ธุรกิจ

บทความความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับธุรกิจ เพื่อเป็นแหล่งความรู้ในการต่อยอดหรือไอเดียการทำธุรกิจ

ตัวอย่างการวิเคราะห์ ROI และ ROE

ก่อนอื่นเรามาทราบก่อนว่า อัตราส่วนทางการเงินที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของผลกำไรและสัดส่วนการลงทุน ที่เรียกว่า ROI และ ROEคืออะไร โดยปกติแล้ว เงินลงทุนจะถูกแบ่งออกมาเป็น 2 ชนิดประเภทด้วยกันคือ “เงินทุนส่วนของเจ้าของ” โดยปกติ เจ้าของกิจการมักใช้ทุนส่วนตัวในการเริ่มต้น แต่ปกติแล้วถ้าทุนไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องหาเงินทุนเพิ่มเติ่มในรูปแบบต่างๆ ที่เรียกว่า “เงินทุนจากแหล่งอื่น” เช่น การกู้ธนาคารหรือ สถาบันการเงิน การออกหุ้นกู้ เป็นต้น เมื่อได้เงินทุนที่เพียงพอแล้ว จึงนำมาดำเนินกิจการจนเกิดผลกำไรสุดท้ายที่เรียกว่า กำไรสุทธิ ดังนั้น

 

ROI อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment, ROI ) จึงคำนวณจาก ฐานเงินลงทุนรวม (ทุนส่วนของเจ้าของ และ ทุนจากแหล่งอื่น ) เพื่อแสดงถึง ประสิทธิภาพการดำเนินงานว่า “การลงทุนครั้งนี้ สามารถสร้างผลตอบแทนกลับคืนมาจากเงินลงทุนทั้งหมดได้กี่เปอร์เซนต์” ดังนั้น ยิ่งค่า ROI สูง จึงยิ่งดี

 

ROI = (กำไรจากการดำเนินการ / เงินลงทุนรวม ) x100%

 
 
 

ROE อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ (Return on Equity, ROE ) คำนวณจากฐานเงินลงทุนเฉพาะส่วนของเจ้าของ เพื่อแสดงว่า “การนำเงินทุนตนเองมาลงทุนครั้งนี้ จะได้ผลตอบแทน กลับคืนมากี่เปอร์เซนต์” ดังนั้น ยิ่งค่า ROE สูง จึงยิ่งดี

 

ROE = (กำไรจากการดำเนินการ / เงินลงทุนส่วนเจ้าของ ) x100%

 

ตัวอย่างเช่น

 

“นาย ก ลงทุนโครงการสร้างโรงงานขาย ต้องใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 25 ล้านบาท แต่ตัวเองมีเพียง 15 ล้านบาท นาย ก ได้ทำการกู้เงินสถาบันการเงินเพิ่มอีก 10 ล้านบาท หลังจากนั้น เมื่อสร้างเสร็จแล้วขายหมด ได้กำไรสุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 7.5 ล้านบาท”

 

จากตัวอย่าง พบว่า

 

เงินทุนส่วนของเจ้าของ 15 ล้านบาท

 

เงินทุนจากแหล่งอื่น 10 ล้านบาท

 

มีกำไรสุทธิ 7.5 ล้านบาท

 

จะได้ ROI = ( 7.5 / 25 ) x 100 = 30%

 

ROE = (7.5 / 15) x 100 = 50%

 

แสดงว่า การลงทุนนี้ นาย ก มีผลตอบแทน 50% มีผลตอบแทนทั้งโครงการ 30%

 

การวิเคราะห์งบการเงินในส่วนนี้ มีอยู่ในโปรแกรมบัญชี AccCloud หัวข้อรายงาน >> ระบบบัญชี >> วิเคราะห์งบการเงิน

สามารถศึกษาข้อมูลของระบบบัญชีได้ที่นี่ >> คลิ๊ก

 

