โปรแกรม mrp

การนำระบบ AccCloud ERP ไปใช้ในภาคการผลิต

โดยธรรมชาติของระบบผลิตในภาคอุตสาหกรรม สิ่งที่จำเป็นในอันดับต้นๆคือ การบริหารต้นทุน และ การวางแผนจัดการการผลิตให้สามารถผลิตสินค้าได้ทันเวลาและเสียหายน้อยที่สุด ดังนั้นระบบบริหารการผลิตจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ นอกจากนั้น ระบบบริหารบัญชีการเงิน เป็นส่วนที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน

 

ในระบบการทำงานของโรงงาน จะมีการผลิตอยู่ 2 แบบด้วยกันคือการ Made to Stock และ Made to Order โดยกระบวนการทำงานจะเป็นดังนี้

Workflow Enhancement via ERP | Download Scientific Diagram
 

หลังจากการรับ Order จากลูกค้า ฝ่ายขายเช็ค stock โดยหากในคลังมีสินค้าอยู่แล้วฝ่ายขายจะทำการจองสินค้าเพื่อขายแต่หากไม่มีของใน Stock ฝ่ายขายจะทำการแจ้งให้ฝ่ายผลิตไปทำการผลิตสินค้า จากนั้นฝ่ายผลิตจะทำการรวบรวม Order มาเพื่อทำการสั่งผลิต เช่นเดียวกับฝ่ายวางแผนวัตถุดิบว่าในปัจจุบันวัตถุดิบคงคลังเหลือเพียงพอผลิตหรือไม่ จะต้องสั่งซื้อกับ supplier มาเพิ่มจำนวนเท่าใด และ ฝ่ายวางแผนกำลังการผลิต จะต้องตรวจเช็คว่าเครื่องจักรสามารถรับกำลังการผลิตได้มากน้อยแค่ไหนในการผลิตให้ทันเวลา จากนั้นในขั้นตอนระหว่างการผลิตฝ่ายควบคุมคุณภาพจะต้องคอยตรวจสอบว่าจำนวนของเสียที่เกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน เพื่อบันทึกเป็นประสิทธิภาพของกระบวนการการผลิต จนกระทั่งผลิตเสร็จจึงรับเข้าสู่คลังสินค้าสำเร็จรูปรอการออกใบส่งไปให้กับลูกค้าอีกทีนึง

 

Workflow Automation with an ERP | OmegaCube Blog

 

 

ในระบบ ERP จะเริ่มจับกระบวนการตั้งแต่การเปิดรับ Order จากลูกค้าและนำไปเปิดใบแจ้งผลิตให้ฝ่ายผลิตเปิด Job งาน โดยที่จะต้องมีการ Set Up สินค้าสำเร็จรูปจะต้องมีสูตรการผลิต และ ต้องมีการกำหนดขั้นตอน พร้อมด้วยเครื่องจักรที่จะใช้ในการผลิตลงในระบบ จากนั้นทันทีที่มีการบันทึกรับ Order เข้ามาระบบจะทำการคำนวณหาสินค้าที่จะต้องสั่งซื้อมาใน Stock ให้อัตโนมัติ เพื่อให้ฝ่ายจัดซื้อออกใบสั่งซื้อไปยัง Supplier จากนั้นฝ่ายผลิตจะทำการออกใบ Job Order หรือใบสั่งผลิต เพื่อเป็นตัวตั้งต้นการทำงาน และ ทำการเบิกวัตถุดิบเพื่อทำการผลิต ในระหว่างการผลิตระบบจะทำการเก็บข้อมูลสินค้าระหว่างผลิตในแต่ละกระบวนการว่า สินค้าที่ดีและเสียจำนวนเท่าไหร่ จนกระทั่งผลิตเสร็จ ในระบบจะทำการให้ฝ่ายคลังทำการบันทึกรับสินค้าสำเร็จรูปเพื่อเก็บเข้าสู่คลังสินค้าสำเร็จรูป พร้อมด้วยต้นทุนการผลิตเข้ามาในตัวสินค้า ก่อนจะนำไปส่งมอบ อย่างไรในกระบวนการการส่งมอบโดยปกติแล้วในโรงงานจะมีรถส่งของของตนเอง ดังนั้นในระบบ ERP จึงมีระบบการจัดรถขนส่งเพื่อให้ฝ่ายจัดรถระบุรถให้ไปส่งกับลูกค้าได้

 

โดยในระหว่างที่มีการออกบิลขายตัวระบบเก็บต้นทุนขายในแต่ละบิล ทำให้ผู้ใช้งานสามารถทราบถึงกำไรขาดทุนเบื้องต้นต่อบิลได้ในทันที จากนั้นจะเป็นขั้นตอนในการวางบิลเก็บเงิน ออกใบเสร็จรับเงิน และ รับเงินเข้าระบบ ทั้งนี้ในระบบ ERP ประกอบด้วยส่วนงานบัญชี การเงิน ที่สามารถติดตามการรับชำระ ดูสถานบิลคงค้างที่ยังไม่ได้เก็บเงิน หรือ ดูว่าเช็คใบไหนที่ยังไม่ได้ขึ้นเงินบ้างได้

 

นอกเหนือจากนี้ในระบบ AccCloud.tech   ยังมีระบบเสริมการทำงานอีกหลายส่วนเช่น ระบบ Warehouse Online, Point Of Sale , Production Tracking ,PO Online และ อื่นๆ ที่เป็นตัวเสริมเพื่อช่วยในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

