การทำบัญชี

ต้องเริ่มเสียภาษีเงินเดือนเท่าไหร่ พร้อมทริควิธีการลดหย่อนภาษี

สำหรับมนุษย์เงินเดือนทุกคน หลังจากได้เริ่มทำงานมาได้ซักพักก็ต้องมีความคิดที่ว่า ถ้าเราทำงานแล้วต้องเริ่มเสียภาษีเงินเดือนเมื่อไหร่  แล้ววิธีการลดหย่อนภาษีให้คุ้มที่สุด บทความนี้เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับเกณฑ์การคิดภาษี ของปี 2567 แบบอย่างง่าย พร้อมวิธีการคิดแบบเสร็จสรรพ

เกณฑ์การเสียภาษีเงินเดือนสำหรับปี 2567 

เพื่อที่จะอธิบายให้เข้าใจทุกอย่างแบบง่ายๆ เราจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

1. กลุ่มที่ไม่ต้องเสียภาษี : เงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน และเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี (หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน)

2. กลุ่มที่ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี : เงินเดือน 10,001 – 26,583 บาทต่อเดือน และเงินได้สุทธิ 150,001 – 300,000 บาทต่อปี

3. กลุ่มที่ต้องเสียภาษี : เงินเดือน 26,584 บาทขึ้นไปต่อเดือน และเงินได้สุทธิ 300,001 บาทขึ้นไปต่อปี

ทริคการลดหย่อนภาษีแบบที่คุ้มที่สุด

สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าวิธีการลดหย่อนภาษี สามารถใช้วิธีไหนได้บ้าง เพื่อลดหย่อนภาษีให้ได้มากที่สุด มีรายการดังนี้

  • ค่าใช้จ่าย: หักได้ 50% ของเงินได้ ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว: 60,000 บาทต่อปี
  • ประกันสังคม: หักเบี้ยประกันสังคมที่จ่ายทั้งปี
  • ประกันชีวิต: หักเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายทั้งปี สูงสุด 30,000 บาท
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: หักเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สูงสุด 15% ของเงินเดือน
  • ค่าลดหย่อนอื่นๆ: เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าดูแลบิดามารดา ค่าจ้างพนักงาน เงินบริจาค ฯลฯ

วิธีการคำนวณภาษีแบบอย่างง่าย

ตัวอย่าง นายเอ ได้รับเงินเดือน 27,000 บาทต่อเดือน หักจ่ายประกันสังคม 750 บาทต่อเดือน และจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 15,000 บาทต่อปี

ขั้นที่ 1 คำนวณเงินได้ = 27,000 บาท x 12 เดือน = 324,000 บาท

ขั้นที่ 2 คำนวณค่าใช้จ่าย = 324,000 บาท x 50% = 162,000 บาท

ขั้นที่ 3 เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย = 324,000 บาท – 162,000 บาท = 162,000 บาท

ขั้นที่ 4 หักค่าลดหย่อน = 60,000 บาท + (750 บาท x 12 เดือน) + 20,000 บาท = 106,000 บาท

ขั้นที่ 5 ยอดเงินได้สุทธิ = 162,000 บาท – 106,000 บาท = 56,000 บาท

สรุปได้ว่า นายเอมีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท จึงถูกจัดอยู่ในกลุ่มไม่ต้องเสียภาษี

ข้อมูลข้างต้นนี้เป็นวิธีการคิดอย่างง่ายเท่านั้น สำหรับข้อมูลการยื่นภาษีต่างๆ สามารเข้าตรวจสอบหรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.rd.go.th และศึกษากำหนดการยื่นภาษีอยู่ช่วงไหนที่ >>>  https://www.rd.go.th/558.html <<<

โปรแกรมบัญชี AccCloud เป็นโปรแกรมที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ครบถ้วน เป็นโปรแกรมระดับ ERP แต่ราคาระดับโปรแกรมบัญชีทั่วไป เหมาะกับองค์กรขนาดกลาง-ใหญ่ และแบบฟอร์มเอกสารสำหรับยื่นสรรพากรที่เพรียบพร้อม เลือกเข้าชมบริการเพิ่มเติมได้ที่ โปรแกรมบัญชี AccCloud

ควรจ้างสำนักงานบัญชีหรือใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ แบบไหนดีกว่า

ในยุคของการจัดการธุรกิจ การตัดสินใจว่าจะจ้างสำนักงานบัญชีหรือใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาวะทางการเงินและการรักษาประสิทธิภาพของบริษัท เนื่องจากทั้งสองตัวเลือกมีข้อได้เปรียบที่แตกต่างกัน เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องประเมินความต้องการอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจเลือก ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกข้อดี พร้อมทั้งความเหมาะสมของแต่ละตัวเลือกสำหรับธุรกิจประเภทต่างๆ ว่าควรเลือกใช้แบบไหน

การเลือกจ้างสำนักงานบัญชี

การจ้างสำนักงานบัญชี เป็นการจ้างงานกับทีมนักบัญชีมืออาชีพที่จัดการด้านต่างๆ ของการดำเนินงานทางการเงินของบริษัท และนี่ก็คือข้อดีของการเลือกสำนักงานบัญชี

1. ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์

สำนักงานบัญชีจะมีผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านการเงินต่างๆ รวมถึงการจัดเตรียมภาษี การตรวจสอบบัญชี และการรายงานทางการเงิน ประสบการณ์และความรู้ของพวกเขาสามารถช่วยแนะนำการจัดการด้านการเงินที่ซับซ้อนได้

2. ได้รับการซัพพอร์ตโดยตรง

การทำงานร่วมกับสำนักงานบัญชี มั่นใจได้เลยว่าธุรกิจของคุณจะได้รับความเอาใจใส่ ความต้องการและการดูแลโดยเฉพาะของธุรกิจเป็นรายบุคคลได้ นักบัญชีจากสำนักงานสามารถให้คำแนะนำและการปรับรูปแบบให้เหมาะสม เพื่อให้ทำข้อมูลต่างๆ ได้ถูกต้องตามกระบวนการ

