เคล็ดลับธุรกิจ

ธุรกิจล้มเหลว เสี่ยงลงทุนไม่รอด หากยังทำ 7 พฤติกรรมเหล่านี้

การลงทุน มักควบคู่กับความเสี่ยงเสมอ ยิ่งเราลงทุนมากแค่ไหน เราก็ต้องเสี่ยงที่จะขาดทุนได้เช่นกัน ยิ่งในด้านการตลาด มักจะเจอความเสี่ยงในการลงทุนได้ตลอดเวลา แต่ใช่ว่าการลงทุน จะไม่ไดผลตอบแทนเสมอไป ยิ่งเราเลือกที่จะลงทุนในช่วงตลาดขาขึ้น ก็ทำให้ได้ผลตอบแทนที่เกินเป้าหมายได้เช่นกัน แต่ก่อนจะเริ่มลงทุนนั้น ต้องรู้ถึงความเสี่ยงจาก 7 พฤติกรรมดังนี้ก่อน

รวม 7 พฤติกรรม เสี่ยงลงทุนไม่รอด

1. ทุ่มหมดตัว กล้าได้กล้าเสีย

การลงทุนแบบเทหน้าตัก หรือลงทุนแบบหมดตัว เพราะหวังว่าจะได้กลับคืนมาเท่าตัว เป็นความคิดที่ผิดมาก เพราะการลงทุน คือการแบ่งเงินส่วนต่าง ๆ ไปลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยง ดังนั้น ควรจะแบ่งสัดส่วนเงินในการลงทุนให้พอดี เพื่อกันปัญหาขาดทุนในอนาคต

2. เชื่อข่าวลือที่ไม่มีมูลความจริง

หากเชื่อข่าวที่พบเห็นได้ง่าย และไม่ได้มีการคัดกรอง เสี่ยงไม่น้อยที่จะทำให้ขาดทุนได้เช่นกัน ดังนั้นหากเจอข่าวลือ ให้ควรศึกษาอย่างถี่ถ้วนทุกครั้ง และไม่ควรเชื่อเสมอไป

3. ลงทุนโดยไม่ศึกษาให้ครบถ้วน

การตลาดเป็นสิ่งไม่แน่นอนและคงที่ หากเราลงทุนในสิ่งที่เรายังไม่เข้าใจดี ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน เนื่องจากความไม่เข้าใจทางการตลาดของธุรกิจนั้น ๆ ก็ทำให้การลงทุนติดลบ หรือขาดทุนได้ในที่สุด ดังนั้นเป็นไปได้ ควรศึกษาอย่างถี่ถ้วน ครบทุกความเข้าใจก่อนเริ่มการลงทุน

4. ไม่ติดตามข่าวสาร

เนื่องจากการตลาดมีการเคลื่อนไหวไม่แน่นอน และผันผวนแทบตลอดเวลา การไม่ติดตามข่าวสารด้านการตลาดเลย ทำให้พลาดสิ่งสำคัญในการลงทุนได้ ดังนั้น ควรติดตามข่าวสารด้านการตลาดอย่างน้อย 2 – 3 วัน หรือเป็นไปได้ก็ลองดูการตลาดในทุก ๆ วัน เพื่อให้ทันข่าวสารด้านนี้อย่างหมดจด

5. ไม่อดทนต่อการลงทุน

เนื่องจากการลงทุน มักคู่กับความเสี่ยง มีขาดทุนบ้าง ได้ผลตอบแทนบ้าง แต่หากเลือกที่จะทำไม่นาน แล้วหยุดไปเลย ก็อาจทำให้เสียโอกาสในการลงทุนได้ ดังนั้นนักลงทุนควรเข้าใจในธรรมชาติของการลงทุน มเสียบ้าง ก็ต้องมีได้บ้างเป็นเรื่องปกติ และยิ่งลงทุนเป็นเวลานาน โอกาสในการขาดทุนก็ยิ่งน้อยลงเช่นกัน 

6. กลัวการลงทุน

หากกลัวในการลงทุนว่าจะเสี่ยงขาดทุนมากแค่ไหน ก็ยิ่งเสียโอกาสในช่วงขาขึ้นของการตลาด แต่ให้เข้าใจไว้เสมอ ว่ายิ่งเราศึกษาการลงทุนดีแค่ไหน โอกาสในการขาดทุนก็ยิ่งน้อยลงแค่นั้น และเข้าใจในธรรมชาติของการตลาด แล้วเราจะค่อย ๆ หายกลัวในการลงทุนได้เอง

7. มั่นใจในการลงทุนมากเกินไป

การมั่นใจในการลงทุนก็ไม่ใช่เรื่องที่แย่ แต่หากมั่นใจเกินไป โดยไม่ได้นึกถึงการตลาดที่มักเปลี่ยนไปได้ทุกเวลา ก็เสี่ยงขาดทุนได้เช่นกัน ดังนั้นการลงทุน ควรลงทุนแค่พอดี เพื่อผลตอบแทนที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ 

การได้รู้ว่าพฤติกรรมแบบไหนที่เสี่ยงทำให้การลงทุนมีความเสี่ยง ก็ควรหยุดและค่อย ๆ ปรับตัวไปกับการลงทุนนั้น ๆ แต่ต้องเข้าใจธรรมชาติของการตลาดเสมอ ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ลงทุน ไม่ควรใจร้อนจนเกินไป เพื่อให้การลงทุนมีความเสี่ยงที่น้อยที่สุด และได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด

อยากเป็นเจ้าของธุรกิจต้องรู้ ประเภทของการจดทะเบียนธุรกิจมีอะไรบ้าง

ทุกวันนี้ไม่ว่าใครก็ใฝ่ฝันอยากที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจของตนเองกันทั้งนั้น หากเรามีแผนที่จะขายสินค้าหรือบริการบางอย่างก็ควรจะมีการจดทะเบียนธุรกิจ เพื่อให้การดำเนินการต่างๆ ของเราเป็นไปในนามของบริษัทหรือทะเบียนพาณิชย์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการบริหารจัดการธุรกิจ ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ทำให้ธุรกิจของเราสามารถเติบโตได้ดียิ่งขึ้น แต่ก่อนที่เราจะจดทะเบียนธุรกิจ เราควรมารู้จักกับประเภทของการจดทะเบียนธุรกิจก่อน มีอะไรบ้าง มาดูกันเลย

