การทำบัญชี

อยากเป็นเจ้าของธุรกิจต้องรู้ ประเภทของการจดทะเบียนธุรกิจมีอะไรบ้าง

ทุกวันนี้ไม่ว่าใครก็ใฝ่ฝันอยากที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจของตนเองกันทั้งนั้น หากเรามีแผนที่จะขายสินค้าหรือบริการบางอย่างก็ควรจะมีการจดทะเบียนธุรกิจ เพื่อให้การดำเนินการต่างๆ ของเราเป็นไปในนามของบริษัทหรือทะเบียนพาณิชย์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการบริหารจัดการธุรกิจ ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ทำให้ธุรกิจของเราสามารถเติบโตได้ดียิ่งขึ้น แต่ก่อนที่เราจะจดทะเบียนธุรกิจ เราควรมารู้จักกับประเภทของการจดทะเบียนธุรกิจก่อน มีอะไรบ้าง มาดูกันเลย

ประเภทการจดทะเบียนธุรกิจ

การจดทะเบียนธุรกิจสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท นั่นคือ 1. การจดทะเบียนพาณิชย์ สำหรับบุคคลธรรมดา และ 2. การจดทะเบียนบริษัท สำหรับนิติบุคคล แต่ละประเภทจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. การจดทะเบียนพาณิชย์ สำหรับบุคคลธรรมดา

การจดทะเบียนพาณิชย์เป็นการจดทะเบียนที่เหมาะกับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่เป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งอาจเป็นการประกอบอาชีพ เช่น การขายสินค้าทั่วไปโดยมีหน้าร้านเป็นของตัวเอง การขายของออนไลน์ ตัวแทนขายสินค้า/บริการผ่านเว็บไซต์ ขายของผ่านแพลตฟอร์มบน Social Media เป็นต้น

2. การจดทะเบียนบริษัท สำหรับนิติบุคคล

การจดทะเบียนบริษัทเหมาะกับธุรกิจหลายระดับที่มีเจ้าของหรือผู้ลงทุนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป หากต้องการให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดได้ก็ควรมีการจดทะเบียนบริษัท การจดทะเบียนประเภทนี้จะทำให้บริษัทมีสถานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งจะมีภาระการจัดการที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ เช่น การจัดทำบัญชี การเสียภาษี และยื่นประกันสังคม การจดทะเบียนบริษัทยังสามารถแย่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญ

ห้างหุ้นส่วนสามัญเป็นการทำธุรกิจที่แบบมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งหุ้นส่วนแต่ละคนสามารถเข้ามามีบทบาทในการจัดการกับธุรกิจและแบ่งปันผลกำไรได้ ถือว่ามีภาระหน้าที่ร่วมกันทั้งในส่วนของผลกำไรและหนี้สินของกิจการ หากไม่ได้จดทะเบียนบริษัทจะนับเป็นบุคคลธรรมดา แต่ถ้าจดทะเบียนแล้วจะมีสภาพเป็นนิติบุคคล

  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะมีความแตกต่างจากห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ การแบ่งภาระความรับผิดชอบของหุ้นส่วนจะมีการกำหนดข้อจำกัด และไม่จำกัด เกี่ยวกับหนี้สินของกิจการไว้ด้วย หุ้นส่วนแต่ละคนจะรับผิดชอบหนี้สินไม่เกินจำนวนเงินลงทุนของตนเอง

  • บริษัทจำกัด

บริษัทจำกัดเป็นธุรกิจที่ต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 3 ขึ้นไป และจดทะเบียนนิติบุคคลให้เรียบร้อย ทุกคนมีภาระการรับผิดชอบหนี้สินแบบ จำกัด การจดทะเบียนบริษัทจะช่วยให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้ก้าวหน้าได้ดีมากกว่าการทำธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา

การจดทะเบียนบริษัทอาจมีขั้นตอนที่ค่อนข้างยุ่งยาก และเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องเยอะ แต่อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนธุรกิจย่อมมีข้อดีกว่าไม่จดเลย เพราะถ้าเราอยากให้ธุรกิจเติบโต เป็นที่รู้จัก และได้รับการยอมรับในวงกว้าง การจดทะเบียนธุรกิจนี่แหละเป็นทางเลือกที่ดีและคุ้มค่าที่สุดแล้ว

ทำไมธุรกิจต้องปรับมาใช้โปรแกรมบัญชีแบบออนไลน์

เนื่องจากธุรกิจบัญชี เริ่มเติบโตมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และด้วยเมื่อก่อนการทำบัญชีด้วยระบบมือ ค่อนข้างใช้เวลานาน ล่าช้า และมีโอกาสผิดพลาดได้ง่าย 

โปรแกรมบัญชีออนไลน์ จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานในด้านธุรกิจบัญชีโดยเฉพาะ ทำให้นักบัญชีสามารถจัดการการทำบัญชีได้ง่ายมากขึ้น มีความแม่นยำในการทำบัญชีมากขึ้น ช่วยให้สามารถส่งออกรายได้ ค่าใช้จ่าย และรักษาข้อมูลบัญชี รวมทั้งสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทำงานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้หลายประเภท เช่น เครื่อง pc โน้ตบุ๊ค แล็บท็อป และสมาร์ทโฟน ไม่ต้องพกสมุดบัญชีเล่มใหญ่ให้เหนื่อยอีกต่อไป

