นิติบุคคล

เตรียมความพร้อมก่อนการเปลี่ยนบุคคลธรรมดาให้เป็นนิติบุคคล

ทุกธุรกิจย่อมมีจุดเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ เช่น การเปิดกิจการด้วยตัวคนเดียว เป็นบุคคลธรรมดา แต่เมื่อกิจการเริ่มมีการเติบโต ขยับขยายมากขึ้นก็ต้องเปลี่ยนจาก บุคคลธรรมดามาเป็นนิติบุคคล อาทิเช่น ห้างหุ่นส่วนจำกัด หรือ บริษัทจัดจ้าง ที่มีสเกลกว้างและใหญ่ขึ้น แต่ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนบุคคลธรรมดาให้เป็นนิติบุคคล ควรมีการเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อให้การดำเนินการนั้นง่ายขึ้นและไม่ติดปัญหาใดๆ

การเตรียมพร้อมการเปลี่ยนบุคคลธรรมดาให้เป็นนิติบุคคล

1. การเปิดบัญชีธนาคารในนามของบริษัท

ขั้นตอนสำคัญอยากแรกในการเปลี่ยนจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคลคือการเปิดบัญชีธนาคารธุรกิจในชื่อนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ บัญชีนี้จำเป็นสำหรับการทำธุรกรรมทางการเงินในนามของบริษัท การรับการชำระเงิน และการจัดการค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการนี้ 

เบื้องต้นคุณจะต้องจดทะเบียนบริษัท เพื่อรับหมายเลขทะเบียนธุรกิจอย่างเป็นทางการ และเตรียมเอกสารทางกฎหมายที่จำเป็นสำหรับธนาคารเพื่อใช้เปิดบัญชี

2. การทำภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)  เป็นส่วนสำคัญในด้านการเงินของนิติบุคคล กรณี ที่บริษัทมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี ต้องจัดการทำภาษีมูลค่าเพิ่ม อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> ขั้นตอนการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามระเบียบของกฏหมายได้กำหนดให้นิติบุคคล เมื่อมีการใช้จ่ายเงิน อาทิเช่น ค่าบริการ ค่าเช่า ดอกเบี้ย เงินปันผล จำเป็นที่ต้องมีการทำภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราที่ กรมสรรพากรได้กำหนด และดำเนินการส่งให้สรรพากร ทุกวันที่ 7 ถัดจากเดือนที่ได้มีการใช้จ่าย

3. เก็บเอกสาร ใบเสร็จซื้อ – ขาย

สำหรับการเป็นนิติบุคคลต้องเก็บข้อมูลเอกสารที่สำคัญ เพื่อใช้ในการลงรายการบัญชี เมื่อมีการซื้อขายสินค้าหรือบริการ ที่มีการออกส่วนของใบเสร็จการรับเงิน และรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริการธุรกิจของเรา จำเป็นต้องมีบิลหรือใบเสร็จที่มีรายละเอียดครบถ้วน เพื่อนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้

4. การจัดทำบัญชี 

เอกสารทั้งหมดที่ได้รวบรวมไว้ ไม่ว่าจะเป็นบิลใบเสร็จหรือ ใบกำกับภาษีซื้อและขาย เอกสารหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกิจการธุรกิจของเรา มาจัดการทำบัญชี หรือรวบรวมเอกสารทั้งหมดส่งให้กับ “ผู้ทำบัญชี” เพื่อส่งให้ทำการลงบัญชี ปิดบัญชี เพื่อจัดทำงบการเงินตามรอบที่กำหนด

* ผู้ทำบัญชี * : จะต้องมีคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามกฏหมาย ซึ่งอาจจะเป็นพนักงานภายในบริษัท หรือองค์กรภายนอก เช่น สำนักงานบัญชี เป็นต้น

5. การหาผู้สอบบัญชี

ข้อสุดท้าย ส่วนของผู้สอบบัญชี นิติบุคคลจะต้องมีการจัดให้มีผู้สอบบัญชี มาตรวจสอบและประเมินงบประจำปีของบริษัท ก่อนที่จะนำส่งข้อมูลกับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

* ผู้สอบบัญชี * : บุคคลภายนอกบริษัท ที่มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีงบด้านการเงินของกิจการว่ามีความถูกต้องหรือไม่

การเปลี่ยนจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคลต้องเริ่ม ตั้งแต่การเปิดบัญชีธนาคารของธุรกิจไปจนถึงการจัดการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย การรวบรวมเอกสารทางกฎหมายที่จำเป็น การเก็บรักษาบันทึกการขายและการซื้ออย่างละเอียด และการขอรับบริการจากผู้ตรวจสอบบัญชี จะทำให้รากฐานทางกฎหมายและการเงินของบริษัทแข็งแกร่งขึ้น และเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าถึงการเป็นนิติบุคคลแบบเต็มรูปแบบ

