โปรแกรมบัญชีออนไลน์

ธุรกิจล้มเหลว เสี่ยงลงทุนไม่รอด หากยังทำ 7 พฤติกรรมเหล่านี้

การลงทุน มักควบคู่กับความเสี่ยงเสมอ ยิ่งเราลงทุนมากแค่ไหน เราก็ต้องเสี่ยงที่จะขาดทุนได้เช่นกัน ยิ่งในด้านการตลาด มักจะเจอความเสี่ยงในการลงทุนได้ตลอดเวลา แต่ใช่ว่าการลงทุน จะไม่ไดผลตอบแทนเสมอไป ยิ่งเราเลือกที่จะลงทุนในช่วงตลาดขาขึ้น ก็ทำให้ได้ผลตอบแทนที่เกินเป้าหมายได้เช่นกัน แต่ก่อนจะเริ่มลงทุนนั้น ต้องรู้ถึงความเสี่ยงจาก 7 พฤติกรรมดังนี้ก่อน

รวม 7 พฤติกรรม เสี่ยงลงทุนไม่รอด

1. ทุ่มหมดตัว กล้าได้กล้าเสีย

การลงทุนแบบเทหน้าตัก หรือลงทุนแบบหมดตัว เพราะหวังว่าจะได้กลับคืนมาเท่าตัว เป็นความคิดที่ผิดมาก เพราะการลงทุน คือการแบ่งเงินส่วนต่าง ๆ ไปลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยง ดังนั้น ควรจะแบ่งสัดส่วนเงินในการลงทุนให้พอดี เพื่อกันปัญหาขาดทุนในอนาคต

2. เชื่อข่าวลือที่ไม่มีมูลความจริง

หากเชื่อข่าวที่พบเห็นได้ง่าย และไม่ได้มีการคัดกรอง เสี่ยงไม่น้อยที่จะทำให้ขาดทุนได้เช่นกัน ดังนั้นหากเจอข่าวลือ ให้ควรศึกษาอย่างถี่ถ้วนทุกครั้ง และไม่ควรเชื่อเสมอไป

3. ลงทุนโดยไม่ศึกษาให้ครบถ้วน

การตลาดเป็นสิ่งไม่แน่นอนและคงที่ หากเราลงทุนในสิ่งที่เรายังไม่เข้าใจดี ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน เนื่องจากความไม่เข้าใจทางการตลาดของธุรกิจนั้น ๆ ก็ทำให้การลงทุนติดลบ หรือขาดทุนได้ในที่สุด ดังนั้นเป็นไปได้ ควรศึกษาอย่างถี่ถ้วน ครบทุกความเข้าใจก่อนเริ่มการลงทุน

4. ไม่ติดตามข่าวสาร

เนื่องจากการตลาดมีการเคลื่อนไหวไม่แน่นอน และผันผวนแทบตลอดเวลา การไม่ติดตามข่าวสารด้านการตลาดเลย ทำให้พลาดสิ่งสำคัญในการลงทุนได้ ดังนั้น ควรติดตามข่าวสารด้านการตลาดอย่างน้อย 2 – 3 วัน หรือเป็นไปได้ก็ลองดูการตลาดในทุก ๆ วัน เพื่อให้ทันข่าวสารด้านนี้อย่างหมดจด

5. ไม่อดทนต่อการลงทุน

เนื่องจากการลงทุน มักคู่กับความเสี่ยง มีขาดทุนบ้าง ได้ผลตอบแทนบ้าง แต่หากเลือกที่จะทำไม่นาน แล้วหยุดไปเลย ก็อาจทำให้เสียโอกาสในการลงทุนได้ ดังนั้นนักลงทุนควรเข้าใจในธรรมชาติของการลงทุน มเสียบ้าง ก็ต้องมีได้บ้างเป็นเรื่องปกติ และยิ่งลงทุนเป็นเวลานาน โอกาสในการขาดทุนก็ยิ่งน้อยลงเช่นกัน 

6. กลัวการลงทุน

หากกลัวในการลงทุนว่าจะเสี่ยงขาดทุนมากแค่ไหน ก็ยิ่งเสียโอกาสในช่วงขาขึ้นของการตลาด แต่ให้เข้าใจไว้เสมอ ว่ายิ่งเราศึกษาการลงทุนดีแค่ไหน โอกาสในการขาดทุนก็ยิ่งน้อยลงแค่นั้น และเข้าใจในธรรมชาติของการตลาด แล้วเราจะค่อย ๆ หายกลัวในการลงทุนได้เอง

7. มั่นใจในการลงทุนมากเกินไป

การมั่นใจในการลงทุนก็ไม่ใช่เรื่องที่แย่ แต่หากมั่นใจเกินไป โดยไม่ได้นึกถึงการตลาดที่มักเปลี่ยนไปได้ทุกเวลา ก็เสี่ยงขาดทุนได้เช่นกัน ดังนั้นการลงทุน ควรลงทุนแค่พอดี เพื่อผลตอบแทนที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ 

การได้รู้ว่าพฤติกรรมแบบไหนที่เสี่ยงทำให้การลงทุนมีความเสี่ยง ก็ควรหยุดและค่อย ๆ ปรับตัวไปกับการลงทุนนั้น ๆ แต่ต้องเข้าใจธรรมชาติของการตลาดเสมอ ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ลงทุน ไม่ควรใจร้อนจนเกินไป เพื่อให้การลงทุนมีความเสี่ยงที่น้อยที่สุด และได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด

4 เหตุผลผิด ๆ ของการวางแผนทางการเงิน

การวางแผนทางการเงินนั้น เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อย ที่ช่วยให้ธุรกิจและการลงทุนต่าง ๆ คล่องตัว มั่นคงและมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากวางแผนทางเงินเร็วแค่ไหน โอกาสในการลงทุนรวมทั้งธุรกิจต่าง ๆ ก็ยิ่งคล่องตัวแค่นั้น เนื่องจากการเงินมีการผันผวนตลอดเวลา จึงต้องมีการวางแผนที่จะใช้เงินในการลงทุนต่าง ๆ เพื่อให้ผลตอบแทนออกมาดีที่สุด แต่หากไม่รู้เหตุผลผิด ๆ ในการลงทุนนั้นเลย ก็มีสิทธิที่จะทำให้ธุรกิจนั้นไม่ถึงเป้าหมาย หรือขาดทุนได้ในที่สุด