ประเภทการจดทะเบียนธุรกิจ

การจดทะเบียนธุรกิจสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท นั่นคือ 1. การจดทะเบียนพาณิชย์ สำหรับบุคคลธรรมดา และ 2. การจดทะเบียนบริษัท สำหรับนิติบุคคล แต่ละประเภทจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. การจดทะเบียนพาณิชย์ สำหรับบุคคลธรรมดา

การจดทะเบียนพาณิชย์เป็นการจดทะเบียนที่เหมาะกับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่เป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งอาจเป็นการประกอบอาชีพ เช่น การขายสินค้าทั่วไปโดยมีหน้าร้านเป็นของตัวเอง การขายของออนไลน์ ตัวแทนขายสินค้า/บริการผ่านเว็บไซต์ ขายของผ่านแพลตฟอร์มบน Social Media เป็นต้น

2. การจดทะเบียนบริษัท สำหรับนิติบุคคล

การจดทะเบียนบริษัทเหมาะกับธุรกิจหลายระดับที่มีเจ้าของหรือผู้ลงทุนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป หากต้องการให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดได้ก็ควรมีการจดทะเบียนบริษัท การจดทะเบียนประเภทนี้จะทำให้บริษัทมีสถานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งจะมีภาระการจัดการที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ เช่น การจัดทำบัญชี การเสียภาษี และยื่นประกันสังคม การจดทะเบียนบริษัทยังสามารถแย่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญ

ห้างหุ้นส่วนสามัญเป็นการทำธุรกิจที่แบบมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งหุ้นส่วนแต่ละคนสามารถเข้ามามีบทบาทในการจัดการกับธุรกิจและแบ่งปันผลกำไรได้ ถือว่ามีภาระหน้าที่ร่วมกันทั้งในส่วนของผลกำไรและหนี้สินของกิจการ หากไม่ได้จดทะเบียนบริษัทจะนับเป็นบุคคลธรรมดา แต่ถ้าจดทะเบียนแล้วจะมีสภาพเป็นนิติบุคคล

  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะมีความแตกต่างจากห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ การแบ่งภาระความรับผิดชอบของหุ้นส่วนจะมีการกำหนดข้อจำกัด และไม่จำกัด เกี่ยวกับหนี้สินของกิจการไว้ด้วย หุ้นส่วนแต่ละคนจะรับผิดชอบหนี้สินไม่เกินจำนวนเงินลงทุนของตนเอง

  • บริษัทจำกัด

บริษัทจำกัดเป็นธุรกิจที่ต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 3 ขึ้นไป และจดทะเบียนนิติบุคคลให้เรียบร้อย ทุกคนมีภาระการรับผิดชอบหนี้สินแบบ จำกัด การจดทะเบียนบริษัทจะช่วยให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้ก้าวหน้าได้ดีมากกว่าการทำธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา

การจดทะเบียนบริษัทอาจมีขั้นตอนที่ค่อนข้างยุ่งยาก และเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องเยอะ แต่อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนธุรกิจย่อมมีข้อดีกว่าไม่จดเลย เพราะถ้าเราอยากให้ธุรกิจเติบโต เป็นที่รู้จัก และได้รับการยอมรับในวงกว้าง การจดทะเบียนธุรกิจนี่แหละเป็นทางเลือกที่ดีและคุ้มค่าที่สุดแล้ว

ทำไมธุรกิจต้องปรับมาใช้โปรแกรมบัญชีแบบออนไลน์

เนื่องจากธุรกิจบัญชี เริ่มเติบโตมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และด้วยเมื่อก่อนการทำบัญชีด้วยระบบมือ ค่อนข้างใช้เวลานาน ล่าช้า และมีโอกาสผิดพลาดได้ง่าย 

โปรแกรมบัญชีออนไลน์ จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานในด้านธุรกิจบัญชีโดยเฉพาะ ทำให้นักบัญชีสามารถจัดการการทำบัญชีได้ง่ายมากขึ้น มีความแม่นยำในการทำบัญชีมากขึ้น ช่วยให้สามารถส่งออกรายได้ ค่าใช้จ่าย และรักษาข้อมูลบัญชี รวมทั้งสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทำงานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้หลายประเภท เช่น เครื่อง pc โน้ตบุ๊ค แล็บท็อป และสมาร์ทโฟน ไม่ต้องพกสมุดบัญชีเล่มใหญ่ให้เหนื่อยอีกต่อไป

โปรแกรมบัญชีออนไลน์คืออะไร

เป็นโปรแกรมที่ช่วยจัดการบันทึกข้อมูลบัญชีออนไลน์ได้ครบวงจร ควบคุมค่าใช้จ่าย ทำรายรับรายได้ เช็คคลังสินค้า ภาษี และยอดค้างชำระที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำบัญชีต่าง ๆ ของธุรกิจ ประหยัดกำลังคน และกำลังทรัพย์ของธุรกิจได้อีกด้วย ตอบโจทย์นักธุรกิจยุคใหม่เป็นอย่างมาก ทำให้สามารถมองเห็นภาพรวมของกิจการ และสามารถนำข้อมูลนั้น ๆ มาวิเคราะห์และบริหารของงานแต่ละส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำที่สุด

ทำไมต้องใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์

  • โปรแกรมใช้งานง่ายและสะดวกต่อการคีย์ข้อมูล
  • มีความปลอดภัยและแม่นยำสูง
  • ทำงานแบบเรียลไทม์ ใช้งานได้หลายคนในฐานข้อมูลเดียวกัน
  • ค้นหาและตรวจสอบข้อมูลบัญชีได้รวดเร็ว
  • เข้าถึงข้อมูลบัญชีได้ทุกที่ทุกเวลา
  • เจ้าของกิจการสามารถระบุหน้าที่ของผู้ใช้งานฐานข้อมูลได้ เพื่อเป็นการจำกัดสิทธิ์เข้าถึง
  • มีฟังก์ชันการใช้งานด้านบัญชีให้เลือกหลากหลาย ไม่ซับซ้อน
  • ลดต้นทุนในการใช้บุคคากรจำนวนมาก
  • วิเคราะห์ภาพรวมของกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โปรแกรมบัญชี AccCloud ช่วยอะไร

โปรแกรมบัญชี AccCloud คือ โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อช่วยให้ธุรกิจออนไลน์สามารถจัดระเบียบธุรกิจบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ซึ่งโปรแกรมบัญชี AccCloud เหมาะสำหรับธุรกิจระดับกลางจนถึงระดับใหญ่ และโปรแกรมบัญชี AccCloud สามารถเชื่อมต่อช่องทางการขายกับ Lazada และ Shopee ได้ โดยยอดขายจะ Link โดยตรงไปบันโปรแกรม Accloud ได้ในทันที  เหมาะมากสำหรับผู้ที่เริ่มต้นเป็นนักธุรกิจ แต่ยังจัดการบัญชีไม่คล่อง โปรแกรมบัญชี AccCloud จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกให้นักธุรกิจได้ลองใช้งาน

