โดยข้อมลจากตารางการผลิตหลัก (MPS) ซึ่งจะบอกถึงสิ่งที่จะต้องผลิตว่ามีจํานวนเท่าใด ในเวลาใด จากนั้นจะพิจารณาถึงส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตว่าประกอบด้วยวัตถุดิบ ชิ้นส่วน ชิ้นส่วนประกอบและวัสดุอื่นๆ อะไรบ้าง เพื่อจะใช้ในการจัดหา

 

3. การวางแผนความต้องการกําลังการผลิต (Capacity Requirement Planning : CRP)

 

การวางแผนความต้องการกําลังการผลิต (CRP) เป็นการจัดทําแผนที่เกี่ยวข้องกับการ กําหนดกําลังการผลิตที่จําเป็นสําหรับแต่ละสถานีงาน (Working Station) เช่น แรงงาน เครื่องจักร หรือปัจจัยการผลิตทางกายภาพอื่นๆ ว่าควรจะต้องมีปริมาณเท่าใด และต้องการในช่วงเวลาใด โดยจะรับข้อมลความต้องการวัสดุจาก MRP มาทําการประเมินผลเกี่ยวกับภาระงาน (Work Load) ของสถานีงานต่างๆ ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่

 

Function ต่างๆเหล่านี้สามารถพบได้ใน โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP

โปรแกรมบัญชี

วิธีการลดต้นทุนการผลิต

 
 
 

 

 

วิธีการลดต้นทุนการผลิต 7 ประการ

 

1) ความสูญเสียจากการผลิตมากเกินความจำเป็น (over production) นำมาซึ่งการ Over stock ของสินค้าคงคลัง การผลิตที่มากเกินความจำเป็นหรือความต้องการของลูกค้า เนื่องมาจาก

 

1.1 ประมาณการความต้องการผลิตภัณฑ์ผิดพลาด

1.2 การวางแผนการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ

1.3 อื่นๆ

 

แนวทางในการลดต้นทุนที่เกิดจากการผลิตมากเกินความจำเป็น ฝ่ายขายต้องคอยอัพเดตและวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณการสั่งซื้อของลูกค้า ฝ่ายวางแผนการผลิตต้องมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายขายเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์

 

2) ความสูญเสียจากการรอคอย(Waiting) การรอคอยเป็นกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์และมูลค่า

สาเหตุที่ทำให้เกิดการรอคอย วัตถุดิบไม่เพียงพอ เครื่องจักรเสีย

แนวทางในการลดต้นทุนที่เกิดจากการรอคอย มีการกำหนด safety stock ที่เหมาะสม จัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร (preventive maintenance) เพื่อลดการหยุดการผลิตที่เกิดจากเครื่องจักรเสีย(machine break down)

 

3) ความสูญเสียจากการขนส่ง(Transportation) สาเหตุของความสูญเสียจากการขนส่ง วางผังโรงงานที่ขาดประสิทธิภาพ วางแผนกระบวนการที่ขาดประสิทธิภาพ

 

 

 

การลดต้นทุนการผลิตที่เกิดจากการขนส่ง ทำการปรับผังกระบวนการผลิตและผังโรงงานโดยคำนึงถึงความต่อเนื่อง,

 

4) ความสูญเสียจากการเก็บวัสดุคงคลังมากเกินไป(Excess Inventory) สาเหตุของของสูญเสียจากการเก็บวัสดุคงคลังมากเกิน เป็นผลมากจากการผลิตที่มากเกิน จำนวนจัดเก็บเพื่อความปลอดภัย และ ปริมาณการสั่งซื้อขั้นต่ำ ไม่เหมาะสม

 

การลดต้นทุนที่เกิดจากการจัดเก็บวัสดุคงคลังมากเกินไป ทบทวน Minimum Stock และ Safety Stock ทบทวนแผนการผลิต

 

 

 

5) ความสูญเสียที่เกิดจากงานเสีย(Defect) สาเหตุของความสูญเสียจากงานเสีย พนักงานขาดทักษะ ประมาท เลินเล่อ วิธีการทำงานไม่เหมาะสม วัตถุดิบไม่มีคุณภาพ เครื่องจักรประสิทธิภาพต่ำ การลดต้นทุนที่เกิดจากงานเสีย โดยปกติแล้วงานเสียที่เกิดในกระบวนการผลิตทางหน่วยงานด้านคุณภาพจะเข้ามาวิเคราะห์ร่วมกันกับฝ่ายผลิตเพื่อสาเหตุของงานเสีย

 

6) ความสูญเสียที่เกิดจาการเคลื่อนไหวมากเกินไป(Excess Motion) สาเหตุของการสูญเสียที่เกิดจากการเคลื่อนไหวมากเกินไป วิธีการทำงานที่ขาดประสิทธิภาพ ทักษะของพนักงานไม่เพียงพอ ผังของกระบวนการไม่เหมาะสม

 

 

 

การลดต้นทุนการผลิตที่เกิดจากเคลื่อนไหวมากเกินไป ใช้หลักการของ work study เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ แก้ไข และปรับปรุง จัดทำวิธีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน

 

7) ความสูญเสียของกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าหรือผลิตภัณฑ์ (Non-Value Added Processing) สาเหตุของความสูญเสียที่เกิดจากกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า ขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนอย่างแท้จริง ยึดติดกับวิธีการเก่าที่ทำต่อเนื่องกันมา เลยทำให้อยากที่จะเปลี่ยนแปลง การลดต้นทุนการผลิตที่เกิดจากกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า มีการวิเคราะห์และศึกษากระบวนการอย่างเป็นระบบ ใช้หลักการของวิศวกรรมคุณค่า (Value Engineering) เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์

 
 
 
 

โปรแกรมบัญชี www.acccloud.tech

 

 

 

 

 

 

องค์กรแห่งการเรียนรู้ คืออะไร

คำว่าการเรียนรู้นั้นเป็นหัวใจสำคัญของการเติิบโตขององค์กร ดังนั้นองค์กรที่ดีจะต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช ได้กล่าวไว้ว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นองค์กรที่ทำงานผลิตผลงานไปพร้อม ๆ กับเกิดการเรียนรู้ สั่งสมความรู้ และสร้างความรู้จากประสบการณ์ในการทำงาน พัฒนาวิธีทำงานและระบบงานขององค์กรไปพร้อม ๆ กัน ซึ่ง ผลลัพธ์ (Output) ขององค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ ผลงานตามภารกิจที่กำหนด การสร้างศาสตร์หรือสร้างความรู้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติภารกิจขององค์กรนั้น รวมทั้งการสร้างคน อันได้แก่ ผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์กร หรือมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับองค์กร จะเกิดการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยอาศัยการทำงานเป็นฐาน องค์กรแห่งการเรียนรู้ จะมีลักษณะเป็นพลวัต (dynamic) มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของพัฒนาการด้านต่าง ๆ คล้ายมีชีวิต มีผลงานดีขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และการสร้างนวัตกรรม (innovation) รวมทั้งมีบุคลิกขององค์กร ในลักษณะที่เรียกว่า วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) ที่ผู้เกี่ยวข้องสัมพันธ์สามารถรู้สึกได้

 
โปรแกรมบัญชี AccCloud.co
 
 
 
 

แนวทางในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Senge (1992) มีหลักการพื้นฐานทั้งสิ้น 5 ประการ ดังนี้

 

1. ความรอบรู้แห่งตน ( Personal Mastery ) ความเชี่ยวชาญ ( Proficiency) ของคนสามารถเข้าใจและชัดเจนในเป้าหมายของชีวิต สามารถกำหนดแนวทางการดำเนินชีวิตตนเองได้ สามารถค้นหาและกำหนดวิสัยทัศน์(Vision) ของตนเองได้อย่างสอดคล้องกับความเป็นจริง

 

2. แบบแผนทางความคิด (Mental Model) หรือ โลกทัศน์ของตนเองที่เข้าใจต่อโลก ต่อหน่วยงาน องค์กร หรือธุรกิจ

 

3. วิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันของคนทั้งองค์กรเป็ฯการสร้างทัศนะการร่วมมือทำงานกันอย่างมุ่งมั่นและไปในทิศทางเดียวกันของทั้งองค์กร

 

4. การเรียนรู้ของทีม (Team Learning) การถ่ายทอดความรู้ร่วมกันภายในทีม เพื่อเป็นการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ภายใต้บริบทของการร่วมมือประสานงานกัน

 

5. การคิดอย่างเป็นระบบ ( Systematic Thinking) การที่บุคคลมีแนวคิดแบบองค์รวมสามารถมองภาพรวมของการทำงานได้อย่างเป็ฯระบบ ซึ่งช่วยให้มองเห็นรูปแบบปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน

 

นอกจากนี้ Marquardt (2002) ได้เสริองค์ประกอบที่ช่วยสนับสนุนการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อีก 2 ประการคือ

 

1. การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ซึ่งประกอบด้วยการจัดการความรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อนำความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ตลอดจนการสร้างองค์ความรู้ใหม่

 

2. การใช้เทคโนโลยี ( Technology Application ) หมายถึงการนำเอาความสามารถทางด้านเทคโนโลยีที่สามารถก้าวนำหน้าองค์กรอื่นๆได้

 
 

โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP เกิดจากประสบการณ์ และ การเรียนรู้จากหลายๆองค์กร ซึ่งพัฒนาร่วมกันมาเป็นความสามารถของโปรแกรมบัญชี

 
 

ที่มา www.acccloud.tech

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

 

วิธีการหาจุดสั่งซื้อสินค้าที่ประหยัดที่สุด

 
 

หากท่านทำธุรกิจด้านการผลิต มักจะมีคำถามว่าจะสั่งซื้อวัตถุดิบเมื่อไหร่ดี จำนวนละเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม ในบทความนี้จะอธิบายวิธีการคำนวณจำนวนและ ช่วงเวลาในการสั่งซื้อที่เหมาะที่สุดแบบง่ายๆให้ทุกท่านอ่านกันครับ

 

การหาจุดสั่งซื้อที่ประหยัด เป็นเทคนิคในการคำนวณจำนวนในการสั่งซื้อที่เหมาะสม แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการต้องทราบด้วยเช่นกันว่า ในปีนั้นๆต้องสั่งสินค้าเท่าไหร่ เทคนิคนี้จะมีไว้เพื่อบริหารคลังสินค้าไม่ให้มีสินค้าคงคลังเหลือมากหรือน้อยเกินความจำเป็น