1. ไม่มีความรู้ในการวางแผนทางการเงินมากพอ

หากคิดว่าตนเองไม่มีความรู้เลยในการวางแผนทางการเงิน จึงไม่กล้าที่จะลงมือทำ ควรจะเริ่มจากบันทึกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในแต่ละวัน เช่น บันทึกรายรับ บันทึกรายจ่าย และเพิ่มเงินออมไปได้ ซึ่งการทำวธีนี้ทำให้รู้เส้นทางการเินเงินของเราว่าไปในทิศทางไหน และสามารถวางแผนในอนาคตต่อไปได้

2. ไม่มีเวลา

การวางแผนทางการเงิน บางคนอาจคิดว่ามันยุ่งยากจนไม่มีเวลาทำ ไม่จริงเลย เนื่องจากการวางแผนทางการเงิน เป้นการประเมินค่าใช้จ่ายในแต่ละวันหรือแต่ละเดือนว่าไปในทิศทางบวกหรือทิสทางลบ แล้วนำมาคำนวณว่าเดือนต่อ ๆ ไปควรใช้เงินประมาณเท่าไหร่ จึงจะสมดุลกันนั่นเอง

3. ยังไม่พร้อมในการวางแผนทางการเงิน

หากคิดแต่ว่ายังไม่พร้อม การเงินก็ยิ่งแย่ลงได้เช่นกัน ดังนั้นหากทำการวางแผนทางการเงินเร็วแค่ไหน ก็ยิ่งสร้างประโยชน์ต่อทางการเงินของเราได้มากแค่นั้น

4. มีหนี้และภาระเยอะ

ยิ่งมีหนี้และภาระเยอะมากแค่ไหน ยิ่งต้องวางแผนทางการเงินให้เร็วที่สุด เนื่องจากการวางแผนทางการเงิน สามารถช่วยบริหารและจัดการปัญหาในการใช้จ่ายได้ดีไม่น้อย และเป็นประโยชน์ได้ในอนาคต และอาจเคลียร์หนี้สินได้เช่นกัน หากวางแผนทางการเงินได้ดี

หวังว่าบทความนี้ จะช่วยเป็นแนวทางในการแก้ไขความเข้าใจผิด และมั่นใจในการลงทุน รวมถึงมั่นใจในการวางแผนทางการเงิน เพื่อผลตอบแทนที่ดี และลดปัญหารวมถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ในอนาคตได้อีกด้วย

อยากเป็นเจ้าของธุรกิจต้องรู้ ประเภทของการจดทะเบียนธุรกิจมีอะไรบ้าง

ทุกวันนี้ไม่ว่าใครก็ใฝ่ฝันอยากที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจของตนเองกันทั้งนั้น หากเรามีแผนที่จะขายสินค้าหรือบริการบางอย่างก็ควรจะมีการจดทะเบียนธุรกิจ เพื่อให้การดำเนินการต่างๆ ของเราเป็นไปในนามของบริษัทหรือทะเบียนพาณิชย์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการบริหารจัดการธุรกิจ ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ทำให้ธุรกิจของเราสามารถเติบโตได้ดียิ่งขึ้น แต่ก่อนที่เราจะจดทะเบียนธุรกิจ เราควรมารู้จักกับประเภทของการจดทะเบียนธุรกิจก่อน มีอะไรบ้าง มาดูกันเลย

ประเภทการจดทะเบียนธุรกิจ

การจดทะเบียนธุรกิจสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท นั่นคือ 1. การจดทะเบียนพาณิชย์ สำหรับบุคคลธรรมดา และ 2. การจดทะเบียนบริษัท สำหรับนิติบุคคล แต่ละประเภทจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. การจดทะเบียนพาณิชย์ สำหรับบุคคลธรรมดา

การจดทะเบียนพาณิชย์เป็นการจดทะเบียนที่เหมาะกับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่เป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งอาจเป็นการประกอบอาชีพ เช่น การขายสินค้าทั่วไปโดยมีหน้าร้านเป็นของตัวเอง การขายของออนไลน์ ตัวแทนขายสินค้า/บริการผ่านเว็บไซต์ ขายของผ่านแพลตฟอร์มบน Social Media เป็นต้น

2. การจดทะเบียนบริษัท สำหรับนิติบุคคล

การจดทะเบียนบริษัทเหมาะกับธุรกิจหลายระดับที่มีเจ้าของหรือผู้ลงทุนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป หากต้องการให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดได้ก็ควรมีการจดทะเบียนบริษัท การจดทะเบียนประเภทนี้จะทำให้บริษัทมีสถานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งจะมีภาระการจัดการที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ เช่น การจัดทำบัญชี การเสียภาษี และยื่นประกันสังคม การจดทะเบียนบริษัทยังสามารถแย่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญ

ห้างหุ้นส่วนสามัญเป็นการทำธุรกิจที่แบบมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งหุ้นส่วนแต่ละคนสามารถเข้ามามีบทบาทในการจัดการกับธุรกิจและแบ่งปันผลกำไรได้ ถือว่ามีภาระหน้าที่ร่วมกันทั้งในส่วนของผลกำไรและหนี้สินของกิจการ หากไม่ได้จดทะเบียนบริษัทจะนับเป็นบุคคลธรรมดา แต่ถ้าจดทะเบียนแล้วจะมีสภาพเป็นนิติบุคคล

  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะมีความแตกต่างจากห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ การแบ่งภาระความรับผิดชอบของหุ้นส่วนจะมีการกำหนดข้อจำกัด และไม่จำกัด เกี่ยวกับหนี้สินของกิจการไว้ด้วย หุ้นส่วนแต่ละคนจะรับผิดชอบหนี้สินไม่เกินจำนวนเงินลงทุนของตนเอง

  • บริษัทจำกัด

บริษัทจำกัดเป็นธุรกิจที่ต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 3 ขึ้นไป และจดทะเบียนนิติบุคคลให้เรียบร้อย ทุกคนมีภาระการรับผิดชอบหนี้สินแบบ จำกัด การจดทะเบียนบริษัทจะช่วยให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้ก้าวหน้าได้ดีมากกว่าการทำธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา

การจดทะเบียนบริษัทอาจมีขั้นตอนที่ค่อนข้างยุ่งยาก และเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องเยอะ แต่อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนธุรกิจย่อมมีข้อดีกว่าไม่จดเลย เพราะถ้าเราอยากให้ธุรกิจเติบโต เป็นที่รู้จัก และได้รับการยอมรับในวงกว้าง การจดทะเบียนธุรกิจนี่แหละเป็นทางเลือกที่ดีและคุ้มค่าที่สุดแล้ว

ทำไมธุรกิจต้องปรับมาใช้โปรแกรมบัญชีแบบออนไลน์

เนื่องจากธุรกิจบัญชี เริ่มเติบโตมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และด้วยเมื่อก่อนการทำบัญชีด้วยระบบมือ ค่อนข้างใช้เวลานาน ล่าช้า และมีโอกาสผิดพลาดได้ง่าย 

