การผลิตสินค้า

ขั้นตอนการตรวจรับสินค้า

ใครคือผู้ตรวจรับสินค้า

บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้ควบคุมคลังสินค้าจะทำการตรวจรับสินค้าตามใบรับสินค้าจากผู้ส่งมอบ โดยที่บันทึกรับสินค้า และเคลื่อนย้ายสินค้าที่ตรวจรับไปยังตำแหน่งที่เก็บสินค้า

เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน Performance Criteria

1. ตรวจรับสินค้าตามใบรับสินค้าจากผู้ส่งมอบ

1.1. เอกสารนำส่งสินค้ามีการตรวจสอบรายละเอียดวัน เวลา ได้อย่างถูกต้อง

1.2. สินค้าที่ส่งมอบมีการตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วน 1.3. สินค้ามีการตรวจสอบปริมาณชนิด และความเสียหายของสินค้า ตามที่กำหนดในเอกสารได้อย่างถูกต้อง

1.4. ตรวจสอบความตรงกันของสินค้าเมื่อเทียบกับเอกสารการสั่งซื้อ

2. บันทึกการรับสินค้า

 

2.1. ข้อมูลการตรวจรับสินค้ามีการบันทึกการรับสินค้าได้อย่างถูกต้อง

2.2. ข้อมูลรายการสินค้ามีการบันทึกเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลได้อย่างถูกต้องง่ายต่อการใช้งาน

 

2.3. ขนถ่ายสินค้าที่ตรวจรับเข้าสู่ตำแหน่งที่เก็บสินค้า

3. สินค้ามีการขนถ่ายเข้าสู่ตำแหน่งที่เก็บได้อย่างถูกต้อง

4. วัสดุ สินค้า และพาเลทได้รับการติดฉลากอย่างถูกต้องและเป็นระบบ

 
โปรแกรมบัญชี AccCloud.co
 
 

หากคุณมีความสนใจที่จะเข้าใช้งานโปรแกรมบัญชี คลิ๊ก เข้าสู่ระบบ Accloud

และสามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมบัญชี Accloud ได้ที่ : www.acccloud.tech

บทความที่เกี่ยวข้อง 

การประมาณการต้นทุนคืออะไร

เรามารู้จักความหมายของคำว่า ต้นทุนการผลิตกันก่อน

ต้นทุนการผลิต เป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะกำหนดว่าสินค้าจะมีราถูกหรือแพง เพราะต้นทุนการผลิตมีส่วนประกอบหลายอย่างที่เป็นปัจจัยหลักในการผลิต ทั้ง วัสดุ, ค่าแรงงาน, ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ดังนั้น การลดต้นทุนการผลิต จึงสำคัญอย่างมากในการทำให้สินค้ามีต้นทุนต่ำลง หรือกำไรเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการแข่งขันในตลาด..

 
โปรแกรมบัญชี AccCloud.co
 
การประมาณการต้นทุนการผลิต
 
การประมาณการต้นทุนการผลิตมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจโดยเฉพาะในฝ่ายบริหาร ที่ต้องตัดสินใจในการวางแผนงาน การควบคุมการดำเนินงาน เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตที่อาจจะเกิดขึนในอนาคต ต้นทุนการผลิตนั้นจะมีความสัมพันธ์กับการผลิตโดยตรงแต่อัตราการเพิ่มหรือการลดนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในการผลิตและเงื่อนไขของผลิตภัณฑ์ เช่น การผลิตจำนวนมากอาจทำให้ต้นในการผลิตต่อชิ้นลดลง อันเนื่องจากจากหลายๆ ปัจจัย เช่นการ set up ระบบ การทำงานอย่างต่อเนื่องทำให้พนักงานมีความชำนาญ แต่ในบางครั้ง การผลิตครั้งละมากๆ ก็ไม่ใช่ว่าจะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงเสมอไป ต้องพิจารณาให้รอบคอบทุกด้าน เช่น หากผลิตครั้งละมากๆ ต้นทุนการผลิตต่อชิ้นของฝ่ายผลิตลดลงก็จริง แต่อาจจะมีต้นทุนอื่นๆ เพิ่มขึ้นมา เช่น ต้นทุนการเก็บสินค้าสำเร็จรูปมากเกินไป,มีงานค้างระหว่างกระบวนการผลิต (work in process) มากเกินไป ซึ่งหลายๆ เหตุผลนี้เอง ทางฝ่ายบริหารต้องนำมาวิเคราะห์และประมาณการต้นทุนการผลิต เพื่อหาจุดที่เหมาะสมในการวางแผนการผลิต วางแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วน และอื่นๆด้วยเช่นกัน
 