ที่มา www.acccloud.tech

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

วิวัฒนาการด้านการจัดเก็บฐานข้อมูล

ถ้าพูดถึงการดำเนินชีวิต หรือ การตัดสินใจต่างๆในโลกยุคปัจจุบัน สิ่งที่หนีไม่พ้นคือ การนำข้อมูลในอดีตที่ถูกต้องมาช่วยเป็นปัจจัยในการตัดสินใจว่าเราจะดำเนินการเรื่องต่างๆ หากเป็นในสมัยก่อน การนำข้อมูลในอดีตอาจจะไม่ได้มีความหมายมากสักเท่าไหร่ เนื่องจาก การเก็บข้อมูลต่างๆยังมีน้อยและ คู่แข่งของเราก็ไม่ได้แตกต่างกับเรามากนัก ดังนั้นในเมื่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางด้านการแข่งขัน และ ทางด้านเทคโนโลยีไม่ได้มีความแตกต่าง การดำเนินธุรกิจในสมัยก่อน ทุกๆคนจึงมีความเท่าเทียมกัน แต่แข่งกันที่การจัดการและ การนำมาใช้ซึ่งทรัพยากรของเราเท่านั้น

 

ในโลกยุคปัจจุบันจะแตกต่างกับในสมัยก่อนอย่างสิ้นเชิง ข้อมูลจัดเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในปัจจุบันข้อมูลส่วนบุคคล หรือ องค์กรแทบจะถูกจัดเก็บตั้งแต่เราตื่นนอนมาตอนเช้า หรือ เราเข้าทำงานในวินาทีแรกเลยทีเดียว ดังนั้น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกประมวลผลและนำไปใช้ในการตัดสินใจได้อย่างเป็นจำนวนมาก ดังนั้นองค์กรที่รู้จักวิธีการใช้ของข้อมูล และ องค์กรที่มีระบบจัดเก็บข้อมูลที่ดีและทันสมัยย่อมได้เปรียบในแง่โครงสร้างการบริหารกว่า องค์กรที่ไม่มี

 

ลักษณะของการจัดเก็บข้อมูลแบบดั้งเดิม เราจะใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า File Base หรือเก็บข้อมูลในรูปแบบไฟล์ เช่น dBase, Foxbase หรือ MS Access เป็นต้น ซึ่งมีข้อจำกัดสูงมากและ ไม่ยืดหยุ่นต่อการขยายตัวและการเติบโดในอนาคตของธุรกิจ รวมถึงยังมีความเสี่ยงต่อการ โดน Virus หรือ ไฟล์เสียไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายในเช่น มีคนไปลบไฟล์ทิ้ง หรือ Harddisk เสีย หรือ ปัจจัยภายนอกเช่น เครื่องที่เก็บข้อมูลเสีย ไฟซ๊อต หรือ น้ำท่วมเป็นต้น

 

การจัดเก็บข้อมูลแบบยุคกลาง (Client Server) คือ การติดตั้งระบบฐานข้อมูลไว้เครื่อง Server และ การติดตั้งโปรแกรมไว้แต่ละเครื่องที่จะใช้งานโดยต่อสายแลนเพื่อใช้งานระบบ ในวิธีนี้ไม่แตกต่างจาก Filebase เลยคือมีความเสี่ยงซึ่งกลายคลึงกัน และ การเข้าถึงฐานข้อมูลยังมีช่องโหว่จำนวนมากอีกด้วย นอกจากนั้น หากธุรกิจที่มีสาขาจำนวนมาก จะใช้ระบบแบบนี้ไม่ได้ เนื่องจากปัญหาเรื่องเทคโนโลยีการส่งถ่ายข้อมูลแบบดั้งเดิมจะไม่เหมาะสมกับการใช้งานผ่านเครือข่าย internet ทำให้องค์กรต้องไปเช้าสัญญาณ lease line ซึ่งราคาแพงมหาศาลมาใช้ในองค์กร

 