โปรแกรมบัญชีออนไลน์คืออะไร

เป็นโปรแกรมที่ช่วยจัดการบันทึกข้อมูลบัญชีออนไลน์ได้ครบวงจร ควบคุมค่าใช้จ่าย ทำรายรับรายได้ เช็คคลังสินค้า ภาษี และยอดค้างชำระที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำบัญชีต่าง ๆ ของธุรกิจ ประหยัดกำลังคน และกำลังทรัพย์ของธุรกิจได้อีกด้วย ตอบโจทย์นักธุรกิจยุคใหม่เป็นอย่างมาก ทำให้สามารถมองเห็นภาพรวมของกิจการ และสามารถนำข้อมูลนั้น ๆ มาวิเคราะห์และบริหารของงานแต่ละส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำที่สุด

ทำไมต้องใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์

  • โปรแกรมใช้งานง่ายและสะดวกต่อการคีย์ข้อมูล
  • มีความปลอดภัยและแม่นยำสูง
  • ทำงานแบบเรียลไทม์ ใช้งานได้หลายคนในฐานข้อมูลเดียวกัน
  • ค้นหาและตรวจสอบข้อมูลบัญชีได้รวดเร็ว
  • เข้าถึงข้อมูลบัญชีได้ทุกที่ทุกเวลา
  • เจ้าของกิจการสามารถระบุหน้าที่ของผู้ใช้งานฐานข้อมูลได้ เพื่อเป็นการจำกัดสิทธิ์เข้าถึง
  • มีฟังก์ชันการใช้งานด้านบัญชีให้เลือกหลากหลาย ไม่ซับซ้อน
  • ลดต้นทุนในการใช้บุคคากรจำนวนมาก
  • วิเคราะห์ภาพรวมของกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โปรแกรมบัญชี AccCloud ช่วยอะไร

โปรแกรมบัญชี AccCloud คือ โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อช่วยให้ธุรกิจออนไลน์สามารถจัดระเบียบธุรกิจบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ซึ่งโปรแกรมบัญชี AccCloud เหมาะสำหรับธุรกิจระดับกลางจนถึงระดับใหญ่ และโปรแกรมบัญชี AccCloud สามารถเชื่อมต่อช่องทางการขายกับ Lazada และ Shopee ได้ โดยยอดขายจะ Link โดยตรงไปบันโปรแกรม Accloud ได้ในทันที  เหมาะมากสำหรับผู้ที่เริ่มต้นเป็นนักธุรกิจ แต่ยังจัดการบัญชีไม่คล่อง โปรแกรมบัญชี AccCloud จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกให้นักธุรกิจได้ลองใช้งาน

โปรแกรมบัญชี AccCloud เหมาะสำหรับธุรกิจอะไรบ้าง

  • ธุรกิจการผลิต
  • ธุรกิจซื้อขาย สต็อกสินค้า 
  • ธุรกิจบริการ
  • ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
  • ธุรกิจรับจ้างซ่อม
  • ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก

AccCloud มีระบบอะไรบ้าง

  • ระบบติดตามงานช่าง
  • ระบบติดตามพนักงานขาย
  • ระบบบริหารการผลิต
  • ระบบโปรแกรมบัญชี
  • ระบบเชื่อมต่อ Lazada, Shopee
  • เชื่อมต่อ SalePage
  • ระบบเงินเดือนและลงเวลาทำงาน
  • ระบบขายหน้าร้าน (POS)
  • ระบบงานบัญชี
  • ระบบงานการเงิน
  • ระบบคลังสินค้า

ข้อดีของการใช้โปรแกรมบัญชี AccCloud

  • ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้
  • เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสาขา
  • รองรับกับธุรกิจด้านงานบริการ
  • ตอบโจทย์ธุรกิจด้วย User-Oriented
  • แยกประเภทบัญชีอัตโนมัติ
  • พัฒนาระบบอัพเดทได้ตลอดเวลา
  • รองรับการใช้งานบาร์โค้ดผ่านมือถือ

ดังนั้น การเริ่มต้นใช้โปรแกรมบัญชี ต้องเลือกจากโปรแกรมที่มีความน่าเชื่อถือ และไว้วางใจได้ว่าข้อมูลธุรกิจจะไม่หลุดออกไป และมีความปลอดภัยในการปกป้องข้อมูลบัญชีธุรกิจ ต้องได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น โปรแกรมบัญชี AccCloud จึงขอเป็นตัวเลือกให้ผู้เริ่มต้นธุรกิจได้ลองใช้งานกัน

โปรแกรมบัญชี

ข้อดีของการวางแผนทางการเงินก่อนการลงทุน เพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า

การวางแผนเป็นหนึ่งในคุณลักษณะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของตัวเราเองเลยก็ว่าได้  เมื่อพูดถึงเรื่องเงิน การวางแผนต้องเป็นรูปธรรม เนื่องจากมีตัวแปรเพียงพอที่อาจส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินของคุณ เพื่ออนาคตที่ดีมากขึ้น เราต้องเริ่มการวางแผนตั้งแต่วันนี้เลย แม้ว่าหลายคนจะเข้าใจถึงความสำคัญของการวางแผนทางการเงิน แต่มันเป็นเรื่องที่ดีกับตัวเราในอนาคตมากจริงๆนะ จะมีข้อดีแบบไหนบ้างมาดูกัน

ข้อดีของการวางแผนทางการเงินก่อนการลงทุน

1. บรรลุเป้าหมายทางการเงิน

ทุกคนมีเป้าหมายทางการใช้เงิน ยกตัวอย่างการเก็บเงินเพอเที่ยวรอบโรค สร้างบ้าน ปลดหนี้ หรืออื่นๆ การมีเป้าหมายในการเก็บเงินจะช่วยให้เราสามารภวางแผนได้ง่ายมากขึ้น แต่ถ้าเรายังไม่รู้ว่าจะเก็บเงินไปเพื่ออะไร การวางแผนจะยากมาก เพราะเราไม่มีเป้าหมาย ทำให้การวางแผนไม่แม่นยำซะเท่าไหร่