 
 
ที่มา : โปรแกรมบัญชี AccCloud
 
 
 
https:\\www.acccloud.tech\

ระบบติดตามงานผลิตคืออะไร

Process Tracking หรือ การติดตามงานตามกระบวนการ หมายถึง การติดตามในแต่ละขั้นตอนของการปฏิบัติงานนั้นๆ เพื่อให้ทราบถึง สถานะของการทำงานในปัจจุบันว่า เป็นเช่นไร รวดเร็ว หรือ ล่าช้าไปกว่าแผนงาน

 

ในการติดตามงานผลิต จะต้องประกอบด้วยตัวแปรหลักๆคือ คน งาน และ Process ครับ เริ่มจากการเปิด Job งานผลิต ส่งผ่านไปยังแผนกต่างๆ เช่นแผนกกลึง แผนกพ่นสี แผนกประกอบ โดยที่พนักงานในแต่ละแผนกเป็นผู้ดำเนินการผลิตตามสูตรที่ได้ตั้งไว้ และส่งมอบงานที่ผลิตเสร็จตามสายพานการผลิต

 

ดังนั้นระบบติดตามการผลิต จะต้องช่วยเก็บข้อมูลที่หน้างานผลิตว่า งานผลิตนี้ ตอนนี้อยู่ที่ Process ไหน ใครเป็นผู้ดำเนินการ และ รับสินค้าได้กี่ชิ้น รวมถึงข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องเช่น Lot ไหน ส่งไป Station ใดต่อ เป็นต้น

 

ในบางโรงงาน การ tracking การผลิตอาจจะใช้อุปกรณ์ RFID ซึ่งต้องลงทุนในราคาที่สูงมาก แต่ข้อดีคือ เราสามารถติดตามว่าในขณะนี้การผลิตทั้ง FG และ SEMI อยู่ใน Stage ใด และ จำนวนเท่าไหร่ได้

ดังนั้น โปรแกรมบัญชี AccCloud จึงได้ออกแบบ ระบบติดตามงานผลิตเป็น Module เสริมเป็น Plug In ขึ้นมาซึ่งสามารถติดตั้งใช้ในแผนกผลิตได้ทันที ที่มีการ Config ข้อมูลพื้นฐานต่างๆแล้วเสร็จ  

โปรแกรมบัญชี AccCloud.co

โปรแกรมบัญชีสำหรับ ธุรกิจผลิต

อุตสาหกรรมการผลิต เป็นภาคส่วนสำคัญของเศรษฐกิจโลก โดยมีส่วนสนับสนุนอย่างมากต่อการจ้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมการผลิตครอบคลุมถึงกิจกรรมต่างๆ มากมาย ตั้งแต่การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปไปจนถึงการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ซับซ้อน

ในยุคปัจจุบัน การแข่งขันในอุตสาหกรรมการผลิตสูงมาก ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โปรแกรมบัญชีเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถติดตามและควบคุมข้อมูลทางการเงินของธุรกิจได้อย่างแม่นยำ

อุตสาหกรรมการผลิตแบบต่อเนื่อง

เป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าในปริมาณมากและต่อเนื่อง โดยใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต ตัวอย่างของอุตสาหกรรมการผลิตแบบต่อเนื่อง ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอาหาร

อุตสาหกรรมการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง

เป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าในปริมาณน้อยและไม่ต่อเนื่อง โดยใช้แรงงานคนเป็นหลักในการผลิต ตัวอย่างของอุตสาหกรรมการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง ได้แก่ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ และอุตสาหกรรมเครื่องประดับ

อุตสาหกรรมการผลิต คืออะไร ?

