การเงิน

วางแผนทางการเงินหลังเกษียณอายุอย่างไร ให้มีความสุข

หนึ่งเรื่องสำคัญที่หลายๆ คนอาจมองข้ามคือ การวางแผนทางการเงินหลังเกษียณอายุ ที่เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ เพราะเมื่อเกษียณอายุแล้วจะไม่มีรายได้ประจำจากการทำงานอีกต่อไป จึงจำเป็นต้องมีเงินออมไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และค่าใช้จ่ายหลังเกษียณจะแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น รายได้เงินเดือน ไลฟ์สไตล์ สุขภาพ เป็นต้น ซึ่งถ้าต้องเริ่มออมเงินเพื่อใช้ในชีวิตหลังเกษียณ เราจึงจะมาแนะนำให้ดูกันว่าควรเริ่มวางแผนการเงินหลังเกษียณอายุอย่างไรให้มีความสุข

5 ขั้นตอนการวางแผนหลังเกษียณอายุให้มีความสุข

1.ตั้งเป้าหมายเงินเก็บ

อย่างแรกต้องประเมินค่าใช้จ่ายที่ต้องการใช้หลังเกษียณอายุ จากปัจจัยต่างๆ เช่น รายได้เงินเดือนที่เราได้รับ ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต สุขภาพของเรา แล้วค่อยเริ่มคำนวณจำนวนเงินที่ต้องเก็บไว้เพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณอายุ โดยใช้สูตรคำนวณง่ายๆ ดังนี้

จำนวนเงินที่ต้องเก็บ = ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณต่อปี x จำนวนปีที่คาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณ

ตัวอย่าง

ถ้าต้องการจะใช้จ่ายเงินหลังเกษียณเดือนละ 25,000 บาท และคาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณจนถึงอายุ 80 ปี 

ดังนั้น จำนวนเงินที่ต้องเก็บไว้เพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณ = 25,000 บาท x 12 เดือน x 20 ปี = 6,000,000 บาท

2.วางแผนเก็บเงินอย่างไม่เร่งรัด

เมื่อเราทราบยอดจำนวนเงินที่ต้องเก็บไว้ใช้หลังเกษียณแล้ว ก็ต้องวางแผนการออมเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป อาจจะเริ่มต้นจากการออมเงินเดือนละ 1,000 บาท หรือตามกำลังในการออมของแต่ละคน แต่ควรออมเงินให้สม่ำเสมอ เพื่อเริ่มสร้างวินัยในการออมของเรา

3.อัตราเงินเฟ้อในอนาคต

อัตราเงินเฟ้อในอนาคตจะทำให้เงินออมของเราลดลงเรื่อยๆ หรือลดลงเร็วกว่าที่ได้คำนวณไว้ ดังนั้น จึงควรพิจารณาอัตราเงินเฟ้อเข้าไปในแผนเกษียณด้วย โดยสามารถคำนวณจำนวนเงินที่ต้องเก็บเพิ่มเพื่อชดเชยอัตราเงินเฟ้อได้ โดยใช้สูตรคำนวณง่ายๆ ดังนี้

จำนวนเงินที่ต้องเก็บเพิ่มเพื่อชดเชยอัตราเงินเฟ้อ = เงินออมที่ต้องการ x อัตราเงินเฟ้อ

ตัวอย่าง

หากเราคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 5% ต่อปี และต้องการมีเงินออมหลังเกษียณ 6,000,000 บาท ดังนั้น จำนวนเงินที่ต้องเก็บเพิ่มเพื่อชดเชยอัตราเงินเฟ้อ = 6,000,000 บาท x 5% = 300,000 บาท

4.พยายามอย่าก่อหนี้ก้อนโต

เพราะหนี้สินจะทำให้เงินออมของเราที่เก็บไว้ใช้ลดลงพยายามอย่าก่อหนี้ก้อนโต โดยเฉพาะหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูง เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด ที่ดอกเบี้ยสูงถึง 12 -25% เป็นต้น

5.กองทุนรวมอีกเส้นทางที่น่าสนใจ

กองทุนรวมเป็นการลงทุนที่กระจายความเสี่ยงได้ดี และมีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงในระยะยาวถ้าพอที่จะแบ่งเงินบางส่วนไว้ลงทุนได้ กองทุนรวมก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจในการออมเงินเพื่อใช้หลังเกษียณอายุ

นอกจากนี้ ที่เราะแนะนำ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ควรรวมไว้เป็นข้อคิดเสริมในการวางแผนทางการเงินหลังเกษียณอายุ เช่น สุขภาพของเรา ครอบครัว ที่อยู่อาศัย เป็นต้น โดยควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินเพื่อวางแผนที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

โปรแกรมบัญชี AccCloud เป็นโปรแกรมที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ครบถ้วน เป็นโปรแกรมระดับ ERP แต่ราคาระดับโปรแกรมบัญชีทั่วไป เหมาะกับองค์กรขนาดกลาง-ใหญ่ และแบบฟอร์มเอสารสำหรับยื่นสรรพากรที่เพรียบพร้อม เลือกเข้าชมบริการเพิ่มเติมได้ที่ โปรแกรมบัญชี AccCloud

8 รายจ่ายต้องห้ามทางภาษี รู้ก่อนเสียเงินฟรี

ภาษีเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการเกิดรายได้ของรัฐบาลและมีบทบาทในการส่งเสริมความเสมอภาคในสังคม แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีบางรายจ่ายที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเราที่ไม่ต้องมีการเสียภาษีใดๆ นอกจากนี้ยังมีบางรายจ่ายที่ต้องทำการเสียภาษีเรียกว่าหนีไม่ได้เลยอย่างการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็คงจะหนีไม่พ้นสิทธิที่บริษัทเสียภาษีบนฐานของผลกำไรของบริษัท ในบทความนี้ เราจะมาพิจารณา 8 รายจ่ายที่ต้องห้ามทางภาษีในประเทศไทย ห้ามนำไปคิดคำนวณเป็นรายจ่ายตอนเสียภาษีเด็ดขาด เพราะผิดกฎหมาย มีหลักๆ ดังนี้

1.เงินช่วยเหลือหรือเงินสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐบาล

เงินช่วยเหลือหรือเงินสนับสนุนที่ได้รับจากหน่วยงานรัฐบาลในกรณีเหตุฉุกเฉินหรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันอาจไม่ต้องเสียภาษี

2.รายได้จากการทำกิจการธุรกิจที่ได้รับยกเว้นภาษี

บางธุรกิจและกิจการอาจได้รับยกเว้นภาษีในบางกรณี อย่างเช่น การลงทุนในธุรกิจของพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ (BOI) หรือธุรกิจที่ได้รับสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานรัฐบาล

3.รายได้จากการซื้อขายทองคำ

รายได้ที่ได้รับจากการซื้อขายทองคำในรูปของทองคำชนิดต่างๆ ที่ได้รับการยกเว้นภาษีซึ่งกำหนดโดยกฎหมาย

4.รายได้จากการรับของขวัญและบริจาค

เงินที่ได้รับจากการรับของขวัญและบริจาคที่อยู่ในกรอบที่กฎหมายกำหนดสามารถรับได้โดยไม่ต้องเสียภาษี

5.เงินเดือนและค่าจ้าง

เงินเดือนและค่าจ้างที่ได้รับจากการทำงานที่มีเงื่อนไขตามกฎหมาย ส่วนใหญ่ไม่ต้องเสียภาษีเนื่องจากภาษีได้ถูกหักก่อนการจ่ายเงินเดือนและค่าจ้าง

6.การรับประโยชน์ทางสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นๆ

การรับสวัสดิการเช่น ค่าคลอดบุตร ค่าทำฟัน สวัสดิการเงินบำนาญ และสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ได้รับจากหน่วยงานรัฐบาลในบางกรณีอาจไม่ต้องเสียภาษี

7.เงินรางวัลที่ได้รับในการแข่งขัน

เงินรางวัลที่ได้รับจากการแข่งขันต่างๆ เช่น กีฬา ศิลปะ การแสดง และกิจกรรมอื่นๆ ที่ได้รับรางวัลไม่ต้องเสียภาษี

8.เงินออมในบัญชีออมทรัพย์

เงินที่อยู่ในบัญชีออมทรัพย์ที่เปิดในธนาคารมีการยกเว้นภาษีเมื่อถอนเงินเป็นครั้งแรกไม่เกิน ฿500,000 ต่อปีภาษี สำหรับบัญชีที่อยู่ค้างไว้เกิน 7 ปีและออกให้กับคนที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป ยกเว้นการเสียภาษีอากรที่แน่นอนในทุกกรณี

ในการจัดการเงินและการวางแผนการเสียภาษี ควรให้ความสำคัญในการตรวจสอบรายจ่ายให้ดีว่ามาจากส่วนไหนบ้่างแยกเป็นหมวดหมู่อย่างละเอียด อย่านำมาปะปนกันเพื่อการวางแผนการเงินระยะยาว ของเราในอนาคต ต้องระวังไม่ให้เกิดการละเมิดกฎหมายทางภาษีอาจมาจากการที่เราทำข้อมูลรายการการเสียภาษีผิดพลาด สามารถส่งผลให้ต้องเสียภาษีเพิ่มเติม และอาจถูกเสียค่าปรับและโทษทางภาษีจากเจ้าหน้าที่หรืออาจเสียภาษีโดยไม่ได้รับการยกเว้น ดังนั้น ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภาษีและการเสียภาษีให้ละเอียดก่อนดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับเงินหรือทรัพย์สินในทุกครั้ง 

ส่วนใครที่เริ่มเสียภาษีครั้งแรก ไม่รู้ว่าต้องเริ่มจากตรงไหน สามารถตรวจสอบข้อมูลภาษี ที่เว็บ https://www.rd.go.th/272.html กรมสรรพากรได้เลย 

การปิดงบการเงิน สำคัญกับบริษัทขนาดไหนมาดูกัน

การปิดงบการเงินหมายถึงกระบวนการที่ใช้ในการสรุปและบันทึกข้อมูลทางการเงินขององค์กรหรือบริษัทในระยะเวลาที่กำหนด ปกติแล้ว การปิดงบการเงินเป็นกระบวนการที่ทำขึ้นเป็นประจำทุกๆ ปีหรือระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งรวมถึงการสร้างรายงานการเงินสำคัญ เช่น งบกำไรขาดทุน (Income Statement) งบการเงินสรุปผลกิจกรรมทางการเงิน (Statement of Cash Flows) และงบสมดุล (Balance Sheet) ซึ่งเป็นเอกสารที่สำคัญในการวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินธุรกิจขององค์กร เพื่อสร้างรายงานการเงินสรุปผลกำไรหรือขาดทุนและสภาพการเงินอื่น ๆ ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น พนักงาน  และผู้อื่นที่ให้ความสนใจด้านการเงินภายในบริษัท 

การปิดงบการเงิน สำคัญกับบริษัทขนาดไหน

สำคัญกับบริษัททุกขนาดไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ เพราะงบการเงินเป็นเอกสารที่สำคัญในการวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินธุรกิจขององค์กร นอกจากนี้ การปิดงบการเงินยังเป็นการสร้างความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรต่อสถานะทางการเงินขององค์กรและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ 

องค์กรขนาดใหญ่ อาจมีทีมงานการเงินภายในที่รับผิดชอบในการปิดงบการเงิน โดยมีบัญชีและผู้เชี่ยวชาญทางการเงินภายในที่เป็นผู้รับผิดชอบภายในระบบ  องค์กรที่ใหญ่ขนาดยังมักมีความซับซ้อนในการดำเนินการทางการเงิน ซึ่งอาจต้องรวมกับข้อมูลทางการเงินจากสาขาหรือธุรกิจย่อยต่างๆ ภายในบริษัท 