โปรแกรมบัญชีออนไลน์ จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานในด้านธุรกิจบัญชีโดยเฉพาะ ทำให้นักบัญชีสามารถจัดการการทำบัญชีได้ง่ายมากขึ้น มีความแม่นยำในการทำบัญชีมากขึ้น ช่วยให้สามารถส่งออกรายได้ ค่าใช้จ่าย และรักษาข้อมูลบัญชี รวมทั้งสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทำงานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้หลายประเภท เช่น เครื่อง pc โน้ตบุ๊ค แล็บท็อป และสมาร์ทโฟน ไม่ต้องพกสมุดบัญชีเล่มใหญ่ให้เหนื่อยอีกต่อไป

โปรแกรมบัญชีออนไลน์คืออะไร

เป็นโปรแกรมที่ช่วยจัดการบันทึกข้อมูลบัญชีออนไลน์ได้ครบวงจร ควบคุมค่าใช้จ่าย ทำรายรับรายได้ เช็คคลังสินค้า ภาษี และยอดค้างชำระที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำบัญชีต่าง ๆ ของธุรกิจ ประหยัดกำลังคน และกำลังทรัพย์ของธุรกิจได้อีกด้วย ตอบโจทย์นักธุรกิจยุคใหม่เป็นอย่างมาก ทำให้สามารถมองเห็นภาพรวมของกิจการ และสามารถนำข้อมูลนั้น ๆ มาวิเคราะห์และบริหารของงานแต่ละส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำที่สุด

ทำไมต้องใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์

  • โปรแกรมใช้งานง่ายและสะดวกต่อการคีย์ข้อมูล
  • มีความปลอดภัยและแม่นยำสูง
  • ทำงานแบบเรียลไทม์ ใช้งานได้หลายคนในฐานข้อมูลเดียวกัน
  • ค้นหาและตรวจสอบข้อมูลบัญชีได้รวดเร็ว
  • เข้าถึงข้อมูลบัญชีได้ทุกที่ทุกเวลา
  • เจ้าของกิจการสามารถระบุหน้าที่ของผู้ใช้งานฐานข้อมูลได้ เพื่อเป็นการจำกัดสิทธิ์เข้าถึง
  • มีฟังก์ชันการใช้งานด้านบัญชีให้เลือกหลากหลาย ไม่ซับซ้อน
  • ลดต้นทุนในการใช้บุคคากรจำนวนมาก
  • วิเคราะห์ภาพรวมของกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โปรแกรมบัญชี AccCloud ช่วยอะไร

โปรแกรมบัญชี AccCloud คือ โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อช่วยให้ธุรกิจออนไลน์สามารถจัดระเบียบธุรกิจบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ซึ่งโปรแกรมบัญชี AccCloud เหมาะสำหรับธุรกิจระดับกลางจนถึงระดับใหญ่ และโปรแกรมบัญชี AccCloud สามารถเชื่อมต่อช่องทางการขายกับ Lazada และ Shopee ได้ โดยยอดขายจะ Link โดยตรงไปบันโปรแกรม Accloud ได้ในทันที  เหมาะมากสำหรับผู้ที่เริ่มต้นเป็นนักธุรกิจ แต่ยังจัดการบัญชีไม่คล่อง โปรแกรมบัญชี AccCloud จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกให้นักธุรกิจได้ลองใช้งาน

โปรแกรมบัญชี AccCloud เหมาะสำหรับธุรกิจอะไรบ้าง

  • ธุรกิจการผลิต
  • ธุรกิจซื้อขาย สต็อกสินค้า 
  • ธุรกิจบริการ
  • ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
  • ธุรกิจรับจ้างซ่อม
  • ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก

AccCloud มีระบบอะไรบ้าง

  • ระบบติดตามงานช่าง
  • ระบบติดตามพนักงานขาย
  • ระบบบริหารการผลิต
  • ระบบโปรแกรมบัญชี
  • ระบบเชื่อมต่อ Lazada, Shopee
  • เชื่อมต่อ SalePage
  • ระบบเงินเดือนและลงเวลาทำงาน
  • ระบบขายหน้าร้าน (POS)
  • ระบบงานบัญชี
  • ระบบงานการเงิน
  • ระบบคลังสินค้า

ข้อดีของการใช้โปรแกรมบัญชี AccCloud

  • ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้
  • เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสาขา
  • รองรับกับธุรกิจด้านงานบริการ
  • ตอบโจทย์ธุรกิจด้วย User-Oriented
  • แยกประเภทบัญชีอัตโนมัติ
  • พัฒนาระบบอัพเดทได้ตลอดเวลา
  • รองรับการใช้งานบาร์โค้ดผ่านมือถือ

ดังนั้น การเริ่มต้นใช้โปรแกรมบัญชี ต้องเลือกจากโปรแกรมที่มีความน่าเชื่อถือ และไว้วางใจได้ว่าข้อมูลธุรกิจจะไม่หลุดออกไป และมีความปลอดภัยในการปกป้องข้อมูลบัญชีธุรกิจ ต้องได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น โปรแกรมบัญชี AccCloud จึงขอเป็นตัวเลือกให้ผู้เริ่มต้นธุรกิจได้ลองใช้งานกัน

โปรแกรมบัญชี

ข้อดีของการวางแผนทางการเงินก่อนการลงทุน เพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า

การวางแผนเป็นหนึ่งในคุณลักษณะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของตัวเราเองเลยก็ว่าได้  เมื่อพูดถึงเรื่องเงิน การวางแผนต้องเป็นรูปธรรม เนื่องจากมีตัวแปรเพียงพอที่อาจส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินของคุณ เพื่ออนาคตที่ดีมากขึ้น เราต้องเริ่มการวางแผนตั้งแต่วันนี้เลย แม้ว่าหลายคนจะเข้าใจถึงความสำคัญของการวางแผนทางการเงิน แต่มันเป็นเรื่องที่ดีกับตัวเราในอนาคตมากจริงๆนะ จะมีข้อดีแบบไหนบ้างมาดูกัน

ข้อดีของการวางแผนทางการเงินก่อนการลงทุน

1. บรรลุเป้าหมายทางการเงิน

ทุกคนมีเป้าหมายทางการใช้เงิน ยกตัวอย่างการเก็บเงินเพอเที่ยวรอบโรค สร้างบ้าน ปลดหนี้ หรืออื่นๆ การมีเป้าหมายในการเก็บเงินจะช่วยให้เราสามารภวางแผนได้ง่ายมากขึ้น แต่ถ้าเรายังไม่รู้ว่าจะเก็บเงินไปเพื่ออะไร การวางแผนจะยากมาก เพราะเราไม่มีเป้าหมาย ทำให้การวางแผนไม่แม่นยำซะเท่าไหร่