อุตสาหกรรมการผลิต เป็นอะไรที่มีความเหมือนและแตกต่างจากอุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ เช่น ซื้อมาขายไป หรือ บริการ กล่าวคือ การขายสินค้าใด ๆ นั้น เราต้องเอาวัตถุดิบมาแปรรูปเสียก่อน โดยผ่านขั้นตอนการผลิตในขั้นต่าง ๆ ทั้งนี้ อาจจะออกมาเป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (Semi Product) หรือ สินค้าสำเร็จรูปก็ได้ โดยใช้สูตรการผลิตเป็นตัวที่ใช้ในการควบคุมวัตถุดิบ

ในแต่ละกระบวนการผลิต เราอาจจะใช้สูตรไม่เหมือนกัน และ ต้นทุนที่แตกต่างกันเช่น ในขั้นตอนการอบสี ต้องใช้เครื่องจักรเยอะ แต่ใช้คนน้อย ซึ่งจะทำให้ต้นทุนคนในกระบวนการนี้มีอยู่ไม่มาก แต่ในขณะที่ขั้นตอนการประกอบนี่ต้องใช้แรงงานคนเยอะ แต่ใช้เครื่องจักรไม่มาก

ดังนั้น ในการคุมต้นทุนผลิต เราต้องวิเคราะห์ให้ออกเป็นแต่ละกระบวนการว่ามีจุดที่ต้องพิจารณาหลัก ๆอะไรบ้าง และ มี Loss อะไรเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนบ้าง 

รวมถึงหลังจากมี Order เข้ามาแล้ว การวางแผนการผลิต จะต้องพิจารณาว่าเครื่องจักรใดว่าง และในแต่ละ Job งานต้องการทรัพยากรเท่าไหร่เพื่อจะทำงานให้เสร็จได้ทันเวลา

โปรแกรมบัญชี คืออะไร ?

โปรแกรมบัญชี โดยทั่วไปจะไม่ครอบคลุมความต้องการในด้านนี้ โดยมากกระบวนการทางบัญชี คือ เกิดการผลิต รับเบิกวัตถุดิบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ค่อยมาบันทึก จะไม่สามารถวางแผนการผลิตได้แน่นอน

ทำไมต้องใช้โปรแกรมบัญชีในการจำการธุรกิจ

โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถบันทึก จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปรแกรมบัญชีสามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถทำสิ่งต่อไปนี้ได้

  • บันทึกข้อมูลทางการเงินได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ
  • จัดเก็บข้อมูลทางการเงินได้อย่างเป็นระบบและปลอดภัย
  • วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินเพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ
  • สร้างรายงานทางการเงินได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
  • ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับทางการเงินได้อย่างถูกต้อง

 การใช้โปรแกรมบัญชี สามารถช่วยให้ธุรกิจประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดการข้อมูลทางการเงิน นอกจากนี้โปรแกรมบัญชียังสามารถช่วยให้ธุรกิจมีข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจ

การใช้โปรแกรมบัญชีอย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากโปรแกรมบัญชี ธุรกิจควรใช้โปรแกรมบัญชีอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ธุรกิจควร

  • ป้อนข้อมูลทางการเงินอย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจสอบข้อมูลทางการเงินเป็นประจำ
  • ใช้โปรแกรมบัญชีเพื่อจัดทำงบการเงินและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน
  • ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการบัญชีหากมีข้อสงสัย

โปรแกรมบัญชี AccCloud ได้ถูกออกแบบมาจากพื้นฐานของภาคการผลิตตั้งแต่เริ่มต้น ดังนั้น โปรแกรมบัญชี AccCloud.tech จึงเป็นมากกว่าโปรแกรมบัญชีทั่วไป โดยสามารถทำในส่วนกระบวนการด้านการผลิตทั้งหมดที่ได้กล่าวมาในข้างต้นของบทความนี้ได้ รวมไปถึงทำนายการผลิต และ วิเคราะห์ในเชิง Big Data ได้เช่นกัน

ที่มา โปรแกรมบัญชี AccCloud

รวมวิธีการหาต้นทุนของสินค้าคงคลัง

ต้นทุนสินค้าคงคลังมี 4 ชนิด คือ

1) ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ (Ordering Cost)

เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าคงคลังที่ต้องการ ซึ่งจะแปรตามจำนวนครั้งของการสั่งซื้อ แต่ไม่แปรตามปริมาณสินค้าคงคลัง เพราะสั่งซื้อของมากเท่าใดก็ตามในแต่ละครั้ง ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อก็ยังคงที่ แต่ถ้ายิ่งสั่งซื้อบ่อยครั้งค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อจะยิ่งสูงขึ้น ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อเช่น ค่าจ้างพนักงานจัดซื้อ ค่าโทรศัพท์ ค่าขนส่งสินค้า เป็นต้น

2) ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา (carrying Cost)