การจัดเก็บข้อมูลแบบยุคปัจจุบัน (Cloud Server) แบ่งเป็น Public Cloud และ Private Cloud กล่าวคือการใช้งาระบบผ่าน Cloud Service รองรับผู้ใช้ได้จำนวนมากๆ พร้อมกับรายการจำนวนมากเช่นเดียวกัน ไม่มีปัญหาเรื่องความเร็วในการใช้งาน เพราะใช้เทคโนโลยี แบบใหม่และมีการ update ตลอดเวลา รวมถึง การแก้ไขระบบผู้ใช้งานจะแทบไม่รู้สึกอะไร ไม่ต้องรอให้มีการ Remote ไปติดตั้งเสียเวลาเป็นวันๆ การ update จะใช้เวลาเพียง ไม่เกิน 5 นาที ทุกเครื่องผู้ใช้งานจะได้ระบบใหม่ในทันที และด้วยระบบ Cloud Server นั้น ระบบฐานข้อมูลได้ถูกแยกออกไปตามประเภทการใช้งานจำนวนมาก ดังนั้น ด้วยจำนวนข้อมูลที่สามารถรองรับได้มหาศาล รวมถึงความเสถียรและ ความถูกต้องของระบบจึงมีมากกว่าระบบแบบดั้งเดิม

 
 

ในอดีต จนถึงปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่า รากฐานขององค์กรด้านการผลิตในแง่ข้อมูลจะหนีไม่พ้นข้อมูล 3 ส่วนด้วยกันคือ ข้อมูลด้านบัญชีการเงิน (ซื้อ ขาย จ่าย รับ ลูกหนี้ เจ้าหนี้ ) ด้านสินค้าวัตถุดิบ และ ด้านการผลิตและสูตรต่างๆ ดังนั้น การจัดเก็บข้อมูลทั้ง 3 มิตินี้จึงนับเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องใช้ระบบที่ครอบคลุมกระบวนการทำงาน และมีความทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม (เช่นการใช้ระบบ Cloud เข้ามาช่วยในการทำงาน)

 

โปรแกรมบัญชี AccCloud.tech เป็นระบบที่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้และ ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมในอนาคตเช่นเดียวกัน

การสร้างรหัสพื้นฐานของระบบ

หากเราเปรียบข้อมูลของ องค์กร คือ กระแสเลือดในร่างกาย แล้ว รหัสพื้นฐานของระบบ สามารถเปรียบได้กับ โครงกระดูก ของร่างกายเลยทีเดียว สาเหตุเป็นเพราะหาก เรา Set Up ข้อมูลพื้นฐานผิดพลาดไป เช่นสร้างรหัสบัญชีจากรายได้ ไปอยู่ในหมวดค่าใช้จ่าย เวลาที่เราต้องการจะดูว่าธุรกิจเรากำไรขาดทุนเท่าไหร่ ผลก็คือจะขาดทุนตลอดเวลา หรือ หากเราสร้างรหัสสินค้า แบบไม่ถูกต้อง เช่นสร้างเสร็จแล้วทิ้งไปเรื่อยๆ นั่นก็หมายถึงวันนึงเราจะมีสินค้าเป็นล้านๆรายการทั้งที่ความเป็นจริงแล้วมีแค่ไม่ถึง 1000 รายการ

 

ข้อมูลพื้นฐาน ผมขอเปรียบเสมือนกับ อะไหล่รถยนต์ รถยนต์คันไหน อะไหล่ยิ่งมาก ยิ่งดูแลลำบาก เพราะรายการอะไหล่ที่ต้องคอยเปลี่ยนมันเยอะและมันสัมพันธ์กันหมด เช่นเดียวกัน แน่นอนว่าไม่มีใครอยากจะ Set รหัสที่มันมีเยอะจนเกินไป เพราะนอกจากจะดูและยากแล้ว ยังมีโอกาสหยิบผิดรหัสไปใช้งานได้เช่นเดียวกัน

 