อย่างไรก็ดี ระบบ ERP ที่ดีในยุคปัจจุบันจะต้องจำเป็นที่จะต้อง On Cloud เนื่องจากเรากำลังอยู่ในยุค Thailand 4.0 ที่ทุกสิ่งอย่างจะต้องเชื่อมโยงเป็นสิ่งเดียวกัน(Connectivity) ทำงานแบบพร้อมๆกัน (Collaboration) และ สามารถติดตามการทำงานได้อย่างในปัจจุบัน(Real Time) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อการที่ผู้บริหารสามารถทราบถึงผลการทำงานและสามารถตัดสินใจ เช่นจะรับหรือไม่รับงาน จะตั้งราคาขายเท่าไหร่ หรือ จะดูว่าสินค้าที่ผลิตไปแล้วดีหรือเสียมากน้อยแค่ไหน และแน่นอนในยุคปัจจุบันธุรกิจจะเน้นแข่งขันกันที่เทคโนโลยี และเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ไม่ได้ไกลตัวอีกต่อไป ดังนั้นในวันใดที่คู่แข่งหรือ คู่ค้าของเรามีเทคโนโลยีที่สูงกว่า นั่นหมายถึงเขาสามารถบริหารจัดการได้ด้วยเครื่องมือที่ประสิทธิภาพสูงกว่า หากเราปรับตัวไม่ทันนั่นย่อมหมายถึงในอนาคตตัวของเราอาจจะไม่สามารถอยู่ในตลาดได้ในระยะยาว

 
 
 

 

 

 

BOM ตัวช่วยธุรกิจกำหนดสูตรการผลิตสินค้าสำเร็จรูป

การผลิตสินค้าสำเร็จรูปที่มีคุณภาพและตรงตามเวลาเป็นสิ่งสำคัญ ต่อความสำเร็จของธุรกิจใดๆ สิ่งสำคัญในการเตรียมกระบวนการนี้อยู่ที่การวางแผน การกำหนดเวลากิจกรรมการผลิต และมีความพร้อมในการจัดส่งตรงต่อตลาด เราจึงอยากแนะนำหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญในการกำหนดการผลิตเรียกว่า Bill of Materials (BOM) ว่ามีการทำงานยังไง และเหมาะกับธุรกิจใดบ้าง

สินค้าสำเร็จรูปคืออะไร?

คือ สินค้าซึ่งตามสภาพอาจอุปโภคบริโภคได้ โดยไม่จำต้องเปลี่ยน หรือดัดแปลง หรือนำไปผสมกับสิ่งอื่น แต่สิ่งใดจะเป็นสินค้าสำเร็จรูป ต้องคำนึงถึงการใช้ตามสภาพด้วย มิใช่สักแต่ว่าอาจใช้ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนดัดแปลง หรือผสมแล้วก็เป็นสินค้าสำเร็จรูปไปทันที (ตามประกาศ กรมสรรพากร)

 

โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP

Bill of Material หรือ BOM คืออะไร

Bill of Material หรือ BOM หมายถึงรายการสินค้าคงคลัง รวมถึงส่วนประกอบ วัตถุดิบ ชิ้นส่วน ฯลฯ ที่จำเป็นในการวางแผน การผลิต และการจัดการผลิตภัณฑ์ และในบางที่จะประยุกต์ใช้เข้ากับการจัดซื้อรายการส่วนประกอบ สูตรผลิตภัณฑ์ หรือโครงสร้างผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด

 

ประโยชน์ของ Bill of Material

Bill of Material นั้นมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ช่วยองค์กรระบุส่วนประกอบของสินค้าได้ คำนวณงบประมาณ วางแผนการผลิต จัดการสินค้าคงคลัง และอื่นๆ เช่น

การระบุส่วนประกอบของสินค้าสำเร็จรูป
BOM ช่วยให้บริษัทระบุและจัดระเบียบส่วนประกอบที่จำเป็นในการสร้างผลิตภัณฑ์ โดยมีขั้นตอนลำดับชั้นของการผลิตสินค้าสำเร็จรูปพร้อมกับส่วนประกอบที่ใช้ ช่วยให้ธุรกิจสามารถบันทึกและจัดระเบียบส่วนประกอบต่างๆ ได้เป็นระเบียบ

 

การคำนวณงบประมาณที่ต้นทุน
BOM จะช่วยคำนวณต้นทุนของส่วนประกอบแต่ละรายการที่ใช้ในผลิตสินค้า ทำให้ธุรกิจสามารถประมาณการต้นทุนการผลิต และจัดทำงบประมาณได้ และทำให้กำหนดราคาสำหรับจำหน่ายสินค้าสำเร็จรูปและทบกำไรได้

 

จัดทำรายงานเอกสารข้อมูลการผลิต
BOM เป็นแหล่งข้อมูลจริงแหล่งเดียว สำหรับทุกคนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ช่วยให้ทุกคนสื่อสารและส่งต่อข้อมูลการผลิตได้อย่างชัดเจนและ ลดโอกาสที่จะเกิดความเข้าใจผิดหรือการสื่อสารผิดพลาด

 

การจัดการสินค้าคงคลังและวางแผนการผลิต
ช่วยจัดเก็บข้อมูลสินค้าคงคลังเพื่อประเมินแผนการผลิตสินค้าในแต่ละครั้ง พร้อมการกำหนดระยะเวลาได้ ป้องกันการที่สินค้าขาดตลาดหรือม่ให้สินค้าล้นสต็อก