สำหรับบริษัทขนาดเล็ก หรือร้านค้าขนาดเล็ก อาจใช้บริการจากผู้ที่มีความชำนาญในการบัญชีและการเงินภายนอกแทน อย่าง บริษัทที่ให้บริการด้านบัญชี บริการที่ปรึกษาการเงิน หรือบริษัทตรวจสอบและปิดงบการเงิน (Audit and Accounting Firms) เข้ามาทำแทน เนื่องจากการจ้างพนังงานการเงินเข้ามา อาจไม่คุ้มทุนที่ต้อเสียให้แบบรายเดิน การจ้างบรษัทภายนอก ถือว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดนั่นเอง 

ขั้นตอนการปิดงบการเงินปกติประกอบด้วยขั้นตอนหลักๆ ดังนี้:

ขั้นตอนการปิดงบการเงินอาจมีความหลากหลายและขึ้นอยู่กับลักษณะและขนาดขององค์กร แต่ขั้นตอนที่กล่าวมาเป็นขั้นตอนพื้นฐานที่ถูกนำมาใช้ในหลายองค์กรเพื่อปิดงบการเงินและสร้างรายงานการเงิน ก่อนส่งสรรพกรดท่านั้น

  1. รวบรวมข้อมูลการเงิน เริ่มต้นด้วยการรวบรวมข้อมูลทางการเงินที่จำเป็น เช่น ใบบันทึกการเงิน (financial transactions), รายงานการเงินรายเดือน/รายไตรมาส, รายงานการเงินของส่วนต่างๆ ในองค์กร เป็นต้น
  2. การบันทึกข้อมูล ข้อมูลการเงินภาษีซื้อ-ขายที่รวบรวมมาจะต้องถูกบันทึกในระบบบัญชีขององค์กร โดยใช้วิธีการบัญชีที่ถูกต้องและเป็นไปตามหลักการบัญชีที่กำหนด
  3. การตรวจสอบการเงินที่เดินบัญชี หรือ Statement ในขั้นตอนนี้จะตรวจสอบข้อมูลการเงินที่บันทึกไว้ว่าถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ และทำการปรับปรุงหากพบข้อผิดพลาดหรือข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
  4. เริ่มสร้างรายงานการเงิน หลังจากที่ข้อมูลการเงินถูกตรวจสอบและปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว จะทำการสร้างรายงานการเงินต่างๆ เช่น งบกำไรขาดทุน, งบการเงินสรุปผลกิจกรรมทางการเงิน, และงบสมดุล
  5. การตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบภายนอก (หากมี) บริษัทหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในการตรวจสอบและปิดงบการเงินอาจมาตรวจสอบรายงานการเงินเพื่อยืนยันความถูกต้องและเชื่อถือได้  เป็นข้อมูลจัดเก็บสำหรับกิจการต่อไป ไม่น้อยกว่า 5 ปี ตามที่กฎหมายกำหนด
  6. การส่งงบ รายงานการเงินที่สร้างขึ้นจะถูกนำส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมกสรรพากรภายใน 150 วัน นับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

การปิดงบการเงินในองค์กรมักมีความซับซ้อนและจำเป็นต้องมีผู้ที่มีความรู้และความชำนาญในการบัญชีและการเงินมารับผิดชอบ บางองค์กรอาจมีทีมงานการเงินภายในที่รับผิดชอบในการปิดงบการเงิน ในขณะที่องค์กรอื่นๆ อาจเลือกที่จะจ้างบริษัทการเงินภายนอกแทน เพื่อลดค่าใช่จ่ายที่ไม่จำเป็นกับบริษัท

ทำความรู้จัก การวางแผนการเงิน ที่สามารถทำให้ธุรกิจก้าวไปถึงความสำเร็จ

การวางแผนการเงินหมายถึงกระบวนการจัดการเงินให้เป็นไปตามเป้าหมายที่เราต้องการ แน่นอนว่านี่คือจุดเริ่มต้นของความสำเร็จของธุรกิจ ตั้งแต่เล็กไปจนถึงใหญ่  การวางแผนการเงินจะช่วยให้เราสามารถกำหนดเป้าหมายการใช่จ่ายเงินที่ต้องการบบแบบระยะยาว และยังช่วยให้สามารถสร้างยุทธศาสตร์เพื่อทำให้เป้าหมายนั้นเป็นจริงได้เร็วมากขึ้น เหมือนเป็นทางสูตรลัพธ์ ที่จะนำพาเราไปสู่เป้าหมายอย่างมั่นคง

การวางแผนการเงิน ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างไร 

การวางแผนการเงิน มีข้อดีหลายอย่าง เช่น:

การมีความชัดเจนในเป้าหมายการเงิน

การวางแผนการเงินช่วยให้เราสามารถกำหนดเป้าหมายการเงินที่ชัดเจนและเหมาะสมกับทุนในช่วงนั้นๆ ที่สำคัญยังช่วยกำหนดเป้าหมายการออมเงินหรือการลงทุนในอนาคตได้อีกด้วย การที่เรามีแนวทางที่ชัดเจน ช่วยให้เรามีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนมากขึ้น รู้ว่าเงินแต่ละส่วนต้องไปทางไหน ทำให้เราเดินไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง

การควบคุมและการจัดการเงิน

การวางแผนการเงินช่วยให้คุณมีการควบคุมและการจัดการเงินที่ดีขึ้น สามารถตรวจสอบรายได้และรายจ่ายได้แบบเรียวไทม์และตลอดเวลาทำให้รู้จุดผิดพลาดได้เร็ว และสร้างแผนการชำระหนี้ภาษีตามกฏหมายได้อย่างเหมาะสม ที่สำคัญยังช่วยให้ประหยัดเงินและสามารถนำส่วนต่างมาเพิ่มมูลค่าเงินได้อีกด้วย

 การเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉิน

การเตรียมพร้อมเรื่องการเงิน กองเงินฉุกเฉิน เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่งมากที่จะสามารถทำให้เราเดินหน้าไปถึงความสำเร็จของธุรกิจได้อย่างราบรื่น กองทุนฉุกเฉินมี เพื่อรับมือกับค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น เช่น การสูญเสียงาน การเจ็บป่วย หรือภัยพิบัติ การมีแผนการเงินชัดเจนช่วยให้เราไม่ต้องหาทางออกใหม่ อย่างการกู้ยืมเงิน หรือวางที่ค้ำประกัน จุดนี้เลย ทำให้เราสามารถโล่งใจการใช้เงินส่วนนี้ในการบริหารได้ 