เรื่องน่ารู้นักธุรกิจ 6 วิธีลดหย่อนภาษีนิติบุคคล ภาษีบริษัท

การเริ่มต้นธุรกิจต้องเริ่มจากการเสียภาษี เพื่อให้เรามีสิทธิ์เป็นเจ้าของธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายและสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้อง และเริ่มต้นธุรกิจอย่างเป็นธรรมในสังคม การจัดการภาษีเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการทำธุรกิจ เพื่อทำให้ธุรกิจมีกำไรสูงสุดและเติบโตอย่างยั่งยืน ความรู้และความเข้าใจในเรื่องภาษีช่วยให้เรามีวิธีการจัดการกับภาษีให้เหมาะสมและลดหย่อมภาระในการเสียภาษีนั่นเอง

การยื่นภาษี SMEs คืออะไร

การยื่นภาษีสำหรับธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (Small and Medium-sized Enterprises – SMEs) เป็นกระบวนการที่สำคัญและต้องทำอย่างถูกต้องเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายภาษีและลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดพลาดหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ขั้นตอนในการยื่นภาษี SMEs ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ และกฎหมายที่ใช้อยู่ในประเทศที่ธุรกิจกำลังดำเนินการ นอกจากนี้ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถมีความน่าเชื่อถือและน่าสนใจในสายตาของนักลงทุนและลูกค้า ดังนั้นควรให้ความสำคัญในการศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและข้อกำหนดในการยื่นภาษีในประเทศให้ได้มากที่สุด

6 วิธีการลดหย่อนภาษีสำหรับนิติบุคคล

สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีสำหรับนิติบุคคลมีหลากหลายแบบและมีความแตกต่างไปตามกฎหมายภาษีและนิติบุคคลในแต่ละประเทศ เช่น

1. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจสำหรับนิติบุคคลคือค่าใช้จ่ายที่นิติบุคคลต้องจ่ายเพื่อให้ธุรกิจดำเนินการอย่างปกติและสร้างรายได้ให้กับองค์กร ซึ่งอาจรวมถึงค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบ ค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าหรือบริการ ค่าเช่าพื้นที่ธุรกิจ ค่าจ้างพนักงาน และค่าใช้จ่ายในการโฆษณาและตลาดสินค้า การหักค่าใช้จ่ายออกมาจากรายได้ในการคำนวณภาษีจะทำให้นิติบุคคลต้องชำระภาษีน้อยลง เนื่องจากภาษีคำนวณจากยอดกำไรหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ซึ่งอย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายที่สามารถหักลดหย่อนภาษีอาจมีข้อจำกัดและเงื่อนไขตามกฎหมายภาษีของแต่ละประเทศ

2. ค่าเสื่อมสภาพ

สินทรัพย์ทางธุรกิจที่มีอายุการใช้งานยาวนานอาจถูกต้องลดหย่อนภาษีเนื่องจากค่าเสื่อมราคา การลดหย่อนนี้สามารถให้กับสินทรัพย์ทางธุรกิจเช่นอาคาร รถยนต์ อุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในธุรกิจ สำหรับนิติบุคคลเป็นกระบวนการลดมูลค่าของสินทรัพย์ในธุรกิจตามอายุการใช้งานของสินทรัพย์นั้น ๆ หรือตามอายุการใช้งานที่กำหนดโดยกฎหมายภาษี ซึ่งเป็นข้อกำหนดสำคัญในการหักลดหย่อนภาษีในนิติบุคคล ค่าเสื่อมราคามีวัตถุประสงค์เพื่อให้นำเสนอการสูญเสียมูลค่าของสินทรัพย์ในเวลาที่เป็นความจริง และช่วยให้บริษัทหรือนิติบุคคลมีความสมเหตุสมผลในการคำนวณภาษีอากร

  • ตัวอย่างการคำนวณค่าเสื่อมสภาพ: ถ้านิติบุคคลซื้อรถยนต์ใหม่ในมูลค่า 1,000,000 บาทและมีอายุการใช้งานประมาณ 5 ปี ค่าเสื่อมราคาสำหรับรถยนต์นี้อาจถูกคำนวณว่า 1,000,000 / 5 = 200,000 บาทต่อปี ดังนั้นในแต่ละปีนิติบุคคลสามารถหักลดหย่อนภาษีที่ต้องชำระลงจากกำไรสุทธิตามจำนวนค่าเสื่อมราคานี้