โปรแกรมบัญชี AccCloud เหมาะสำหรับธุรกิจอะไรบ้าง

  • ธุรกิจการผลิต
  • ธุรกิจซื้อขาย สต็อกสินค้า 
  • ธุรกิจบริการ
  • ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
  • ธุรกิจรับจ้างซ่อม
  • ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก

AccCloud มีระบบอะไรบ้าง

  • ระบบติดตามงานช่าง
  • ระบบติดตามพนักงานขาย
  • ระบบบริหารการผลิต
  • ระบบโปรแกรมบัญชี
  • ระบบเชื่อมต่อ Lazada, Shopee
  • เชื่อมต่อ SalePage
  • ระบบเงินเดือนและลงเวลาทำงาน
  • ระบบขายหน้าร้าน (POS)
  • ระบบงานบัญชี
  • ระบบงานการเงิน
  • ระบบคลังสินค้า

ข้อดีของการใช้โปรแกรมบัญชี AccCloud

  • ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้
  • เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสาขา
  • รองรับกับธุรกิจด้านงานบริการ
  • ตอบโจทย์ธุรกิจด้วย User-Oriented
  • แยกประเภทบัญชีอัตโนมัติ
  • พัฒนาระบบอัพเดทได้ตลอดเวลา
  • รองรับการใช้งานบาร์โค้ดผ่านมือถือ

ดังนั้น การเริ่มต้นใช้โปรแกรมบัญชี ต้องเลือกจากโปรแกรมที่มีความน่าเชื่อถือ และไว้วางใจได้ว่าข้อมูลธุรกิจจะไม่หลุดออกไป และมีความปลอดภัยในการปกป้องข้อมูลบัญชีธุรกิจ ต้องได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น โปรแกรมบัญชี AccCloud จึงขอเป็นตัวเลือกให้ผู้เริ่มต้นธุรกิจได้ลองใช้งานกัน

โปรแกรมบัญชี

ข้อดีของการวางแผนทางการเงินก่อนการลงทุน เพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า

การวางแผนเป็นหนึ่งในคุณลักษณะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของตัวเราเองเลยก็ว่าได้  เมื่อพูดถึงเรื่องเงิน การวางแผนต้องเป็นรูปธรรม เนื่องจากมีตัวแปรเพียงพอที่อาจส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินของคุณ เพื่ออนาคตที่ดีมากขึ้น เราต้องเริ่มการวางแผนตั้งแต่วันนี้เลย แม้ว่าหลายคนจะเข้าใจถึงความสำคัญของการวางแผนทางการเงิน แต่มันเป็นเรื่องที่ดีกับตัวเราในอนาคตมากจริงๆนะ จะมีข้อดีแบบไหนบ้างมาดูกัน

ข้อดีของการวางแผนทางการเงินก่อนการลงทุน

1. บรรลุเป้าหมายทางการเงิน

ทุกคนมีเป้าหมายทางการใช้เงิน ยกตัวอย่างการเก็บเงินเพอเที่ยวรอบโรค สร้างบ้าน ปลดหนี้ หรืออื่นๆ การมีเป้าหมายในการเก็บเงินจะช่วยให้เราสามารภวางแผนได้ง่ายมากขึ้น แต่ถ้าเรายังไม่รู้ว่าจะเก็บเงินไปเพื่ออะไร การวางแผนจะยากมาก เพราะเราไม่มีเป้าหมาย ทำให้การวางแผนไม่แม่นยำซะเท่าไหร่

แผนทางการเงินเป็นตัวกำหนดจำนวนเงินที่คุณต้องออม หรือเก็บไว้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ลองกำหนดจำนวนเงินที่ต้องใช่ พร้อมอายุของเราว่าจะต้องบรรลุเป้าหมายตอนไหนดู แค่นี้ก็สามารถ วางแผนการเงินได้ง่ายๆแล้ว

2. การเตรียมพร้อมรับเหตุฉุกเฉิน

อุบัติเหตุ การสูญเสียทางธุรกิจ หรือความเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่เราเองก็ไม่สามารถคาดเดาได้ เป็นอีกหนึ่งในเหตุการณ์ของชีวิตที่ใครก็ไม่อยากเจอ เราควรให้ความสำคัญกับส่วนรี้ด้วยเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม หากไม่มีสถานะทางการเงินที่มั่นคง ค่าใช้จ่ายที่เข้ารับการรักษาตัวเป็นเรื่องที่ยากมาก สำหรับพนังานที่จะจ่ายเงินรวดเดียวหมด

เพราะฉะนั้นแล้วต้องรู้จักการทำเงินประกันแบบระยะยาว ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นจะได้เบาใจในระดับหนึ่ง

โปรแกรมบัญชี

3. ความมั่นคงทางการเงิน

 ความมั่นคงทางการเงินเป็นเป้าหมายของทุกคนในโลกต้องการมากที่สุด ไม่ว่าจะตอนไหนก็ตาม เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระส่วนใหญ่แล้ว ไม่มีความมั่นคงทางการเงินจากเงินเดือนรายเดือน น รายได้ต่อเดือนขึ้นอยู่กับรายได้ธุรกิจในแต่ลละเดือนแทน ทำห้ครอบครัวเป็นกลุ่มที่ไม่มีความมั่นคงทางการเงิน

แต่ว่า ถ้าเรารู้จักวางแปนการเงิน ก็จะสามารถช่วยให้เราสามารถมีความมั่นคงทางการเงินของครอบครัวได้ ด้วยแผนทางการเงินที่ดีเราสามารถประหยัดเงินได้มากพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายรายเดือน แผนทางการเงินสามารถช่วยจัดการเงินของในด้านของธุรกิจให้สามารถมียอดขายเพิ่มขึ้นได้ จากการคำนวณจำนวนเงินที่ปลอดภัยในการลงทุน แยกเงินสำหรับครอบครัวและกำไรออกมาได้ชัดเจนมากขึ้น