 

(โดยทั่วไปการที่มีสินค้าเหลือมากเกินไปจะทำให้เกิดต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าสูงมาก ในขณะสินค้าที่เหลือน้อยเกินไปอาจเกิดความเสี่ยงต่อการผลิต หรือ สินค้าหมดและเสียโอกาสในการขายได้)

 

จุดสั่งซื้อที่ประหยัดหรือ Economic Order Quantity (EOQ) จึงเป็นวิธีคำนวณที่ช่วยให้สามารถสั่งสินค้าได้ในปริมาณที่เหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามมีข้อระวังคือ EOQ อาจจะคลาดเคลื่อนได้ในกรณีที่ประมาณการสินค้าที่ต้องการใช้ในแต่ละปี (D) มากหรือน้อยเกินไปจากความเป็นจริง ดังสูตรนี้

 
 
 
 

เมื่อ D คือ ปริมาณความต้องการสินค้าทั้งปี

 

S คือ ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อแต่ละครั้ง

 

H คือ ต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าต่อหน่วยต่อปี

 

เช่นบริษัท A มีความต้องการสินค้าต่อปีเท่ากับ 7000 หน่วย โดยต้นทุนในการสั่งซื้อแต่ละครั้งเท่ากับ 20 บาท และมีต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้า 1.5 บาทค่อหน่วยต่อปี วิธีคำนวณ D = ความต้องการต่อปี 7000 หน่วย

S = ต้นทุนการสั่งซื้อครั้งละ 20 บาท H = ต้นทุนจัดเก็บ 1.5 บาท

 

ดังนั้น EOQ = 432 ชิ้น

 

ต้องสั่ง = 7000/432 = 16 ครั้งต่อปี

 

ใน 1 ปี ทำงาน 250 วัน ต้องใช้เวลาสั่งประมาณ 250/16 = 15 วันสั่งครั้งนึง

 

ที่มา: www.acccloud.tech

Internet Of Things (IOT) Part 1

 
 
 

หลายๆท่านอาจจะสงสัยว่าอะไรคือ Internet Of Thing (IOT) ที่กำลังเป็นกระแสในขณะนี้ บทความนี้ผมจะอธิบายหลักการและการนำไปใช้คร่าวๆของ IOT ว่าคืออะไร

 

แนวคิดของ IOT จริงแล้วเริ่มมาตั้งแต่ปี 1999 โดย Kevin Aston นักวิทยาศาสตร์ประจำสถาบัน MIT ที่อเมริกา ได้เริ่มต้นจากการทำ RFID Sensors มาทำการเชื่อมต่อกัน (ปัจจุบันเราใช้คำว่า smart มาแทนสื่อความหมายของการเชื่อมต่อ) โดยประโยชน์ของการเชื่อมต่อเหล่านี้กับอุปกรณ์ขั้นมูลฐานมันจึงทำให้เครื่องมือคุยกันได้รู้เรื่องผ่านในโครงข่ายของมันเอง

 

ต่อมากมีการเพิ่ม Sensor node ขึ้นมา จึงทำให้เกิด Wireless Sensor Node (WSN) ขึ้นให้กับอุปกรณ์ต่างสามารถเชื่อมต่อกันได้ และเครื่องมีอต่างๆเหล่านั้นจะมีการเชื่อมต่อกันภายใต้เทคโนโลยี ด้านการเข้าถึง (Access Technology อยู่ 3 ประเภทด้วยกันคือ 1. Bluetooth 4.0 , IEEE 802.15.4e , WLAN IEEE 802.11 (WIFI)

 

ต่อมาเมื่อมีการสื่อสารของอุปกรณ์มากขึ้นก็ได้มีการพัฒนา Gate way sensor เอาไว้เพื่อช่วยในการจัดการ การเชื่อมต่อไปยังเครือข่าย Internet โดยข้อมูลจะส่งผ่านไปยัง Internet ได้โดยตรง (ดูรูป)

 
 
 
 

 

 
 
 
  

การแบ่งกลุ่ม Internet Of Things เราสามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่มหลักๆด้วยกันคือ

 
  1. Commercial IOT อุปกรณ์ IoT ในกลุ่มนี้จะเชื่อมต่อแบบ IP network เพื่อเข้าสู่ internet ได้โดยตรง

  2. Industrial IoT อุปกรณ์ IoT ในกลุ่มนี้จะสื่อสารแค่ในกลุ่ม Sensor node เดียวกัน(local devices ) อาจไม่ได้เชื่อมสู่อินเตอร์เน็ต

โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP ในปัจจุบันได้วางรากฐานสำหรับการต่อยอดระบบ ไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์อัตโนมัติ ด้วยเทคโนโลยีเฉพาะ เมื่อผู้ใช้งานระบบ AccCloud ERP ต้องการจะเชื่อมโยงข้อมูลการผลิตกับใน Line Production ในอนาคตสามารถทำได้ในทันที

 

***  Function IOT นี้ น่าจะเปิดบริการให้ใช้งานได้เร็วๆนี้ ***

 

 

การตลาด 4.0 คืออะไร และจะช่วยอย่างไรในธุรกิจเราได้

 
 
 