เป็นค่าใช้จ่ายจากการมีสินค้าคงคลังและการรักษาสภาพให้สินค้าคงคลังนั้นอยู่ในรูปที่ใช้งานได้ ซึ่งจะแปรตามปริมาณสินค้าคงคลังที่ถือไว้และระยะเวลาที่เก็บสินค้าคงคลังนั้นไว้ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา

3) ค่าใช้จ่ายเนื่องจากสินค้าขาดแคลน (Shortage Cost หรือ Stock out Cost)

เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการมีสินค้าคงคลังไม่เพียงพอต่อการผลิตหรือการขาย ทำให้ลูกค้ายกเลิกคำสั่งซื้อ ขาดรายได้ที่ควรได้ กระบวนการผลิตหยุดชะงักเกิดการว่างงานของเครื่องจักรและคนงาน ฯลฯ

ค่าใช้จ่ายนี้จะแปรผกผันกับปริมาณสินค้าคงคลังที่ถือไว้ นั่นคือถ้าถือสินค้าไว้มากจะไม่เกิดการขาดแคลน แต่ถ้าถือสินค้าคงคลังไว้น้อยก็อาจเกิดโอกาสที่จะเกิดการขาดแคลนได้มากกว่า

4) ค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องจักรใหม่ (Setup Cost)

เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่เครื่องจักรจะต้องเปลี่ยนการทำงานหนึ่งไปทำงานอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเกิดการว่างงานชั่วคราว สินค้าคงคลังจะถูกทิ้งให้รอกระบวนการผลิตที่จะตั้งใหม่ ค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องจักรใหม่นี้จะมีลักษณะเป็นต้นทุนคงที่ต่อครั้ง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดของล็อตการผลิต

ในบรรดาค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าคงคลังต่างๆ เหล่านี้ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาจะสูงขึ้นถ้ามีระดับสินค้าคงคลังสูง และจะต่ำลงถ้ามีระดับสินค้าคงคลังต่ำ แต่สำหรับค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ ค่าใช้จ่ายเนื่องจากสินค้าขาดแคลน และค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องจักรใหม่ จะมีลักษณะตรงกันข้าม คือ จะสูงขึ้นถ้ามีระดับสินค้าคงคลังต่ำและจะต่ำลงถ้ามีระดับสินค้าคงคลังสูง ดังนั้นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าคงคลังที่ต่ำสุด ณ ระดับที่ค่าใช้จ่ายทุกตัวรวมกันแล้วต่ำสุด

 

ที่มา โปรแกรมบัญชี AccCloud.tech

การจัดการการผลิต แบบ JUST IN TIME (JIT) คืออะไร

การผลิตแบบ Just In Time, JIT คือ การที่ชิ้นส่วนที่จำเป็นเข้ามาถึงกระบวนการผลิตในเวลาที่จำเป็นและด้วยจำนวนที่จำเป็นหรืออาจกล่าวได้ว่า JIT คือ การผลิตหรือการส่งมอบ “ สิ่งของที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ ด้วยจำนวนที่ต้องการ” ใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นเครื่องกำหนดปริมาณการผลิตและการใช้วัตถุดิบ

ทำไมต้องใช้การผลิตแบบ Just In Time

วัตถุประสงค์ของการผลิตแบบทันเวลาพอดี


1. ควบคุมวัสดุคงคลังให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุดหรือให้เท่ากับศูนย์ ( Zero inventory )
2. ลดเวลานำหรือระยะเวลารอคอยในกระบวนการผลิต ( Zero lead time )
3. ขจัดปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิต ( Zero failures )
4. ขจัดความสูญเปล่าในการผลิต ( Eliminate 7 Types of Waste ) ดังต่อไปนี้
– การผลิตมากเกินไป ( Overproduction ) : ชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ถูกผลิตมากเกินความต้องการ
– การรอคอย ( Waiting ) : วัสดุหรือข้อมูลสารสนเทศ หยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหวหรือติดขัดเคลื่อนไหวไม่สะดวก
– การขนส่ง ( Transportation ) : มีการเคลื่อนไหวหรือมีการขนย้ายวัสดุในระยะทางที่มากเกินไป
– กระบวนการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ ( Processing itself ) : มีการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็น
– การมีวัสดุหรือสินค้าคงคลัง ( Stocks ) : วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีเก็บไว้มากเกินความจำเป็น
– การเคลื่อนไหว ( Motion ) : มีการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นของผู้ปฏิบัติงาน – การผลิตของเสีย ( Making defect ) : วัสดุและข้อมูลสารสนเทศไม่ได้มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ไม่มีคุณภาพ