4. ความเป็นอิสระทางการเงิน

กระปุกออมสินสอนให้เด็กรู้จักการเก็บเงินไว้ใช่ในเวลาที่จำเป็น อาจเก็บไว้เพื่อซื้อของที่อยากได้ หรือขนม แต่ ในฐานะผู้ใหญ่ทางออกในการอยากได้ของคือการกู้เงิน การทำแบบนี้อาจพ่วงมาด้วยดอกเบี้ยมากมาย ทำให้เราไม่สามารถเก็บเงินไล่ตามความฝันอย่างอื่นได้ทัน

การวางแผนการเงินที่ดี ช่วยให้เราสามารถซื้อสิ่งของที่อยากได้ โดยที่ไม่ต้องกู้ให้เสียดอก เงินส่วนที่ต้องเสียดอกก็สามารถนำมาทำอย่างอื่นได้อีกตั้งเยอะ ทำให้เรามีอิสระทางการเงินมากยิ่งขึ้นนั้นเอง

เคล็ดลับหาเงินทุนทำธุรกิจ เพิ่มโอกาสชีวิตให้ก้าวหน้า

เงินคือปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน อีกทั้งยังสำคัญต่อการทำความฝันต่างๆ ให้เป็นจริง หากเรามีแผนอยากเป็นเจ้าของกิจการ อยากสร้างธุรกิจหรือเป็นผู้ประกอบการอะไรด้วยตนเอง การมีเงินทุนเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย ก่อนการทำธุรกิจจึงต้องคิดแผนการหาเงินทุนให้รอบคอบเสียก่อน ลองวางแผนการทำธุรกิจให้ดี เราต้องการทำอะไร มีแผนยังไงบ้าง หาเงินอย่างไร ใช้จ่ายอย่างไร ศึกษาตลาดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเราให้รอบด้าน เมื่อมีความพร้อมแล้ว เราก็มาเริ่มต้นหาแหล่งเงินทุนกันได้เลย เคล็ดลับการหาเงินทุนทำธุรกิจ คือ

1. เสนอแผนธุรกิจกับสถาบันทางการเงิน ธนาคาร

วิธีนี้เป็นวิธีที่มีความสะดวกและปลอดภัยมาก สถาบันทางการเงินส่วนใหญ่ล้วนพร้อมที่ให้การสนับสนุนในการทำธุรกิจ เพียงแต่มีข้อแม้ว่าแผนธุรกิจของเรานั้นจะต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วน มีความเป็นไปได้ในการสร้างผลกำไร มีความน่าเชื่อถือในการดำเนินงานเพียงพอ เมื่อแผนมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นจริงแล้ว สถาบันก็พร้อมที่จะสนับสนุนให้เราได้รับการอนุมัติสินเชื่อเพื่อไปดำเนินธุรกิจตามที่วางแผนไว้ได้นั่นเอง

2. ขอทุนจากองค์กรที่สนับสนุนการทำธุรกิจ

การขอทุนก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้เรามีทุนในการทำธุรกิจได้ดี โดยที่ไม่ต้องยื่นขอกู้หรือยื่นสินทรัพย์ค้ำประกันในการทำธุรกิจใดๆ แต่แน่นอนว่าการขอทุนล้วนมีเงื่อนไขของมัน ก่อนอื่นเราต้องศึกษาก่อนว่าธุรกิจของเราสามารถขอทุนจากองค์กรไหนได้บ้าง เพราะแต่ละองค์กรก็จะมีเงื่อนไขหรือแนวทางในการให้ทุนที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่เหมือนกันเลยก็คือเราจะต้องเตรียมแผนธุรกิจให้พร้อม เพื่อให้องค์กรเหล่านั้นสามารถตรวจสอบแผนการทำธุรกิจของเราได้ตลอดเวลา

3. แข่งขันประกวดแผนธุรกิจกับโครงการต่างๆ

เมื่อมีแผนในการทำธุรกิจแล้ว เรามีความมั่นใจกับแผนของเราหรือเปล่า ถ้ามั่นใจแน่ๆ ว่าแผนนี้แหละดีแล้ว ไม่แพ้ใครๆ การส่งแผนธุรกิจไปประกวดก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะยุคนี้มีโครงการการแข่งขันอยู่มากมาย หากเราต้องการเงินทุนมาใช้จ่ายก็ควรเปิดโอกาสให้ตัวเองไปแข่งขันบ้างสักครั้ง โชคดีอาจได้รับรางวัลเป็นเงินทุนมากมาย ช่วยให้เรามีเงินในการทำธุรกิจได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องไปกู้ยืม

4. สร้างทุนจากการพรีออเดอร์สินค้า

สินค้ามากมายในยุคนี้มีการเปิดขายแบบพรีออเดอร์ ซึ่งเป็นการให้ผู้ซื้อชำระเงินล่วงหน้าก่อนที่จะได้สินค้า โดยผู้ดำเนินการจัดซื้อก็จะช่วยอำนวยความสะดวกในการสั่งสินค้าและจัดส่งให้ การทำธุรกิจประเภทนี้จะไม่ต้องใช้ทุนในการซื้อสินค้าเข้าสต็อกก่อน ลดปัญหาการขายสินค้าไม่ออก โดยเรามีหน้าที่เพียงสั่งซื้อและจัดส่งตามที่ลูกค้าต้องการเท่านั้น รายได้ที่ได้รับจะเป็นการคิดส่วนต่างจากราคาสินค้าจริง ช่วยให้เราสะสมทุนได้โดยแบกรับความเสี่ยงที่น้อยกว่าการทำธุรกิจอื่นๆ

5. หาหุ้นส่วนร่วมธุรกิจของเรา

หนึ่งในผู้ช่วยเหลือในการทำธุรกิจที่ดีที่สุดก็คือหุ้นส่วน การหาแหล่งเงินทุนก็เช่นกัน ถ้าเรารู้จักผู้คนมากๆ ก็จะเปิดโอกาสให้เราพบเจอคนที่มีความสนใจตรงกันกับเราได้ง่ายขึ้น หากมีใครที่มีแนวคิดความสนใจในการทำธุรกิจแบบเดียวกันกับเรา นั่นก็จะทำให้เราสามารถพูดถึงกับเขาได้ง่ายเพื่อเจรจาขอให้เป็นหุ้นส่วนกับเราได้ แล้วตกลงแบ่งส่วนแบ่งธุรกิจตามเงินลงทุนอีกที แต่ควรตรวจสอบประวัติคนที่จะมาเป็นหุ้นส่วนให้ดีๆ นะ การทำธุรกิจของเราจะได้ไม่เกิดปัญหาในภายหลัง