การตลาด 4.0 เป็นวิธีการทำตลาด แบบonline + offline ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและลูกค้าเข้าด้วยกัน โดยใช้การเชื่อมต่อให้เป็นประโยชน์ในการสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้า เพื่อสร้างแบรนด์ โดยเป็นการกำหนดนิยามใหม่ให้กับการตลาด ซึ่งการตลาด Digital และการตลาดแบบ Traditional จะสามารถดำเนินการควบคู่กันไปในการตลาด 4.0 โดยมีเป้าหมายเพื่อชนะใจลูกค้า “แก่นแท้ของการตลาด 4.0 คือการเข้าใจถึงการเปลี่ยนบทบาทของการตลาดแบบดั้งเดิม ร่วมกับการตลาดดิจิทัลในการสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้า”

 

แนวทางสำคัญของการตลาด 4.0 เริ่มจากการตลาดที่ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ ซึ่งเน้นการทำให้แบรนด์มีคุณลักษณะคล้ายมนุษย์ จากนั้นจะศึกษาเรื่องการตลาดคอนเทนต์ (Content Marketing) ให้ละเอียดยิ่งขึ้นเพื่อสร้างบทสนทนาที่โดนใจผู้บริโภค รวมทั้งการนำการตลาดแบบเข้าถึงแบรนด์ได้ทุกช่องทาง หรือ Omnichannel Marketing มาใช้เพิ่มยอดขาย

 

หลักการของ Thailand 4.0 จะเน้นอยู่ 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ

 

1.) เปลี่ยนแปลงจากการผลิตสินค้าทั่วไป เป็นสินค้าเชิงนวัตกรรมมากขึ้น 2.) มีการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในอุตสาหกรรม 3.) เปลี่ยนจากประเทศที่รับจ้างการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม เป็นการเน้นภาคบริการมากกว่าเดิม

 

5 กลยุทธ์สำหรับ Marketing 4.0

 
โปรแกรมบัญชี AccCloud.co
 
 
 
 

Aware – รู้จักสินค้า Appeal – ชื่นชอบสินค้า Ask – เรียนรู้ (เช็ครีวิว – ถามเพื่อน – โทรติดต่อ call center – เช็คราคา) Act – ซื้อจากร้านหรือออนไลน์ ตัดสินใจใช้บริการ Advocate – ใช้ซ้ำ หรือแนะนำให้คนอื่น กลายเป็นผู้สนับสนุนให้กับแบรนด์

 
 

ดังนั้นเราสามารถปรับแนวคิดของ Marketing4.0 มาใช้ในธุรกิจได้ดังนี้

 
  1. การนำเสนอข้อมูลสินค้าให้ตรงกลุ่ม โดยดูจากข้อมูล

  2. การใช้ข้อมูล และ เครื่องมืออำนวยความสะดวกออนไลน์ ตัวอย่างเช่น การใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ AccCloud ERP เพื่อช่วยในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดเป็นต้น

  3. เมื่อเราทราบข้อมูลแล้ว การมุ่งไปที่กลุ่มเห้าหมายย่อมทำได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

  4. สามารถรับฟังเสียงตอบรับและความคิดเห็นลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น

  5. สามารถสร้างช่องทางการขายออนไลน์ได้ ไม่จำกัด

  6. สามารถใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆในการเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น

สามารถเข้าใช้โปรแกรมบัญชีได้ที่ >>> โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP

 
บทความที่เกี่ยวข้อง
 
 

การแยกประเภทของความรู้สำหรับการจัดการความรู้

การทำงานในยุคปัจจุบันนี้ ความรู้นับเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก เรียกว่าเป็นหัวใจของความสำเร็จในการทำงานทุกประเภท วันนี้ผมจะอธิบายประเภทของความรู้ให้ทุกๆท่านได้ฟังคร่าวๆครับว่า ความรู้มีกี่ประเภทอะไรบ้าง อันไหนเอามาใช้ได้ทันที อันไหนเอามาใช้ได้ไม่ทันที

 

Sallis and Jone (2002)ได้กล่าวไว้ว่า ความรู้นับเป็นสินทรัพย์อันมีค่ายิ่งขององค์กร ในการสร้างสรรค์ และ เพิ่มคุณค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยความรู้อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ความรู้ที่ปรากฏชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดโดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบของเอกสาร ตำรา

 

ทฤษฎี คู่มือ บางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบ “รูปธรรม” และความรู้ซ้อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เป็นภูมิปัญญา พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทําความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็น ทักษะการทํางานงานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์บางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบ “นามธรรม”

 

การนำความรู้ทั้งสองประเภทมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาองค์กร องค์กรจำเป็นต้องมีความตระหนักและกำหนดวิสัยทัศน์ให้ขัดเจนว่า ความรู้เป็นปัจจัยหลักในการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ และ ผู้นำจำเป็นจะต้องเห็นค่าของการจัดการความรู้รวมถึงการมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการสร้างองค์ความรู้

 

วิจารณ์ พานิช (2547) ได้แบ่งความรู้ออกเป็น 3 ประการดังนี้คือ

 