สิ่งที่ได้จากการผลิตแบบ Just In Time

ผลกระทบจากการผลิตแบบทันเวลาพอดี


1. ปริมาณการผลิตขนาดเล็ก ( Small lot size ) ระบบ JIT จะพยายามควบคุมวัสดุคงคลังให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุดเพื่อไม่ก่อให้เกิดต้นทุนในการจัดเก็บและต้นทุนค่าเสียโอกาส
2. ระยะเวลาการติดตั้งและเริ่มดำเนินงานสั้น ( Short setup time ) ผลจากการลดขนาดการผลิตให้เล็กลง ทำให้ฝ่ายผลิตต้องเพิ่มความถี่ในการจัดการขึ้น
3. วัสดุคงคลังในระบบการผลิตลดลง ( Reduce WIP inventory ) เหตุผลที่จำเป็นต้องมีวัสดุคงคลังสำรองเกิดจากความไม่แน่นอน ไม่สม่ำเสมอที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต
4. สามารถควบคุมคุณภาพสินค้าได้อย่างทั่วถึง

 
โปรแกรมบัญชี ทั่วไปจะไม่มีทางทราบถึงการผลิตแบบ JIT ได้เนื่องจากข้อมูลทางบัญชีจะเกิดขึ้นหลังจากเกิดการรับ – เบิก ไปแล้ว นั่นจะทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลมาวางแผนได้ โปรแกรมบัญชี AccCloud ได้ทราบถึงปัญหาข้อนี้เป็นอย่างดีในภาคการผลิต เราจึงได้ออกแบบระบบมาเพื่อใช้ในการวางแผนวัตถุดิบแบบ JIT ในโปรแกรม


ที่มา โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP 

อะไรคือ มาตรฐานอุตสาหกรรม และ การขอ มอก ทำอย่างไร

ถ้าพูดถึงคำว่ามาตรฐานอุตสาหกรรม ทุกท่านย่อมเคยได้ยินกันมาก่อนเป็นเวลาช้านานแล้ว วันนี้เราจะมารู้จักกับความหมายที่แท้จริงของ มาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกัน ว่าคืออะไรกันแน่

“มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” หมายถึงข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.)ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด โดยประกอบ ด้วยเกณฑ์ทางเทคนิค คุณสมบัติที่สำคัญ ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุที่นำมาผลิต และวิธีการทดสอบ เช่นมาตรฐานแอร์ประหยัดพลังงานเบอร์ 5 ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง เป็นต้น

โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP

ขั้นตอนการดำเนินงานขอมาตรฐาน มอก. สำหรับผู้ผลิตในประเทศประกอบไปด้วยกระบวนการดังนี้

1. ขออนุญาตผลิตจากกระทรวงอุตสาหกรรม

2. จัดเตรียมตัวอย่างเพื่อการทดสอบ (ต้องใช้ห้อง Lab. ที่ใช้ทดสอบตามกำหนดของ สมอ)

3. เมื่อตัวอย่างผ่านการทดสอบ จะมีการเข้าไปตรวจโรงงานโดยเจ้าหน้าที่ สมอ

4. เมื่อผ่านขั้นตอนการตรวจโรงงานเรียบร้อยแล้ว จึงจะได้รับใบอนุญาตให้ทำการผลิตและใช้ตรา ม.อ.ก ได้

5. ใบอนุญาตการผลิตจะมีผลตลอดไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆในเนื้อหามาตรฐานนั้นๆ

6. จะมีการตรวจติดตามผลโรงงานผลิต ปีละครั้ง

7. ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบใน ค่าใช้จ่ายเช่น การทดสอบ ใบอนุญาตการผลิต ค่าเดินทาง ค่าตรวจโรงงานผลิตครั้งแรก ค่าตรวจติดตามผลโรงงานผลิตในปีถัดไป

8. ผู้ผลิตมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในทางกฏหมาย ในสินค้านั้นๆ

(ที่มา เว็บไซต์ของสำนักงานมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม )

  
การตรวจสอบ การควบคุมที่ดี จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการวางระบบควบคุมกระบวนการทำงานตั้งแต่ต้น ตั้งแต่เรื่อง การรับวัตถุดิบ ไปจนถึงการผลิตออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป
 