แผนทางการเงินเป็นตัวกำหนดจำนวนเงินที่คุณต้องออม หรือเก็บไว้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ลองกำหนดจำนวนเงินที่ต้องใช่ พร้อมอายุของเราว่าจะต้องบรรลุเป้าหมายตอนไหนดู แค่นี้ก็สามารถ วางแผนการเงินได้ง่ายๆแล้ว

2. การเตรียมพร้อมรับเหตุฉุกเฉิน

อุบัติเหตุ การสูญเสียทางธุรกิจ หรือความเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่เราเองก็ไม่สามารถคาดเดาได้ เป็นอีกหนึ่งในเหตุการณ์ของชีวิตที่ใครก็ไม่อยากเจอ เราควรให้ความสำคัญกับส่วนรี้ด้วยเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม หากไม่มีสถานะทางการเงินที่มั่นคง ค่าใช้จ่ายที่เข้ารับการรักษาตัวเป็นเรื่องที่ยากมาก สำหรับพนังานที่จะจ่ายเงินรวดเดียวหมด

เพราะฉะนั้นแล้วต้องรู้จักการทำเงินประกันแบบระยะยาว ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นจะได้เบาใจในระดับหนึ่ง

โปรแกรมบัญชี

3. ความมั่นคงทางการเงิน

 ความมั่นคงทางการเงินเป็นเป้าหมายของทุกคนในโลกต้องการมากที่สุด ไม่ว่าจะตอนไหนก็ตาม เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระส่วนใหญ่แล้ว ไม่มีความมั่นคงทางการเงินจากเงินเดือนรายเดือน น รายได้ต่อเดือนขึ้นอยู่กับรายได้ธุรกิจในแต่ลละเดือนแทน ทำห้ครอบครัวเป็นกลุ่มที่ไม่มีความมั่นคงทางการเงิน

แต่ว่า ถ้าเรารู้จักวางแปนการเงิน ก็จะสามารถช่วยให้เราสามารถมีความมั่นคงทางการเงินของครอบครัวได้ ด้วยแผนทางการเงินที่ดีเราสามารถประหยัดเงินได้มากพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายรายเดือน แผนทางการเงินสามารถช่วยจัดการเงินของในด้านของธุรกิจให้สามารถมียอดขายเพิ่มขึ้นได้ จากการคำนวณจำนวนเงินที่ปลอดภัยในการลงทุน แยกเงินสำหรับครอบครัวและกำไรออกมาได้ชัดเจนมากขึ้น

4. ความเป็นอิสระทางการเงิน

กระปุกออมสินสอนให้เด็กรู้จักการเก็บเงินไว้ใช่ในเวลาที่จำเป็น อาจเก็บไว้เพื่อซื้อของที่อยากได้ หรือขนม แต่ ในฐานะผู้ใหญ่ทางออกในการอยากได้ของคือการกู้เงิน การทำแบบนี้อาจพ่วงมาด้วยดอกเบี้ยมากมาย ทำให้เราไม่สามารถเก็บเงินไล่ตามความฝันอย่างอื่นได้ทัน

การวางแผนการเงินที่ดี ช่วยให้เราสามารถซื้อสิ่งของที่อยากได้ โดยที่ไม่ต้องกู้ให้เสียดอก เงินส่วนที่ต้องเสียดอกก็สามารถนำมาทำอย่างอื่นได้อีกตั้งเยอะ ทำให้เรามีอิสระทางการเงินมากยิ่งขึ้นนั้นเอง

เคล็ดลับหาเงินทุนทำธุรกิจ เพิ่มโอกาสชีวิตให้ก้าวหน้า

เงินคือปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน อีกทั้งยังสำคัญต่อการทำความฝันต่างๆ ให้เป็นจริง หากเรามีแผนอยากเป็นเจ้าของกิจการ อยากสร้างธุรกิจหรือเป็นผู้ประกอบการอะไรด้วยตนเอง การมีเงินทุนเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย ก่อนการทำธุรกิจจึงต้องคิดแผนการหาเงินทุนให้รอบคอบเสียก่อน ลองวางแผนการทำธุรกิจให้ดี เราต้องการทำอะไร มีแผนยังไงบ้าง หาเงินอย่างไร ใช้จ่ายอย่างไร ศึกษาตลาดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเราให้รอบด้าน เมื่อมีความพร้อมแล้ว เราก็มาเริ่มต้นหาแหล่งเงินทุนกันได้เลย เคล็ดลับการหาเงินทุนทำธุรกิจ คือ

1. เสนอแผนธุรกิจกับสถาบันทางการเงิน ธนาคาร

วิธีนี้เป็นวิธีที่มีความสะดวกและปลอดภัยมาก สถาบันทางการเงินส่วนใหญ่ล้วนพร้อมที่ให้การสนับสนุนในการทำธุรกิจ เพียงแต่มีข้อแม้ว่าแผนธุรกิจของเรานั้นจะต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วน มีความเป็นไปได้ในการสร้างผลกำไร มีความน่าเชื่อถือในการดำเนินงานเพียงพอ เมื่อแผนมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นจริงแล้ว สถาบันก็พร้อมที่จะสนับสนุนให้เราได้รับการอนุมัติสินเชื่อเพื่อไปดำเนินธุรกิจตามที่วางแผนไว้ได้นั่นเอง

2. ขอทุนจากองค์กรที่สนับสนุนการทำธุรกิจ

การขอทุนก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้เรามีทุนในการทำธุรกิจได้ดี โดยที่ไม่ต้องยื่นขอกู้หรือยื่นสินทรัพย์ค้ำประกันในการทำธุรกิจใดๆ แต่แน่นอนว่าการขอทุนล้วนมีเงื่อนไขของมัน ก่อนอื่นเราต้องศึกษาก่อนว่าธุรกิจของเราสามารถขอทุนจากองค์กรไหนได้บ้าง เพราะแต่ละองค์กรก็จะมีเงื่อนไขหรือแนวทางในการให้ทุนที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่เหมือนกันเลยก็คือเราจะต้องเตรียมแผนธุรกิจให้พร้อม เพื่อให้องค์กรเหล่านั้นสามารถตรวจสอบแผนการทำธุรกิจของเราได้ตลอดเวลา