1. ความรู้ที่ไม่ชัดแจ้ง( Tacit Knowledge) ความคิดนี้เกิดขึ้นจากความเชื่อ ประสบการณ์ เป็นข้อสังเกตที่สั่งสมมานานจากการเรียนรู้ที่หลากหลาย จนเชื่อมโยงเป็นความรู้ที่มีคุณค่าสูง และความรู้ที่ฝังลึกนี้ไม่สามารถนำมาเปิดเผยได้ทั้งหมด แต่จะเกิดจากการเรียนรู้ผ่านชุมชน เช่นการสังเกต การ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างการทำงาน

 

2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) หรือความรู้ชัดแจ้งที่รู้กันโดยทั่วไปพบเห็นได้จากในตำรา ในหนังสือ หรือ สื่อต่างๆที่มีการรวบรวมเป็นหมวดหมู่ สามารถเขาถึงและแลกเปลี่ยนได้ง่าย

 

3. ความรู้ที่แฝงอยู่ในองค์กร (Embedded knowledge) เป็นความรู้ที่ถูกแผงอยู่ระหว่างหระบวนการทำงาน คู่มือ และ กฏเกณฑ์ต่างๆ กติกา ข้อตกลง ตารางการทำงานและบันทึกการทำงาน

 

Edvinsson (2002) ได้แบ่งความรู้ออกเป็น 3 ประเภทคือ

 

1. ความรู้เฉพาะบุคคล (individual knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในตัวพนักงานแต่ละคน

 

2. ความรู้ขององค์กร (Organization knowledge) เป็นความรู้ที่เกิดจากการแลกปลี่ยนการเรียนรู้ระหว่างพนักงานในองค์กรทำให้เกิดความรู้ สามารถใช้ประโยชน์ในการทำงานได้มากยิ่งขึ้น และ

 

3. ความรู้ที่เป็นระบบ (Structural Knowledge) เป็นความรู้ที่เกิดจากการสร้าง และต่อยอดองค์ความรู้เดิม

 

Nonaka & Takeuchi (1995) ได้แบ่งประเภทของความรู้เอาไว้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ 1. ความรู้ที่ไม่ชัดแจ้ง (Tacit Knowledge) หรือ ความรู้ที่ไม่สามารถแสดงออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน เป็นความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลเกิดจากประสบการณ์ การเรียนรู้ การกระทำ อาจจะเป็นความเชื่อ หรือ การมีพรสวรรค์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งยากต่อการถ่ายทอดในรูปของตัวอักษร และมีต้นทุนสูงในการถ่ายทอดความรู้ประเภทนี้ อย่างไรก็ดีความรู้ประเภทนี้จะก่อให้เกิดความสามารถในด้านการแข่งขันเนื่องจากความรู้ประเภทนี้อยู่กับคนข้างในองค์กร และ 2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถนำมาแสดงให้บุคคลภายนอกเห็นได้ อาจจะอยู่ในรูปแบบหนังสือ บทความ เอกสาร ตำราต่างๆ ซึ่งจะทำให้คนสามาถเข้าถึงได้ง่าย อย่างไรก็ดี บุญดี บุญญากิจ และคณะ(2549) ได้กล่าวถึงอัตราส่วนระหว่างความรู้ที่ชัดแจงต่อ ความรู้ที่ไม่ชัดแจ้ง เป็น 20:80 ซึ่งเปรียบเสมือนความรู้ในองค์กรที่มีความชัดแจ้งมีอัตราส่วนที่น้อยกว่า ความรู้ที่ไม่ชัดแจ้งมาก

 

 

 

กล่าวโดยสรุป ประเภทของความรู้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆด้วยกันคือ ความรู้ที่เห็นได้ชัดเจน( Explicit Knowledge) ซึ่งหมายถึงความรู้ที่สามารถอธิบายหรือ สื่อมาในรูปแบบของเอกสาร ตำรา บทความหรือรายงาน ต่างๆได้ หรือ แม้กระทั่ง software computer เช่น โปรแกรมบัญชี เป็นต้น และผู้ที่ต้องการเรียนรู้สามารถเข้าถึงได้โดยไม่ยาก และ ความรู้ที่ไม่ชัดเจน ( Tacit Knowledge) หมายถึงความรู้ที่ไม่สามารถสื่อได้ง่าย ความรู้ประเภทนี้เกิดจากตัวบุคคลเอง เช่นประสบการณ์ การกระทำจนชิน การสังเกตจากเหตุการณ์ พรสวรรค์ หรือแม้กระทั่งความเชื่อต่างๆ

 
 
 
 

 

 

ในบทความถัดไปผมจะอธิบายเรื่องของการจัดการความรู้ให้ทุกท่านได้ฟังครับว่า มีวิธีการอย่างไรบ้าง ถึงจะเอาความรู้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

 

 

 

โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP เป็นตัวอย่างนึงของการนำเอาความรู้ ทั้ง Explicit knowledge และ implicit knowledge มาใช้ให้เป็นประโยชน์ภายใต้ Software ที่เก็บรวบรวมองค์ความรู้เอาไว้

 

 

 

ที่มา www.acccloud.tech

แนวทางการ สร้างความรู้ ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร

การสร้างความรู้เราจึงต้องรู้จักการนำความรู้ที่ไม่ชัดเจนขึ้นมาให้เป็นความรู้ที่ชัดเจน โดยมีแนวคิดสร้างความรู้ซึ่ง Nonaka (1994) ได้พัฒนารูปแบบการเปลี่ยนแปลงของความรู้ที่เรียกว่า SECI Model ( Socialization, Externalization, Combination, Internalization) โดยมีหลักการดังแสดงในภาพประกอบ ดังนี้