ก่อนเราจะเริ่มทำธุรกิจใดๆ สิ่งหนึ่งที่ต้องมีให้พร้อมเลยก็คือแผนการสร้างธุรกิจ แล้วจากนั้นก็คือการหาแหล่งเงินทุน หากเรามีแผนธุรกิจพร้อมแล้ว การหาทุนมาประกอบธุรกิจก็จะง่ายขึ้น ใครที่ยังไม่แน่ใจว่าจะหาทุนจากไหน ลองทบทวนแผนธุรกิจของตนเองให้ดี บางทีตัวเลือกต่างๆ ที่เราเสนอไปในบทความนี้อาจจะช่วยให้คุณได้พบกับแหล่งเงินทุนดีๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของคุณก็เป็นได้

การตลาด 4.0 คืออะไร และจะช่วยอย่างไรในธุรกิจเราได้

 
 
 

การตลาด 4.0 เป็นวิธีการทำตลาด แบบonline + offline ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและลูกค้าเข้าด้วยกัน โดยใช้การเชื่อมต่อให้เป็นประโยชน์ในการสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้า เพื่อสร้างแบรนด์ โดยเป็นการกำหนดนิยามใหม่ให้กับการตลาด ซึ่งการตลาด Digital และการตลาดแบบ Traditional จะสามารถดำเนินการควบคู่กันไปในการตลาด 4.0 โดยมีเป้าหมายเพื่อชนะใจลูกค้า “แก่นแท้ของการตลาด 4.0 คือการเข้าใจถึงการเปลี่ยนบทบาทของการตลาดแบบดั้งเดิม ร่วมกับการตลาดดิจิทัลในการสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้า”

 

แนวทางสำคัญของการตลาด 4.0 เริ่มจากการตลาดที่ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ ซึ่งเน้นการทำให้แบรนด์มีคุณลักษณะคล้ายมนุษย์ จากนั้นจะศึกษาเรื่องการตลาดคอนเทนต์ (Content Marketing) ให้ละเอียดยิ่งขึ้นเพื่อสร้างบทสนทนาที่โดนใจผู้บริโภค รวมทั้งการนำการตลาดแบบเข้าถึงแบรนด์ได้ทุกช่องทาง หรือ Omnichannel Marketing มาใช้เพิ่มยอดขาย

 

หลักการของ Thailand 4.0 จะเน้นอยู่ 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ

 

1.) เปลี่ยนแปลงจากการผลิตสินค้าทั่วไป เป็นสินค้าเชิงนวัตกรรมมากขึ้น 2.) มีการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในอุตสาหกรรม 3.) เปลี่ยนจากประเทศที่รับจ้างการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม เป็นการเน้นภาคบริการมากกว่าเดิม

 

5 กลยุทธ์สำหรับ Marketing 4.0

 
โปรแกรมบัญชี AccCloud.co
 
 
 
 

Aware – รู้จักสินค้า Appeal – ชื่นชอบสินค้า Ask – เรียนรู้ (เช็ครีวิว – ถามเพื่อน – โทรติดต่อ call center – เช็คราคา) Act – ซื้อจากร้านหรือออนไลน์ ตัดสินใจใช้บริการ Advocate – ใช้ซ้ำ หรือแนะนำให้คนอื่น กลายเป็นผู้สนับสนุนให้กับแบรนด์

 
 

ดังนั้นเราสามารถปรับแนวคิดของ Marketing4.0 มาใช้ในธุรกิจได้ดังนี้

 
  1. การนำเสนอข้อมูลสินค้าให้ตรงกลุ่ม โดยดูจากข้อมูล

  2. การใช้ข้อมูล และ เครื่องมืออำนวยความสะดวกออนไลน์ ตัวอย่างเช่น การใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ AccCloud ERP เพื่อช่วยในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดเป็นต้น

  3. เมื่อเราทราบข้อมูลแล้ว การมุ่งไปที่กลุ่มเห้าหมายย่อมทำได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

  4. สามารถรับฟังเสียงตอบรับและความคิดเห็นลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น

  5. สามารถสร้างช่องทางการขายออนไลน์ได้ ไม่จำกัด

  6. สามารถใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆในการเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น

สามารถเข้าใช้โปรแกรมบัญชีได้ที่ >>> โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP

 
บทความที่เกี่ยวข้อง
 
 

การแยกประเภทของความรู้สำหรับการจัดการความรู้

การทำงานในยุคปัจจุบันนี้ ความรู้นับเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก เรียกว่าเป็นหัวใจของความสำเร็จในการทำงานทุกประเภท วันนี้ผมจะอธิบายประเภทของความรู้ให้ทุกๆท่านได้ฟังคร่าวๆครับว่า ความรู้มีกี่ประเภทอะไรบ้าง อันไหนเอามาใช้ได้ทันที อันไหนเอามาใช้ได้ไม่ทันที

 

Sallis and Jone (2002)ได้กล่าวไว้ว่า ความรู้นับเป็นสินทรัพย์อันมีค่ายิ่งขององค์กร ในการสร้างสรรค์ และ เพิ่มคุณค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยความรู้อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ความรู้ที่ปรากฏชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดโดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบของเอกสาร ตำรา

 

ทฤษฎี คู่มือ บางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบ “รูปธรรม” และความรู้ซ้อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เป็นภูมิปัญญา พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทําความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็น ทักษะการทํางานงานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์บางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบ “นามธรรม”

 

การนำความรู้ทั้งสองประเภทมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาองค์กร องค์กรจำเป็นต้องมีความตระหนักและกำหนดวิสัยทัศน์ให้ขัดเจนว่า ความรู้เป็นปัจจัยหลักในการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ และ ผู้นำจำเป็นจะต้องเห็นค่าของการจัดการความรู้รวมถึงการมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการสร้างองค์ความรู้

 

วิจารณ์ พานิช (2547) ได้แบ่งความรู้ออกเป็น 3 ประการดังนี้คือ

 

1. ความรู้ที่ไม่ชัดแจ้ง( Tacit Knowledge) ความคิดนี้เกิดขึ้นจากความเชื่อ ประสบการณ์ เป็นข้อสังเกตที่สั่งสมมานานจากการเรียนรู้ที่หลากหลาย จนเชื่อมโยงเป็นความรู้ที่มีคุณค่าสูง และความรู้ที่ฝังลึกนี้ไม่สามารถนำมาเปิดเผยได้ทั้งหมด แต่จะเกิดจากการเรียนรู้ผ่านชุมชน เช่นการสังเกต การ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างการทำงาน