3. การปฏิบัติตามกฎระเบียบและการลดความเสี่ยง

สำนักงานบัญชีจะคอยติดตามกฎระเบียบและมาตรฐานการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิเช่น การยื่นภาษี หรือการจัดการเอกสารกำกับภาษี เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจจะปฏิบัติตามกฎหมายภาษีและกฎระเบียบทางการเงิน นอกจากนี้ ยังช่วยลดความเสี่ยงด้านการเงินและหาคำตอบได้เมื่อพบปัญหา

การใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์

แต่ในทางกลับกัน การเลือกใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เป็นเหมือนนำเสนอโซลูชันใหม่ๆ ทางดิจิทัลสำหรับการจัดการงานบัญชีการเงิน โดยมักจะทำผ่านแพลตฟอร์มบนคลาวด์ และข้อดีของการใช้โปรแกรมดังกล่าวมีดังนี้

1. ความคุ้มทุน

โปรแกรมบัญชีออนไลน์เป็นการจ่ายแบบครั้งเดียวโดยแต่ละแพคเกจก็จะแตกต่างกันออกไปตามจำนวน ทำให้คุ้มสำหรับต้นทุนของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง เมื่อเปรียบเทียบกับการจ้างสำนักงานบัญชี ไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมสำหรับการอัปเดตซอฟต์แวร์หรือการบำรุงรักษา

2. การเข้าถึงและความสะดวกสบาย

โปรแกรมบัญชีมีการทำงานบนคลาวด์ ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้แบบเรียลไทม์จากทุกที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ช่วยให้เจ้าของธุรกิจและผู้ร่วมใช้งาน สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพทางการเงินผ่านบัญชีและใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้

3. ระบบอัตโนมัติและประสิทธิภาพ

โปรแกรมบัญชีออนไลน์สามารถปรับปรุงแก้ไขงานที่ต้องทำซ้ำๆ ผ่านระบบอัตโนมัติ เช่น การออกใบแจ้งหนี้ การติดตามค่าใช้จ่าย และการกระทบยอด ด้วยการลดการแทรกแซงให้เหลือน้อยที่สุด ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ จึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานบัญชีได้

แล้วควรเลือกใช้แบบไหนที่จะเหมาะกับธุรกิจ

ถ้าต้องเลือกระหว่างการจ้างสำนักงานบัญชีและการใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงขนาดธุรกิจ ความซับซ้อนของการทำบัญชี และลักษณะของธุรกิจ

ความซับซ้อนในการทำบัญชี

ธุรกิจที่มีโครงสร้างทางการเงินที่ซับซ้อนและแหล่งรายได้ที่หลากหลาย อาจได้รับประโยชน์จากความเชี่ยวชาญส่วนบุคคลที่นำเสนอโดยสำนักงานบัญชี ในทางกลับกัน ธุรกิจขนาดเล็กที่มีความต้องการทางการเงินน้อยกว่าอาจพบว่าโปรแกรมการบัญชีออนไลน์เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการของตนได้

ข้อพิจารณาด้านงบประมาณเงินทุน

ต้นทุนเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจ แม้ว่าการจ้างสำนักงานบัญชีอาจมีค่าใช้จ่ายล่วงหน้าสูงกว่า แต่โปรแกรมบัญชีออนไลน์ก็นำเสนอโซลูชั่นที่คุ้มค่าช่นกัน โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพและธุรกิจขนาดเล็กที่ดำเนินงานด้วยงบประมาณที่จำกัด

แผนการรองรับการเติบโตในอนาคต

ธุรกิจที่วางแผนเพื่อการขยายหรือกระจายความเสี่ยงตั้งแต่ต้น อาจพบว่าโปรแกรมการบัญชีออนไลน์สามารถปรับขนาดและปรับให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงได้มากขึ้นอย่างรวดเร็ว และโปรแกรมเหล่านี้มักนำเสนอฟีเจอร์ที่ยืดหยุ่นเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจได้

สุดท้ายแล้วไม่มีคำตอบไหนที่บอกได้ ว่าการจ้างสำนักงานบัญชีหรือการใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์จะดีกว่า เพราะแต่ละตัวเลือกมีข้อดีที่แตกต่างกันและเหมาะกับบริบททางธุรกิจที่แตกต่างกัน ท้ายที่สุดแล้ว เจ้าของธุรกิจควรประเมินความต้องการเฉพาะ ข้อจำกัดด้านงบประมาณ และวัตถุประสงค์ในการเติบโต เพื่อเลือกโซลูชันที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการจัดการบัญชีธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โปรแกรมบัญชี AccCloud เป็นโปรแกรมที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ครบถ้วน เป็นโปรแกรมระดับ ERP แต่ราคาระดับโปรแกรมบัญชีทั่วไป เหมาะกับองค์กรขนาดกลาง-ใหญ่ และแบบฟอร์มเอกสารสำหรับยื่นสรรพากรที่เพรียบพร้อม เลือกเข้าชมบริการเพิ่มเติมได้ที่ โปรแกรมบัญชี AccCloud

การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการธุรกิจด้วยระบบ ERP

ระบบ ERP เป็นระบบหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญมากสำหรับธุรกิจในปัจจุบัน ระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) หรือ ระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร ถือเป็นเครื่องมือที่เกิดขึ้นเพื่อทำให้ธุรกิจมีการจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพช่วยเพิ่มความสอดคล้องกับทิศทางที่เป็นไปได้ของธุรกิจในอนาคต