 
โปรแกรมบัญชี AccCloud.co
 
 
 

 

 

ภาพ แสดงถึง การทำให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ โดยพัฒนาวงจรของ Tacit และ Explicit Knowledge

 

ตามรูปแบบดังกล่าว การสร้างความรู้เกิดขึ้นใน 4 ลักษณะ คือ Socialization, Externalization, Combination, และ Internalization

 

สำหรับ Socialization คือ การแบ่งปันและสร้าง Tacit Knowledge ด้วยการสื่อสารระหว่างกันในสิ่งที่เป็น Tacit Knowledge ของผู้ที่สื่อสารกัน ซึ่งจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรง เช่น การมีปฏิสัมพันธ์ของบริษัทกับลูกค้าและผู้รับจ้างช่วง หรือลักษณะ “การจัดการด้วยการเดินเยี่ยมในที่ทำงาน” (Management by walking around, MBWA)

 

เมื่อมีการแบ่งปันข้อมูลด้วยกระบวนการทางสังคมดังกล่าวแล้ว จะทำให้เกิดความคิด ใหม่ ๆ และความตระหนัก ถึงข้อมูลใหม่ ๆ ที่เปิดเผยออกมาและควรได้มีการเปลี่ยนให้เป็นรูปของภาษา ซึ่งก็คือ Explicit Knowledge กระบวนการลักษณะนี้เรียกว่า Externalization

 

จากนั้น จะต้องมีการรวมตัวอย่างที่ได้เรียนรู้ของ Explicit Knowledge เข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้ใหม่จากการกระทำดังกล่าว ในขั้นนี้ระบบสารสนเทศจะมีบทบาทสำคัญมาก

 

ลักษณะการสร้างความรู้ขั้นสุดท้าย คือ ขั้น Internalization ซึ่งเป็นการนำความรู้ไปปฏิบัติทำให้มีการแปลง Explicit Knowledge ให้เป็น Tacit Knowledge โดยจะมองเห็นเป็นเทคโนโลยี สินค้า บริการ และการแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้า และการมีปฎิสัมพันธ์กับลูกค้าก็จะนำกระบวนการกลับไปสู่วงจรเดิม คือ ขั้นแรกของการสร้างความรู้ คือ Socialization อีก

 

กล่าวคือ Socialization เป็นการรับความรู้สู่ภายใน การแบ่งปันและสร้างความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรง เช่นการพูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการเพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงความคิดเห็นที่แลกเปลี่ยน

 

Externalization เป็นการนำความรู้ภายในบุคลสู่ภายนอก ในรูปแบบที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยเป็นการเปลี่ยนจาก Tacit knowledge ไปเป็น Explicit knowledge เช่นการบรรยาย สัมมนา หรือ การเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน

 

Combination เป็นการผนวกความรู้ที่ชัดเจนจากภายนอกเข้าด้วยกัน โดยการรวบรวม ข้อความเอกสาร บทความ หลายๆชุดเพื่อประมวลไปเป็นความรู้ใหม่ (รวม Explicit knowledge หลายประเภทเข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้เกิดเป็นความรู้ใหม่เกิดขึ้นมา) และ

 

Internalization เป็นการรับความรู้จากภายนอกเข้ามาสู่ภายในบุคคล และ เป็นการแปลง explicit knowledge ไปเป็น tacit knowledge อีกหนนึง มักจะเกิดการนำความรู้ที่เรียนรู้มาปฏิบัติ และนำไปปรับใช้ในการทำงานจนทำให้เกิดทักษะ และความชำนาญ จนกลายเป็น Tacit knowledge ใหม่อีกหนนึง และ กระบวนการจะเริ่มวนกลับมาที่ Socialization ใหม่อีกรอบ

 

 

 

การแปรรูปจาก Tacit Knowledge ไปเป็น Explicit Knowledge สุดท้ายจะได้เป็นความรู้ที่จับต้องได้เช่นหนังสือ ตำรา คู่มือ หรือสื่ออื่นๆเช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์

 

โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP เป็นตัวอย่างนึงของการแปรรูปความรู้จาก Tacit knowledge ไปเป็น Explicit knowledge โดยรวบรวมจากประสบการณ์ทางด้านระบบบัญชี ระบบสารสนเทศ ระบบการผลิต ต่างๆรวมกันเป็น Software ที่ตอบสนองความต้องการผู้ใช้งานได้ในทุกระดับ

 

 

 

ที่มา www.acccloud.tech

 

 

องค์ประกอบของการจัดการความรู้

บทความนี้จะยาวหน่อยนะครับ (ตั้งใจเขียนพอสมควร) เรื่องนี้ค่อนข้างจำสำคัญคือองค์ประกอบของการจัดการความรู้ ครับ

 

 

 
 
 
 

 

 