 

2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) หรือความรู้ชัดแจ้งที่รู้กันโดยทั่วไปพบเห็นได้จากในตำรา ในหนังสือ หรือ สื่อต่างๆที่มีการรวบรวมเป็นหมวดหมู่ สามารถเขาถึงและแลกเปลี่ยนได้ง่าย

 

3. ความรู้ที่แฝงอยู่ในองค์กร (Embedded knowledge) เป็นความรู้ที่ถูกแผงอยู่ระหว่างหระบวนการทำงาน คู่มือ และ กฏเกณฑ์ต่างๆ กติกา ข้อตกลง ตารางการทำงานและบันทึกการทำงาน

 

Edvinsson (2002) ได้แบ่งความรู้ออกเป็น 3 ประเภทคือ

 

1. ความรู้เฉพาะบุคคล (individual knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในตัวพนักงานแต่ละคน

 

2. ความรู้ขององค์กร (Organization knowledge) เป็นความรู้ที่เกิดจากการแลกปลี่ยนการเรียนรู้ระหว่างพนักงานในองค์กรทำให้เกิดความรู้ สามารถใช้ประโยชน์ในการทำงานได้มากยิ่งขึ้น และ

 

3. ความรู้ที่เป็นระบบ (Structural Knowledge) เป็นความรู้ที่เกิดจากการสร้าง และต่อยอดองค์ความรู้เดิม

 

Nonaka & Takeuchi (1995) ได้แบ่งประเภทของความรู้เอาไว้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ 1. ความรู้ที่ไม่ชัดแจ้ง (Tacit Knowledge) หรือ ความรู้ที่ไม่สามารถแสดงออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน เป็นความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลเกิดจากประสบการณ์ การเรียนรู้ การกระทำ อาจจะเป็นความเชื่อ หรือ การมีพรสวรรค์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งยากต่อการถ่ายทอดในรูปของตัวอักษร และมีต้นทุนสูงในการถ่ายทอดความรู้ประเภทนี้ อย่างไรก็ดีความรู้ประเภทนี้จะก่อให้เกิดความสามารถในด้านการแข่งขันเนื่องจากความรู้ประเภทนี้อยู่กับคนข้างในองค์กร และ 2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถนำมาแสดงให้บุคคลภายนอกเห็นได้ อาจจะอยู่ในรูปแบบหนังสือ บทความ เอกสาร ตำราต่างๆ ซึ่งจะทำให้คนสามาถเข้าถึงได้ง่าย อย่างไรก็ดี บุญดี บุญญากิจ และคณะ(2549) ได้กล่าวถึงอัตราส่วนระหว่างความรู้ที่ชัดแจงต่อ ความรู้ที่ไม่ชัดแจ้ง เป็น 20:80 ซึ่งเปรียบเสมือนความรู้ในองค์กรที่มีความชัดแจ้งมีอัตราส่วนที่น้อยกว่า ความรู้ที่ไม่ชัดแจ้งมาก

 

 

 

กล่าวโดยสรุป ประเภทของความรู้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆด้วยกันคือ ความรู้ที่เห็นได้ชัดเจน( Explicit Knowledge) ซึ่งหมายถึงความรู้ที่สามารถอธิบายหรือ สื่อมาในรูปแบบของเอกสาร ตำรา บทความหรือรายงาน ต่างๆได้ หรือ แม้กระทั่ง software computer เช่น โปรแกรมบัญชี เป็นต้น และผู้ที่ต้องการเรียนรู้สามารถเข้าถึงได้โดยไม่ยาก และ ความรู้ที่ไม่ชัดเจน ( Tacit Knowledge) หมายถึงความรู้ที่ไม่สามารถสื่อได้ง่าย ความรู้ประเภทนี้เกิดจากตัวบุคคลเอง เช่นประสบการณ์ การกระทำจนชิน การสังเกตจากเหตุการณ์ พรสวรรค์ หรือแม้กระทั่งความเชื่อต่างๆ

 
 
 
 

 

 

ในบทความถัดไปผมจะอธิบายเรื่องของการจัดการความรู้ให้ทุกท่านได้ฟังครับว่า มีวิธีการอย่างไรบ้าง ถึงจะเอาความรู้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

 

 

 

โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP เป็นตัวอย่างนึงของการนำเอาความรู้ ทั้ง Explicit knowledge และ implicit knowledge มาใช้ให้เป็นประโยชน์ภายใต้ Software ที่เก็บรวบรวมองค์ความรู้เอาไว้

 

 

 

ที่มา www.acccloud.tech

องค์ประกอบของการจัดการความรู้

บทความนี้จะยาวหน่อยนะครับ (ตั้งใจเขียนพอสมควร) เรื่องนี้ค่อนข้างจำสำคัญคือองค์ประกอบของการจัดการความรู้ ครับ

 

 

 
 
 
 

 

 

ในการจัดการความรู้โดยทั่วไปมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนคือ คน (man) เทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology-IT) และกระบวนการจัดการความรู้ (process) โดย Awad and Ghaziri (2004) ได้กล่าวถึง ความสำเร็จของความรู้เกิดจากการผสมผสานระหว่างการทำงานของคน กระบวนการ และ เทคโนโลยี มีรายละเอียดดังนี้

 

ก. องค์ประกอบแรกสุดคือ คน (man) ในการจัดการความรู้ คนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เนื่องจากคนเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ส่วนบุคคล (personal knowledge management-PKM) คือ ผู้ซึ่งต้องการจัดการความรู้เพื่อการใช้ประโยชน์กับตัวเอง จึงสามารถจัดการทุกอย่างทุกขึ้นตอนได้เองเป็นส่วนใหญ่ อาจจะมีบ้างที่ต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่น(ศรัญญาภรณ์ , 2554) บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดการความรู้หรือ KM Team ขององค์กรอาจแบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆด้วยกัน คือ ส่วนงานหลักหรือส่วนงานถาวร (core team or permanent team) และส่วนงานชั่วคราว (contemporary team)

 