3. แข่งขันประกวดแผนธุรกิจกับโครงการต่างๆ

เมื่อมีแผนในการทำธุรกิจแล้ว เรามีความมั่นใจกับแผนของเราหรือเปล่า ถ้ามั่นใจแน่ๆ ว่าแผนนี้แหละดีแล้ว ไม่แพ้ใครๆ การส่งแผนธุรกิจไปประกวดก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะยุคนี้มีโครงการการแข่งขันอยู่มากมาย หากเราต้องการเงินทุนมาใช้จ่ายก็ควรเปิดโอกาสให้ตัวเองไปแข่งขันบ้างสักครั้ง โชคดีอาจได้รับรางวัลเป็นเงินทุนมากมาย ช่วยให้เรามีเงินในการทำธุรกิจได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องไปกู้ยืม

4. สร้างทุนจากการพรีออเดอร์สินค้า

สินค้ามากมายในยุคนี้มีการเปิดขายแบบพรีออเดอร์ ซึ่งเป็นการให้ผู้ซื้อชำระเงินล่วงหน้าก่อนที่จะได้สินค้า โดยผู้ดำเนินการจัดซื้อก็จะช่วยอำนวยความสะดวกในการสั่งสินค้าและจัดส่งให้ การทำธุรกิจประเภทนี้จะไม่ต้องใช้ทุนในการซื้อสินค้าเข้าสต็อกก่อน ลดปัญหาการขายสินค้าไม่ออก โดยเรามีหน้าที่เพียงสั่งซื้อและจัดส่งตามที่ลูกค้าต้องการเท่านั้น รายได้ที่ได้รับจะเป็นการคิดส่วนต่างจากราคาสินค้าจริง ช่วยให้เราสะสมทุนได้โดยแบกรับความเสี่ยงที่น้อยกว่าการทำธุรกิจอื่นๆ

5. หาหุ้นส่วนร่วมธุรกิจของเรา

หนึ่งในผู้ช่วยเหลือในการทำธุรกิจที่ดีที่สุดก็คือหุ้นส่วน การหาแหล่งเงินทุนก็เช่นกัน ถ้าเรารู้จักผู้คนมากๆ ก็จะเปิดโอกาสให้เราพบเจอคนที่มีความสนใจตรงกันกับเราได้ง่ายขึ้น หากมีใครที่มีแนวคิดความสนใจในการทำธุรกิจแบบเดียวกันกับเรา นั่นก็จะทำให้เราสามารถพูดถึงกับเขาได้ง่ายเพื่อเจรจาขอให้เป็นหุ้นส่วนกับเราได้ แล้วตกลงแบ่งส่วนแบ่งธุรกิจตามเงินลงทุนอีกที แต่ควรตรวจสอบประวัติคนที่จะมาเป็นหุ้นส่วนให้ดีๆ นะ การทำธุรกิจของเราจะได้ไม่เกิดปัญหาในภายหลัง

ก่อนเราจะเริ่มทำธุรกิจใดๆ สิ่งหนึ่งที่ต้องมีให้พร้อมเลยก็คือแผนการสร้างธุรกิจ แล้วจากนั้นก็คือการหาแหล่งเงินทุน หากเรามีแผนธุรกิจพร้อมแล้ว การหาทุนมาประกอบธุรกิจก็จะง่ายขึ้น ใครที่ยังไม่แน่ใจว่าจะหาทุนจากไหน ลองทบทวนแผนธุรกิจของตนเองให้ดี บางทีตัวเลือกต่างๆ ที่เราเสนอไปในบทความนี้อาจจะช่วยให้คุณได้พบกับแหล่งเงินทุนดีๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของคุณก็เป็นได้

วิธีบริหารจัดการเงินสำหรับผู้เริ่มต้นธุรกิจ

การมีธุรกิจเป็นของตนเองนับเป็นหนึ่งในความใฝ่ฝันของใครหลายคน ทว่าการจะดูแลธุรกิจให้เติบโตได้อย่างมั่นคงนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ โดยเฉพาะช่วงแรกเริ่มเป็นช่วงที่มีความท้าทายมาก เจ้าของธุรกิจและผู้ประกอบการควรมีทักษะในการบริหารจัดการเงินที่ดี ไม่เช่นนั้นก็อาจทำให้การดำเนินธุรกิจมีปัญหาติดขัด ไม่สามารถจัดการการทำงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความของเราจึงจะมาแนะนำวิธีบริหารจัดการเงิน เพื่อช่วยให้ผู้ทำธุรกิจทุกคนสามารถดำเนินธุรกิจราบรื่นมากที่สุด ซึ่งมีแนวทางต่างๆ ดังนี้

1. ตรวจสอบบัญชีเงินเข้า-ออกอยู่เป็นประจำ

หากต้องการทำธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือการทำบัญชีบันทึกรายรับและรายจ่ายของธุรกิจเรา วิธีนี้จะช่วยทำให้เราทราบว่าธุรกิจมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากไหน หรือมีรายจ่ายในด้านใดบ้าง หากเกิดความผิดพลาดในการจัดการทางการเงินก็จะสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ทันที

2. บริหารยอดเงินรายรับและรายจ่ายให้สมดุลกับธุรกิจ

การบริหารเงินรายรับและรายจ่ายจะช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างเหมาะสม สามารถควบคุมการใช้เงินได้อย่างเหมาะสม ทุกธุรกิจต้องเน้นในส่วนของเงินรายรับให้มากๆ เพื่อให้องค์กรดำเนินงานต่อไปได้อย่างสมบูรณ์ ยกตัวอย่างรายได้ที่เกิดขึ้นจากธุรกิจ เช่น การขายสินค้า ขายอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ การขายสินทรัพย์ รวมไปถึงการให้บริการที่ก่อให้เกิดเงินเข้ามาในธุรกิจด้วย

ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ เช่น การซื้อของเข้าสำนักงาน การชำระค่าโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์จำเป็นในการทำงาน การจ่ายเงินค่าโฆษณา ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอุปกรณ์ รวมถึงการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับพนักงานอย่างเงินเดือนและสวัสดิการ การควบคุมค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมจำเป็นมาก หากมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ก็จะทำให้ธุรกิจเกิดปัญหา จึงควรระมัดระวังในการใช้จ่ายให้ดี

3. ดูแลบัญชีให้มีเงินหมุนเวียนเพียงพอตลอดเวลา

นอกจากการทำบัญชี การบริหารเงินรายรับและรายจ่ายให้สมดุลกัน อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือการดูแลเงินในบัญชีให้มีเงินหมุนเวียนตลอดเวลา เราควรเตรียมเงินให้พร้อมเสมอสำหรับการดำเนินงานต่างๆ การดูแลให้รายรับกับรายจ่ายอย่างสมดุลกันไม่ได้แปลว่าเราควรมีรายจ่ายเท่ากับรายรับ อย่าใช้จ่ายเงินทุกบาททุกสตางค์ไปจนหมดไม่เหลือติดบัญชีเลย เพราะหากติดปัญหาอะไรจะได้มีเงินสำรองคอยดึงมาใช้จ่ายได้ทันที เน้นให้รายรับมากกว่ารายจ่ายจะดีที่สุด

4. หมั่นปรับแผนทางการเงินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเสมอ

หากเราทำบัญชีและมีการตรวจสอบยอดรายรับรายจ่ายเป็นประจำ เราย่อมรู้ดีว่าธุรกิจมีรายรับส่วนไหนมาจากไหนบ้าง แล้วมีรายจ่ายด้านไหนยังไง แต่ละช่วงของการทำงานจะความเปลี่ยนแปลงทางค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นเสมอ เจ้าของธุรกิจจึงต้องวางแผนการบริหารจัดการเงินให้ดีๆ และคอยปรับเปลี่ยนแผนให้เหมาะสมตามเวลาที่เปลี่ยนไป อย่าวางแผนใดแผนหนึ่งตายตัว เพราะธุรกิจจะต้องมีการเติบโตตลอดเวลา การปรับแผนเป็นประจำจะช่วงให้เราดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การมีธุรกิจเป็นของตนเองจำเป็นต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างยิ่ง การดูแลธุรกิจให้ดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคงก็ยิ่งยากกว่า หากเราเพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจก็ควรศึกษาสิ่งที่จำเป็นต่อธุรกิจอยู่เสมอ เปิดใจให้กับความรู้ใหม่ๆ อีกทั้งควรใจเย็นต่อการทำงาน หมั่นบันทึกรายรับ รายจ่าย ทำบัญชี และวางแผนในทุกการทำงานเสมอ เพราะรากฐานในตอนเริ่มต้นคือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจของเราเติบโตก้าวหน้าขึ้นได้ดี ช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะสำคัญทางบัญชีที่ผู้ประกอบการทุกคนไม่ควรพลาด

ทักษะสำคัญทางบัญชีที่ผู้ประกอบการทุกคนไม่ควรพลาด

การดูแลธุรกิจให้เติบโตและก้าวหน้าอย่างมั่นคงนั้น ถือเป็นเป้าหมายหนึ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนล้วนมุ่งมั่นที่จะทำให้ถึงจุดนั้น แต่ด้วยการแข่งขันที่สูงมากขึ้นในแต่ละวัน หากบริษัทไม่มีการปรับตัวให้เหมาะสมก็อาจจะทำให้เสียโอกาสในการทำงาน ไม่อาจก้าวตามโลกได้ทันก็เป็นได้ หากเราอยากให้ธุรกิจของเราดำเนินงานได้อย่างมรประสิทธิภาพแล้ว เราควรให้ความสำคัญกับการทำบัญชีให้มากๆ และหมั่นฝึกฝนทักษะที่จำเป็นต่อการบัญชี เพื่อให้องค์กรของเรามีทักษะที่เข้มแข็งมากพอที่จะบริหารธุรกิจต่อไปได้ ทักษะทางบัญชีที่สำคัญ มีดังนี้

 

1.มีทักษะด้านการทำงานบัญชีแต่ละระบบเป็นอย่างดี เช่น ระบบซื้อ-ขาย การจัดการคลัง

 

การทำงานด้านบัญชีนั้นจะมีอยู่หลายส่วน แต่ละส่วนทำงานแยกกันเป็นระบบ เพื่อให้บริษัทหรือองค์กรบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร้อุปสรรคปัญหา ทักษะแต่ละด้านในการบัญชีจึงสำคัญมาก ทั้งการดูแลระบบซื้อ ระบบขาย ระบบสินค้าคงคลัง ระบบการผลิต ระบบบัญชี ระบบภาษี หากขาดทักษะในระบบใดระบบหนึ่งไปก็อาจทำให้ไม่สามารถทำงานด้านบัญชีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ผู้ประกอบการทุกคนจึงควรศึกษาให้เข้าใจงานบัญชีอย่างรอบด้าน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น

 

2.มีทักษะด้านกระบวนการทำบัญชี การบันทึก ลงข้อมูลบัญชี

 

หากเราต้องการทำธุรกิจให้ก้าวหน้าและมีผลกำไร การบันทึกข้อมูลบัญชีอย่างถูกต้องนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ข้อมูลตัวเลขค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งต้นทุน ค่าดำเนินงาน รายได้ ผลกำไร ผลตอบแทนธุรกิจ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราเห็นผลลัพธ์ของการทำธุรกิจได้ชัดเจนขึ้น สะดวกต่อการวางแผนงานต่างๆ ในอนาคต

 

3.มีทักษะในการวิเคราะห์และบริหารค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสม

 

เมื่อเรามีการทำบัญชีแล้ว ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในบัญชีจะเป็นแนวทางที่ช่วยให้เราบริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ผู้ทำธุรกิจทุกคนก็ควรมีทักษะความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นอย่างดีด้วย จึงจะช่วยให้นำข้อมูลทางบัญชีไปใช้ได้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ยิ่งมีทักษะการวิเคราะห์และการบริหารค่าใช้จ่ายมากเท่าไร โอกาสที่ธุรกิจจะเจริญเติบโตไปได้ไกลก็มีมากเท่านั้น

 

4.มีทักษะด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับการทำบัญชี

 

ความรู้ด้านกฎหมายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการทำธุรกิจ ยิ่งเป็นการทำบัญชีด้วยแล้ว หากลงข้อมูลผิดพลาดก็อาจเป็นผลเสียต่อบริษัทหรือองค์กรของเราอย่างไม่ตั้งใจขึ้นมาได้ นักบัญชีที่ดีต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายด้านบัญชีบ้าง เพื่อให้สามารถจัดการการทำบัญชีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย กรณีที่มีการทำรายงานการจัดซื้อ การขาย การจ่ายภาษี นักบัญชีที่มีทักษะนี้ก็จะสามารถทำงานได้อย่างไม่มีปัญหา

 

5.มีทักษะในการบริหารจัดการและประสานงานที่ข้องเกี่ยวกับการทำบัญชี

 

การทำบัญชีเป็นงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับการทำงานหลายด้าน หากขาดทักษะการบริหารหรือการประสานงานแล้ว การจะดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพก็จะเป็นไปได้ยาก ดังนั้น ผู้ประกอบการทุกคนจึงควรมีทักษะในด้านนี้ให้มากๆ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพสูงสุด

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานบัญชีเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจของเราบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาการขาดทุน ป้องกันการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า ช่วยให้การดำเนินงานมีความงเหมาะสมมากขึ้น ช่วยให้การดูแลด้านการซื้อ-ขาย การจัดการคลัง การจ่ายภาษี มีการดำเนินงานที่ดี ถูกต้องตามหมาย ช่วยลดปัญหาความขัดแย้งในองค์กร เมื่อเรามีทักษะเหล่านี้ครบถ้วนแล้ว ธุรกิจของเราก็จะเจริญเติบโตและก้าวหน้าอย่างมั่นคงได้เป็นอย่างดีนั่นเอง

การทำบัญชีชุดเดียว

การทำบัญชีชุดเดียวคืออะไร มีข้อดียังไงบ้าง­­

ธุรกิจและการทำบัญชีนับว่าเป็นของคู่กันที่ขาดกันไม่ได้ เมื่อเราเริ่มต้นบริษัทหรือองค์กรอะไรสักอย่างขึ้นมา เราก็จะต้องมีเงินทุนตั้งต้น เงินในการดำเนินงาน และมีค่าใช้จ่ายอีกมากมายหลายอย่าง ซึ่งกว่าที่เราจะบรรลุเป้าหมายของธุรกิจของเราได้นั้น หากไม่มีการบริหารจัดการทางการเงินที่ดีพอก็อาจจะทำให้เกิดผลเสียขึ้น ยอดเงินที่ลงทุนลงแรงไปก็อาจจะเสียเปล่า ขาดทุน ไม่มีผลกำไรกลับคืนมา วิธีป้องกันปัญหาก็คือการทำบัญชี ซึ่งจะช่วยให้เราเห็นถึงข้อมูลตัวเลขและความเป็นไปในธุรกิจได้อย่างชัดเจน ยิ่งถ้าต้องการดูผลลัพธ์ของธุรกิจแบบสรุปทุกข้อมูลเอาไว้ เราก็ควรจัดเก็บข้อมูลแบบบัญชีชุดเดียว


มารู้จักกับบัญชีชุดเดียว


บัญชีชุดเดียว คือ การจัดทำบัญชีโดยรวบรวมข้อมูลการทำบัญชีต่างๆ เช่น ข้อมูลรายรับ รายจ่าย และเอกสารทางการเงิน มารวมเข้าไว้ในบัญชีเดียว มีการจัดลงข้อมูลเอกสารการลงบัญชีอย่างชัดเจน ไม่มีการหลบเลี่ยงหรือแยกบัญชีเพื่อหนีภาษี ข้อมูลบัญชีชุดเดียวจะมีความครบถ้วน สมบูรณ์ สามารถนำไปยื่นเสียภาษีอากรได้ถูกต้องตามกฎหมาย


ข้อดีของบัญชีชุดเดียว


1. ตรวจสอบบัญชีง่าย สามารถเช็คข้อมูลกำไร-ขาดทุนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว


เป้าหมายหลักของการทำบัญชี คือ การเก็บข้อมูลการเงินเพื่อให้บริหารจัดการงานด้านการเงินของบริษัทได้อย่างเหมาะสม ซึ่งบัญชีจะมีการลงข้อมูลค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งรายรับ รายจ่าย ต้นทุน ผลกำไร ยอดขาย ผลลัพธ์ของการลทุน พร้อมสรุปผลให้เห็นเป็นตัวเลขอย่างชัดเจน เมื่อเรารู้ข้อมูลเหล่านี้อย่างละเอียดก็จะบริหารงานได้ง่าย สามารถเช็คข้อมูลความถูกต้องของบัญชีได้ตลอดเวลา


2. ช่วยให้ประเมินผล และวางแผนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การทำบัญชีนั้นจะช่วยให้เราเห็นผลชัดเจนว่าธุรกิจของเรามีผลกำไรมาน้อยเพียงใด แผนการดำเนินงานของบริษัทหรือองค์กรควรจะปรับเปลี่ยนไปในทิศทางไหนบ้าง เมื่อเรารู้ตัวเลขต้นทุน ค่าใช้จ่าย เราก็จะรู้ว่าควรมีการปรับแผนให้เหมาะสมมากขึ้นอย่างไรบ้าง ซึ่งจะช่วยให้การทำงานของบริษัทมีประสิทธิภาพมากขึ้น


3. สร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัท สามารถกู้สินเชื่อได้ตามจริง


บริษัทหรือองค์กรที่มีการทำบัญชีชุดเดียวจะมีความน่าเชื่อถือกว่าการทำบัญชีทั่วไป เพราะบัญชีเดียวมีข้อมูลรายละเอียดครบถ้วน เมื่อต้องการยื่นกู้สินเชื่อก็มีความน่าเชื่อถือ จึงมีโอกาสมากที่ธนาคารจะอนุมัติการกู้ให้กับเรา ต่างจากบัญชีที่มีการตกแต่งบัญชีอย่างผิดปกติ บัญชีเหล่านี้ที่สุ่มเสี่ยงต่อการโดนตรวจสอบและอาจติดแบล็คลิสต์จากธนาคาร


4. วางแผนภาษีได้ง่าย คิดภาษีธุรกิจโดยตรงได้แบบไม่เกิดปัญหา


บัญชีชุดเดียวเป็นการรวบรวมข้อมูลของการทำบัญชีของบริษัททั้งหมดไว้ในที่เดียว เมื่อเราจำเป็นจะต้องคำนวณค่าใช้จ่ายของภาษีก็สามารถนำข้อมูลตรงนี้ไปคิดได้ทันที ไม่ต้องปวดหัวกับการรวมตัวเลขที่ซับซ้อนอีกต่อไป ช่วยให้สามารถจัดการกับภาษี ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจ และวางแผนค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว


5. ไม่ถูกตรวจสอบบัญชีย้อนหลัง


เมื่อคุณจัดทำบัญชีชุดเดียวแล้ว ข้อมูลทางบัญชีนั้นถือเป็นข้อมูลที่มีความละเอียด ครบถ้วน และชัดเจน สามารถตรวจสอบได้ง่าย จ่ายภาษีได้อย่างถูกต้อง ไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย ภาครัฐจึงมีมาตรการยกเว้นการตรวจสอบบัญชีย้อนหลังให้แก่บริษัทหรือองค์กรที่มีการจัดทำบัญชีชุดเดียว คุณจึงไม่ต้องกังวลกับปัญหาภาษีย้อนหลังเลย
การทำบัญชีชุดเดียวถือเป็นวิธีการหนึ่งที่ทุกธุรกิจควรนำไปปรับใช้ เพราะช่วยให้ธุรกิจและองค์กรของคุณสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจได้ง่ายขึ้น สามารถคำนวณเงินต้นทุน เงินลงทุน ยอดผลกำไร ขาดทุน ยอดโบนัส ผลประกอบการต่างๆ รวมถึงบริหารข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีได้อย่างเป็นระบบ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความซ้ำซ้อนจากงานต่างๆ เพิ่มโอกาสให้ธุรกิจก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว

3 คุณสมบัติสำคัญที่จำเป็นต่อโปรแกรมบัญชีในยุคดิจิทัล

3 คุณสมบัติสำคัญที่จำเป็นต่อโปรแกรมบัญชีในยุคดิจิทัล

โปรแกรมบัญชี หรือ ระบบซอฟต์แวร์ที่เก็บข้อมูลหรือค้นหาแบบข้อมูลที่สำคัญแบบเรียลไทม์ ที่หลายองค์กรมักนำมาใช้ในปัจจุบัน และข้อดีอื่นๆของโปรแกรมบัญชีก็คือ ช่วยลดขยะที่เป็ฯข้อมูลสำคัญในองค์กร ลดการผิดพลาดในการทำงาน รวมไปถึงสามารถตรวจอบข้อมูลย้อนหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังตอบโจทย์ทั้งธุรกิจขนาดเล็ฏ ขนาดกลาง ไปจนถึงขนาดใหญ่ และในปัจจุบันที่เป็นยุคดิจิทัล หลายๆองค์กรก็มองหาโปรแกรมบัญชี แต่ก่อนที่เราจะขยับขยายในด้านเทคโนโลยี เราจึงจำเป็นต้องมี 3 คุณสมบัติสำคัญ ที่จำเป็นต่อโปรแกรมบัญชีในยุคดิจิทัล ไปดูกันว่าจะมีอะไรบ้าง


1.องค์กรและบุคลากรมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง

 

ยุคดิจิทัลหรือยุคออนไลน์ แน่นอนอยู่แล้ว่าองค์กรของคุณ จะต้องมีการใช้การเก็บข้อมูลแบบเก่ามาสักระยะหนึ่ง เพราะฉะนั้นการปรับตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นคุณสมบัติข้อที่สำคัญมาก เพราะหากไม่มีความพร้อม โปรแกรมบัญชีก็เป็นเพียงซอฟแวร์ที่เพิ่มความยุ่งยากให้กับคุณเท่านั้น โปรแกรมบัญชีในยุคดิจิทัล เป็นแบบระบบเป็นออนไลน์ เพือให้เหมาะกับการใช้งานในุคดิจิทัล เพื่อเข้ามาช่วยธุรกิจขององค์กรนั้นๆ และยังสามารถทำงานได้ตลอดเวลา เพียงมีอินเตอร์เน็ต ก็สามรถทำงานได้จากทุกทาง ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือหรือแล็ปท็อป ผู้บริหารหรือบุคลากรผู้มีความเกี่ยวข้อง สามารถดูข้อมูลได้อย่างเรียลไทม์ และทำงานได้อย่างทันถ่วงที เพราะฉะนั้นการมีความพร้อมจึงจำเป็นอย่างมากจริงๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงเช้าสู่ยุคดิจิทัลที่แท้จริง

 

2.พร้อมรับกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในการใช้โปรแกรมบัญชี

 

เรื่องนี้ก็เป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างมากในองค์กรเช่นกัน และจะเชื่อมโยงไปถึงขนาดขององค์กรที่ต้องใช้โปรแกรมบัญชี เพราะในบางครั้งบริษัทนาดเล็กที่ยังไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่าย ต่อการนำโปรแกรมบัญชีมาใช้ ก็ควรจะมีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน แต่หากองค์กรขนาดเล็กแต่มีงบประมาณ ก็สามารถพิจารณาการใช้โปรแกรมบัญชีได้เช่นกัน โปรแกรมบัญชีออนไลน์ในยุคดิจิทัล จะมีค่าบริการแรกเข้า ค่าบริการรายเดือนในการดูแล ทั้งนี้ราคาหรือส่วนลด ก็ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการที่คุณเลือกใช้โปรแกรมบัญชี เพราะฉะนั้นแล้วการวางแผนงบประมาณที่จะต้องใช้สำหรับการใช้โปรแกรมบัญชี จึงเป็นคุณสมบัติที่สำคัญเช่นกัน

 

3.เตรียมข้อมูลสำคัญแผนกบัญชีขององค์กรให้พร้อม

 

ข้อสุดท้ายของคุณสมบัติสำคัญที่จำเป็นต่อการใช้โปรแกรมบัญชีในยุคดิจิทัล ข้อนี้มีความสำคัญอย่างมากเช่กัน ข้อมูลที่สำคัญด้านบัญชีในองค์กร เป็นสิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลสินค้า ข้อมูลรายรับ-รายจ่าย , ข้อมูลลูกหนี้-เจ้าหนี้ , ข้อมูลคู่ค้า , ข้อมูลกำไร , ข้อมูลสถิติ และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวกับด้านบัญชีที่องค์กรคุณมี ข้อมูลเหล่านี้คุณควรจะต้องตรวจสอบให้ถี่ถ้วนและครบถ้วน เพราะจะเป็นข้อมูลสำคัญที่ต้องอัปโหลดเข้าไปยังโปรแกรมบัญชีออนไลน์ จึงจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบให้ดีง่าไม่มีอะไรตกหล่นหรือผิดพลาด หากข้อมูลมีความพร้อม จะทำให้การใช้งานโปรแกรมบัญชีง่ายขึ้นอย่างมาก

การใช้โปรแกรมบัญชีในยุคดิจิทัล เป็นการลดขั้นตอนของการดำเนินงานในเรื่องต่างๆ ประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น อีกทั้งยังช่วยลดขยะอีกด้วย องค์กรของคุณจะได้รับข้อมูลของตัวเลขที่ถูกต้อง สรุปค่าใช้ กำไรสุทธิได้อย่างแม่นยำ ทำให้คุณได้ห็นภาพรวมขององค์กร อีกทั้งเรื่องภาษีที่คุณมองว่ายุ่งยาก ก็จะเป็นเรื่องง่ายเมื่อคุณเลือกใช้โปรแกรมบัญชี 3 คุณสมบัติง่ายๆแต่จำเป็นที่คุณต้องมี จะทำให้องค์กรของคุณเติบโตและพัฒนาไปข้างหน้าพร้อมๆกับยุคดิจิทัล หากคุณกำลังมองหาโปรแกรมบัญชี ที่ดีที่สุดในยุคนี้ สามารถปรึกษา acccloud.tech ได้ทุกเมื่อ

Education Template

Scroll to Top