บทความนี้เราจะบอกถึงข้อดีของระบบ ERP ที่ช่วยให้ธุรกิจของเราเติบโตและก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1. ระบบ ERP ช่วยจัดการข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

ระบบ ERP ช่วยให้ธุรกิจสามารถรวบรวมข้อมูลของทรัพยากรทั้งหมดในองค์กร เช่น การเงิน การผลิต การคลังสินค้า การขาย และการบริหารจัดการได้ในระบบเดียว เพื่อให้สามารถดำเนินการและติดตามข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง

2. การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ

ความสามารถของระบบ ERP นั้นจะช่วยให้เราจัดการข้อมูลทรัพยากรองค์กรได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น สามารถตรวจสอบรายละเอียดข้อมูล วิเคราะห์ และตั้งค่าการทำงานแบบอัตโนมัติได้ ช่วยลดความผิดพลาดในการบริหารจัดการและการตัดสินใจ

3. ช่วยปรับกลยุทธ์ธุรกิจให้ทันสมัยอยู่เสมอ

ระบบ ERP ที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลในเวลาจริง ทำให้สามารถปรับแผน และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ทันทุกสถานการณ์ ช่วยให้ธุรกิจทันต่อความเปลี่ยนแปลงของกลไกตลาดในปัจจุบัน และสามารถปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับการเติบโตในอนาคต การสร้างความร่วมมือในองค์กร

4. เพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูล

เมื่อธุรกิจของเรามีการจัดการข้อมูลด้วยระบบ ERP เราจะสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ในองค์กรได้อย่างเป็นระบบ และสามารถตั้งค่าการจัดการเฉพาะส่วนได้ง่าย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลของเราได้มากขึ้น ป้องกันการเข้าถึงจากบุคคลภายนอกที่ไม่ได้รับอนุญาต และยังช่วยให้จัดการข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงสุด

5. สร้างการวัดและประเมินประสิทธิภาพ

การติดตามและวัดผลประสิทธิภาพของระบบ ERP จะช่วยให้ธุรกิจปรับปรุงและปรับตัวให้สอดคล้องกับเป้าหมายของธุรกิจได้อยู่เสมอ สามารถเห็นผลลัพธ์การทำงานได้อย่างง่ายได้ ไม่ว่าจะจากการซื้อ การขาย การทำบัญชี การจัดการคลังสินค้า ทุกระบบจะได้รับการติดตามข้อมูล วัดผล และประเมินประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างสอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจ

6. ปรับเปลี่ยนธุรกิจให้ทันต่อเทคโนโลยียุคใหม่

โลกของเรามีการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา การปรับตัวให้เข้ากับโลกยุคใหม่ เปิดรับกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเป็นสิ่งสำคัญมาก ระบบ ERP นั้นจะช่วยให้เราก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจของเรามีการพัฒนาไปอย่างมั่นคง เพิ่มโอกาสเติบโตทางธุรกิจให้มีโอกาสก้าวหน้าได้เป็นอย่างดี

ระบบ ERP ที่มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการธุรกิจ ช่วยให้ธุรกิจเติบโตและมีความก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกใช้ระบบ ERP ที่เหมาะกับความต้องการและการปรับปรุงตามเทคโนโลยีที่ทันสมัยจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเติบโตและประสบความสำเร็จได้ดี ช่วยให้ธุรกิจก้าวหน้ายิ่งกว่าธุรกิจคู่แข่งและเหนือชั้นยิ่งกว่าใครๆ ได้ในอนาคต

ทริคการคำนวณภาษี สำหรับพนักงานเงินเดือน คำนวณยังไง เสียเท่าไหร่บ้าง ?

“ภาษี” คือเงินที่คนหรือธุรกิจต้องจ่ายให้รัฐหรือรัฐบาล เพื่อรองรับงบประมาณและการดำเนินกิจกรรมของรัฐ ภาษีมีบทบาทสำคัญในการเก็บเงินสำหรับรัฐเพื่อใช้ในการให้บริการสาธารณสุข การศึกษา การสร้างสถานที่สาธารณะ และอื่น ๆ ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับประชาชน ซึ่งแต่ละประเภทของภาษีมีอัตราภาษีที่แตกต่างกันไป 

ฐานภาษี 

คือ ค่าหรือปริมาณที่ใช้เป็นพื้นฐานในการคำนวณจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายในภาษี ฐานภาษีสามารถเป็นรายได้ มูลค่า ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เป็นวัตถุสภาพที่ใช้ในกระบวนการเก็บเงินภาษี โดยทั่วไปแล้ว ภาษีจะเริ่มต้นที่กลุ่มเงินได้สุทธิไม่ถึง 150,000 บาทต่อปี สูงสุดมากกว่า 5 ล้านบาทต่อปี มีวิธีคำนวณสูตรง่าย ๆ คือ

เงินได้สุทธิ = เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี

ภาษีมีอะไรบ้าง 

  • ภาษีเงินได้แบบบุคคลธรรมดา และ แบบนิติบุคคล
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ
  • ภาษีอากรแสตมป์
  • ภาษีสรรพสามิต

วิธีการคำนวณภาษี สำหรับพนักงานเงินเดือน

  • เงินได้สุทธิ 0 – 150,000 บาท : ได้รับยกเว้น
  • เงินได้สุทธิ 150,001 – 300,000 บาท : อัตราภาษี 5%
  • เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท : อัตราภาษี 10%
  • เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท : อัตราภาษี 15%
  • เงินได้สุทธิ 750,001 – 1,000,000 บาท : อัตราภาษี 20%
  • เงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 บาท : อัตราภาษี 25%
  • เงินได้สุทธิ 2,000,001 – 5,000,000 บาท : อัตราภาษี 30%
  • เงินได้สุทธิ 5,000,001 บาท : อัตราภาษี 35%