BOM มีส่วนช่วยการกำหนดการผลิตยังไง

Bill of material (ฺBOM) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกำหนดการผลิต เพื่อช่วยในการวางแผนการผลิตที่สามารถระบุว่าสินค้าแต่ละชิ้นจำเป็นต้องผลิตด้วยวัสดุและส่วนประกอบใดบ้าง และช่วยให้สามารถประมาณการการใช้ทรัพยากรต่างๆ เช่น แรงงาน วัสดุ และเครื่องจักรได้อย่างถูกต้อง

 

ด้วยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ได้รับจาก Bill of material (ฺBOM) ทำให้ธุรกิจต่างๆ สามารถปรับปรุงการจกำหนดการผลิต เพื่อลดการเสียวัตถุดิบ ลดความเสี่ยงของความล่าช้าในการผลิตได้ และยังช่วยในการควบคุมคุณภาพโดยรับรองว่ามีการใช้วัสดุที่ถูกต้องในแต่ละขั้นตอนของการผลิต ซึ่งจะช่วยควบคุมคุณภาพของสินค้าสำเร็จรูปได้

ธุรกิจแบบไหนที่ควรประยุกต์ใช้ BOM

การนำ BOM ไปใช้กับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า โดยไม่จำเป็นต้องเฉพาะอุตสาหกรรมเท่านั้น มั่นใจได้ว่าจะได้รับประโยชน์จากการนำ BOM ไปใช้ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การบินและอวกาศ สินค้าอุปโภคบริโภค และธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการที่มีส่วนประกอบในการผลิต เช่น บริการบำรุงรักษาและซ่อมแซม

 

ธุรกิจที่ดำเนินงานในอุตสาหกรรมที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวด ซึ่งความแม่นยำและการปฏิบัติตามกฎระเบียบเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง จะได้รับประโยชน์เป็นพิเศษจากการใช้ BOM นอกจากนี้ บริษัทที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ ควรพิจารณารวม BOM เข้ากับกระบวนการวางแผนการผลิตของตน

ตัวอย่างการใช้ BOM สำหรับอุตสาหกรรม

ในภาคการผลิต กว่าจะเป็นสินค้าสำเร็จรูปได้ จะต้องมีการผ่านขั้นตอนการผลิต และ จะต้องมีสูตรในการผลิตสินค้าชั้นนั้นๆ

 

สูตรการผลิตของสินค้าสำเร็จรูปแต่ละประเภทถึงแม้จะเป็นชิ้นเดียวกันก็อาจจะไม่เหมือนกัน ขึ้นกับว่าสินค้านั้นเป็นการสั่งผลิตเฉพาะลูกค้ารายนั้นๆ หรือ สั่งผลิตโดยทั่วๆไป เช่น ถ้าผลิตทั่วไป ไม่ต้องใส่วัตถุดิบประเภทสารเคมี A แต่ถ้าผลิตให้กับลูกค้าเฉพาะรายนี้ต้องใส่สารเคมี A

 
 
 
 

ดังนั้นถ้าในภาคอุตสาหกรรมหรือ กิจการไม่วางแผนเรื่องการสร้างรหัสให้ดีๆ รหัสสินค้ามีโอกาสขยายตัวได้อย่างรวดเร็วตาม Order และจะทำให้ Stock เยอะและมั่วได้ในเวลาไม่ช้า

 

ดังนั้นการกำหนดสูตรการผลิตจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการวางระบบ ERP ในองค์กร ถ้ามีการวางแผนที่ดีด้วยโปรแกรมที่ตอบโจทย์ การควบคุม Stock และ กระบวนการจะสามารถทำได้ไม่ยาก

 

สูตรการผลิต จะประกอบด้วยวัตถุดิบหลายประเภท กิจการมักจะมีคำถามว่าอะไรควรใส่ในสูตร จะเอาทุกอย่างใส่ในสูตรเลยดีหรือไม่ คำตอบคือ เอาเฉพาะสินค้าที่เราต้องการคุม Stock เท่านั้นครับ ตรงส่วนที่ไม่จำเป็นให้ ตัดออกเป็นวัสดุสิ้นเปลืองไป เพื่อให้เกิดความง่ายในการคุม สต๊อกการผลิตและการปฏิบัติงานด้วยเช่นกัน

 

การกำหนดสูตรที่ดี ระบบจะต้องสามารถสร้างเป็นสัดส่วนของการผลิตได้ เช่น ในการผลิตสินค้าสำเร็จรูป 150 ชิ้น ต้องประกอบด้วยวัตถุดิบเท่าไหร่ และเวลาเปิด Job ผลิต ระบบจะต้องสามารถคำนวณอัตราส่วนการเบิกใช้และต้นทุนตามสัดส่วนได้เช่นเดียวกัน

 

สรุปได้ว่า Bill of material (ฺBOM) ทำหน้าที่เป็นรากฐานสำคัญในขอบเขตของการวางแผนการผลิต ช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถจัดการการผลิตสินค้าสำเร็จรูปได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับจาก  Bill of material (ฺBOM) ธุรกิจต่างๆ จะสามารถจัดการกับความซับซ้อนของการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร และส่งมอบผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงที่ตรงกับความต้องการของตลาดอุตสาหกรรม

โปรแกรมบัญชี AccCloud เป็นโปรแกรมที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ครบถ้วน เป็นโปรแกรมระดับ ERP แต่ราคาระดับโปรแกรมบัญชีทั่วไป เหมาะกับองค์กรขนาดกลาง-ใหญ่ และแบบฟอร์มเอกสารสำหรับยื่นสรรพากรที่เพรียบพร้อม เลือกเข้าชมบริการเพิ่มเติมได้ที่ โปรแกรมบัญชี AccCloud