ในการจัดการความรู้โดยทั่วไปมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนคือ คน (man) เทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology-IT) และกระบวนการจัดการความรู้ (process) โดย Awad and Ghaziri (2004) ได้กล่าวถึง ความสำเร็จของความรู้เกิดจากการผสมผสานระหว่างการทำงานของคน กระบวนการ และ เทคโนโลยี มีรายละเอียดดังนี้

 

ก. องค์ประกอบแรกสุดคือ คน (man) ในการจัดการความรู้ คนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เนื่องจากคนเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ส่วนบุคคล (personal knowledge management-PKM) คือ ผู้ซึ่งต้องการจัดการความรู้เพื่อการใช้ประโยชน์กับตัวเอง จึงสามารถจัดการทุกอย่างทุกขึ้นตอนได้เองเป็นส่วนใหญ่ อาจจะมีบ้างที่ต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่น(ศรัญญาภรณ์ , 2554) บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดการความรู้หรือ KM Team ขององค์กรอาจแบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆด้วยกัน คือ ส่วนงานหลักหรือส่วนงานถาวร (core team or permanent team) และส่วนงานชั่วคราว (contemporary team)

 

ส่วนงานหลักหรือส่วนงานถาวรเป็นคณะทำงานที่รับผิดชอบการดำเนินการจัดการความรู้ขององค์กรอย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนงานนี้จะประกอบด้วยบุคลากร 3 ฝ่าย ได้แก่ หัวหน้างาน หรือผู้จัดการความรู้ เป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ซึ่งมีบทบาทในการขุดหา ความรู้ภายในองค์กรออกมาโดยการใช้โครงการการจัดการความรู้ รับผิดชอบในการสร้างวิสัยทัศน์ในสิ่งที่เป็นไปได้ ออกแบบกรอบงานที่ให้ผลคุ้มค่า และ เป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) ประสานงานและการจัดให้มีกิจกรรมการจัดการความรู้ทั้งหมดขององค์กร และบุคลากรกลุ่มที่สอง ได้แก่ หัวหน้างาน (Chief Information Officer- CIO) เป็นผู้รับผิดชอบงานทั้งหมดขององค์กร และ กลุ่มสุดท้ายคือ ตัวแทนจากกลุ่มงานหลักขององค์กร

 

ส่วนงานชั่วคราว เป็นคณะกรรมการที่มาจากกลุ่มเฉพาะ (Tiwanna, 2002: 206) องค์กรต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ขององค์กร คือ กลุ่มผู้ใช้ผลผลิตและบริการขององค์กร จึงควรให้บุคคลเหล่านั้นมาเป็นหุ้นส่วนและร่วมกันวางแผนงานให้กับองค์กร (Rumizen, 2002: 67) นอกจากทีมงานทั้งสองทีมแล้ว บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนโครงการจัดการความรู้ขององค์กรอย่างมากคือ ผู้บริหารสูงสุด (Chief Executive Officer-CEO) โดยปกติจะอยู่ในตำแหน่งที่ปรึกษาโครงการจัดการความรู้

 

ข. องค์ประกอบที่สองคือ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology-IT) สมชาย นำประเสริฐกุล (2546:105) ได้กล่าวว่า ในเรื่องของการจัดการความรู้นั้นมีงานวิจัยเป็นจำนวนมากที่พยายามอธิบายความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้ ดังที่ปรากฎว่าเป็นเรื่องราวจำนวนมากที่แสดงถึงการจัดการความรู้ขององค์กรผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่ากระบวนการจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่ไม่ใช้เทคโนโลยี แต่เทคโนโลยีก็เป็นที่ถูกคาดหมายว่าเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้การจัดการความรู้ประสพความสำเร็จ องค์กรส่วนใหญ่จึงมีการจัดสรรงบประมาณในการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการความรู้ขององค์กร

 

เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการจัดการความรู้ประกอบด้วยเทคโนโลยีในการสื่อสาร (Communication Technology) ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เชียวชาญสาขาต่าง ๆ ในการค้นหาข้อมูล สารสนเทศผ่านเครือข่ายได้ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือโซเชียลมีเดีย เทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน (Collaboration Technology) ช่วยให้สามารถประสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคเรื่องของระยะทาง และเทคโนโลยีในการจัดเก็บ (Storage Technology) ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่าง ให้เป็นระเบียบและสะดวกต่อการค้นหา โดยเทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนช่วยประสาน สนับสนุนและอำนวยความสะดวกกระบวนการจัดการความรู้ ทั้ง 3 ดังนี้

 

การแสวงหาความรู้ เป็นการแสวงหาความรู้ทั้งที่เป็นการหยั่งรู้เอง (Tacit Knowledge) ทักษะ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทั้งนี้ผู้มีประสบการณ์สูง จะมองเห็นแนวโน้มหรือทิศทางความต้องการใช้ความรู้ด้านต่าง ๆ แล้ววางแผนและดำเนินการที่จะจัดหาความรู้นั้น ๆ มา โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทต่าง ๆ เป็นเครื่องช่วยประสานและอำนวยความสะดวก

 

การแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ เป็นการเผยแพร่และกระจายความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ในการนี้ การเรียนรู้จากผู้เชียวชาญจะช่วยให้ผู้ดำเนินการจัดการความรู้มือใหม่ผ่านเครือข่ายการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ

 