การสร้างมูลค่าเงินในระยะยาว

การออมเงิน หรือลงทุนในทรัพย์สินที่เติบโตมูลค่า เช่น การลงทุนในหุ้นหรืออสังหาริมทรัพย์ที่มีโอกาสเพิ่มมูลค่าในอนาคต การวางแผนการเงินช่วยให้คุณมีความรู้สึกสบายใจว่าคุณกำลังสร้างความมั่งคั่งให้กับงาน ทั้งกับตัวเองครอบครัว และองค์กร

ลดความเครียดทางการเงิน

เมื่อมีการวางแผนที่ดี รู้ว่าเงินอต่ละส่วนต้องกระจายไปตรงไหน เงินสำรองที่ต้องเก็บมีเพียงพอสำหรับธุรกิจที่เรากำลังทำอยู่ เราก็จะรู้สึกสบายใจมากขึ้น ไม่ต้องมานั่งเครียด ว่าเงินก้อนนี้ต้องเอาไปลงทุนส่วนไหน หรือชักหน้าไม่ถึงหลัง นอกจากนี้ การวางแผนเพื่อเตรียมการเงินในอนาคตยังช่วยให้คุณมีความมั่นใจในการเดินทางสู่อนาคตทางการเงินที่แข็งแกร่งและสมดุล

การวางแผนการเงิน มีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากมันช่วยให้เราควบคุมและจัดระเบียบทิศทางของเงินได้ดียิ่งขึ้น แถมยังในเรื่องของการ บริหารจัดการรายได้และรายจ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไปจนถึงการตั้งกองทุนฉุกเฉิน  ช่วยสร้างมูลค่าเงินสะสมและเพิ่มมูลค่าเงินให้กับเงินออมได้แบบระยะยาว เท่านี้การเดินทางของธุรกิจก็พร้อมที่จะนำเราไปสู่ความสำเร็จแล้ว 

ธุรกิจล้มเหลว เสี่ยงลงทุนไม่รอด หากยังทำ 7 พฤติกรรมเหล่านี้

การลงทุน มักควบคู่กับความเสี่ยงเสมอ ยิ่งเราลงทุนมากแค่ไหน เราก็ต้องเสี่ยงที่จะขาดทุนได้เช่นกัน ยิ่งในด้านการตลาด มักจะเจอความเสี่ยงในการลงทุนได้ตลอดเวลา แต่ใช่ว่าการลงทุน จะไม่ไดผลตอบแทนเสมอไป ยิ่งเราเลือกที่จะลงทุนในช่วงตลาดขาขึ้น ก็ทำให้ได้ผลตอบแทนที่เกินเป้าหมายได้เช่นกัน แต่ก่อนจะเริ่มลงทุนนั้น ต้องรู้ถึงความเสี่ยงจาก 7 พฤติกรรมดังนี้ก่อน

รวม 7 พฤติกรรม เสี่ยงลงทุนไม่รอด

1. ทุ่มหมดตัว กล้าได้กล้าเสีย

การลงทุนแบบเทหน้าตัก หรือลงทุนแบบหมดตัว เพราะหวังว่าจะได้กลับคืนมาเท่าตัว เป็นความคิดที่ผิดมาก เพราะการลงทุน คือการแบ่งเงินส่วนต่าง ๆ ไปลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยง ดังนั้น ควรจะแบ่งสัดส่วนเงินในการลงทุนให้พอดี เพื่อกันปัญหาขาดทุนในอนาคต

2. เชื่อข่าวลือที่ไม่มีมูลความจริง

หากเชื่อข่าวที่พบเห็นได้ง่าย และไม่ได้มีการคัดกรอง เสี่ยงไม่น้อยที่จะทำให้ขาดทุนได้เช่นกัน ดังนั้นหากเจอข่าวลือ ให้ควรศึกษาอย่างถี่ถ้วนทุกครั้ง และไม่ควรเชื่อเสมอไป

3. ลงทุนโดยไม่ศึกษาให้ครบถ้วน

การตลาดเป็นสิ่งไม่แน่นอนและคงที่ หากเราลงทุนในสิ่งที่เรายังไม่เข้าใจดี ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน เนื่องจากความไม่เข้าใจทางการตลาดของธุรกิจนั้น ๆ ก็ทำให้การลงทุนติดลบ หรือขาดทุนได้ในที่สุด ดังนั้นเป็นไปได้ ควรศึกษาอย่างถี่ถ้วน ครบทุกความเข้าใจก่อนเริ่มการลงทุน

4. ไม่ติดตามข่าวสาร

เนื่องจากการตลาดมีการเคลื่อนไหวไม่แน่นอน และผันผวนแทบตลอดเวลา การไม่ติดตามข่าวสารด้านการตลาดเลย ทำให้พลาดสิ่งสำคัญในการลงทุนได้ ดังนั้น ควรติดตามข่าวสารด้านการตลาดอย่างน้อย 2 – 3 วัน หรือเป็นไปได้ก็ลองดูการตลาดในทุก ๆ วัน เพื่อให้ทันข่าวสารด้านนี้อย่างหมดจด

5. ไม่อดทนต่อการลงทุน

เนื่องจากการลงทุน มักคู่กับความเสี่ยง มีขาดทุนบ้าง ได้ผลตอบแทนบ้าง แต่หากเลือกที่จะทำไม่นาน แล้วหยุดไปเลย ก็อาจทำให้เสียโอกาสในการลงทุนได้ ดังนั้นนักลงทุนควรเข้าใจในธรรมชาติของการลงทุน มเสียบ้าง ก็ต้องมีได้บ้างเป็นเรื่องปกติ และยิ่งลงทุนเป็นเวลานาน โอกาสในการขาดทุนก็ยิ่งน้อยลงเช่นกัน 