ขั้นตอนการพัฒนาการผลิตแบบลีน (Lean Production)

การผลิตแบบลีนคืออะไร

 

ลีน คือ ปรัชญาในการผลิต ซึ่งถือว่าความสูญเปล่านั้น เป็นตัวทำให้เวลาที่ใช้ในการผลิตยาวนานขึ้น และควรมีการนำเทคนิคต่างๆ มาใช้ในการกำจัดความสูญเปล่าออกไปโดยมุ่งเน้นกำจัดความสูญเสีย

 
Conceptual Lean production | Download Scientific Diagram
 
ขั้นตอนการพัฒนาการผลิตแบบลีน การนำการผลิตแบบลีนมาปฏิบัติจะด าเนินการตามขั้นตอนหลัก 7 ขั้นตอน ดังนี้ 
1 การเตรียมความพร้อม เป็นการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ได้แก่ สถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์ จำเป็น บุคลากร และช่องทางการติดต่อสื่อสารภายในระหว่างสมาชิกผู้ดำเนินโครงการ 
2 การระบุคุณค่าของสินค้าและบริการ เป็นการระบุคุณค่าของสินค้าและบริการในมุมมองของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าภายในหรือภายนอก 
3 การสำรวจสถานะปัจจุบันของกระบวนการ เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ ทั้งหมดมาสรุปลงบนแผนภาพกระแสคุณค่าเพื่อระบุปัญหาและนำไปใช้ในการวางแผน เพื่อพัฒนาขั้นตอน ต่อไป 
4 การประเมินผลการจัดการกระบวนการ เป็นการประเมินสภาพของกระบวนการและตัวชี้วัดผล โครงการ ตามแนวทางของระบบการผลิตแบบลีนเพื่อไปใช้ประกอบซึ่งแผนพัฒนาการบริการ 
5 การวางแผนพัฒนากระบวนการสร้างคุณค่า โดยพิจารณาแผนภาพกระแสคุณค่าในทุกขั้นตอน การด าเนินงาน เพื่อหาว่ากิจกรรมใดไม่เพิ่มคุณค่าและเป็นความสูญเปล่าเพื่อวางแผนและด าเนินการปรับปรุง 
6 การขับเคลื่อนกระแสคุณค่า เป็นการท าให้กิจกรรมต่างๆที่มีคุณค่าด าเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดย ปราศจากการติดขัด การอ้อม การย้อนกลับ การคอย การเกิดของเสียและให้ความส าคัญกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการ 
7 การสร้างคุณค่าแลกำจัดความสูญเสียอย่างต่อเนื่อง เป็นขั้นตอนการค้นหาส่วนเกินที่ถูกซ่อนไว้ ซึ่งเป็นความสูญเปล่า กำจัดออกไปอย่างต่อเนื่องและขยายผลการปรับปรุงด้วยการผลิตแบบลีนไปสู่บริเวณ อื่นๆ ได้แก่ ลูกค้า ผู้ส่งมอบและผู้รับเหมาช่วงการผลิต
 
 
 
 

 

คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมคืออะไร

หากพูดถึง Computer ทุกคนคงรู้จักกันดีว่า คืออุปกรณ์ช่วยในการทำงานของมนุษย์ มีทั้ง PC Computer , Notebook Computer, Tablet Computer , Mobile และ อื่นๆ อีกสารพัด ซึ่งการใช้งานก็จะเหมือนๆกันคือ ช่วยในการประมวลผลชุดคำสั่ง (Software) ให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

 

แต่ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ทุกชนิดจะเหมาะกับงานทุกประเภท เช่นหากเราเอา PC Computer หรือที่เรียกว่า Computer ตั้งโต๊ะ พกติดตัวไว้ใช้งาน นี่ก็ไม่ใช่ละ เพราะขนาดของมันใหญ่โตเทอะทะ ไม่สะดวกต่อการพกติดตัว เราจึงจำเป็นต้องมี NoteBook Computer เพื่อตอบโจทย์การใช้งาน แต่Notebook computer ก็ยังจะไม่ทันเวลาหากเราต้องการใช้งานในทันที จึงเป็นที่มาของ Mobile Computer เช่นอุปกรณ์ Tablet

 

ในภาคอุตสาหกรรมก็เช่นกันใน กระบวนการผลิตมักจะมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากสภาพแวดล้อมภายนอกเป็นอย่างมาก เช่นโรงงานเหล็ก โรงงานอลูมิเนียม มักจะเจอสภาวะร้อนจัดในระหว่างกระบวนการผลิต หรือ โรงงานอาหารแช่แข็งมักจะเจอสภาวะเย็นจัด ดังนั้นหากเอา Computer ไม่ว่าจะเป็น PC, Notebook, Table หรือ อะไรก็แล้วแต่ไปวาง รับรองได้ครับ ไม่เกิน 3 วัน พัง!!!