แผนทางการเงินเป็นตัวกำหนดจำนวนเงินที่คุณต้องออม หรือเก็บไว้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ลองกำหนดจำนวนเงินที่ต้องใช่ พร้อมอายุของเราว่าจะต้องบรรลุเป้าหมายตอนไหนดู แค่นี้ก็สามารถ วางแผนการเงินได้ง่ายๆแล้ว

2. การเตรียมพร้อมรับเหตุฉุกเฉิน

อุบัติเหตุ การสูญเสียทางธุรกิจ หรือความเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่เราเองก็ไม่สามารถคาดเดาได้ เป็นอีกหนึ่งในเหตุการณ์ของชีวิตที่ใครก็ไม่อยากเจอ เราควรให้ความสำคัญกับส่วนรี้ด้วยเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม หากไม่มีสถานะทางการเงินที่มั่นคง ค่าใช้จ่ายที่เข้ารับการรักษาตัวเป็นเรื่องที่ยากมาก สำหรับพนังานที่จะจ่ายเงินรวดเดียวหมด

เพราะฉะนั้นแล้วต้องรู้จักการทำเงินประกันแบบระยะยาว ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นจะได้เบาใจในระดับหนึ่ง

โปรแกรมบัญชี

3. ความมั่นคงทางการเงิน

 ความมั่นคงทางการเงินเป็นเป้าหมายของทุกคนในโลกต้องการมากที่สุด ไม่ว่าจะตอนไหนก็ตาม เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระส่วนใหญ่แล้ว ไม่มีความมั่นคงทางการเงินจากเงินเดือนรายเดือน น รายได้ต่อเดือนขึ้นอยู่กับรายได้ธุรกิจในแต่ลละเดือนแทน ทำห้ครอบครัวเป็นกลุ่มที่ไม่มีความมั่นคงทางการเงิน

แต่ว่า ถ้าเรารู้จักวางแปนการเงิน ก็จะสามารถช่วยให้เราสามารถมีความมั่นคงทางการเงินของครอบครัวได้ ด้วยแผนทางการเงินที่ดีเราสามารถประหยัดเงินได้มากพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายรายเดือน แผนทางการเงินสามารถช่วยจัดการเงินของในด้านของธุรกิจให้สามารถมียอดขายเพิ่มขึ้นได้ จากการคำนวณจำนวนเงินที่ปลอดภัยในการลงทุน แยกเงินสำหรับครอบครัวและกำไรออกมาได้ชัดเจนมากขึ้น

4. ความเป็นอิสระทางการเงิน

กระปุกออมสินสอนให้เด็กรู้จักการเก็บเงินไว้ใช่ในเวลาที่จำเป็น อาจเก็บไว้เพื่อซื้อของที่อยากได้ หรือขนม แต่ ในฐานะผู้ใหญ่ทางออกในการอยากได้ของคือการกู้เงิน การทำแบบนี้อาจพ่วงมาด้วยดอกเบี้ยมากมาย ทำให้เราไม่สามารถเก็บเงินไล่ตามความฝันอย่างอื่นได้ทัน

การวางแผนการเงินที่ดี ช่วยให้เราสามารถซื้อสิ่งของที่อยากได้ โดยที่ไม่ต้องกู้ให้เสียดอก เงินส่วนที่ต้องเสียดอกก็สามารถนำมาทำอย่างอื่นได้อีกตั้งเยอะ ทำให้เรามีอิสระทางการเงินมากยิ่งขึ้นนั้นเอง

วิธีบริหารจัดการเงินสำหรับผู้เริ่มต้นธุรกิจ

การมีธุรกิจเป็นของตนเองนับเป็นหนึ่งในความใฝ่ฝันของใครหลายคน ทว่าการจะดูแลธุรกิจให้เติบโตได้อย่างมั่นคงนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ โดยเฉพาะช่วงแรกเริ่มเป็นช่วงที่มีความท้าทายมาก เจ้าของธุรกิจและผู้ประกอบการควรมีทักษะในการบริหารจัดการเงินที่ดี ไม่เช่นนั้นก็อาจทำให้การดำเนินธุรกิจมีปัญหาติดขัด ไม่สามารถจัดการการทำงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความของเราจึงจะมาแนะนำวิธีบริหารจัดการเงิน เพื่อช่วยให้ผู้ทำธุรกิจทุกคนสามารถดำเนินธุรกิจราบรื่นมากที่สุด ซึ่งมีแนวทางต่างๆ ดังนี้

1. ตรวจสอบบัญชีเงินเข้า-ออกอยู่เป็นประจำ

หากต้องการทำธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือการทำบัญชีบันทึกรายรับและรายจ่ายของธุรกิจเรา วิธีนี้จะช่วยทำให้เราทราบว่าธุรกิจมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากไหน หรือมีรายจ่ายในด้านใดบ้าง หากเกิดความผิดพลาดในการจัดการทางการเงินก็จะสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ทันที

2. บริหารยอดเงินรายรับและรายจ่ายให้สมดุลกับธุรกิจ

การบริหารเงินรายรับและรายจ่ายจะช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างเหมาะสม สามารถควบคุมการใช้เงินได้อย่างเหมาะสม ทุกธุรกิจต้องเน้นในส่วนของเงินรายรับให้มากๆ เพื่อให้องค์กรดำเนินงานต่อไปได้อย่างสมบูรณ์ ยกตัวอย่างรายได้ที่เกิดขึ้นจากธุรกิจ เช่น การขายสินค้า ขายอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ การขายสินทรัพย์ รวมไปถึงการให้บริการที่ก่อให้เกิดเงินเข้ามาในธุรกิจด้วย

ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ เช่น การซื้อของเข้าสำนักงาน การชำระค่าโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์จำเป็นในการทำงาน การจ่ายเงินค่าโฆษณา ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอุปกรณ์ รวมถึงการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับพนักงานอย่างเงินเดือนและสวัสดิการ การควบคุมค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมจำเป็นมาก หากมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ก็จะทำให้ธุรกิจเกิดปัญหา จึงควรระมัดระวังในการใช้จ่ายให้ดี

3. ดูแลบัญชีให้มีเงินหมุนเวียนเพียงพอตลอดเวลา

นอกจากการทำบัญชี การบริหารเงินรายรับและรายจ่ายให้สมดุลกัน อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือการดูแลเงินในบัญชีให้มีเงินหมุนเวียนตลอดเวลา เราควรเตรียมเงินให้พร้อมเสมอสำหรับการดำเนินงานต่างๆ การดูแลให้รายรับกับรายจ่ายอย่างสมดุลกันไม่ได้แปลว่าเราควรมีรายจ่ายเท่ากับรายรับ อย่าใช้จ่ายเงินทุกบาททุกสตางค์ไปจนหมดไม่เหลือติดบัญชีเลย เพราะหากติดปัญหาอะไรจะได้มีเงินสำรองคอยดึงมาใช้จ่ายได้ทันที เน้นให้รายรับมากกว่ารายจ่ายจะดีที่สุด

4. หมั่นปรับแผนทางการเงินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเสมอ

หากเราทำบัญชีและมีการตรวจสอบยอดรายรับรายจ่ายเป็นประจำ เราย่อมรู้ดีว่าธุรกิจมีรายรับส่วนไหนมาจากไหนบ้าง แล้วมีรายจ่ายด้านไหนยังไง แต่ละช่วงของการทำงานจะความเปลี่ยนแปลงทางค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นเสมอ เจ้าของธุรกิจจึงต้องวางแผนการบริหารจัดการเงินให้ดีๆ และคอยปรับเปลี่ยนแผนให้เหมาะสมตามเวลาที่เปลี่ยนไป อย่าวางแผนใดแผนหนึ่งตายตัว เพราะธุรกิจจะต้องมีการเติบโตตลอดเวลา การปรับแผนเป็นประจำจะช่วงให้เราดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การมีธุรกิจเป็นของตนเองจำเป็นต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างยิ่ง การดูแลธุรกิจให้ดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคงก็ยิ่งยากกว่า หากเราเพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจก็ควรศึกษาสิ่งที่จำเป็นต่อธุรกิจอยู่เสมอ เปิดใจให้กับความรู้ใหม่ๆ อีกทั้งควรใจเย็นต่อการทำงาน หมั่นบันทึกรายรับ รายจ่าย ทำบัญชี และวางแผนในทุกการทำงานเสมอ เพราะรากฐานในตอนเริ่มต้นคือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจของเราเติบโตก้าวหน้าขึ้นได้ดี ช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะสำคัญทางบัญชีที่ผู้ประกอบการทุกคนไม่ควรพลาด

การดูแลธุรกิจให้เติบโตและก้าวหน้าอย่างมั่นคงนั้น ถือเป็นเป้าหมายหนึ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนล้วนมุ่งมั่นที่จะทำให้ถึงจุดนั้น แต่ด้วยการแข่งขันที่สูงมากขึ้นในแต่ละวัน หากบริษัทไม่มีการปรับตัวให้เหมาะสมก็อาจจะทำให้เสียโอกาสในการทำงาน ไม่อาจก้าวตามโลกได้ทันก็เป็นได้ หากเราอยากให้ธุรกิจของเราดำเนินงานได้อย่างมรประสิทธิภาพแล้ว เราควรให้ความสำคัญกับการทำบัญชีให้มากๆ และหมั่นฝึกฝนทักษะที่จำเป็นต่อการบัญชี เพื่อให้องค์กรของเรามีทักษะที่เข้มแข็งมากพอที่จะบริหารธุรกิจต่อไปได้ ทักษะทางบัญชีที่สำคัญ มีดังนี้

 

1.มีทักษะด้านการทำงานบัญชีแต่ละระบบเป็นอย่างดี เช่น ระบบซื้อ-ขาย การจัดการคลัง

 

การทำงานด้านบัญชีนั้นจะมีอยู่หลายส่วน แต่ละส่วนทำงานแยกกันเป็นระบบ เพื่อให้บริษัทหรือองค์กรบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร้อุปสรรคปัญหา ทักษะแต่ละด้านในการบัญชีจึงสำคัญมาก ทั้งการดูแลระบบซื้อ ระบบขาย ระบบสินค้าคงคลัง ระบบการผลิต ระบบบัญชี ระบบภาษี หากขาดทักษะในระบบใดระบบหนึ่งไปก็อาจทำให้ไม่สามารถทำงานด้านบัญชีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ผู้ประกอบการทุกคนจึงควรศึกษาให้เข้าใจงานบัญชีอย่างรอบด้าน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น

 

2.มีทักษะด้านกระบวนการทำบัญชี การบันทึก ลงข้อมูลบัญชี

 

หากเราต้องการทำธุรกิจให้ก้าวหน้าและมีผลกำไร การบันทึกข้อมูลบัญชีอย่างถูกต้องนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ข้อมูลตัวเลขค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งต้นทุน ค่าดำเนินงาน รายได้ ผลกำไร ผลตอบแทนธุรกิจ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราเห็นผลลัพธ์ของการทำธุรกิจได้ชัดเจนขึ้น สะดวกต่อการวางแผนงานต่างๆ ในอนาคต