3. การลงทุนในโครงการพัฒนา

การลงทุนในโครงการพัฒนาสำหรับนิติบุคคลเป็นกระบวนการที่นิติบุคคลลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการหรือโครงการในสาขาต่างๆ เพื่อสร้างรายได้ สร้างมูลค่าเพิ่มใหม่ และขยายธุรกิจใหม่โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ การลงทุนในโครงการพัฒนานี้อาจเป็นการสร้างอาคารสำหรับใช้งาน การพัฒนาและสร้างอุตสาหกรรม การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การขยายตลาดใหม่ หรือการลงทุนในโครงการที่ส่งเสริมความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพสูง จึงมีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากสามารถส่งผลกระทบต่อการเติบโตและกำไรขององค์กรได้โดยตรง นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่นิติบุคคลสามารถขยายธุรกิจในกลุ่มกิจการใหม่หรือตลาดใหม่ได้ นอกจากนี้การลงทุนในโครงการพัฒนายังส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมและพัฒนาเทคโนโลยีในองค์กร ช่วยเสริมสร้างชื่อเสียงให้กับองค์กร และช่วยเพิ่มมูลค่าส่วนที่อยู่ในตลาดของนิติบุคคล ในบางกรณี การลงทุนในโครงการพัฒนาหรือโครงการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานรัฐบาลอาจได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี

4. การจ้างงานสำหรับผู้สูงอายุ

การจ้างงานผู้สูงอายุสำหรับนิติบุคคลเป็นกระบวนการที่นิติบุคคลจ้างผู้สูงอายุมาทำงานในองค์กรหรือธุรกิจของตน เป็นทั้งการจ้างงานแบบประจำหรือการจ้างงานแบบชั่วคราว การจ้างงานผู้สูงอายุสามารถสร้างความหลากหลายและความเสมอภาคในองค์กร และเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจให้กับนิติบุคคลได้ ดังนั้นการจ้างงานผู้สูงอายุควรพิจารณาความสามารถและความเหมาะสมของผู้สูงอายุกับงานที่ต้องการ การให้โอกาสและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถทำงานได้อย่างเต็มความสามารถ และการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการทำงานที่มีความสุขและความสำเร็จในองค์กร

5. สิทธิประโยชน์ในการลงทุนในวิสาหกิจสามัญ

การลงทุนในวิสาหกิจสามัญสำหรับนิติบุคคลมีสิทธิประโยชน์มากมายที่สามารถเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าและเพิ่มมูลค่าให้กับนิติบุคคลได้ นี่คือสิทธิประโยชน์หลักๆ ของการลงทุนในวิสาหกิจสามัญสำหรับนิติบุคคล เช่น การทำกำไร: การลงทุนในวิสาหกิจสามัญเป็นโอกาสในการทำกำไรสูงขึ้นสำหรับนิติบุคคล เนื่องจากวิสาหกิจสามัญมีศักยภาพในการสร้างรายได้และกำไรที่เพิ่มขึ้นในระยะยาว เช่น ความเจริญเติบโตของธุรกิจ ควบคุมการเสี่ยง ส่งเสริมนวัตกรรม ส่วนแบ่งผลประโยชน์ ส่งเสริมภาพลักษณ์และสัญชาติตรา ดังนั้นควรให้ความสำคัญในการศึกษาและการวางแผนก่อนการลงทุนเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดและลดความเสี่ยงในการลงทุนในวิสาหกิจสามัญ แนะนำให้นิติบุคคลปรึกษาที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อให้เกิดผลการลงทุนที่ดีที่สุดสำหรับองค์กร ในบางกรณี การลงทุนในวิสาหกิจสามัญที่ได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานรัฐบาลอาจได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี

6. การทำประกันชีวิตสำหรับนิติบุคคล

เป็นกระบวนการที่นิติบุคคลทำการซื้อประกันชีวิตเพื่อปกป้องความเสี่ยงในกรณีที่มีเหตุขัดข้องที่อาจเกิดขึ้นกับคนที่มีตำแหน่งหน้าที่ในองค์กรหรือสำหรับพนักงานที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจ การทำประกันชีวิตสามารถให้ความคุ้มครองในกรณีที่ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนเสียชีวิต หรือป่วยเป็นโรคร้ายแรง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจหรือองค์กรในลักษณะต่าง ๆ เช่น การปกป้องความเสี่ยง การบำรุงความเชื่อถือในองค์กร การเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร การสร้างสัญญาณภาพ การดูแลสวัสดิการและพนักงาน ดังนั้นการทำประกันชีวิตจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการวางแผนการเงินให้กับนิติบุคคล โดยสามารถปรับเปลี่ยนแผนการเงินให้เหมาะสมกับความต้องการและสภาพความเสี่ยงขององค์กรได้