 
โปรแกรมบัญชี AccCloud.co
 
 
 

 

 

แต่อย่างไรก็ดี หากเราต้องการควบคุมการทำงานในกระบวนการเหล่านี้ที่หน้างานเลย เราก็ต้องมีอุปกรณ์ Computer ประเภทใช้ที่หน้างานเหล่านี้ได้ เราเรียกมันว่า “Panel PC” ครับ

 

Panel PC โดย Concepts แล้ว มันคือ Computer นี่แหล่ะครับ แต่ถูกออกแบบมาให้มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่สุดโหด เช่นร้อนจะ เย็นจัด มีฝุ่นละอองหนาแน่น มีความชื้นสูง เป็นต้น

จะทำการต่อเชื่อมกับระบบ ERP ภายในองค์กรเพื่อควบคุมกระบวนการผลิตในกลุ่มของ Work In Process ครับ

 

โปรแกรมบัญชี AccCloud ได้ทำการพัฒนาระบบเชื่อมต่อกับ Panel PC เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในด้านการผลิตได้อย่างครบวงจร เพื่อเก็บได้ถึงรายละเอียดในระหว่างการผลิต

 

 

ระบบติดตามงานผลิตคืออะไร

Process Tracking หรือ การติดตามงานตามกระบวนการ หมายถึง การติดตามในแต่ละขั้นตอนของการปฏิบัติงานนั้นๆ เพื่อให้ทราบถึง สถานะของการทำงานในปัจจุบันว่า เป็นเช่นไร รวดเร็ว หรือ ล่าช้าไปกว่าแผนงาน

 

ในการติดตามงานผลิต จะต้องประกอบด้วยตัวแปรหลักๆคือ คน งาน และ Process ครับ เริ่มจากการเปิด Job งานผลิต ส่งผ่านไปยังแผนกต่างๆ เช่นแผนกกลึง แผนกพ่นสี แผนกประกอบ โดยที่พนักงานในแต่ละแผนกเป็นผู้ดำเนินการผลิตตามสูตรที่ได้ตั้งไว้ และส่งมอบงานที่ผลิตเสร็จตามสายพานการผลิต

 

ดังนั้นระบบติดตามการผลิต จะต้องช่วยเก็บข้อมูลที่หน้างานผลิตว่า งานผลิตนี้ ตอนนี้อยู่ที่ Process ไหน ใครเป็นผู้ดำเนินการ และ รับสินค้าได้กี่ชิ้น รวมถึงข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องเช่น Lot ไหน ส่งไป Station ใดต่อ เป็นต้น

 

ในบางโรงงาน การ tracking การผลิตอาจจะใช้อุปกรณ์ RFID ซึ่งต้องลงทุนในราคาที่สูงมาก แต่ข้อดีคือ เราสามารถติดตามว่าในขณะนี้การผลิตทั้ง FG และ SEMI อยู่ใน Stage ใด และ จำนวนเท่าไหร่ได้

ดังนั้น โปรแกรมบัญชี AccCloud จึงได้ออกแบบ ระบบติดตามงานผลิตเป็น Module เสริมเป็น Plug In ขึ้นมาซึ่งสามารถติดตั้งใช้ในแผนกผลิตได้ทันที ที่มีการ Config ข้อมูลพื้นฐานต่างๆแล้วเสร็จ  

โปรแกรมบัญชี AccCloud.co

โปรแกรมบัญชีสำหรับ ธุรกิจผลิต

อุตสาหกรรมการผลิต เป็นภาคส่วนสำคัญของเศรษฐกิจโลก โดยมีส่วนสนับสนุนอย่างมากต่อการจ้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมการผลิตครอบคลุมถึงกิจกรรมต่างๆ มากมาย ตั้งแต่การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปไปจนถึงการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ซับซ้อน

ในยุคปัจจุบัน การแข่งขันในอุตสาหกรรมการผลิตสูงมาก ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โปรแกรมบัญชีเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถติดตามและควบคุมข้อมูลทางการเงินของธุรกิจได้อย่างแม่นยำ

อุตสาหกรรมการผลิตแบบต่อเนื่อง

เป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าในปริมาณมากและต่อเนื่อง โดยใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต ตัวอย่างของอุตสาหกรรมการผลิตแบบต่อเนื่อง ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอาหาร

อุตสาหกรรมการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง

เป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าในปริมาณน้อยและไม่ต่อเนื่อง โดยใช้แรงงานคนเป็นหลักในการผลิต ตัวอย่างของอุตสาหกรรมการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง ได้แก่ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ และอุตสาหกรรมเครื่องประดับ

อุตสาหกรรมการผลิต คืออะไร ?

อุตสาหกรรมการผลิต เป็นอะไรที่มีความเหมือนและแตกต่างจากอุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ เช่น ซื้อมาขายไป หรือ บริการ กล่าวคือ การขายสินค้าใด ๆ นั้น เราต้องเอาวัตถุดิบมาแปรรูปเสียก่อน โดยผ่านขั้นตอนการผลิตในขั้นต่าง ๆ ทั้งนี้ อาจจะออกมาเป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (Semi Product) หรือ สินค้าสำเร็จรูปก็ได้ โดยใช้สูตรการผลิตเป็นตัวที่ใช้ในการควบคุมวัตถุดิบ

ในแต่ละกระบวนการผลิต เราอาจจะใช้สูตรไม่เหมือนกัน และ ต้นทุนที่แตกต่างกันเช่น ในขั้นตอนการอบสี ต้องใช้เครื่องจักรเยอะ แต่ใช้คนน้อย ซึ่งจะทำให้ต้นทุนคนในกระบวนการนี้มีอยู่ไม่มาก แต่ในขณะที่ขั้นตอนการประกอบนี่ต้องใช้แรงงานคนเยอะ แต่ใช้เครื่องจักรไม่มาก

ดังนั้น ในการคุมต้นทุนผลิต เราต้องวิเคราะห์ให้ออกเป็นแต่ละกระบวนการว่ามีจุดที่ต้องพิจารณาหลัก ๆอะไรบ้าง และ มี Loss อะไรเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนบ้าง 

รวมถึงหลังจากมี Order เข้ามาแล้ว การวางแผนการผลิต จะต้องพิจารณาว่าเครื่องจักรใดว่าง และในแต่ละ Job งานต้องการทรัพยากรเท่าไหร่เพื่อจะทำงานให้เสร็จได้ทันเวลา

โปรแกรมบัญชี คืออะไร ?