ค่าลดหน่อยภาษี 

คือ รูปแบบหนึ่งของการลดจำนวนเงินที่ต้องจ่ายในภาษีโดยตรง นั่นคือ ค่าลดหน่วยภาษีจะลดจำนวนเงินที่คุณต้องจ่ายในภาษีตรง ๆ นั่นเอง ไม่ใช่การลดรายได้ก่อนที่จะคำนวณภาษีแต่อย่างใด เช่น

  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนบุตร 30,000 บาทต่อคน (แรกเกิด – 20 ปี)
  • ค่าฝากครรภ์และตลอดบุตร ไม่เกิน 60,000 บาท
  • ค่ากองทุนสำรองชีพ 15% ไม่เกิน 500,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนตามจริง ประกันชีวิต ไม่เกิน 100,000 บาท
  • อื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม การชำระภาษีตามระยะเวลาที่กำหนด และชำระครบเป็นหน้าที่ของทุกคน เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าปรับที่เพิ่มขึ้น และช่วยให้รัฐนำภาษีไปใช้ในการพัฒนาส่วนกลาง รวมถึงบริการด้านสาธารณะต่าง ๆ ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และดำเนินชีวิตได้ดีมากขึ้นนั่นเอง

ความสำคัญของการมีหนังสือรับรองเงินเดือน !

พนักงานเงินเดือน (Salaried Employee) คือบุคคลที่ได้รับค่าจ้างในรูปแบบเงินเดือนที่มีค่าติดต่อกันในระยะเวลาที่กำหนดล่วงหน้า เป็นรายเดือน นอกจากนี้ พนักงานเงินเดือนยังมีสิทธิ์รับประโยชน์อื่น ๆ เช่น การลาพักร้อน การลาป่วย ประกันสุขภาพ และค่าตอบแทนอื่น ๆ ตามนโยบายของบริษัทด้วย

หนังสือรับรองเงินเดือน 

เป็นเอกสารที่ออกโดยนายจ้างหรือบริษัทที่จ้างงาน เพื่อยืนยันรายได้และสถานะงานของพนักงานเงินเดือน หนังสือรับรองเงินเดือนมักใช้ในหลายสถานการณ์ เช่น เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการสมัครสินเชื่อที่ธนาคาร หรือเพื่อการยื่นเรื่องการศึกษาต่อหรือสมัครงานในบริษัทใหม่ ซึ่งเป็นการยืนยันถึงรายได้ที่พนักงานรับจากการทำงานในบริษัทนั้น ๆ

ประโยชน์ของการมีหนังสือรับรองเงินเดือน

  • ช่วยยืนยันรายได้ของพนักงาน
  • ใช่ในการยื่นสมัครงานใหม่
  • ใช้ในการย้ายสถานที่ทำงานใหม่
  • ใช้ในการสมัครสินเชื่อหรือประกัน
  • ใช้ในการยื่นภาษี
  • ใช้ในการยื่นสิทธิประโยชน์
  • ง่ายต่อการเช็คข้อมูลของเงินเดือนที่ได้รับ

อายุการใช้งานของหนังสือรับรองเงินเดือน

  • สำหรับยื่นสมัครบัตรของธนาคาร หรือยื่นขอประกันและสินเชื่อ จะใช้งานได้ไม่เกิน 30 วัน
  • สำหรับหน่วยงานราชการ สามารถใช้งานได้ไม่เกิน 90 วัน
  • สำหรับยื่อของวีซ่า ใช้ได้ไม่เกิน 30 วัน และต้องเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด 

หนังสือรับรองเงินเดือน ใครควรออกให้ ?

พนักงานเงินเดือน ไม่สามารถออกหนังสือรับรองเงินเดือนเองได้ แต่ควรออกโดยนายจ้างหรือบริษัทที่จ้างงานพนักงาน นายจ้างหรือบริษัทมีหน้าที่ยืนยันรายได้และสถานะงานของพนักงาน ซึ่งหนังสือรับรองเงินเดือนมักต้องมีลายเซ็นหรือลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ของผู้มีอำนาจในบริษัทหรือองค์กรนั้น ๆ ให้กับพนักงานของตน

ข้อมูลในหนังสือรับรองเงินเดือน

  1. หัวข้อเอกสารคือ “หนังสือรับรองเงินเดือน”
  2. ชื่อและนามสกุล
  3. ชื่อและที่อยู่ของบริษัท
  4. ตำแหน่งงานที่ได้รับ
  5. เงินเดือนที่ได้รับ ไม่รวมโบนัสหรือสวัสดิการอื่น ๆ
  6. ระยะเวลาที่เริ่มทำงาน จนถึงวันที่ยื่นขอหนังสือรับรอง
  7. ใช้เพื่ออะไร เช่น ยื่นหน่วยงานราชการ ยื่นขอทำประกัน เป็นต้น
  8. วันที่ยื่นขอหนังสือรับรองเงินเดือน
  9. ลงชื่อผู้ขอหนังสือรับรองเงินเดือน
  10. ลงชื่อนายจ้างที่มีอำนาจในการออกหนังสือรับรองเงินเดือน
  11. ต้องมีตราประทับของบริษัท 

ดังนั้น ความสำคัญของการมีหนังสือรับรองเงินเดือน คือ เอกสารสำคัญที่ใช้ในการยืนยันรายได้และสถานะงานของพนักงาน มีความสำคัญในกระบวนการสมัครงาน การขอสินเชื่อ การยื่นเรื่องประกันสังคม และสถานการณ์ทางการเงินและการทำงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรายได้ของเราได้ดี

ประโยชน์ของโปรแกรมบัญชีในธุรกิจขนาดเล็กและกลาง

ธุรกิจขนาดเล็กและกลาง (Small and Medium-sized Enterprises หรือ SMEs) คือธุรกิจที่มีขนาดไม่ใหญ่มากและไม่ใช่บริษัทใหญ่หรือองค์กรขนาดใหญ่ ธุรกิจประเภทนี้มักมีลักษณะต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับประเทศและส่วนกฎหมาย ซึ่งอาจจะกำหนดความเป็น SMEs ตามผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ธุรกิจ จำนวนพนักงาน รายได้ประจำปี หรือตัวชี้วัดอื่น ๆ ตามท้องถิ่น