การใช้โปรแกรมบัญชี AccCloud เป็นการช่วยผู้ประกอบการในจุดเริ่มต้นเหล่านี้ โดยตัวระบบได้มีการวางขั้นตอนการตรวจสอบ การวางรูปแบบของเอกสารการทำงาน ตลอดจน การวิเคราะห์และประเมินผล ในทุกขั้นตอนการทำงาน
 
ที่มา : โปรแกรมบัญชี AccCloud.tech

การบริหารจัดการ การผลิตอย่างไรให้ได้คุณภาพ

โปรแกรมบัญชี AccCloud.co

การผลิตสินค้าเป็นการปฏิบัติการที่เป็นระบบคือ ต้องแปรรูป สิ่งป้อนเข้า กลายเป็นสิ่งออกนำไปสู่ตลาด

การผลิต คืออะไร?

การผลิต (Production) เป็นการผลิตสินค้า มีความหมายเน้นเฉพาะการผลิตสินค้าที่มีตัวตนจับต้องได้ การปฏิบัติ (Operations) เป็นกระบวนการภายในองค์การที่เกิดขึ้น โดยใช้ปัจจัยนำเข้า (Input) เช่น คน เงินทุน วัตถุดิบ ฯลฯ แปลงสภาพเป็น ปัจจัยนำออก (Output)

ระบบการผลิต คือ กระบวนการในการผลิตสิ่งของชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยมีการใช้ปัจจัยการผลิต ผ่านกระบวนการผลิต เพื่อเป็นสินค้า และ ปัจจัยการผลิต หมายถึง สิ่งที่นำเข้าสู่ระบบการผลิตประกอบไปด้วยวัตถุดิบ

กระบวนการผลิต หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่ในการนำปัจจัยการผลิตมาแปรสภาพให้เป็นสินค้า ตามที่ต้องการ วิธีการในการผลิตสินค้า การจัดลำดับการผลิต การวางแผนการผลิต และการจัดสรรกำลังคนเพื่อการผลิต โดยที่ผลผลิต หมายถึง สินค้าที่เกิดจากการแปลงสภาพ

โปรแกรมบัญชี AccCloud.co

โดยระบบการผลิต แบ่งเป็นสองระบบดังนี้คือ

ระบบการผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Production)

การผลิต (Production) เป็นการผลิตสินค้า มีความหมายเน้นเฉพาะการผลิตสินค้าที่มีตัวตนจับต้องได้ การปฏิบัติ (Operations) เป็นกระบวนการภายในองค์การที่เกิดขึ้น โดยใช้ปัจจัยนำเข้า (Input) เช่น คน เงินทุน วัตถุดิบ ฯลฯ แปลงสภาพเป็น ปัจจัยนำออก (Output)

ระบบการผลิต คือ กระบวนการในการผลิตสิ่งของชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยมีการใช้ปัจจัยการผลิต ผ่านกระบวนการผลิต เพื่อเป็นสินค้า และ ปัจจัยการผลิต หมายถึง สิ่งที่นำเข้าสู่ระบบการผลิตประกอบไปด้วยวัตถุดิบ

กระบวนการผลิต หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่ในการนำปัจจัยการผลิตมาแปรสภาพให้เป็นสินค้า ตามที่ต้องการ วิธีการในการผลิตสินค้า การจัดลำดับการผลิต การวางแผนการผลิต และการจัดสรรกำลังคนเพื่อการผลิต โดยที่ผลผลิต หมายถึง สินค้าที่เกิดจากการแปลงสภาพ

ระบบการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Production)

หมายถึงระบบการผลิตที่รวบรวมเอาอุปกรณ์การผลิตหรือสถานีงานที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกันเข้าไว้ด้วยกันเรียกว่า ศูนย์การทำงาน (work center) แต่ไม่มีการเรียงลำดับก่อนหลังของศูนย์การทำงานไว้คงที่

ทั้งนี้โปรแกรมบัญชี AccCloud ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับระบบผลิตโดยเฉพาะ ซึ่งในระบบมีทั้งการติดตั้งกระบวนการผลิต การติดตามงานผลิต รวมถึงการคำนวณต้นทุนการผลิค

 

ที่มา โปรแกรมบัญชี AccCloud.tech

Education Template

Scroll to Top