 

3.มีทักษะในการวิเคราะห์และบริหารค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสม

 

เมื่อเรามีการทำบัญชีแล้ว ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในบัญชีจะเป็นแนวทางที่ช่วยให้เราบริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ผู้ทำธุรกิจทุกคนก็ควรมีทักษะความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นอย่างดีด้วย จึงจะช่วยให้นำข้อมูลทางบัญชีไปใช้ได้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ยิ่งมีทักษะการวิเคราะห์และการบริหารค่าใช้จ่ายมากเท่าไร โอกาสที่ธุรกิจจะเจริญเติบโตไปได้ไกลก็มีมากเท่านั้น

 

4.มีทักษะด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับการทำบัญชี

 

ความรู้ด้านกฎหมายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการทำธุรกิจ ยิ่งเป็นการทำบัญชีด้วยแล้ว หากลงข้อมูลผิดพลาดก็อาจเป็นผลเสียต่อบริษัทหรือองค์กรของเราอย่างไม่ตั้งใจขึ้นมาได้ นักบัญชีที่ดีต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายด้านบัญชีบ้าง เพื่อให้สามารถจัดการการทำบัญชีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย กรณีที่มีการทำรายงานการจัดซื้อ การขาย การจ่ายภาษี นักบัญชีที่มีทักษะนี้ก็จะสามารถทำงานได้อย่างไม่มีปัญหา

 

5.มีทักษะในการบริหารจัดการและประสานงานที่ข้องเกี่ยวกับการทำบัญชี

 

การทำบัญชีเป็นงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับการทำงานหลายด้าน หากขาดทักษะการบริหารหรือการประสานงานแล้ว การจะดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพก็จะเป็นไปได้ยาก ดังนั้น ผู้ประกอบการทุกคนจึงควรมีทักษะในด้านนี้ให้มากๆ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพสูงสุด

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานบัญชีเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจของเราบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาการขาดทุน ป้องกันการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า ช่วยให้การดำเนินงานมีความงเหมาะสมมากขึ้น ช่วยให้การดูแลด้านการซื้อ-ขาย การจัดการคลัง การจ่ายภาษี มีการดำเนินงานที่ดี ถูกต้องตามหมาย ช่วยลดปัญหาความขัดแย้งในองค์กร เมื่อเรามีทักษะเหล่านี้ครบถ้วนแล้ว ธุรกิจของเราก็จะเจริญเติบโตและก้าวหน้าอย่างมั่นคงได้เป็นอย่างดีนั่นเอง

โปรแกรมบัญชี
ทักษะสำคัญทางบัญชีที่ผู้ประกอบการทุกคนไม่ควรพลาด

การทำบัญชีชุดเดียวคืออะไร มีข้อดียังไงบ้าง­­

ธุรกิจและการทำบัญชีนับว่าเป็นของคู่กันที่ขาดกันไม่ได้ เมื่อเราเริ่มต้นบริษัทหรือองค์กรอะไรสักอย่างขึ้นมา เราก็จะต้องมีเงินทุนตั้งต้น เงินในการดำเนินงาน และมีค่าใช้จ่ายอีกมากมายหลายอย่าง ซึ่งกว่าที่เราจะบรรลุเป้าหมายของธุรกิจของเราได้นั้น หากไม่มีการบริหารจัดการทางการเงินที่ดีพอก็อาจจะทำให้เกิดผลเสียขึ้น ยอดเงินที่ลงทุนลงแรงไปก็อาจจะเสียเปล่า ขาดทุน ไม่มีผลกำไรกลับคืนมา วิธีป้องกันปัญหาก็คือการทำบัญชี ซึ่งจะช่วยให้เราเห็นถึงข้อมูลตัวเลขและความเป็นไปในธุรกิจได้อย่างชัดเจน ยิ่งถ้าต้องการดูผลลัพธ์ของธุรกิจแบบสรุปทุกข้อมูลเอาไว้ เราก็ควรจัดเก็บข้อมูลแบบบัญชีชุดเดียว


มารู้จักกับบัญชีชุดเดียว


บัญชีชุดเดียว คือ การจัดทำบัญชีโดยรวบรวมข้อมูลการทำบัญชีต่างๆ เช่น ข้อมูลรายรับ รายจ่าย และเอกสารทางการเงิน มารวมเข้าไว้ในบัญชีเดียว มีการจัดลงข้อมูลเอกสารการลงบัญชีอย่างชัดเจน ไม่มีการหลบเลี่ยงหรือแยกบัญชีเพื่อหนีภาษี ข้อมูลบัญชีชุดเดียวจะมีความครบถ้วน สมบูรณ์ สามารถนำไปยื่นเสียภาษีอากรได้ถูกต้องตามกฎหมาย


ข้อดีของบัญชีชุดเดียว


1. ตรวจสอบบัญชีง่าย สามารถเช็คข้อมูลกำไร-ขาดทุนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว


เป้าหมายหลักของการทำบัญชี คือ การเก็บข้อมูลการเงินเพื่อให้บริหารจัดการงานด้านการเงินของบริษัทได้อย่างเหมาะสม ซึ่งบัญชีจะมีการลงข้อมูลค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งรายรับ รายจ่าย ต้นทุน ผลกำไร ยอดขาย ผลลัพธ์ของการลทุน พร้อมสรุปผลให้เห็นเป็นตัวเลขอย่างชัดเจน เมื่อเรารู้ข้อมูลเหล่านี้อย่างละเอียดก็จะบริหารงานได้ง่าย สามารถเช็คข้อมูลความถูกต้องของบัญชีได้ตลอดเวลา