6. กลัวการลงทุน

หากกลัวในการลงทุนว่าจะเสี่ยงขาดทุนมากแค่ไหน ก็ยิ่งเสียโอกาสในช่วงขาขึ้นของการตลาด แต่ให้เข้าใจไว้เสมอ ว่ายิ่งเราศึกษาการลงทุนดีแค่ไหน โอกาสในการขาดทุนก็ยิ่งน้อยลงแค่นั้น และเข้าใจในธรรมชาติของการตลาด แล้วเราจะค่อย ๆ หายกลัวในการลงทุนได้เอง

7. มั่นใจในการลงทุนมากเกินไป

การมั่นใจในการลงทุนก็ไม่ใช่เรื่องที่แย่ แต่หากมั่นใจเกินไป โดยไม่ได้นึกถึงการตลาดที่มักเปลี่ยนไปได้ทุกเวลา ก็เสี่ยงขาดทุนได้เช่นกัน ดังนั้นการลงทุน ควรลงทุนแค่พอดี เพื่อผลตอบแทนที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ 

การได้รู้ว่าพฤติกรรมแบบไหนที่เสี่ยงทำให้การลงทุนมีความเสี่ยง ก็ควรหยุดและค่อย ๆ ปรับตัวไปกับการลงทุนนั้น ๆ แต่ต้องเข้าใจธรรมชาติของการตลาดเสมอ ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ลงทุน ไม่ควรใจร้อนจนเกินไป เพื่อให้การลงทุนมีความเสี่ยงที่น้อยที่สุด และได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด

4 เหตุผลผิด ๆ ของการวางแผนทางการเงิน

การวางแผนทางการเงินนั้น เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อย ที่ช่วยให้ธุรกิจและการลงทุนต่าง ๆ คล่องตัว มั่นคงและมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากวางแผนทางเงินเร็วแค่ไหน โอกาสในการลงทุนรวมทั้งธุรกิจต่าง ๆ ก็ยิ่งคล่องตัวแค่นั้น เนื่องจากการเงินมีการผันผวนตลอดเวลา จึงต้องมีการวางแผนที่จะใช้เงินในการลงทุนต่าง ๆ เพื่อให้ผลตอบแทนออกมาดีที่สุด แต่หากไม่รู้เหตุผลผิด ๆ ในการลงทุนนั้นเลย ก็มีสิทธิที่จะทำให้ธุรกิจนั้นไม่ถึงเป้าหมาย หรือขาดทุนได้ในที่สุด

1. ไม่มีความรู้ในการวางแผนทางการเงินมากพอ

หากคิดว่าตนเองไม่มีความรู้เลยในการวางแผนทางการเงิน จึงไม่กล้าที่จะลงมือทำ ควรจะเริ่มจากบันทึกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในแต่ละวัน เช่น บันทึกรายรับ บันทึกรายจ่าย และเพิ่มเงินออมไปได้ ซึ่งการทำวธีนี้ทำให้รู้เส้นทางการเินเงินของเราว่าไปในทิศทางไหน และสามารถวางแผนในอนาคตต่อไปได้

2. ไม่มีเวลา

การวางแผนทางการเงิน บางคนอาจคิดว่ามันยุ่งยากจนไม่มีเวลาทำ ไม่จริงเลย เนื่องจากการวางแผนทางการเงิน เป้นการประเมินค่าใช้จ่ายในแต่ละวันหรือแต่ละเดือนว่าไปในทิศทางบวกหรือทิสทางลบ แล้วนำมาคำนวณว่าเดือนต่อ ๆ ไปควรใช้เงินประมาณเท่าไหร่ จึงจะสมดุลกันนั่นเอง

3. ยังไม่พร้อมในการวางแผนทางการเงิน

หากคิดแต่ว่ายังไม่พร้อม การเงินก็ยิ่งแย่ลงได้เช่นกัน ดังนั้นหากทำการวางแผนทางการเงินเร็วแค่ไหน ก็ยิ่งสร้างประโยชน์ต่อทางการเงินของเราได้มากแค่นั้น

4. มีหนี้และภาระเยอะ

ยิ่งมีหนี้และภาระเยอะมากแค่ไหน ยิ่งต้องวางแผนทางการเงินให้เร็วที่สุด เนื่องจากการวางแผนทางการเงิน สามารถช่วยบริหารและจัดการปัญหาในการใช้จ่ายได้ดีไม่น้อย และเป็นประโยชน์ได้ในอนาคต และอาจเคลียร์หนี้สินได้เช่นกัน หากวางแผนทางการเงินได้ดี

หวังว่าบทความนี้ จะช่วยเป็นแนวทางในการแก้ไขความเข้าใจผิด และมั่นใจในการลงทุน รวมถึงมั่นใจในการวางแผนทางการเงิน เพื่อผลตอบแทนที่ดี และลดปัญหารวมถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ในอนาคตได้อีกด้วย

ข้อดีของการวางแผนทางการเงินก่อนการลงทุน เพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า

การวางแผนเป็นหนึ่งในคุณลักษณะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของตัวเราเองเลยก็ว่าได้  เมื่อพูดถึงเรื่องเงิน การวางแผนต้องเป็นรูปธรรม เนื่องจากมีตัวแปรเพียงพอที่อาจส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินของคุณ เพื่ออนาคตที่ดีมากขึ้น เราต้องเริ่มการวางแผนตั้งแต่วันนี้เลย แม้ว่าหลายคนจะเข้าใจถึงความสำคัญของการวางแผนทางการเงิน แต่มันเป็นเรื่องที่ดีกับตัวเราในอนาคตมากจริงๆนะ จะมีข้อดีแบบไหนบ้างมาดูกัน