สาเหตุที่องค์กรมีรหัสเยอะแยะมากมาย จากที่ผมเคยเจอมา จะเป็นเพราะ

 
  1. เจ้าหน้าที่คนเดิมตั้งไว้ โดยที่ตอนแรก ตั้งแค่ให้พอทำงานได้ แต่พอนานเข้าๆ การตั้งก็ตามใจฉันตั้งกันมาเรื่อยๆ จนสุดท้ายแล้ว พอเจ้าหน้าที่คนเดิมไม่อยู่ คนใหม่เลยทำอะไรไม่ถูกเพราะข้อมูลมันเยอะไปหมด
  2. การตั้งรหัส ไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตกลงกันไว้แต่แรก โดยมากการตั้งรหัสเหล่านี้จะทำในโปรแกรมบัญชี ผู้ตั้งเวลาคิดอะไรไม่ออกก็จะใช้วิธี running number ไปเรื่อยๆ (วิธี Running Number เป็นวิธีที่ สร้างปัญหาในระยะยาวที่สุดในทุกๆวิธีของการตั้งรหัส)
  3. โปรแกรมบัญชีเดิม ไม่มีมาตรฐานการตั้ง (เน้นง่าย แต่สร้างปัญหาในระยะยาว) ทำให้ในระยะยาว การตั้งรหัสมั่วและ ซ้ำซ้อนได้ง่ายๆ

วิธีการตั้งรหัสที่ถูกต้อง

 

ทำได้ไม่ยาก ขอให้ทุกคนในบริษัทมาประชุมกันเรื่องมาตรฐานการตั้งรหัส ขอให้เน้นที่ทุกคนในองค์กรเข้าใจตรงกัน และ เป็นรูปแบบเดียวกัน เป็นใช้ได้ หรือหากต้องการข้อแนะนำใดๆ ขอเชิญมาอบรมวิธีการ Setup ข้อมูลพื้นฐานและติดตั้งรหัสได้ที่ บริษัท AccCloud.tech ในเวลาทำการ ทางเราจะมีบุคลากรให้คำแนะนำการ set up ข้อมูลประจำอยู่ที่บริษัทอยู่แล้ว ***การอบรมไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

 

โปรแกรมบัญชี AccCloud.tech เป็นโปรแกรมที่เน้นด้านความถูกต้องเป็นหลัก ดังนั้นเรื่องการติดตั้งข้อมูลพื้นฐานทางเราจึงต้องตรวจสอบให้รอบคอบเสียก่อน ก่อนที่จะขึ้นระบบ

การนำระบบ AccCloud ERP ไปใช้ในภาคการผลิต

โดยธรรมชาติของระบบผลิตในภาคอุตสาหกรรม สิ่งที่จำเป็นในอันดับต้นๆคือ การบริหารต้นทุน และ การวางแผนจัดการการผลิตให้สามารถผลิตสินค้าได้ทันเวลาและเสียหายน้อยที่สุด ดังนั้นระบบบริหารการผลิตจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ นอกจากนั้น ระบบบริหารบัญชีการเงิน เป็นส่วนที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน

 

ในระบบการทำงานของโรงงาน จะมีการผลิตอยู่ 2 แบบด้วยกันคือการ Made to Stock และ Made to Order โดยกระบวนการทำงานจะเป็นดังนี้

Workflow Enhancement via ERP | Download Scientific Diagram
 

หลังจากการรับ Order จากลูกค้า ฝ่ายขายเช็ค stock โดยหากในคลังมีสินค้าอยู่แล้วฝ่ายขายจะทำการจองสินค้าเพื่อขายแต่หากไม่มีของใน Stock ฝ่ายขายจะทำการแจ้งให้ฝ่ายผลิตไปทำการผลิตสินค้า จากนั้นฝ่ายผลิตจะทำการรวบรวม Order มาเพื่อทำการสั่งผลิต เช่นเดียวกับฝ่ายวางแผนวัตถุดิบว่าในปัจจุบันวัตถุดิบคงคลังเหลือเพียงพอผลิตหรือไม่ จะต้องสั่งซื้อกับ supplier มาเพิ่มจำนวนเท่าใด และ ฝ่ายวางแผนกำลังการผลิต จะต้องตรวจเช็คว่าเครื่องจักรสามารถรับกำลังการผลิตได้มากน้อยแค่ไหนในการผลิตให้ทันเวลา จากนั้นในขั้นตอนระหว่างการผลิตฝ่ายควบคุมคุณภาพจะต้องคอยตรวจสอบว่าจำนวนของเสียที่เกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน เพื่อบันทึกเป็นประสิทธิภาพของกระบวนการการผลิต จนกระทั่งผลิตเสร็จจึงรับเข้าสู่คลังสินค้าสำเร็จรูปรอการออกใบส่งไปให้กับลูกค้าอีกทีนึง