ส่วนงานหลักหรือส่วนงานถาวรเป็นคณะทำงานที่รับผิดชอบการดำเนินการจัดการความรู้ขององค์กรอย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนงานนี้จะประกอบด้วยบุคลากร 3 ฝ่าย ได้แก่ หัวหน้างาน หรือผู้จัดการความรู้ เป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ซึ่งมีบทบาทในการขุดหา ความรู้ภายในองค์กรออกมาโดยการใช้โครงการการจัดการความรู้ รับผิดชอบในการสร้างวิสัยทัศน์ในสิ่งที่เป็นไปได้ ออกแบบกรอบงานที่ให้ผลคุ้มค่า และ เป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) ประสานงานและการจัดให้มีกิจกรรมการจัดการความรู้ทั้งหมดขององค์กร และบุคลากรกลุ่มที่สอง ได้แก่ หัวหน้างาน (Chief Information Officer- CIO) เป็นผู้รับผิดชอบงานทั้งหมดขององค์กร และ กลุ่มสุดท้ายคือ ตัวแทนจากกลุ่มงานหลักขององค์กร

 

ส่วนงานชั่วคราว เป็นคณะกรรมการที่มาจากกลุ่มเฉพาะ (Tiwanna, 2002: 206) องค์กรต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ขององค์กร คือ กลุ่มผู้ใช้ผลผลิตและบริการขององค์กร จึงควรให้บุคคลเหล่านั้นมาเป็นหุ้นส่วนและร่วมกันวางแผนงานให้กับองค์กร (Rumizen, 2002: 67) นอกจากทีมงานทั้งสองทีมแล้ว บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนโครงการจัดการความรู้ขององค์กรอย่างมากคือ ผู้บริหารสูงสุด (Chief Executive Officer-CEO) โดยปกติจะอยู่ในตำแหน่งที่ปรึกษาโครงการจัดการความรู้

 

ข. องค์ประกอบที่สองคือ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology-IT) สมชาย นำประเสริฐกุล (2546:105) ได้กล่าวว่า ในเรื่องของการจัดการความรู้นั้นมีงานวิจัยเป็นจำนวนมากที่พยายามอธิบายความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้ ดังที่ปรากฎว่าเป็นเรื่องราวจำนวนมากที่แสดงถึงการจัดการความรู้ขององค์กรผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่ากระบวนการจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่ไม่ใช้เทคโนโลยี แต่เทคโนโลยีก็เป็นที่ถูกคาดหมายว่าเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้การจัดการความรู้ประสพความสำเร็จ องค์กรส่วนใหญ่จึงมีการจัดสรรงบประมาณในการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการความรู้ขององค์กร

 

เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการจัดการความรู้ประกอบด้วยเทคโนโลยีในการสื่อสาร (Communication Technology) ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เชียวชาญสาขาต่าง ๆ ในการค้นหาข้อมูล สารสนเทศผ่านเครือข่ายได้ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือโซเชียลมีเดีย เทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน (Collaboration Technology) ช่วยให้สามารถประสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคเรื่องของระยะทาง และเทคโนโลยีในการจัดเก็บ (Storage Technology) ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่าง ให้เป็นระเบียบและสะดวกต่อการค้นหา โดยเทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนช่วยประสาน สนับสนุนและอำนวยความสะดวกกระบวนการจัดการความรู้ ทั้ง 3 ดังนี้

 

การแสวงหาความรู้ เป็นการแสวงหาความรู้ทั้งที่เป็นการหยั่งรู้เอง (Tacit Knowledge) ทักษะ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทั้งนี้ผู้มีประสบการณ์สูง จะมองเห็นแนวโน้มหรือทิศทางความต้องการใช้ความรู้ด้านต่าง ๆ แล้ววางแผนและดำเนินการที่จะจัดหาความรู้นั้น ๆ มา โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทต่าง ๆ เป็นเครื่องช่วยประสานและอำนวยความสะดวก

 

การแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ เป็นการเผยแพร่และกระจายความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ในการนี้ การเรียนรู้จากผู้เชียวชาญจะช่วยให้ผู้ดำเนินการจัดการความรู้มือใหม่ผ่านเครือข่ายการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ

 

การใช้ประโยชน์จากความรู้ การเรียนรู้จะบูรณาการอยู่ในองค์กร มีอะไรอยู่ในองค์กร สมาชิกองค์กรสามารถรับรู้และประยุกต์ใช้สถานการณ์ใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา ทั้งการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ และการใช้ประโยชน์ความรู้ จะเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน

 

อย่างไรก็ตาม ในความหมายของ IT ไมได้หมายถึงเพียงแค่อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หรือซอฟท์แวร์เพียง เท่านั้น แต่ในปัจจุบันได้หมายรวมถึงความสำคัญของคน เป้าหมายที่คนวางหรือกำหนดในการใช้เทคโนโลยีนั้น ๆ คุณค่าในการเลือกใช้เทคโนโลยีตลอดจนเกณฑ์ในการประเมินที่ใช้ในการตัดสินใจในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในงานต่าง ๆ (Zorkoczy, 1984, p.12)

 

ค. องค์ประกอบที่สามคือ กระบวนการจัดการความรู้ (Process)

 

วิจารณ์ พานิช (2549)ได้กล่าวถึงกระบวนการจัดการความรู้ เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาของความรู้ หรือการจัดการ ความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอนดังนี้คือ

 
  1. การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) เป็นการพิจารณาว่าองค์กรเรามีพันธกิจ วิสัยใทัศน์ เป้าหมายอะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด และอยู่ที่ใคร

  2. การสร้างและการแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation & Acquisition) เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว

  3. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต

  4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification & Refinement) เช่นการปรับปรุงเอกสารให้เป็นรูปแบบมาตรฐาน ใช้ภาษาในการสื่อสารเป็นภาษาเดียวกัน ประปรุงเนื้อหาความรู้ให้สมบูรณ์

  5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Dissemination & Access) เป็นการทำให้ผู้ใช้เข้าถึงความรู้อย่างเป็นระบบได้ง่ายและสะดวกขึ้น การกระจายความรู้ให้ผู้อื่นทางช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม

  6. การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) เป็นการนำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนกันด้วยกลยุทธ์ต่าง ๆ เช่น ในกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ คลังความรู้ หรือในกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่ม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ และระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นต้น

  7. การเรียนรู้และการนำไปใช้งาน (Learning & Utilization) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการการจัดการความรู้ เป็นการที่บุคคลเกิดการเรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน และหมุนเวียนไปอย่างต่อเนื่อง

โปรแกรมบัญชี AccCloud.co
 
 

ผ่านประสบการณ์ที่มีผลสำเร็จ ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญที่ได้ผ่านการทดลองใช้มาแล้ว เนื่องจากการเติบโตของความรู้และองค์กรธุรกิจใช้ความรู้มากขึ้น ทำให้ลักษณะการทำงานขององค์กรปลี่ยนไป ลักษณะของงานที่เปลี่ยนแปลง ไปเป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้มีการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมด้วยเช่นกัน