ธุรกิจขนาดเล็กและกลาง หมายถึงอะไร

ธุรกิจขนาดเล็กและกลาง (SMEs) หมายถึงกลุ่มของธุรกิจที่มีขนาดเล็กถึงกลางตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ธุรกิจในกลุ่มนี้มักมีลักษณะการดำเนินงานที่เป็นตัวของเจ้าของธุรกิจ มีจำนวนพนักงานน้อยกว่าบริษัทใหญ่ และมักมีทางเลือกในการจัดการและตัดสินใจที่รวดเร็วมากขึ้น โดยทั่วไปแล้ว มีการกำหนดข้อกำหนดเพื่อจำแนกธุรกิจขนาดเล็กและกลางตามตัวชี้วัดต่าง ๆ เช่น จำนวนพนักงาน, ยอดขายประจำปี, สินทรัพย์รวม, และอื่น ๆ ซึ่งข้อกำหนดเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศหรือเขตภูมิภาค ยิ่งไปกว่านั้น การจำแนก SMEs อาจยังคำนึงถึงลักษณะด้านการดำเนินธุรกิจ เช่น ธุรกิจตามกลุ่มอุตสาหกรรม หรือลักษณะพิเศษอื่น ๆ ที่กำหนดโดยหน่วยงานหรือกฎหมายในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งธุรกิจขนาดเล็กและกลาง มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจของประเทศ มีบทบาทในการสร้างงานและรายได้ ส่งเสริมนวัตกรรมและความสร้างสรรค์ และมีส่วนในการกระจายความเจริญรุ่งเรืองในระดับพื้นที่นานาชาติอีกด้วย

ประโยชน์ของโปรแกรมบัญชีใน SMEs

  • ความแม่นยำและความถูกต้องในการบันทึกข้อมูล: โปรแกรมบัญชีช่วยในการบันทึกข้อมูลการเงินอย่างถูกต้องและมีความแม่นยำ ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากข้อผิดพลาดในกระบวนการบัญชีและการเงิน
  • รายงานทางการเงิน: โปรแกรมบัญชีช่วยในการสร้างรายงานการเงินที่สำคัญ เช่น งบการเงิน, งบทดลอง, รายงานภาษี เพื่อให้ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจและวางแผนธุรกิจ รวมถึงวิเคราะห์และปรับแผนการเงินเพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน
  • การประหยัดเวลาและทรัพยากร: ช่วยลดความซับซ้อนในกระบวนการบัญชีและการเงิน ช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรที่จะเสียไปในกระบวนการดำเนินธุรกิจ
  • การปฏิบัติตามกฎหมายและภาษี: โปรแกรมบัญชีช่วยในการคำนวณภาษีและการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีและการเงิน ช่วยในการป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
  • การวิเคราะห์ผลกระทบของการตัดสินใจทางการเงิน: โปรแกรมบัญชีช่วยในการวิเคราะห์ผลกระทบของการตัดสินใจต่าง ๆ ทางการเงินต่อธุรกิจ ช่วยให้ SMEs สามารถวางแผนเติบโตและการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การบริหารจัดการธุรกิจ: ช่วยในการวิเคราะห์สถานะการเงินของธุรกิจ ช่วยให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการและเติบโตในอนาคตได้

ดังนั้น โปรแกรมบัญชีในธุรกิจขนาดเล็กและกลาง หรือ SMEs เป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจในหลายประเทศ เนื่องจากมีบทบาทที่สำคัญในการสร้างงานและสร้างรายได้ รวมถึงเป็นแหล่งสร้างนวัตกรรมและความสร้างสรรค์ในสังคมธุรกิจ. การใช้เทคโนโลยีและการบริหารแบบเป็นระบบจะช่วยให้ SMEs สามารถเติบโตและเหนือกว่าคู่แข่งในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การปิดงบการเงิน สำคัญกับบริษัทขนาดไหนมาดูกัน

การปิดงบการเงินหมายถึงกระบวนการที่ใช้ในการสรุปและบันทึกข้อมูลทางการเงินขององค์กรหรือบริษัทในระยะเวลาที่กำหนด ปกติแล้ว การปิดงบการเงินเป็นกระบวนการที่ทำขึ้นเป็นประจำทุกๆ ปีหรือระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งรวมถึงการสร้างรายงานการเงินสำคัญ เช่น งบกำไรขาดทุน (Income Statement) งบการเงินสรุปผลกิจกรรมทางการเงิน (Statement of Cash Flows) และงบสมดุล (Balance Sheet) ซึ่งเป็นเอกสารที่สำคัญในการวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินธุรกิจขององค์กร เพื่อสร้างรายงานการเงินสรุปผลกำไรหรือขาดทุนและสภาพการเงินอื่น ๆ ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น พนักงาน  และผู้อื่นที่ให้ความสนใจด้านการเงินภายในบริษัท 

การปิดงบการเงิน สำคัญกับบริษัทขนาดไหน

สำคัญกับบริษัททุกขนาดไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ เพราะงบการเงินเป็นเอกสารที่สำคัญในการวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินธุรกิจขององค์กร นอกจากนี้ การปิดงบการเงินยังเป็นการสร้างความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรต่อสถานะทางการเงินขององค์กรและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ 