ข้อดีของการวางแผนทางการเงินก่อนการลงทุน

1. บรรลุเป้าหมายทางการเงิน

ทุกคนมีเป้าหมายทางการใช้เงิน ยกตัวอย่างการเก็บเงินเพอเที่ยวรอบโรค สร้างบ้าน ปลดหนี้ หรืออื่นๆ การมีเป้าหมายในการเก็บเงินจะช่วยให้เราสามารภวางแผนได้ง่ายมากขึ้น แต่ถ้าเรายังไม่รู้ว่าจะเก็บเงินไปเพื่ออะไร การวางแผนจะยากมาก เพราะเราไม่มีเป้าหมาย ทำให้การวางแผนไม่แม่นยำซะเท่าไหร่

แผนทางการเงินเป็นตัวกำหนดจำนวนเงินที่คุณต้องออม หรือเก็บไว้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ลองกำหนดจำนวนเงินที่ต้องใช่ พร้อมอายุของเราว่าจะต้องบรรลุเป้าหมายตอนไหนดู แค่นี้ก็สามารถ วางแผนการเงินได้ง่ายๆแล้ว

2. การเตรียมพร้อมรับเหตุฉุกเฉิน

อุบัติเหตุ การสูญเสียทางธุรกิจ หรือความเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่เราเองก็ไม่สามารถคาดเดาได้ เป็นอีกหนึ่งในเหตุการณ์ของชีวิตที่ใครก็ไม่อยากเจอ เราควรให้ความสำคัญกับส่วนรี้ด้วยเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม หากไม่มีสถานะทางการเงินที่มั่นคง ค่าใช้จ่ายที่เข้ารับการรักษาตัวเป็นเรื่องที่ยากมาก สำหรับพนังานที่จะจ่ายเงินรวดเดียวหมด

เพราะฉะนั้นแล้วต้องรู้จักการทำเงินประกันแบบระยะยาว ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นจะได้เบาใจในระดับหนึ่ง

โปรแกรมบัญชี

3. ความมั่นคงทางการเงิน

 ความมั่นคงทางการเงินเป็นเป้าหมายของทุกคนในโลกต้องการมากที่สุด ไม่ว่าจะตอนไหนก็ตาม เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระส่วนใหญ่แล้ว ไม่มีความมั่นคงทางการเงินจากเงินเดือนรายเดือน น รายได้ต่อเดือนขึ้นอยู่กับรายได้ธุรกิจในแต่ลละเดือนแทน ทำห้ครอบครัวเป็นกลุ่มที่ไม่มีความมั่นคงทางการเงิน

แต่ว่า ถ้าเรารู้จักวางแปนการเงิน ก็จะสามารถช่วยให้เราสามารถมีความมั่นคงทางการเงินของครอบครัวได้ ด้วยแผนทางการเงินที่ดีเราสามารถประหยัดเงินได้มากพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายรายเดือน แผนทางการเงินสามารถช่วยจัดการเงินของในด้านของธุรกิจให้สามารถมียอดขายเพิ่มขึ้นได้ จากการคำนวณจำนวนเงินที่ปลอดภัยในการลงทุน แยกเงินสำหรับครอบครัวและกำไรออกมาได้ชัดเจนมากขึ้น

4. ความเป็นอิสระทางการเงิน

กระปุกออมสินสอนให้เด็กรู้จักการเก็บเงินไว้ใช่ในเวลาที่จำเป็น อาจเก็บไว้เพื่อซื้อของที่อยากได้ หรือขนม แต่ ในฐานะผู้ใหญ่ทางออกในการอยากได้ของคือการกู้เงิน การทำแบบนี้อาจพ่วงมาด้วยดอกเบี้ยมากมาย ทำให้เราไม่สามารถเก็บเงินไล่ตามความฝันอย่างอื่นได้ทัน

การวางแผนการเงินที่ดี ช่วยให้เราสามารถซื้อสิ่งของที่อยากได้ โดยที่ไม่ต้องกู้ให้เสียดอก เงินส่วนที่ต้องเสียดอกก็สามารถนำมาทำอย่างอื่นได้อีกตั้งเยอะ ทำให้เรามีอิสระทางการเงินมากยิ่งขึ้นนั้นเอง

เคล็ดลับหาเงินทุนทำธุรกิจ เพิ่มโอกาสชีวิตให้ก้าวหน้า

เงินคือปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน อีกทั้งยังสำคัญต่อการทำความฝันต่างๆ ให้เป็นจริง หากเรามีแผนอยากเป็นเจ้าของกิจการ อยากสร้างธุรกิจหรือเป็นผู้ประกอบการอะไรด้วยตนเอง การมีเงินทุนเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย ก่อนการทำธุรกิจจึงต้องคิดแผนการหาเงินทุนให้รอบคอบเสียก่อน ลองวางแผนการทำธุรกิจให้ดี เราต้องการทำอะไร มีแผนยังไงบ้าง หาเงินอย่างไร ใช้จ่ายอย่างไร ศึกษาตลาดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเราให้รอบด้าน เมื่อมีความพร้อมแล้ว เราก็มาเริ่มต้นหาแหล่งเงินทุนกันได้เลย เคล็ดลับการหาเงินทุนทำธุรกิจ คือ

1. เสนอแผนธุรกิจกับสถาบันทางการเงิน ธนาคาร

วิธีนี้เป็นวิธีที่มีความสะดวกและปลอดภัยมาก สถาบันทางการเงินส่วนใหญ่ล้วนพร้อมที่ให้การสนับสนุนในการทำธุรกิจ เพียงแต่มีข้อแม้ว่าแผนธุรกิจของเรานั้นจะต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วน มีความเป็นไปได้ในการสร้างผลกำไร มีความน่าเชื่อถือในการดำเนินงานเพียงพอ เมื่อแผนมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นจริงแล้ว สถาบันก็พร้อมที่จะสนับสนุนให้เราได้รับการอนุมัติสินเชื่อเพื่อไปดำเนินธุรกิจตามที่วางแผนไว้ได้นั่นเอง