 

ท่านผู้อ่านสามารถดูตัวอย่างการจัดการความรู้ที่ประสบความสำเร็จในรูปของ Software ที่ได้จากองค์ความรู้ ได้ที่ www.acccloud.tech

 

ที่มา โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP

สำรวจตัวเองก่อนจะมาเป็นผู้ประกอบการ

1. เป็นผู้ที่มีเป้าหมายในการทำธุรกิจที่ชัดเจน

 

2. มีความมุ่งมั่นสูงที่จะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ

 

3. มีความอ่อนน้อม ไม่ถือตัว

 

4. เป็นคนที่ใฝ่รู้อยู่เสมอ เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาทำให้สามารถปรับตัวได้เสมอ

 

5. มีภาวะผู้นำ กล้าเสี่ยง และกล้าที่จะตัดสินใจ

 

6. ทำงานเร็ว รวมถึงมีสัมผัสที่เร็วต่อโอกาส ปัญหา และอุปสรรค

 

7. มีความฝัน ความคิดริเริ่ม และความคิดที่จะปรับปรุงสินค้าและบริการให้ดีขึ้นตลอดเลา

 

8. ต้องมีเครือข่ายดี เพื่อที่จะทำให้ได้ประโยชน์ทั้งด้านข้อมูล และการได้รับความ ช่วยเหลือด้านต่าง ๆ จากเพื่อน ๆ หรือเครือข่ายได้เป็นอย่างดี

 

9. ต้องมีความรู้จริง รู้สึก (Knowledge) ในธุรกิจที่ลงทุน

 

10. ไม่คิดว่าธุรกิจที่ทำอยู่เป็นงานที่ต้องทำ แต่เป็นงานที่อยากทำ

 

11. เก่งที่รู้จักเลือกหาทีมงานที่ไว้ใจได้

 

12. มีความรู้สึกยินดี เมื่อต้องให้

 
 
 
 

 

 

 

 

หากท่านสำรวจตัวเองแล้วพบว่ามีเกิน 6 ข้อ แสดงว่า ท่านพร้อมแล้วที่จะเป็นผู้ประกอบการ แล้วจะรออะไรล่ะ เริ่มลงมือได้เลยครับ เริ่มจากหาโปรแกรมบัญชีดีๆ ที่มีไว้ในกิจการ เช่น โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP ก่อนเลยครับ

 

 

 

ที่มา: โปรแกรมบัญชี www.acccloud.co

5 ข้อบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจของเรา

 
 
 
 

5 ข้อบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจของเรา

 

พูดถึงการเปลี่ยนแปลง นับเป็นเรื่องธรรมชาติ เพราะธรรมชาติคือการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในยุคไหนเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร การเปลี่ยนแปลงยิ่งเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้นและรวดเร็วมากขึ้น ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ ไม่เคยมียุคไหนที่มีการเปลี่ยนแปลงได้มากเท่ายุคนี้อีกแล้ว แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่า การเปลี่ยนแปลงมาเคาะประตูบ้านเราแล้วในตอนนี้ ข้อสังเกตมี 5 ข้อนี้ครับ

 
  1. ธุรกิจเริ่มมียอดขายลดลง เช่น ในปีที่แล้ว เดือน มกราคม ธุรกิจเราเคยมียอดขาย 10 ล้านบาท พอมาปีนี้เหลือเพียง 7 ล้านบาท สาเหตุมาจากการที่เรามีคู่แข่งในตลาดหรือไม่ สินค้าของเราเริ่มขายไม่ออก

  2. ธุรกิจเริ่มมีปัญหาเรื่อง พนักงาน เช่น มีการเรียกร้องต่อรองมากขึ้น หรือ มีการโยกย้ายงานมากขึ้น

  3. ธุรกิจเริ่มมีปัญหาด้านการจัดการภายใน มากขึ้น ตัดสินใจผิดพลาดบ่อยขึ้น

  4. ธุรกิจเริ่มมีปัญหาด้านการสื่อสารกับลูกค้า หรือ การพบปะกับลูกค้าไม่ทันเวลา

  5. ธุรกิจมีปัญหาด้านต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

แต่ที่สำคัญที่สุดคือ เจ้าของธุรกิจไม่ทราบว่า ธุรกิจกำลังมีปัญหา ซึ่งโดยมากจะเกิดจากไม่มีข้อมูลที่ถูกต้องให้ทราบ

 

5 ปัจจัยนี้ บ่งบอกถึงว่า เราควรจะปรับตัวได้แล้ว ทั้ง 5 ข้อปัญหาใหญ่ร่วมกันคือ ข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลจากภายใน และ จากภายนอก ถ้าจากภายในก็คือ ข้อมูลการบริหารไม่ถูกต้อง หรือ ไม่ทันท่วงที ทำให้การตัดสินใจต่างๆผิดพลาดไป ส่วนข้อมูลจากภายนอกคือข้อมูลของคู่แข่ง และ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เช่นยุคของ Cloud คู้แข่งทุกรายปรับตัวเองให้ลดต้นทุนต่ำลง ใช้คนน้อยแต่ทำงานได้มากขึ้น ใช้ระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยบริหารจัดการเป็นต้น

 

ข้อมูลจากภายในโดยมากจะมาจากข้อมูลใน โปรแกรมบัญชี ที่ช้าและล้าหลัง ทำให้ตัดสินใจได้ไม่ทันท่วงที ดังนั้นการเลือกโปรแกรมบัญชี ที่จะเข้ามาช่วยธุรกิจจึงสำคัญมากๆ โปรแกรมบัญชีที่ดีต้องมีฟังก์ชั่นลงลึกในรายละเอียด ช่วยในด้านการวิเคราะห์ในเชิงลึกได้ ช่วยกิจการวางแผนการดำเนินงานต่างๆ เช่นวางแผนจัดซื้อวัตถุดิบ วางแผนการผลิตได้ ไม่ใช่แค่เก็บข้อมูลออกงบ เท่านั้น

 
 

โปรแกรมบัญชี AccCloud เป็นโปรแกรมที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ครบถ้วน เป็นโปรแกรมระดับ ERP แต่ราคาระดับโปรแกรมบัญชีทั่วไป แน่นอน สามารถช่วยกิจการในปัจจัยภายในได้100% 

เข้าชมบริการเพิ่มเติมได้ที่ www.acccloud.tech

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Education Template

Scroll to Top