 

Workflow Automation with an ERP | OmegaCube Blog

 

 

ในระบบ ERP จะเริ่มจับกระบวนการตั้งแต่การเปิดรับ Order จากลูกค้าและนำไปเปิดใบแจ้งผลิตให้ฝ่ายผลิตเปิด Job งาน โดยที่จะต้องมีการ Set Up สินค้าสำเร็จรูปจะต้องมีสูตรการผลิต และ ต้องมีการกำหนดขั้นตอน พร้อมด้วยเครื่องจักรที่จะใช้ในการผลิตลงในระบบ จากนั้นทันทีที่มีการบันทึกรับ Order เข้ามาระบบจะทำการคำนวณหาสินค้าที่จะต้องสั่งซื้อมาใน Stock ให้อัตโนมัติ เพื่อให้ฝ่ายจัดซื้อออกใบสั่งซื้อไปยัง Supplier จากนั้นฝ่ายผลิตจะทำการออกใบ Job Order หรือใบสั่งผลิต เพื่อเป็นตัวตั้งต้นการทำงาน และ ทำการเบิกวัตถุดิบเพื่อทำการผลิต ในระหว่างการผลิตระบบจะทำการเก็บข้อมูลสินค้าระหว่างผลิตในแต่ละกระบวนการว่า สินค้าที่ดีและเสียจำนวนเท่าไหร่ จนกระทั่งผลิตเสร็จ ในระบบจะทำการให้ฝ่ายคลังทำการบันทึกรับสินค้าสำเร็จรูปเพื่อเก็บเข้าสู่คลังสินค้าสำเร็จรูป พร้อมด้วยต้นทุนการผลิตเข้ามาในตัวสินค้า ก่อนจะนำไปส่งมอบ อย่างไรในกระบวนการการส่งมอบโดยปกติแล้วในโรงงานจะมีรถส่งของของตนเอง ดังนั้นในระบบ ERP จึงมีระบบการจัดรถขนส่งเพื่อให้ฝ่ายจัดรถระบุรถให้ไปส่งกับลูกค้าได้

 

โดยในระหว่างที่มีการออกบิลขายตัวระบบเก็บต้นทุนขายในแต่ละบิล ทำให้ผู้ใช้งานสามารถทราบถึงกำไรขาดทุนเบื้องต้นต่อบิลได้ในทันที จากนั้นจะเป็นขั้นตอนในการวางบิลเก็บเงิน ออกใบเสร็จรับเงิน และ รับเงินเข้าระบบ ทั้งนี้ในระบบ ERP ประกอบด้วยส่วนงานบัญชี การเงิน ที่สามารถติดตามการรับชำระ ดูสถานบิลคงค้างที่ยังไม่ได้เก็บเงิน หรือ ดูว่าเช็คใบไหนที่ยังไม่ได้ขึ้นเงินบ้างได้

 

นอกเหนือจากนี้ในระบบ AccCloud.tech   ยังมีระบบเสริมการทำงานอีกหลายส่วนเช่น ระบบ Warehouse Online, Point Of Sale , Production Tracking ,PO Online และ อื่นๆ ที่เป็นตัวเสริมเพื่อช่วยในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