การใช้ประโยชน์จากความรู้ การเรียนรู้จะบูรณาการอยู่ในองค์กร มีอะไรอยู่ในองค์กร สมาชิกองค์กรสามารถรับรู้และประยุกต์ใช้สถานการณ์ใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา ทั้งการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ และการใช้ประโยชน์ความรู้ จะเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน

 

อย่างไรก็ตาม ในความหมายของ IT ไมได้หมายถึงเพียงแค่อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หรือซอฟท์แวร์เพียง เท่านั้น แต่ในปัจจุบันได้หมายรวมถึงความสำคัญของคน เป้าหมายที่คนวางหรือกำหนดในการใช้เทคโนโลยีนั้น ๆ คุณค่าในการเลือกใช้เทคโนโลยีตลอดจนเกณฑ์ในการประเมินที่ใช้ในการตัดสินใจในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในงานต่าง ๆ (Zorkoczy, 1984, p.12)

 

ค. องค์ประกอบที่สามคือ กระบวนการจัดการความรู้ (Process)

 

วิจารณ์ พานิช (2549)ได้กล่าวถึงกระบวนการจัดการความรู้ เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาของความรู้ หรือการจัดการ ความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอนดังนี้คือ

 
  1. การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) เป็นการพิจารณาว่าองค์กรเรามีพันธกิจ วิสัยใทัศน์ เป้าหมายอะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด และอยู่ที่ใคร

  2. การสร้างและการแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation & Acquisition) เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว

  3. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต

  4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification & Refinement) เช่นการปรับปรุงเอกสารให้เป็นรูปแบบมาตรฐาน ใช้ภาษาในการสื่อสารเป็นภาษาเดียวกัน ประปรุงเนื้อหาความรู้ให้สมบูรณ์

  5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Dissemination & Access) เป็นการทำให้ผู้ใช้เข้าถึงความรู้อย่างเป็นระบบได้ง่ายและสะดวกขึ้น การกระจายความรู้ให้ผู้อื่นทางช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม

  6. การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) เป็นการนำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนกันด้วยกลยุทธ์ต่าง ๆ เช่น ในกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ คลังความรู้ หรือในกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่ม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ และระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นต้น

  7. การเรียนรู้และการนำไปใช้งาน (Learning & Utilization) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการการจัดการความรู้ เป็นการที่บุคคลเกิดการเรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน และหมุนเวียนไปอย่างต่อเนื่อง

โปรแกรมบัญชี AccCloud.co
 
 

ผ่านประสบการณ์ที่มีผลสำเร็จ ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญที่ได้ผ่านการทดลองใช้มาแล้ว เนื่องจากการเติบโตของความรู้และองค์กรธุรกิจใช้ความรู้มากขึ้น ทำให้ลักษณะการทำงานขององค์กรปลี่ยนไป ลักษณะของงานที่เปลี่ยนแปลง ไปเป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้มีการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมด้วยเช่นกัน

 

ท่านผู้อ่านสามารถดูตัวอย่างการจัดการความรู้ที่ประสบความสำเร็จในรูปของ Software ที่ได้จากองค์ความรู้ ได้ที่ www.acccloud.tech

 

ที่มา โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP

5 ขั้นตอนการทำธุรกิจออนไลน์

 
 
 
  1. วางแผนและกลยุทธ์การตลาด

  2. ก่อนอื่นกิจการจะต้อง วิเคราะห์ก่อนครับว่า จุดเด่นของกิจการคืออะไร คู่แข่งเป็นใคร กล่าวคือ ต้องวิเคราะห์ SWOT ของกิจการเสียก่อน หลังจากนั้น วิเคราะห์ Segment , Target และ Position ของสินค้าตนเองในตลาด

  3. วางแผนการดำเนินการ

  4. ในขั้นนี้คือการร่าง Business Model และ แผนการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน เช่นแผนการติดต่อ supplier การหาลูกค้า การหาชื่อ website ที่สอดคล้องกับกิจการ

  5. พัฒนา Web site

  6. ในขั้นตอนนี้ เจ้าของกิจการจะทำการพัฒนา Web site ให้มีความเข้าถึงง่าย ใช้งานง่าย มีความน่าเชื่อถือ และ มี function ครบ และมี การโปรโมชั่นเป็นระยะ

  7. พัฒนา Content Optimization

  8. หรือ การทำ SEO ในขั้นตอนนี้ คือการทำให้ Website ขึ้นหน้าแรกใน Google ** ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ยากที่สุดในทุกขั้นตอนของการทำ Online Business

  9. อย่าลืมทำ Offline Marketing ควบคู่กันไปด้วย

  10. เช่นการโปรโมท ร้านด้วยวิธีการอื่นๆ

** ท่านทราบหรือไม่ว่า การใช้โปรแกรมบัญชี AccCloud ทันที ที่มีการลงทะเบียน Web site กับเรา

 

โปรแกรมบัญชี AccCloud มี Function ช่วยในการโปรโมท Website ของท่านให้อยู่อันดับที่สูงขึ้นใน Google ด้วยเช่นกัน 

 

ถ้าต้องการเข้าใช้งานโปรแกรมบัญชี Accloud สามาเข้าใช้งานได้ >>ที่นี่<<

 
บทความที่เกี่ยวข้อง 

 

Education Template

Scroll to Top