องค์กรขนาดใหญ่ อาจมีทีมงานการเงินภายในที่รับผิดชอบในการปิดงบการเงิน โดยมีบัญชีและผู้เชี่ยวชาญทางการเงินภายในที่เป็นผู้รับผิดชอบภายในระบบ  องค์กรที่ใหญ่ขนาดยังมักมีความซับซ้อนในการดำเนินการทางการเงิน ซึ่งอาจต้องรวมกับข้อมูลทางการเงินจากสาขาหรือธุรกิจย่อยต่างๆ ภายในบริษัท 

สำหรับบริษัทขนาดเล็ก หรือร้านค้าขนาดเล็ก อาจใช้บริการจากผู้ที่มีความชำนาญในการบัญชีและการเงินภายนอกแทน อย่าง บริษัทที่ให้บริการด้านบัญชี บริการที่ปรึกษาการเงิน หรือบริษัทตรวจสอบและปิดงบการเงิน (Audit and Accounting Firms) เข้ามาทำแทน เนื่องจากการจ้างพนังงานการเงินเข้ามา อาจไม่คุ้มทุนที่ต้อเสียให้แบบรายเดิน การจ้างบรษัทภายนอก ถือว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดนั่นเอง 

ขั้นตอนการปิดงบการเงินปกติประกอบด้วยขั้นตอนหลักๆ ดังนี้:

ขั้นตอนการปิดงบการเงินอาจมีความหลากหลายและขึ้นอยู่กับลักษณะและขนาดขององค์กร แต่ขั้นตอนที่กล่าวมาเป็นขั้นตอนพื้นฐานที่ถูกนำมาใช้ในหลายองค์กรเพื่อปิดงบการเงินและสร้างรายงานการเงิน ก่อนส่งสรรพกรดท่านั้น

  1. รวบรวมข้อมูลการเงิน เริ่มต้นด้วยการรวบรวมข้อมูลทางการเงินที่จำเป็น เช่น ใบบันทึกการเงิน (financial transactions), รายงานการเงินรายเดือน/รายไตรมาส, รายงานการเงินของส่วนต่างๆ ในองค์กร เป็นต้น
  2. การบันทึกข้อมูล ข้อมูลการเงินภาษีซื้อ-ขายที่รวบรวมมาจะต้องถูกบันทึกในระบบบัญชีขององค์กร โดยใช้วิธีการบัญชีที่ถูกต้องและเป็นไปตามหลักการบัญชีที่กำหนด
  3. การตรวจสอบการเงินที่เดินบัญชี หรือ Statement ในขั้นตอนนี้จะตรวจสอบข้อมูลการเงินที่บันทึกไว้ว่าถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ และทำการปรับปรุงหากพบข้อผิดพลาดหรือข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
  4. เริ่มสร้างรายงานการเงิน หลังจากที่ข้อมูลการเงินถูกตรวจสอบและปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว จะทำการสร้างรายงานการเงินต่างๆ เช่น งบกำไรขาดทุน, งบการเงินสรุปผลกิจกรรมทางการเงิน, และงบสมดุล
  5. การตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบภายนอก (หากมี) บริษัทหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในการตรวจสอบและปิดงบการเงินอาจมาตรวจสอบรายงานการเงินเพื่อยืนยันความถูกต้องและเชื่อถือได้  เป็นข้อมูลจัดเก็บสำหรับกิจการต่อไป ไม่น้อยกว่า 5 ปี ตามที่กฎหมายกำหนด
  6. การส่งงบ รายงานการเงินที่สร้างขึ้นจะถูกนำส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมกสรรพากรภายใน 150 วัน นับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

การปิดงบการเงินในองค์กรมักมีความซับซ้อนและจำเป็นต้องมีผู้ที่มีความรู้และความชำนาญในการบัญชีและการเงินมารับผิดชอบ บางองค์กรอาจมีทีมงานการเงินภายในที่รับผิดชอบในการปิดงบการเงิน ในขณะที่องค์กรอื่นๆ อาจเลือกที่จะจ้างบริษัทการเงินภายนอกแทน เพื่อลดค่าใช่จ่ายที่ไม่จำเป็นกับบริษัท

ทำความรู้จัก การวางแผนการเงิน ที่สามารถทำให้ธุรกิจก้าวไปถึงความสำเร็จ

การวางแผนการเงินหมายถึงกระบวนการจัดการเงินให้เป็นไปตามเป้าหมายที่เราต้องการ แน่นอนว่านี่คือจุดเริ่มต้นของความสำเร็จของธุรกิจ ตั้งแต่เล็กไปจนถึงใหญ่  การวางแผนการเงินจะช่วยให้เราสามารถกำหนดเป้าหมายการใช่จ่ายเงินที่ต้องการบบแบบระยะยาว และยังช่วยให้สามารถสร้างยุทธศาสตร์เพื่อทำให้เป้าหมายนั้นเป็นจริงได้เร็วมากขึ้น เหมือนเป็นทางสูตรลัพธ์ ที่จะนำพาเราไปสู่เป้าหมายอย่างมั่นคง

การวางแผนการเงิน ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างไร 

การวางแผนการเงิน มีข้อดีหลายอย่าง เช่น:

การมีความชัดเจนในเป้าหมายการเงิน

การวางแผนการเงินช่วยให้เราสามารถกำหนดเป้าหมายการเงินที่ชัดเจนและเหมาะสมกับทุนในช่วงนั้นๆ ที่สำคัญยังช่วยกำหนดเป้าหมายการออมเงินหรือการลงทุนในอนาคตได้อีกด้วย การที่เรามีแนวทางที่ชัดเจน ช่วยให้เรามีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนมากขึ้น รู้ว่าเงินแต่ละส่วนต้องไปทางไหน ทำให้เราเดินไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง

การควบคุมและการจัดการเงิน

การวางแผนการเงินช่วยให้คุณมีการควบคุมและการจัดการเงินที่ดีขึ้น สามารถตรวจสอบรายได้และรายจ่ายได้แบบเรียวไทม์และตลอดเวลาทำให้รู้จุดผิดพลาดได้เร็ว และสร้างแผนการชำระหนี้ภาษีตามกฏหมายได้อย่างเหมาะสม ที่สำคัญยังช่วยให้ประหยัดเงินและสามารถนำส่วนต่างมาเพิ่มมูลค่าเงินได้อีกด้วย

 การเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉิน

การเตรียมพร้อมเรื่องการเงิน กองเงินฉุกเฉิน เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่งมากที่จะสามารถทำให้เราเดินหน้าไปถึงความสำเร็จของธุรกิจได้อย่างราบรื่น กองทุนฉุกเฉินมี เพื่อรับมือกับค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น เช่น การสูญเสียงาน การเจ็บป่วย หรือภัยพิบัติ การมีแผนการเงินชัดเจนช่วยให้เราไม่ต้องหาทางออกใหม่ อย่างการกู้ยืมเงิน หรือวางที่ค้ำประกัน จุดนี้เลย ทำให้เราสามารถโล่งใจการใช้เงินส่วนนี้ในการบริหารได้ 

การสร้างมูลค่าเงินในระยะยาว

การออมเงิน หรือลงทุนในทรัพย์สินที่เติบโตมูลค่า เช่น การลงทุนในหุ้นหรืออสังหาริมทรัพย์ที่มีโอกาสเพิ่มมูลค่าในอนาคต การวางแผนการเงินช่วยให้คุณมีความรู้สึกสบายใจว่าคุณกำลังสร้างความมั่งคั่งให้กับงาน ทั้งกับตัวเองครอบครัว และองค์กร

ลดความเครียดทางการเงิน

เมื่อมีการวางแผนที่ดี รู้ว่าเงินอต่ละส่วนต้องกระจายไปตรงไหน เงินสำรองที่ต้องเก็บมีเพียงพอสำหรับธุรกิจที่เรากำลังทำอยู่ เราก็จะรู้สึกสบายใจมากขึ้น ไม่ต้องมานั่งเครียด ว่าเงินก้อนนี้ต้องเอาไปลงทุนส่วนไหน หรือชักหน้าไม่ถึงหลัง นอกจากนี้ การวางแผนเพื่อเตรียมการเงินในอนาคตยังช่วยให้คุณมีความมั่นใจในการเดินทางสู่อนาคตทางการเงินที่แข็งแกร่งและสมดุล

การวางแผนการเงิน มีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากมันช่วยให้เราควบคุมและจัดระเบียบทิศทางของเงินได้ดียิ่งขึ้น แถมยังในเรื่องของการ บริหารจัดการรายได้และรายจ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไปจนถึงการตั้งกองทุนฉุกเฉิน  ช่วยสร้างมูลค่าเงินสะสมและเพิ่มมูลค่าเงินให้กับเงินออมได้แบบระยะยาว เท่านี้การเดินทางของธุรกิจก็พร้อมที่จะนำเราไปสู่ความสำเร็จแล้ว 

ธุรกิจล้มเหลว เสี่ยงลงทุนไม่รอด หากยังทำ 7 พฤติกรรมเหล่านี้

การลงทุน มักควบคู่กับความเสี่ยงเสมอ ยิ่งเราลงทุนมากแค่ไหน เราก็ต้องเสี่ยงที่จะขาดทุนได้เช่นกัน ยิ่งในด้านการตลาด มักจะเจอความเสี่ยงในการลงทุนได้ตลอดเวลา แต่ใช่ว่าการลงทุน จะไม่ไดผลตอบแทนเสมอไป ยิ่งเราเลือกที่จะลงทุนในช่วงตลาดขาขึ้น ก็ทำให้ได้ผลตอบแทนที่เกินเป้าหมายได้เช่นกัน แต่ก่อนจะเริ่มลงทุนนั้น ต้องรู้ถึงความเสี่ยงจาก 7 พฤติกรรมดังนี้ก่อน

รวม 7 พฤติกรรม เสี่ยงลงทุนไม่รอด

1. ทุ่มหมดตัว กล้าได้กล้าเสีย

การลงทุนแบบเทหน้าตัก หรือลงทุนแบบหมดตัว เพราะหวังว่าจะได้กลับคืนมาเท่าตัว เป็นความคิดที่ผิดมาก เพราะการลงทุน คือการแบ่งเงินส่วนต่าง ๆ ไปลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยง ดังนั้น ควรจะแบ่งสัดส่วนเงินในการลงทุนให้พอดี เพื่อกันปัญหาขาดทุนในอนาคต

2. เชื่อข่าวลือที่ไม่มีมูลความจริง

หากเชื่อข่าวที่พบเห็นได้ง่าย และไม่ได้มีการคัดกรอง เสี่ยงไม่น้อยที่จะทำให้ขาดทุนได้เช่นกัน ดังนั้นหากเจอข่าวลือ ให้ควรศึกษาอย่างถี่ถ้วนทุกครั้ง และไม่ควรเชื่อเสมอไป

3. ลงทุนโดยไม่ศึกษาให้ครบถ้วน

การตลาดเป็นสิ่งไม่แน่นอนและคงที่ หากเราลงทุนในสิ่งที่เรายังไม่เข้าใจดี ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน เนื่องจากความไม่เข้าใจทางการตลาดของธุรกิจนั้น ๆ ก็ทำให้การลงทุนติดลบ หรือขาดทุนได้ในที่สุด ดังนั้นเป็นไปได้ ควรศึกษาอย่างถี่ถ้วน ครบทุกความเข้าใจก่อนเริ่มการลงทุน

4. ไม่ติดตามข่าวสาร

เนื่องจากการตลาดมีการเคลื่อนไหวไม่แน่นอน และผันผวนแทบตลอดเวลา การไม่ติดตามข่าวสารด้านการตลาดเลย ทำให้พลาดสิ่งสำคัญในการลงทุนได้ ดังนั้น ควรติดตามข่าวสารด้านการตลาดอย่างน้อย 2 – 3 วัน หรือเป็นไปได้ก็ลองดูการตลาดในทุก ๆ วัน เพื่อให้ทันข่าวสารด้านนี้อย่างหมดจด