2. ช่วยให้ประเมินผล และวางแผนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การทำบัญชีนั้นจะช่วยให้เราเห็นผลชัดเจนว่าธุรกิจของเรามีผลกำไรมาน้อยเพียงใด แผนการดำเนินงานของบริษัทหรือองค์กรควรจะปรับเปลี่ยนไปในทิศทางไหนบ้าง เมื่อเรารู้ตัวเลขต้นทุน ค่าใช้จ่าย เราก็จะรู้ว่าควรมีการปรับแผนให้เหมาะสมมากขึ้นอย่างไรบ้าง ซึ่งจะช่วยให้การทำงานของบริษัทมีประสิทธิภาพมากขึ้น


3. สร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัท สามารถกู้สินเชื่อได้ตามจริง


บริษัทหรือองค์กรที่มีการทำบัญชีชุดเดียวจะมีความน่าเชื่อถือกว่าการทำบัญชีทั่วไป เพราะบัญชีเดียวมีข้อมูลรายละเอียดครบถ้วน เมื่อต้องการยื่นกู้สินเชื่อก็มีความน่าเชื่อถือ จึงมีโอกาสมากที่ธนาคารจะอนุมัติการกู้ให้กับเรา ต่างจากบัญชีที่มีการตกแต่งบัญชีอย่างผิดปกติ บัญชีเหล่านี้ที่สุ่มเสี่ยงต่อการโดนตรวจสอบและอาจติดแบล็คลิสต์จากธนาคาร


4. วางแผนภาษีได้ง่าย คิดภาษีธุรกิจโดยตรงได้แบบไม่เกิดปัญหา


บัญชีชุดเดียวเป็นการรวบรวมข้อมูลของการทำบัญชีของบริษัททั้งหมดไว้ในที่เดียว เมื่อเราจำเป็นจะต้องคำนวณค่าใช้จ่ายของภาษีก็สามารถนำข้อมูลตรงนี้ไปคิดได้ทันที ไม่ต้องปวดหัวกับการรวมตัวเลขที่ซับซ้อนอีกต่อไป ช่วยให้สามารถจัดการกับภาษี ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจ และวางแผนค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว


5. ไม่ถูกตรวจสอบบัญชีย้อนหลัง


เมื่อคุณจัดทำบัญชีชุดเดียวแล้ว ข้อมูลทางบัญชีนั้นถือเป็นข้อมูลที่มีความละเอียด ครบถ้วน และชัดเจน สามารถตรวจสอบได้ง่าย จ่ายภาษีได้อย่างถูกต้อง ไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย ภาครัฐจึงมีมาตรการยกเว้นการตรวจสอบบัญชีย้อนหลังให้แก่บริษัทหรือองค์กรที่มีการจัดทำบัญชีชุดเดียว คุณจึงไม่ต้องกังวลกับปัญหาภาษีย้อนหลังเลย
การทำบัญชีชุดเดียวถือเป็นวิธีการหนึ่งที่ทุกธุรกิจควรนำไปปรับใช้ เพราะช่วยให้ธุรกิจและองค์กรของคุณสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจได้ง่ายขึ้น สามารถคำนวณเงินต้นทุน เงินลงทุน ยอดผลกำไร ขาดทุน ยอดโบนัส ผลประกอบการต่างๆ รวมถึงบริหารข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีได้อย่างเป็นระบบ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความซ้ำซ้อนจากงานต่างๆ เพิ่มโอกาสให้ธุรกิจก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว

การทำบัญชีชุดเดียว

3 คุณสมบัติสำคัญที่จำเป็นต่อโปรแกรมบัญชีในยุคดิจิทัล

โปรแกรมบัญชี หรือ ระบบซอฟต์แวร์ที่เก็บข้อมูลหรือค้นหาแบบข้อมูลที่สำคัญแบบเรียลไทม์ ที่หลายองค์กรมักนำมาใช้ในปัจจุบัน และข้อดีอื่นๆของโปรแกรมบัญชีก็คือ ช่วยลดขยะที่เป็ฯข้อมูลสำคัญในองค์กร ลดการผิดพลาดในการทำงาน รวมไปถึงสามารถตรวจอบข้อมูลย้อนหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังตอบโจทย์ทั้งธุรกิจขนาดเล็ฏ ขนาดกลาง ไปจนถึงขนาดใหญ่ และในปัจจุบันที่เป็นยุคดิจิทัล หลายๆองค์กรก็มองหาโปรแกรมบัญชี แต่ก่อนที่เราจะขยับขยายในด้านเทคโนโลยี เราจึงจำเป็นต้องมี 3 คุณสมบัติสำคัญ ที่จำเป็นต่อโปรแกรมบัญชีในยุคดิจิทัล ไปดูกันว่าจะมีอะไรบ้าง

1.องค์กรและบุคลากรมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง

ยุคดิจิทัลหรือยุคออนไลน์ แน่นอนอยู่แล้ว่าองค์กรของคุณ จะต้องมีการใช้การเก็บข้อมูลแบบเก่ามาสักระยะหนึ่ง เพราะฉะนั้นการปรับตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นคุณสมบัติข้อที่สำคัญมาก เพราะหากไม่มีความพร้อม โปรแกรมบัญชีก็เป็นเพียงซอฟแวร์ที่เพิ่มความยุ่งยากให้กับคุณเท่านั้น โปรแกรมบัญชีในยุคดิจิทัล เป็นแบบระบบเป็นออนไลน์ เพือให้เหมาะกับการใช้งานในุคดิจิทัล เพื่อเข้ามาช่วยธุรกิจขององค์กรนั้นๆ และยังสามารถทำงานได้ตลอดเวลา เพียงมีอินเตอร์เน็ต ก็สามรถทำงานได้จากทุกทาง ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือหรือแล็ปท็อป ผู้บริหารหรือบุคลากรผู้มีความเกี่ยวข้อง สามารถดูข้อมูลได้อย่างเรียลไทม์ และทำงานได้อย่างทันถ่วงที เพราะฉะนั้นการมีความพร้อมจึงจำเป็นอย่างมากจริงๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงเช้าสู่ยุคดิจิทัลที่แท้จริง