2. ขอทุนจากองค์กรที่สนับสนุนการทำธุรกิจ

การขอทุนก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้เรามีทุนในการทำธุรกิจได้ดี โดยที่ไม่ต้องยื่นขอกู้หรือยื่นสินทรัพย์ค้ำประกันในการทำธุรกิจใดๆ แต่แน่นอนว่าการขอทุนล้วนมีเงื่อนไขของมัน ก่อนอื่นเราต้องศึกษาก่อนว่าธุรกิจของเราสามารถขอทุนจากองค์กรไหนได้บ้าง เพราะแต่ละองค์กรก็จะมีเงื่อนไขหรือแนวทางในการให้ทุนที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่เหมือนกันเลยก็คือเราจะต้องเตรียมแผนธุรกิจให้พร้อม เพื่อให้องค์กรเหล่านั้นสามารถตรวจสอบแผนการทำธุรกิจของเราได้ตลอดเวลา

3. แข่งขันประกวดแผนธุรกิจกับโครงการต่างๆ

เมื่อมีแผนในการทำธุรกิจแล้ว เรามีความมั่นใจกับแผนของเราหรือเปล่า ถ้ามั่นใจแน่ๆ ว่าแผนนี้แหละดีแล้ว ไม่แพ้ใครๆ การส่งแผนธุรกิจไปประกวดก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะยุคนี้มีโครงการการแข่งขันอยู่มากมาย หากเราต้องการเงินทุนมาใช้จ่ายก็ควรเปิดโอกาสให้ตัวเองไปแข่งขันบ้างสักครั้ง โชคดีอาจได้รับรางวัลเป็นเงินทุนมากมาย ช่วยให้เรามีเงินในการทำธุรกิจได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องไปกู้ยืม

4. สร้างทุนจากการพรีออเดอร์สินค้า

สินค้ามากมายในยุคนี้มีการเปิดขายแบบพรีออเดอร์ ซึ่งเป็นการให้ผู้ซื้อชำระเงินล่วงหน้าก่อนที่จะได้สินค้า โดยผู้ดำเนินการจัดซื้อก็จะช่วยอำนวยความสะดวกในการสั่งสินค้าและจัดส่งให้ การทำธุรกิจประเภทนี้จะไม่ต้องใช้ทุนในการซื้อสินค้าเข้าสต็อกก่อน ลดปัญหาการขายสินค้าไม่ออก โดยเรามีหน้าที่เพียงสั่งซื้อและจัดส่งตามที่ลูกค้าต้องการเท่านั้น รายได้ที่ได้รับจะเป็นการคิดส่วนต่างจากราคาสินค้าจริง ช่วยให้เราสะสมทุนได้โดยแบกรับความเสี่ยงที่น้อยกว่าการทำธุรกิจอื่นๆ

5. หาหุ้นส่วนร่วมธุรกิจของเรา

หนึ่งในผู้ช่วยเหลือในการทำธุรกิจที่ดีที่สุดก็คือหุ้นส่วน การหาแหล่งเงินทุนก็เช่นกัน ถ้าเรารู้จักผู้คนมากๆ ก็จะเปิดโอกาสให้เราพบเจอคนที่มีความสนใจตรงกันกับเราได้ง่ายขึ้น หากมีใครที่มีแนวคิดความสนใจในการทำธุรกิจแบบเดียวกันกับเรา นั่นก็จะทำให้เราสามารถพูดถึงกับเขาได้ง่ายเพื่อเจรจาขอให้เป็นหุ้นส่วนกับเราได้ แล้วตกลงแบ่งส่วนแบ่งธุรกิจตามเงินลงทุนอีกที แต่ควรตรวจสอบประวัติคนที่จะมาเป็นหุ้นส่วนให้ดีๆ นะ การทำธุรกิจของเราจะได้ไม่เกิดปัญหาในภายหลัง

ก่อนเราจะเริ่มทำธุรกิจใดๆ สิ่งหนึ่งที่ต้องมีให้พร้อมเลยก็คือแผนการสร้างธุรกิจ แล้วจากนั้นก็คือการหาแหล่งเงินทุน หากเรามีแผนธุรกิจพร้อมแล้ว การหาทุนมาประกอบธุรกิจก็จะง่ายขึ้น ใครที่ยังไม่แน่ใจว่าจะหาทุนจากไหน ลองทบทวนแผนธุรกิจของตนเองให้ดี บางทีตัวเลือกต่างๆ ที่เราเสนอไปในบทความนี้อาจจะช่วยให้คุณได้พบกับแหล่งเงินทุนดีๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของคุณก็เป็นได้

วิธีบริหารจัดการเงินสำหรับผู้เริ่มต้นธุรกิจ

การมีธุรกิจเป็นของตนเองนับเป็นหนึ่งในความใฝ่ฝันของใครหลายคน ทว่าการจะดูแลธุรกิจให้เติบโตได้อย่างมั่นคงนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ โดยเฉพาะช่วงแรกเริ่มเป็นช่วงที่มีความท้าทายมาก เจ้าของธุรกิจและผู้ประกอบการควรมีทักษะในการบริหารจัดการเงินที่ดี ไม่เช่นนั้นก็อาจทำให้การดำเนินธุรกิจมีปัญหาติดขัด ไม่สามารถจัดการการทำงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความของเราจึงจะมาแนะนำวิธีบริหารจัดการเงิน เพื่อช่วยให้ผู้ทำธุรกิจทุกคนสามารถดำเนินธุรกิจราบรื่นมากที่สุด ซึ่งมีแนวทางต่างๆ ดังนี้

1. ตรวจสอบบัญชีเงินเข้า-ออกอยู่เป็นประจำ

หากต้องการทำธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือการทำบัญชีบันทึกรายรับและรายจ่ายของธุรกิจเรา วิธีนี้จะช่วยทำให้เราทราบว่าธุรกิจมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากไหน หรือมีรายจ่ายในด้านใดบ้าง หากเกิดความผิดพลาดในการจัดการทางการเงินก็จะสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ทันที

2. บริหารยอดเงินรายรับและรายจ่ายให้สมดุลกับธุรกิจ

การบริหารเงินรายรับและรายจ่ายจะช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างเหมาะสม สามารถควบคุมการใช้เงินได้อย่างเหมาะสม ทุกธุรกิจต้องเน้นในส่วนของเงินรายรับให้มากๆ เพื่อให้องค์กรดำเนินงานต่อไปได้อย่างสมบูรณ์ ยกตัวอย่างรายได้ที่เกิดขึ้นจากธุรกิจ เช่น การขายสินค้า ขายอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ การขายสินทรัพย์ รวมไปถึงการให้บริการที่ก่อให้เกิดเงินเข้ามาในธุรกิจด้วย

ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ เช่น การซื้อของเข้าสำนักงาน การชำระค่าโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์จำเป็นในการทำงาน การจ่ายเงินค่าโฆษณา ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอุปกรณ์ รวมถึงการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับพนักงานอย่างเงินเดือนและสวัสดิการ การควบคุมค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมจำเป็นมาก หากมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ก็จะทำให้ธุรกิจเกิดปัญหา จึงควรระมัดระวังในการใช้จ่ายให้ดี

3. ดูแลบัญชีให้มีเงินหมุนเวียนเพียงพอตลอดเวลา

นอกจากการทำบัญชี การบริหารเงินรายรับและรายจ่ายให้สมดุลกัน อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือการดูแลเงินในบัญชีให้มีเงินหมุนเวียนตลอดเวลา เราควรเตรียมเงินให้พร้อมเสมอสำหรับการดำเนินงานต่างๆ การดูแลให้รายรับกับรายจ่ายอย่างสมดุลกันไม่ได้แปลว่าเราควรมีรายจ่ายเท่ากับรายรับ อย่าใช้จ่ายเงินทุกบาททุกสตางค์ไปจนหมดไม่เหลือติดบัญชีเลย เพราะหากติดปัญหาอะไรจะได้มีเงินสำรองคอยดึงมาใช้จ่ายได้ทันที เน้นให้รายรับมากกว่ารายจ่ายจะดีที่สุด

4. หมั่นปรับแผนทางการเงินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเสมอ

หากเราทำบัญชีและมีการตรวจสอบยอดรายรับรายจ่ายเป็นประจำ เราย่อมรู้ดีว่าธุรกิจมีรายรับส่วนไหนมาจากไหนบ้าง แล้วมีรายจ่ายด้านไหนยังไง แต่ละช่วงของการทำงานจะความเปลี่ยนแปลงทางค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นเสมอ เจ้าของธุรกิจจึงต้องวางแผนการบริหารจัดการเงินให้ดีๆ และคอยปรับเปลี่ยนแผนให้เหมาะสมตามเวลาที่เปลี่ยนไป อย่าวางแผนใดแผนหนึ่งตายตัว เพราะธุรกิจจะต้องมีการเติบโตตลอดเวลา การปรับแผนเป็นประจำจะช่วงให้เราดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การมีธุรกิจเป็นของตนเองจำเป็นต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างยิ่ง การดูแลธุรกิจให้ดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคงก็ยิ่งยากกว่า หากเราเพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจก็ควรศึกษาสิ่งที่จำเป็นต่อธุรกิจอยู่เสมอ เปิดใจให้กับความรู้ใหม่ๆ อีกทั้งควรใจเย็นต่อการทำงาน หมั่นบันทึกรายรับ รายจ่าย ทำบัญชี และวางแผนในทุกการทำงานเสมอ เพราะรากฐานในตอนเริ่มต้นคือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจของเราเติบโตก้าวหน้าขึ้นได้ดี ช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

งบกระแสเงินสดนั้น สำคัญไฉน

งบกระแสเงินสด งบกระแสเงินสดคือ งบการเงินที่แสดงการเปลี่ยนแปลงเงินสดของกิจการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น รอบปีบัญชี โดยจะแสดงการได้มาและใช้ไปของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของ 3 กิจกรรมหลักคือ กิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน และ กิจกรรมจัดหาเงิน ช่วยให้ผู้ใช้สามารถประเมินสภาพคล่องของกิจการ โดยเฉพาะความสามารถในการชำระหนี้

 

 

 
 
 
 

ข้อมูลที่ปรากฏในงบกระแสเงินสด จะเป็นข้อมูลสำคัญที่ผู้ใช้งบการเงินสามารถนำ ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้

 

1. เพื่อให้ผู้บริหารงานสามารถวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของเงินสด

2. บ่งบอกถึงสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ

3. เพื่อใช้ในการวางแผนการเงินในอนาคตเนื่องจากงบกระแสเงินสดจะแสดงให้ทราบถึงที่มาที่ไปของเงินสดว่า กิจการได้รับ หรือ จะต้องจ่ายเงินสดจากแหล่งใด เป็นจำนวนเท่าใด

4. เพื่อให้ผู้บริหารงานสามารถวางแผนการใช้จ่ายเงินของกิจการได้

5. เพื่อให้ผู้บริหารทราบถึงความสามารถในการทำ กำไรของกิจการ 6. เพื่อให้ผู้บริหารทราบถึงการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์สุทธิ

 

งบกระแสเงินสดประกอบไปด้วยองค์ประกอบดังนี้คือ

• กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน คือ กระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมหลักที่ก่อให้เกิดรายได้ของกิจการ และกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่กิจกรรมลงทุนหรือกิจกรรมจัดหาเงิน

• กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน คือ กระแสเงินสดที่เกิดจากการได้มาและการจำหน่ายสินทรัพย์ระยะยาวและเงินลงทุนอื่นซึ่งไม่รวมอยู่ในรายการเทียบเท่าเงินสด

• กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน คือ กระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมที่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในขนาดและองค์ประกอบของส่วนของเจ้าของและส่วนของการกู้ยืมของกิจการ ดังแสดงในตัวอย่างดังรูป

 
โปรแกรมบัญชี AccCloud.co
 
  

โปรแกรมบัญชีมีเพียงไม่กี่รายที่มี การคำนวณงบกระแสเงินสด โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP  เป็นโปรแกรมบัญชีที่มีการคำนวณงบกระแสเงินสดในตัวเองโดยไม่ต้องติดตั้งหรือซื้อเพิ่ม สามารถใช้งานได้จาก รายงาน >> รายงานบัญชี >> งบกระแสเงินสด

Education Template

Scroll to Top