5. ไม่อดทนต่อการลงทุน

เนื่องจากการลงทุน มักคู่กับความเสี่ยง มีขาดทุนบ้าง ได้ผลตอบแทนบ้าง แต่หากเลือกที่จะทำไม่นาน แล้วหยุดไปเลย ก็อาจทำให้เสียโอกาสในการลงทุนได้ ดังนั้นนักลงทุนควรเข้าใจในธรรมชาติของการลงทุน มเสียบ้าง ก็ต้องมีได้บ้างเป็นเรื่องปกติ และยิ่งลงทุนเป็นเวลานาน โอกาสในการขาดทุนก็ยิ่งน้อยลงเช่นกัน 

6. กลัวการลงทุน

หากกลัวในการลงทุนว่าจะเสี่ยงขาดทุนมากแค่ไหน ก็ยิ่งเสียโอกาสในช่วงขาขึ้นของการตลาด แต่ให้เข้าใจไว้เสมอ ว่ายิ่งเราศึกษาการลงทุนดีแค่ไหน โอกาสในการขาดทุนก็ยิ่งน้อยลงแค่นั้น และเข้าใจในธรรมชาติของการตลาด แล้วเราจะค่อย ๆ หายกลัวในการลงทุนได้เอง

7. มั่นใจในการลงทุนมากเกินไป

การมั่นใจในการลงทุนก็ไม่ใช่เรื่องที่แย่ แต่หากมั่นใจเกินไป โดยไม่ได้นึกถึงการตลาดที่มักเปลี่ยนไปได้ทุกเวลา ก็เสี่ยงขาดทุนได้เช่นกัน ดังนั้นการลงทุน ควรลงทุนแค่พอดี เพื่อผลตอบแทนที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ 

การได้รู้ว่าพฤติกรรมแบบไหนที่เสี่ยงทำให้การลงทุนมีความเสี่ยง ก็ควรหยุดและค่อย ๆ ปรับตัวไปกับการลงทุนนั้น ๆ แต่ต้องเข้าใจธรรมชาติของการตลาดเสมอ ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ลงทุน ไม่ควรใจร้อนจนเกินไป เพื่อให้การลงทุนมีความเสี่ยงที่น้อยที่สุด และได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด

4 เหตุผลผิด ๆ ของการวางแผนทางการเงิน

การวางแผนทางการเงินนั้น เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อย ที่ช่วยให้ธุรกิจและการลงทุนต่าง ๆ คล่องตัว มั่นคงและมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากวางแผนทางเงินเร็วแค่ไหน โอกาสในการลงทุนรวมทั้งธุรกิจต่าง ๆ ก็ยิ่งคล่องตัวแค่นั้น เนื่องจากการเงินมีการผันผวนตลอดเวลา จึงต้องมีการวางแผนที่จะใช้เงินในการลงทุนต่าง ๆ เพื่อให้ผลตอบแทนออกมาดีที่สุด แต่หากไม่รู้เหตุผลผิด ๆ ในการลงทุนนั้นเลย ก็มีสิทธิที่จะทำให้ธุรกิจนั้นไม่ถึงเป้าหมาย หรือขาดทุนได้ในที่สุด

1. ไม่มีความรู้ในการวางแผนทางการเงินมากพอ

หากคิดว่าตนเองไม่มีความรู้เลยในการวางแผนทางการเงิน จึงไม่กล้าที่จะลงมือทำ ควรจะเริ่มจากบันทึกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในแต่ละวัน เช่น บันทึกรายรับ บันทึกรายจ่าย และเพิ่มเงินออมไปได้ ซึ่งการทำวธีนี้ทำให้รู้เส้นทางการเินเงินของเราว่าไปในทิศทางไหน และสามารถวางแผนในอนาคตต่อไปได้

2. ไม่มีเวลา

การวางแผนทางการเงิน บางคนอาจคิดว่ามันยุ่งยากจนไม่มีเวลาทำ ไม่จริงเลย เนื่องจากการวางแผนทางการเงิน เป้นการประเมินค่าใช้จ่ายในแต่ละวันหรือแต่ละเดือนว่าไปในทิศทางบวกหรือทิสทางลบ แล้วนำมาคำนวณว่าเดือนต่อ ๆ ไปควรใช้เงินประมาณเท่าไหร่ จึงจะสมดุลกันนั่นเอง

3. ยังไม่พร้อมในการวางแผนทางการเงิน

หากคิดแต่ว่ายังไม่พร้อม การเงินก็ยิ่งแย่ลงได้เช่นกัน ดังนั้นหากทำการวางแผนทางการเงินเร็วแค่ไหน ก็ยิ่งสร้างประโยชน์ต่อทางการเงินของเราได้มากแค่นั้น

4. มีหนี้และภาระเยอะ

ยิ่งมีหนี้และภาระเยอะมากแค่ไหน ยิ่งต้องวางแผนทางการเงินให้เร็วที่สุด เนื่องจากการวางแผนทางการเงิน สามารถช่วยบริหารและจัดการปัญหาในการใช้จ่ายได้ดีไม่น้อย และเป็นประโยชน์ได้ในอนาคต และอาจเคลียร์หนี้สินได้เช่นกัน หากวางแผนทางการเงินได้ดี

หวังว่าบทความนี้ จะช่วยเป็นแนวทางในการแก้ไขความเข้าใจผิด และมั่นใจในการลงทุน รวมถึงมั่นใจในการวางแผนทางการเงิน เพื่อผลตอบแทนที่ดี และลดปัญหารวมถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ในอนาคตได้อีกด้วย

Education Template

Scroll to Top