โปรแกรมบัญชี โดยทั่วไปจะไม่ครอบคลุมความต้องการในด้านนี้ โดยมากกระบวนการทางบัญชี คือ เกิดการผลิต รับเบิกวัตถุดิบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ค่อยมาบันทึก จะไม่สามารถวางแผนการผลิตได้แน่นอน

ทำไมต้องใช้โปรแกรมบัญชีในการจำการธุรกิจ

โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถบันทึก จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปรแกรมบัญชีสามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถทำสิ่งต่อไปนี้ได้

  • บันทึกข้อมูลทางการเงินได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ
  • จัดเก็บข้อมูลทางการเงินได้อย่างเป็นระบบและปลอดภัย
  • วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินเพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ
  • สร้างรายงานทางการเงินได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
  • ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับทางการเงินได้อย่างถูกต้อง

 การใช้โปรแกรมบัญชี สามารถช่วยให้ธุรกิจประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดการข้อมูลทางการเงิน นอกจากนี้โปรแกรมบัญชียังสามารถช่วยให้ธุรกิจมีข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจ

การใช้โปรแกรมบัญชีอย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากโปรแกรมบัญชี ธุรกิจควรใช้โปรแกรมบัญชีอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ธุรกิจควร

  • ป้อนข้อมูลทางการเงินอย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจสอบข้อมูลทางการเงินเป็นประจำ
  • ใช้โปรแกรมบัญชีเพื่อจัดทำงบการเงินและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน
  • ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการบัญชีหากมีข้อสงสัย

โปรแกรมบัญชี AccCloud ได้ถูกออกแบบมาจากพื้นฐานของภาคการผลิตตั้งแต่เริ่มต้น ดังนั้น โปรแกรมบัญชี AccCloud.tech จึงเป็นมากกว่าโปรแกรมบัญชีทั่วไป โดยสามารถทำในส่วนกระบวนการด้านการผลิตทั้งหมดที่ได้กล่าวมาในข้างต้นของบทความนี้ได้ รวมไปถึงทำนายการผลิต และ วิเคราะห์ในเชิง Big Data ได้เช่นกัน

ที่มา โปรแกรมบัญชี AccCloud

รวมวิธีการหาต้นทุนของสินค้าคงคลัง

ต้นทุนสินค้าคงคลังมี 4 ชนิด คือ

1) ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ (Ordering Cost)

เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าคงคลังที่ต้องการ ซึ่งจะแปรตามจำนวนครั้งของการสั่งซื้อ แต่ไม่แปรตามปริมาณสินค้าคงคลัง เพราะสั่งซื้อของมากเท่าใดก็ตามในแต่ละครั้ง ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อก็ยังคงที่ แต่ถ้ายิ่งสั่งซื้อบ่อยครั้งค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อจะยิ่งสูงขึ้น ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อเช่น ค่าจ้างพนักงานจัดซื้อ ค่าโทรศัพท์ ค่าขนส่งสินค้า เป็นต้น

2) ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา (carrying Cost)

เป็นค่าใช้จ่ายจากการมีสินค้าคงคลังและการรักษาสภาพให้สินค้าคงคลังนั้นอยู่ในรูปที่ใช้งานได้ ซึ่งจะแปรตามปริมาณสินค้าคงคลังที่ถือไว้และระยะเวลาที่เก็บสินค้าคงคลังนั้นไว้ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา

3) ค่าใช้จ่ายเนื่องจากสินค้าขาดแคลน (Shortage Cost หรือ Stock out Cost)

เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการมีสินค้าคงคลังไม่เพียงพอต่อการผลิตหรือการขาย ทำให้ลูกค้ายกเลิกคำสั่งซื้อ ขาดรายได้ที่ควรได้ กระบวนการผลิตหยุดชะงักเกิดการว่างงานของเครื่องจักรและคนงาน ฯลฯ

ค่าใช้จ่ายนี้จะแปรผกผันกับปริมาณสินค้าคงคลังที่ถือไว้ นั่นคือถ้าถือสินค้าไว้มากจะไม่เกิดการขาดแคลน แต่ถ้าถือสินค้าคงคลังไว้น้อยก็อาจเกิดโอกาสที่จะเกิดการขาดแคลนได้มากกว่า

4) ค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องจักรใหม่ (Setup Cost)

เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่เครื่องจักรจะต้องเปลี่ยนการทำงานหนึ่งไปทำงานอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเกิดการว่างงานชั่วคราว สินค้าคงคลังจะถูกทิ้งให้รอกระบวนการผลิตที่จะตั้งใหม่ ค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องจักรใหม่นี้จะมีลักษณะเป็นต้นทุนคงที่ต่อครั้ง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดของล็อตการผลิต