2.พร้อมรับกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในการใช้โปรแกรมบัญชี

เรื่องนี้ก็เป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างมากในองค์กรเช่นกัน และจะเชื่อมโยงไปถึงขนาดขององค์กรที่ต้องใช้โปรแกรมบัญชี เพราะในบางครั้งบริษัทนาดเล็กที่ยังไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่าย ต่อการนำโปรแกรมบัญชีมาใช้ ก็ควรจะมีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน แต่หากองค์กรขนาดเล็กแต่มีงบประมาณ ก็สามารถพิจารณาการใช้โปรแกรมบัญชีได้เช่นกัน โปรแกรมบัญชีออนไลน์ในยุคดิจิทัล จะมีค่าบริการแรกเข้า ค่าบริการรายเดือนในการดูแล ทั้งนี้ราคาหรือส่วนลด ก็ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการที่คุณเลือกใช้โปรแกรมบัญชี เพราะฉะนั้นแล้วการวางแผนงบประมาณที่จะต้องใช้สำหรับการใช้โปรแกรมบัญชี จึงเป็นคุณสมบัติที่สำคัญเช่นกัน

3.เตรียมข้อมูลสำคัญแผนกบัญชีขององค์กรให้พร้อม

ข้อสุดท้ายของคุณสมบัติสำคัญที่จำเป็นต่อการใช้โปรแกรมบัญชีในยุคดิจิทัล ข้อนี้มีความสำคัญอย่างมากเช่กัน ข้อมูลที่สำคัญด้านบัญชีในองค์กร เป็นสิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลสินค้า ข้อมูลรายรับ-รายจ่าย , ข้อมูลลูกหนี้-เจ้าหนี้ , ข้อมูลคู่ค้า , ข้อมูลกำไร , ข้อมูลสถิติ และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวกับด้านบัญชีที่องค์กรคุณมี ข้อมูลเหล่านี้คุณควรจะต้องตรวจสอบให้ถี่ถ้วนและครบถ้วน เพราะจะเป็นข้อมูลสำคัญที่ต้องอัปโหลดเข้าไปยังโปรแกรมบัญชีออนไลน์ จึงจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบให้ดีง่าไม่มีอะไรตกหล่นหรือผิดพลาด หากข้อมูลมีความพร้อม จะทำให้การใช้งานโปรแกรมบัญชีง่ายขึ้นอย่างมาก

การใช้โปรแกรมบัญชีในยุคดิจิทัล เป็นการลดขั้นตอนของการดำเนินงานในเรื่องต่างๆ ประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น อีกทั้งยังช่วยลดขยะอีกด้วย องค์กรของคุณจะได้รับข้อมูลของตัวเลขที่ถูกต้อง สรุปค่าใช้ กำไรสุทธิได้อย่างแม่นยำ ทำให้คุณได้ห็นภาพรวมขององค์กร อีกทั้งเรื่องภาษีที่คุณมองว่ายุ่งยาก ก็จะเป็นเรื่องง่ายเมื่อคุณเลือกใช้โปรแกรมบัญชี 3 คุณสมบัติง่ายๆแต่จำเป็นที่คุณต้องมี จะทำให้องค์กรของคุณเติบโตและพัฒนาไปข้างหน้าพร้อมๆกับยุคดิจิทัล หากคุณกำลังมองหาโปรแกรมบัญชี ที่ดีที่สุดในยุคนี้ สามารถปรึกษา acccloud.tech ได้ทุกเมื่อ

3 คุณสมบัติสำคัญที่จำเป็นต่อโปรแกรมบัญชีในยุคดิจิทัล

Artificial Intelligence (AI) สำหรับการทำบัญชีคืออะไร

ต้องยอมรับอย่างนึงในตอนนี้ว่า เรากำลังเข้าสู่ยุคของ AI หรือที่เราเรียกกันคุ้นๆหูว่า ยุคแห่งปัญญาประดิษฐ์ คำว่าปัญญาประดิษฐ์โดย ปัญญาประดิษฐ์หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่น ๆ อย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทำ การให้เหตุผล การปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมอง
โปรแกรมบัญชี AccCloud.co

ในทุกวันนี้มีการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในหลากหลายทาง เช่นการทำนายเหตุการณ์ต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต การคาดการณ์ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้จากข้อมูลในอดีต (หรือที่เราเรียกว่าประสบการณ์) โดยใน AI จะเรียกหน่วยย่อยประสบการณ์ว่า Node ที่อยูใน Nueron

การประยุกต์ใช้ AI ในงานด้านต่างๆมีดังนี้

1. งานด้านการแก้ปัญหา

2. งานด้านการแทนความรู้

3. ระบบผู้เชี่ยวชาญ

4. การวางแผนของเครื่อง

5. การเรียนรู้ของเครื่อง

6. การประมวลผลภาษาธรรมชาติ

7. การรับรู้ของเครื่อง

ในงานด้านการทำบัญชีโดยใช้ AI จะเป็นการประยุกต์ใช้ด้าน การเรียนรู้ของเครื่อง และ ระบบผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนการทำบัญชีด้วย AI