อย่างไรก็ดี ระบบ ERP ที่ดีในยุคปัจจุบันจะต้องจำเป็นที่จะต้อง On Cloud เนื่องจากเรากำลังอยู่ในยุค Thailand 4.0 ที่ทุกสิ่งอย่างจะต้องเชื่อมโยงเป็นสิ่งเดียวกัน(Connectivity) ทำงานแบบพร้อมๆกัน (Collaboration) และ สามารถติดตามการทำงานได้อย่างในปัจจุบัน(Real Time) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อการที่ผู้บริหารสามารถทราบถึงผลการทำงานและสามารถตัดสินใจ เช่นจะรับหรือไม่รับงาน จะตั้งราคาขายเท่าไหร่ หรือ จะดูว่าสินค้าที่ผลิตไปแล้วดีหรือเสียมากน้อยแค่ไหน และแน่นอนในยุคปัจจุบันธุรกิจจะเน้นแข่งขันกันที่เทคโนโลยี และเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ไม่ได้ไกลตัวอีกต่อไป ดังนั้นในวันใดที่คู่แข่งหรือ คู่ค้าของเรามีเทคโนโลยีที่สูงกว่า นั่นหมายถึงเขาสามารถบริหารจัดการได้ด้วยเครื่องมือที่ประสิทธิภาพสูงกว่า หากเราปรับตัวไม่ทันนั่นย่อมหมายถึงในอนาคตตัวของเราอาจจะไม่สามารถอยู่ในตลาดได้ในระยะยาว

 
 
 

 

 

 

Business Intelligent คืออะไร

 
 

คำถามมักจะเกิดขึ้นเป็นประจำว่าในปีที่ผ่านมา เราทำอะไรไปบ้าง กิจการเรามีผลดำเนินการอย่างไร และปีนี้เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง ซึ่งจะมีผลต่อการดำเนินงานในปีหน้าอย่างไร

 

ในองค์กรรูปแบบดั้งเดิม คำถามแบบนี้อาจจะได้คำตอบแต่อาจจะต้องรอไปเป็นเดือนๆ ให้ธุรการ มาสรุปข้อมูลของแผนกต่างๆให้เรา กว่าจะได้ครบบางแห่งก็กินเวลาไปเกือบ 3 เดือน ซึ่งแน่นอนว่าไม่ทันและเราอาจจะสูญเสียโอกาสอะไรหลายๆอย่างไป นี่เป็นปกติ ขององค์กรที่ไม่สามารถตามเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้ทันท่วงที ซึ่งจะมีผลต่อผลประกอบการ และ โอกาสหลายๆอย่างที่ต้องสูญเสีย

 

 

Business Intelligent จะมาช่วยธุรกิจในปัญหาด้านนี้ โดย Business Intelligent จะมี 2 คุณลักษณะด้วยกันคือ

 

1. นำเอาข้อมูลเดิมมาวิเคราะห์แบบ Pivot ได้หลากหลาย Dimension เช่น เราอยากทราบ ยอดขายของพนักงานขายแยกตามกลุ่มสินค้าและช่วงเวลาวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ ในไตรมาสที่แตกต่างกัน หรือ ตามสาขาๆต่างกัน เป็นต้น ซึ่งข้อมูลต่างๆเหล่านี้ แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ จะเรียกรายงานสรุปมาดูแบบพื้นๆ เพราะข้อมูลต้องถูกการประมวลผลอย่างละเอียดและ ต้องผ่าน DataWarehouse ไว้ระดับนึงแล้ว

 

2. จากข้อมูลข้อ 1 เอามาทำนายผลในอนาคต เช่นเมื่อลด พนักงานขายในเขตนี้ไปเพิ่มอีกเขต(สาขา) แล้วจะเกิดอะไรขึ้น เป็นต้น

 
 
 

จากข้อ1 และ ข้อ2 ล้วนเป็นประโยชน์ที่แท้จริงของการนำเอาข้อมูลไปช่วยในการตัดสินใจของเจ้าของกิจการได้เป็นอย่างดี เช่น ตัดสินใจว่า จะลงทุนเพิ่มที่สินค้ารายการไหน จะหยุดสั่งซื้อสินค้าประเภทใดมาจำหน่าย หรือ ในช่วงเวลาใดเหมาะกบการทำ โปรโมชั่นมากที่สุด