ในบรรดาค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าคงคลังต่างๆ เหล่านี้ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาจะสูงขึ้นถ้ามีระดับสินค้าคงคลังสูง และจะต่ำลงถ้ามีระดับสินค้าคงคลังต่ำ แต่สำหรับค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ ค่าใช้จ่ายเนื่องจากสินค้าขาดแคลน และค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องจักรใหม่ จะมีลักษณะตรงกันข้าม คือ จะสูงขึ้นถ้ามีระดับสินค้าคงคลังต่ำและจะต่ำลงถ้ามีระดับสินค้าคงคลังสูง ดังนั้นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าคงคลังที่ต่ำสุด ณ ระดับที่ค่าใช้จ่ายทุกตัวรวมกันแล้วต่ำสุด

 

ที่มา โปรแกรมบัญชี AccCloud.tech

การจัดการการผลิต แบบ JUST IN TIME (JIT) คืออะไร

การผลิตแบบ Just In Time, JIT คือ การที่ชิ้นส่วนที่จำเป็นเข้ามาถึงกระบวนการผลิตในเวลาที่จำเป็นและด้วยจำนวนที่จำเป็นหรืออาจกล่าวได้ว่า JIT คือ การผลิตหรือการส่งมอบ “ สิ่งของที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ ด้วยจำนวนที่ต้องการ” ใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นเครื่องกำหนดปริมาณการผลิตและการใช้วัตถุดิบ

ทำไมต้องใช้การผลิตแบบ Just In Time

วัตถุประสงค์ของการผลิตแบบทันเวลาพอดี


1. ควบคุมวัสดุคงคลังให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุดหรือให้เท่ากับศูนย์ ( Zero inventory )
2. ลดเวลานำหรือระยะเวลารอคอยในกระบวนการผลิต ( Zero lead time )
3. ขจัดปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิต ( Zero failures )
4. ขจัดความสูญเปล่าในการผลิต ( Eliminate 7 Types of Waste ) ดังต่อไปนี้
– การผลิตมากเกินไป ( Overproduction ) : ชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ถูกผลิตมากเกินความต้องการ
– การรอคอย ( Waiting ) : วัสดุหรือข้อมูลสารสนเทศ หยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหวหรือติดขัดเคลื่อนไหวไม่สะดวก
– การขนส่ง ( Transportation ) : มีการเคลื่อนไหวหรือมีการขนย้ายวัสดุในระยะทางที่มากเกินไป
– กระบวนการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ ( Processing itself ) : มีการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็น
– การมีวัสดุหรือสินค้าคงคลัง ( Stocks ) : วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีเก็บไว้มากเกินความจำเป็น
– การเคลื่อนไหว ( Motion ) : มีการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นของผู้ปฏิบัติงาน – การผลิตของเสีย ( Making defect ) : วัสดุและข้อมูลสารสนเทศไม่ได้มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ไม่มีคุณภาพ

สิ่งที่ได้จากการผลิตแบบ Just In Time

ผลกระทบจากการผลิตแบบทันเวลาพอดี


1. ปริมาณการผลิตขนาดเล็ก ( Small lot size ) ระบบ JIT จะพยายามควบคุมวัสดุคงคลังให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุดเพื่อไม่ก่อให้เกิดต้นทุนในการจัดเก็บและต้นทุนค่าเสียโอกาส
2. ระยะเวลาการติดตั้งและเริ่มดำเนินงานสั้น ( Short setup time ) ผลจากการลดขนาดการผลิตให้เล็กลง ทำให้ฝ่ายผลิตต้องเพิ่มความถี่ในการจัดการขึ้น
3. วัสดุคงคลังในระบบการผลิตลดลง ( Reduce WIP inventory ) เหตุผลที่จำเป็นต้องมีวัสดุคงคลังสำรองเกิดจากความไม่แน่นอน ไม่สม่ำเสมอที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต
4. สามารถควบคุมคุณภาพสินค้าได้อย่างทั่วถึง

 
โปรแกรมบัญชี ทั่วไปจะไม่มีทางทราบถึงการผลิตแบบ JIT ได้เนื่องจากข้อมูลทางบัญชีจะเกิดขึ้นหลังจากเกิดการรับ – เบิก ไปแล้ว นั่นจะทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลมาวางแผนได้ โปรแกรมบัญชี AccCloud ได้ทราบถึงปัญหาข้อนี้เป็นอย่างดีในภาคการผลิต เราจึงได้ออกแบบระบบมาเพื่อใช้ในการวางแผนวัตถุดิบแบบ JIT ในโปรแกรม


ที่มา โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP 

อะไรคือ มาตรฐานอุตสาหกรรม และ การขอ มอก ทำอย่างไร

ถ้าพูดถึงคำว่ามาตรฐานอุตสาหกรรม ทุกท่านย่อมเคยได้ยินกันมาก่อนเป็นเวลาช้านานแล้ว วันนี้เราจะมารู้จักกับความหมายที่แท้จริงของ มาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกัน ว่าคืออะไรกันแน่

“มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” หมายถึงข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.)ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด โดยประกอบ ด้วยเกณฑ์ทางเทคนิค คุณสมบัติที่สำคัญ ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุที่นำมาผลิต และวิธีการทดสอบ เช่นมาตรฐานแอร์ประหยัดพลังงานเบอร์ 5 ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง เป็นต้น

โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP

ขั้นตอนการดำเนินงานขอมาตรฐาน มอก. สำหรับผู้ผลิตในประเทศประกอบไปด้วยกระบวนการดังนี้

1. ขออนุญาตผลิตจากกระทรวงอุตสาหกรรม

2. จัดเตรียมตัวอย่างเพื่อการทดสอบ (ต้องใช้ห้อง Lab. ที่ใช้ทดสอบตามกำหนดของ สมอ)