 

ด้านการเรียนรู้ของเครื่อง หรือ Machine Learning จะเกิดขึ้นจากรายการทางบัญชีที่ทำทุกวัน ตัวเครื่องจะเก็บเป็นประสบการณ์ในการจัดทำบัญชี และ ช่วยในการบันทึกรายการต่างๆ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากขึ้น หรือ แม้กระทั่งตัดสินใจทำด้วยตัวของมันเอง ส่วนระบบ ผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยการในการวิเคราะห์ตัดสินใจว่าธุรกิจที่ทำอยู่นี้ ทำได้ต่อไปได้หรือ ไม่ ถ้าทำได้ จะอยู่ได้นานแค่ไหนในตลาด

 

โปรแกรมบัญชี AccCloud ในปัจจุบันนี้ ได้เริ่มต้นการทดสอบระบบ AI ในโปรแกรมแล้ว คาดว่าอีกไม่นานเกินรอ ผู้ใช้งานทุกรายจะสามารถใช้ระบบ AI เข้ามาช่วยในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ท่านจะเห็นความแตกต่างจากระบบบัญชีทั่วๆไปในตลาดอย่างเห็นได้ชัด

ที่มา https://www.acccloud.tech/

 
บทความที่เกี่ยวข้อง
 
 

อัตราส่วนทางการเงินคืออะไร

โปรแกรมบัญชี AccCloud.co
 
อัตราส่วนทางการเงินหรือ Finanical Ratio หมายถึงดังชนีที่เป็นตัวเลขใช้ในการวัดฐานะการเงินและเป็นตัวบ่งบอกความสามารถในการสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจ รวมถึงเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพในการบริหารงาน โดยการนำตัวเลขในงบการเงินมาหาอัตราส่วน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าต่างๆดังนี้
 

ประเภทของอัตราส่วนทางการเงิน

  1. อัตราส่วนแสดงสภาพคล่อง (Liquidity Ratios) ใช้ในการวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นของธุรกิจ

  2. อัตราส่วนหนี้สิน (Debtor Leverage Ratios) ใช้ในการวัดความมีส่วนร่วมในการจัดการบริหารเงินโดยเจ้าของกิจการเมื่อเปรียบเทียบกับการกู้ยืมจากภายนอก

  3. อัตราส่วนความสามารถทำกำไร (Profitability Ratios) ใช้ในการวัดความสามารถในการบริหารผลตอบแทนการลทุนของของบริษัท ในรูปอัตราผลตอบแทนจากการขาย

  4. อัตราส่วนแสดงความสามารถในการดำเนินงาน (Activity Ratios or Efficiency Ratios) ใช้ในการวัดความสามารถในการบริหารเงินล่วงทุน อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพหรือไม่เพียงใด

การที่กิจการจะบริหารได้ดีหรือไม่ขึ้นกับ การที่เจ้าของกิจการได้ดูผลการดำเนินการได้ในทันทีและทันต่อเวลาหรือไม่ เพื่อจะได้วางแผนหรือปรับเปลี่ยนแผนดำเนินการได้อย่างทันท่วงที

 

ดังนั้นโปรแกรมบัญชี AccCloud จึงมี Function อัตราส่วนทางการเงินเปรียบเทียบในแต่ละปี เพื่อที่จะทราบได้ในทันทีว่าประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารกิจการของเราเป็นอย่างไร

ในโปรแกรมให้เลือกรายงาน –> ระบบบัญชี –> งบแสดงฐานะการเงินแบบละเอียด –> วิเคราะห์อัตราส่วนการเงิน

การสอบบัญชีและ เทคนิคในการตรวจสอบบัญชี

โปรแกรมบัญชี AccCloud
 
การสอบบัญชี หมายถึงกระบวนการรวบรวม และการประเมินหลักฐานเกี่ยวกับสารสนเทศเพื่อระบุและรายงานเกี่ยวกับระดับความสอดคล้องต้องกันของสารสนเทศนั้นกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้และสื่อสารผลลัพธ์ให้ผู้ใช้ที่สนใจ
 

วัตถุประสงค์ของการสอบบัญชี

ตามมาตรฐานการสอบบัญชี ฉบับที่ 200 เรื่องวัตถุประสงค์และหลักการพื้นฐานของการสอบบบัญชีได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการสอบบัญชีดังนี้ “การตรวจสอบงบการเงินมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินว่างบการเงินนั้นได้จัดทำในส่วนสาระสำคัญ เป็นไปตามแม่บทการบัญชีในการรายงานทางการเงินหรือไม่” ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบงบการเงิน คือ การแสดงความเห็นว่างบการเงินนั้นได้แสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดของกิจการโดยถูกต้องตามควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่

เทคนิคการสอบบัญชี

หมายถึง เครื่องมือที่ผู้สอบบัญชีใช้ในการรวบรวมหลักฐาน ผู้สอบบัญชีต้องเลือกใช้เทคนิคหรือเครื่องมือ / วิธีการให้ เหมาะสมกับงานตรวจสอบแต่ละด้าน แล้วนำมาประกอบเข้าเป็นวิธีการตรวจสอบในแต่ละรายการหรือแต่ละบัญชี การใช้เทคนิคเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ความถูกต้องของรายการ ผู้สอบบัญชีอาจต้องใช้เทคนิคหลายประการในการตรวจสอบแต่ละด้าน เพื่อให้ครอบคลุมการตรวจสอบและมีความถูกต้อง ครบถ้วน เชื่อถือได้

 

ที่มา โปรแกรมบัญชี AccCloud.tech

 

 

Education Template

Scroll to Top