 

 

 

โปรแกรมบัญชี AccCloud  เป็นโปรแกรมบัญชีออนไลน์ โปรแกรมเดียวที่มีคุณสมบัตินี้ให้ใช้ฟรีโดยไม่คิดมูลค่าเพิ่มเติมจากระบบเดิม โดยระบบจะ ทำ Warehouse จัดเตรียมข้อมูลให้กับเจ้าของกิจการเรียกดูได้ตลอดเวลา

 

Application Programming Interface (API)

 
API คืออะไร ใช้ทำอะไร เป็น Applications Program Interface - Saixiii

เมื่อถึงจุดนึงที่ธุรกิจมีการขยายตัวออกไป โดยธรรมชาติแล้ว ระบบเดิมจะไม่รองรับ เพราะธรรมชาติของการใช้งานระบบหรือโปรแกรมจะเหมือนกับการใส่เสื้อที่พอตัว พอวันนึงตัวเราใหญ่ขึ้น เสื้อก็จะไม่รองรับเช่นกัน

 

มีอยู่ 2 แนวทาง 1 คือการเปลี่ยนไประบบใหม่ทั้งหมดเลย ซึ่งข้อดีคือ ทุกอย่างมีความสัมพันธ์กันทั้งหมดอยู่แล้ว ไดใช้ Function ใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับการเติบโตในอนาคต และเหมาะกับเทคโนโลยีที่สมัยใหม่ แต่ในขณะเดียวกัน ข้อเสียคือผู้ใช้งานต้องมาเริ่มต้นใหม่ และ ผู้ใช้งานยเดิมจะไม่อยากจะเปลี่ยนเนื่องจาก ผู้ใช้งานจะชินกับของเดิมๆไปแล้ว นอกจากนั้นข้อมูลของเดิมมีจำนวนมาก จึงยากแก่การขึ้นระบบใหม่ และต้องลงทุนสูง

 

จึงเป็นที่มาของการเชื่อมระบบเก่าเข้าไปยังระบบใหม่

 

ในสมัยก่อน การเชื่อมระบบจะทำไม่ได้เลย หรือ ทำได้แต่ยากและซับซ้อนมากๆ เพราะโปรแกรมต่างคนต่างคุยกันคนละภาษา แต่ในปัจจุบันได้มีภาษากลางในการคุยกันของโปรแกรมเกิดขึ้นหรือที่เราเรียกกันว่า Web Service

ด้วยเทคโนโลยีนี้ การเชื่อมระบจึงสามารถทำได้ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แต่โปรแกรมที่จะมีเทคโนโลยีตัวนี้ จะต้องพัฒนาด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ และ ต้องเชื่อมต่อกับ Internet ตลอดเวลาด้วยเช่นกัน

โปรแกรมบัญชี AccCloud.tech จึงมาพร้อมเทคโนโลยีการเชื่อมระบบนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานในแง่ของการทำงานร่วมกันระหว่างโปรแกรมหลายๆโปรแกรมในองค์การให้สามารถเชื่อมโยงพูดคุยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

 

สนใจติดต่อ www.acccloud.tech

การใช้นวัตกรรมในการทำธุรกิจ

นวัตกรรม (Innovation)  หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ (ที่มา Wikipedia)

 
 
ดังนั้นการนำนวัตกรรมมาใช้ในการทำธุรกิจ เราจึงจำเป็นต้องทราบด้วยว่านวัตกรรมนั้นมีประโยชน์และโทษอย่างไร
 

ประโยชน์ของการนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยในการทำงาน

 

1. การลดต้นทุนแรงงาน จากเดิมใน process นึงอาจจะมีคนอยู่ 5-6 คน เมื่อนำเทคโนโลยี หรือ นวัตกรรมที่ช่วยเหลือในการทำงานมาใช้แล้วอาจจะลดคนลงเหลือแค่ 1-2 คน ซึ่งธุรกิจจะสามารถประหยัดค่าแรงงานลงไปได้