อย่างไรก็ตาม การลดหย่อมภาษีนิติบุคคลหรือภาษีบริษัทเป็นกระบวนการที่นิติบุคคลมีโอกาสลดจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในการดำเนินธุรกิจหรือกิจกรรมต่าง ๆ โดยใช้กฎหมายและมาตรการทางภาษีต่าง ๆ ซึ่งสามารถทำได้ตามกฎหมายที่มีในแต่ละประเทศ ดังนั้น จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายภาษีที่มีในแต่ละประเทศและควรปรึกษาเรื่องภาษีกับที่ปรึกษาทางการเงินและนักกฎหมายเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการลดหย่อมภาษีสำหรับนิติบุคคล

ข้อแตกต่างของภาษีบุคคลธรรมดา กับ ภาษีบริษัท

สำหรับใครที่เริ่มทำธุรกิจมาได้สักพักแล้ว คงมีเรื่องของภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอบ่างแน่นอน ยิ่งทำไปนานวันเข้า ก็เริ่มสงสัยกับตัวเองว่าเราเหมาะสำหรับ ธุรกิจแบบบุคคลธรรมดาหรือบริษัทกันแน่นะ? พอเริ่มหาข้อมูลเองก็เริ่มสับสน ไม่แน่ใจว่าควรเลือกแบบไหนดีกว่ากัน เพราะมีทั้งข้อดีและเสียทั้งคู่

แต่ก่อนที่จะเริ่ม ตัดสินใจทำอะไรสักอย่าง เราก็ต้องมีข้อมูลเพื่อเป็นตัวช่วยในการคิด วิเคาระห์ และหาผลลัพธ์ ให้ออกมาดีที่สุด การเลือกว่าจะ เข้ามาเสียภาษีบุคคลธรรมดา หรือ ภาษีบริษัทดีก็ควรเลือกจากความเหมาะสม และความพร้อมของธุรกิจองคฺ์ก่อนจะดีที่สุด 

ข้อแตกต่างระหว่างภาษีส่วนบุคคลและภาษีบริษัท

ผู้ชำระเงิน: ภาษีส่วนบุคคลชำระในนามของบุคคลธรรมดา ในขณะที่ภาษีบริษัทจะชำระในนามของชื่อธุรกิจ

หลักเกณฑ์: ภาษีส่วนบุคคลขึ้นอยู่กับรายได้ของแต่ละบุคคล ซึ่งภาษีบริษัทขึ้นอยู่กับผลกำไรของธุรกิจ

อัตรา: อัตราภาษีส่วนบุคคลจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับรายได้ของแต่ละบุคคล กลับกันอัตราภาษีบริษัทมักจะเป็นแบบคงที่

การหักเงิน: ผู้เสียภาษีส่วนบุคคลสามารถหักค่าใช้จ่ายบางอย่างจากรายได้ที่ต้องเสียภาษี ในขณะที่ผู้เสียภาษีบริษัทสามารถหักค่าใช้จ่ายได้น้อยกว่า

เงินปันผล: เงินปันผลที่จ่ายให้กับผู้เสียภาษีส่วนบุคคลจะถูกหักภาษีเป็นรายได้ ในขณะที่เงินปันผลที่จ่ายให้กับผู้เสียภาษีบริษัทจะถูกหักภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า

ยกตัวอย่างภาษีส่วนบุคคลและภาษีบริษัทมีดังนี้

ภาษีส่วนบุคคล

หากคุณเป็นพนักงาน คุณต้องจ่ายภาษีส่วนบุคคลจากเงินเดือนของคุณ หากคุณประกอบอาชีพอิสระ คุณต้องเสียภาษีส่วนบุคคลจากกำไรจากธุรกิจของคุณ

ภาษีบริษัท

หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ คุณต้องจ่ายภาษีนิติบุคคลจากกำไรที่ธุรกิจของคุณที่ได้รับ

4 ข้อที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือก ภาษีบุคคลธรรมดา หรือว่า ภาษีบริษัทง่ายขึ้น

ข้อมูลต่อจากนี้จะช่วยให้คุณสามารถเลือกแนวทางการขึ้นภาษีได้ง่ายว่า รูปแบบบุคคลธรรมดาและบริษัท ทางเลือกไหนที่เหมาะกับเรามากกว่ากัน

 