3. เมื่อตัวอย่างผ่านการทดสอบ จะมีการเข้าไปตรวจโรงงานโดยเจ้าหน้าที่ สมอ

4. เมื่อผ่านขั้นตอนการตรวจโรงงานเรียบร้อยแล้ว จึงจะได้รับใบอนุญาตให้ทำการผลิตและใช้ตรา ม.อ.ก ได้

5. ใบอนุญาตการผลิตจะมีผลตลอดไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆในเนื้อหามาตรฐานนั้นๆ

6. จะมีการตรวจติดตามผลโรงงานผลิต ปีละครั้ง

7. ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบใน ค่าใช้จ่ายเช่น การทดสอบ ใบอนุญาตการผลิต ค่าเดินทาง ค่าตรวจโรงงานผลิตครั้งแรก ค่าตรวจติดตามผลโรงงานผลิตในปีถัดไป

8. ผู้ผลิตมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในทางกฏหมาย ในสินค้านั้นๆ

(ที่มา เว็บไซต์ของสำนักงานมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม )

  
การตรวจสอบ การควบคุมที่ดี จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการวางระบบควบคุมกระบวนการทำงานตั้งแต่ต้น ตั้งแต่เรื่อง การรับวัตถุดิบ ไปจนถึงการผลิตออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป
 
การใช้โปรแกรมบัญชี AccCloud เป็นการช่วยผู้ประกอบการในจุดเริ่มต้นเหล่านี้ โดยตัวระบบได้มีการวางขั้นตอนการตรวจสอบ การวางรูปแบบของเอกสารการทำงาน ตลอดจน การวิเคราะห์และประเมินผล ในทุกขั้นตอนการทำงาน
 
ที่มา : โปรแกรมบัญชี AccCloud.tech

การบริหารจัดการ การผลิตอย่างไรให้ได้คุณภาพ

โปรแกรมบัญชี AccCloud.co

การผลิตสินค้าเป็นการปฏิบัติการที่เป็นระบบคือ ต้องแปรรูป สิ่งป้อนเข้า กลายเป็นสิ่งออกนำไปสู่ตลาด

การผลิต คืออะไร?

การผลิต (Production) เป็นการผลิตสินค้า มีความหมายเน้นเฉพาะการผลิตสินค้าที่มีตัวตนจับต้องได้ การปฏิบัติ (Operations) เป็นกระบวนการภายในองค์การที่เกิดขึ้น โดยใช้ปัจจัยนำเข้า (Input) เช่น คน เงินทุน วัตถุดิบ ฯลฯ แปลงสภาพเป็น ปัจจัยนำออก (Output)

ระบบการผลิต คือ กระบวนการในการผลิตสิ่งของชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยมีการใช้ปัจจัยการผลิต ผ่านกระบวนการผลิต เพื่อเป็นสินค้า และ ปัจจัยการผลิต หมายถึง สิ่งที่นำเข้าสู่ระบบการผลิตประกอบไปด้วยวัตถุดิบ

กระบวนการผลิต หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่ในการนำปัจจัยการผลิตมาแปรสภาพให้เป็นสินค้า ตามที่ต้องการ วิธีการในการผลิตสินค้า การจัดลำดับการผลิต การวางแผนการผลิต และการจัดสรรกำลังคนเพื่อการผลิต โดยที่ผลผลิต หมายถึง สินค้าที่เกิดจากการแปลงสภาพ

โปรแกรมบัญชี AccCloud.co

โดยระบบการผลิต แบ่งเป็นสองระบบดังนี้คือ

ระบบการผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Production)

การผลิต (Production) เป็นการผลิตสินค้า มีความหมายเน้นเฉพาะการผลิตสินค้าที่มีตัวตนจับต้องได้ การปฏิบัติ (Operations) เป็นกระบวนการภายในองค์การที่เกิดขึ้น โดยใช้ปัจจัยนำเข้า (Input) เช่น คน เงินทุน วัตถุดิบ ฯลฯ แปลงสภาพเป็น ปัจจัยนำออก (Output)

ระบบการผลิต คือ กระบวนการในการผลิตสิ่งของชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยมีการใช้ปัจจัยการผลิต ผ่านกระบวนการผลิต เพื่อเป็นสินค้า และ ปัจจัยการผลิต หมายถึง สิ่งที่นำเข้าสู่ระบบการผลิตประกอบไปด้วยวัตถุดิบ

กระบวนการผลิต หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่ในการนำปัจจัยการผลิตมาแปรสภาพให้เป็นสินค้า ตามที่ต้องการ วิธีการในการผลิตสินค้า การจัดลำดับการผลิต การวางแผนการผลิต และการจัดสรรกำลังคนเพื่อการผลิต โดยที่ผลผลิต หมายถึง สินค้าที่เกิดจากการแปลงสภาพ

ระบบการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Production)

หมายถึงระบบการผลิตที่รวบรวมเอาอุปกรณ์การผลิตหรือสถานีงานที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกันเข้าไว้ด้วยกันเรียกว่า ศูนย์การทำงาน (work center) แต่ไม่มีการเรียงลำดับก่อนหลังของศูนย์การทำงานไว้คงที่

ทั้งนี้โปรแกรมบัญชี AccCloud ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับระบบผลิตโดยเฉพาะ ซึ่งในระบบมีทั้งการติดตั้งกระบวนการผลิต การติดตามงานผลิต รวมถึงการคำนวณต้นทุนการผลิค

 

ที่มา โปรแกรมบัญชี AccCloud.tech

Education Template

Scroll to Top