ข้อที่ 1.เรื่องการจดภาษีขึ้นทะเบียน

ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจบุคคลธรรมดา หรือว่า บริษัท ก็ต้องจดทะเบียนด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งสามารถจดได้ที่ จดทะเบียนพาณิชย์ที่ สำนักงานเขต หรือ อบต.  แต่ของบริษัทจะต้อง จดทะเบียนบริษัทที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าต่อ

ธุรกิจ บุคคลธรรมดา

ข้อดี : ทำได้ง่าย  ค่าธรรมเนียมไม่แพง

ข้อเสียไม่น่าเชื่อถือ กรณีคู่ค้าต้องการทำการค้า กับนิติบุคคลเท่านั้น

ธุรกิจ บริษัท

ข้อดี :  น่าเชื่อถือกว่า

ข้อเสีย : ยุ่งยากกว่า ค่าธรรมเนียมสูงกว่า

ข้อที่ 2.เรื่องภาษี

ทุกคนเองก็รู้อยู่แล้วว่าต้องเสีบภาษีทั้งสองแบบ ซึ่งความแตกต่างในการยื่นเรื่องค่อนข้างต่างกันมาก มีอะไร้บ้างมาดูกัน

ภาษีเงินได้

ธุรกิจ บุคคลธรรมดา :  เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา

ธุรกิจ บริษัท:  เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ค่าใช้จ่าย

ธุรกิจ บุคคลธรรมดา:  ตามจริงหรือเหมา แล้วแต่ประเภทรายได้

ธุรกิจ บริษัท:  หักค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวกับบริษัท เช่น เงินเดือนพนักงาน หรือต้นทุนสินค้าต่างๆ

ฐาน

ธุรกิจ บุคคลธรรมดา:  เงินได้สุทธิ 

ธุรกิจ บริษัท:  จากกำไรสุทธิที่บริษัทได้รับ

อัตราภาษี

ธุรกิจ บุคคลธรรมดา:   อัตราก้าวหน้า สูงสุด 35 เปอร์เซ็นต์ 

ธุรกิจ บริษัท:  กำไร 300,000 บาทแรกยกเว้นภาษี, กำไรตั้งแต่ 300,000 – 3 ล้านบาท ต้องเสียภาษี 15%, กำไรมากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไป ต้องเสียภาษี 20%

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ธุรกิจ บุคคลธรรมดา:  ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นเข้าข่ายการจ่าย เงินตามมาตรา 50 ทวิและ ท.ป. 4/2528 แห่งประมวลรัษฎากร

ธุรกิจ บริษัท:  ภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีที่บริษัทต้องจ่ายให้กับสรรพกรทุกวันที่ 7 ของเดือน ต้องหักเมื่อมีการซื้อหรือจ่ายค่าบริการ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

เหมือนกัน ถ้ารายได้เกิน 1.8 ล้านบาท ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะทำธุรกิจรูปแบบใดก็แล้วแต่

ข้อที่ 3.เรื่องของค่าจ้างพนักงาน

เรื่องของค่าจ้างไม่ได้ต่างกันเลย เพราะว่าการจะมีพนักงานได้ก็ต้องมีลูกข้างมากว่า 1 คนทั้งคู่ แถมต้องทำตามกฏระเบียบให้เรียบร้อย ทำเรื่องขึ้นทะเบียนประกันสังคม และมีการส่งประกันทุกเดือนตามกฏหมาย 

ข้อที่ 4.เรื่องการส่งงบการเงิน 

จุดนี้จะทำให้เห็นได้ชัดถึงความแตกต่างของทั้งคู่อย่างชัดเจน กับในนามบุคคลธรรมดา กฏหมายไม่ได้บังคับให้ส่งงบการเงิน ซึ่งต่างจากบริษัท ที่ต้องทำบัญชีให้เรียบร้อย เพราะต้องนำงบไปส่งหน่วยงานราชการ ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจมีการจ้างฝากการบัญชีเข้ามาช่วยจัดระเบียนด้วยจะดีแะลง่ายกว่าการจัดกรข้อมูลเอง 

เชื่อว่าหลังจากที่ทุกคนอ่านข้อมูลจบแล้วจะสามารถเข้าใจ ข้อแตกต่างของภาษีบุคคลธรรมดา กับ ภาษีบริษัท และตัดสินใจเลือกได้แล้วว่าเราควรเลือกไปทางไหนดีกว่ากัน 

***ทริปเล็กๆ เรื่องความรู้เกี่ยวกับภาษี 

กฎเฉพาะสำหรับภาษีส่วนบุคคลและภาษีนิติบุคคลจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ตัวอย่างเช่น ในอินเดีย อัตราภาษีนิติบุคคลคือ 25% ในขณะที่อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอยู่ระหว่าง 5% ถึง 30%

Education Template

Scroll to Top