 

2 ด้านความถูกต้องและแม่นยำ จะนำมาซึ่งการลดต้นทุนด้านการผลิตลง (ของเสียจะลดลง)

 

3. ด้านความรวดเร็ว นอกจากการนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยในการทำงานจะลดจำนวนคนได้แล้ว ยังช่วยให้งานออกมารวดเร็วขึ้นและถูกต้องมาขึนด้วยเช่นกัน

 

4. เพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน จะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในอนาคตธุรกิจจะต้องแข่งกันด้วยเทคโนโลยี หากเทคโนโลยีใครสูงกว่า ดีกว่า ผู้นั้นเป็นฝ่ายที่ได้เปรียบในตลาด

ดังนั้นหากท่านวางแผนว่าจะปรับปรุงองค์กรของท่านให้เติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต ขอให้หมั่นศึกษาหานวัตกรรม หรือ เทคโนโลยีใหม่ๆเข้าไปเพื่อปรับปรุงองค์กรของท่านอยู่ตลอดเวลา

 

โปรแกรมบัญชี AccCloud เป็นโปรแกรมบัญชีที่เน้นทางด้านการใช้นวัตกรรม Cloud Computing เพื่อช่วยในการบริหารจัดการ และ ควบคุมภายในองค์กร โดยใช้เทคโนโลยี Cloud เข้ามาช่วย

 

 

ที่มา https://www.acccloud.tech

 

มารู้จักกับระบบ PLC กันเถอะ

เนื่องจากผู้เขียนได้เป็นที่ปรึกษาในด้านการวางระบบโรงงานจำนวนมาก และได้สังเกตเห็นโรงงานจำนวนมากในปัจจุบันเริ่มมีการปรับตัวนำระบบ computer automation เข้าช่วยในด้านการผลิตมากขึ้น วันนึ้จึงขออธิบายเรื่องราวเล็กๆน้อยๆเป็นความรู้เกี่ยวกับAutomation โดยใช้ PLC ครับ

 
 
 

โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอลโทรลเลอร์ (Programmable logic Control : PLC) เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือกระบวนการทำงานต่างๆ โดยภายในมี Microprocessor เป็นมันสมองสั่งการที่สำคัญ PLC จะมีส่วนที่เป็นอินพุตและเอาต์พุตที่สามารถต่อออกไปใช้งานได้ทันที

 

โดยที่ตัว input switch จะต่อเข้ากับส่วนรับข้อมูล ส่วน Output จะ ต่อออกไปควบคุมการทำงานของอุปกรณ์หรือเครื่องจักรอีกหนนึง ทั้งนี้เราสามารถที่จะสร้างวงจร การควบคุมได้โดย ป้อนโปรแกรมคำสั่งเข้าไปใน PLC

 

*** หมายเหตุ PLC ยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นเช่นเครื่องอ่านบาร์โค๊ด (Barcode Reader) เครื่องพิมพ์ (Printer) และการทำงานของ PLC จะมีทั้งแบบ Stand Alone และแบบ Network

 

โครงสร้างของ PLC

PLC เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม ประกอบด้วย หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ หน่วยรับข้อมูล หน่วยส่งข้อมูล และหน่วยป้อนโปรแกรม PLC ขนาดเล็กส่วนประกอบทั้งหมดของ PLC จะรวมกันเป็นเครื่องเดียว แต่ถ้าเป็นขนาดใหญ่สามารถแยกออกเป็นส่วนประกอบย่อยๆ ได้

หน่วยความจำของ PLC ประกอบด้วย หน่วยความจำชนิด RAM และ ROM หน่วยความจำชนิดRAM ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมของผู้ใช้ ส่วน ROM ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมสำหรับใช้ในการปฏิบัติงานของ

 

1. RAM (Random Access Memory) หน่วยความจำประเภทนี้จะมีแบตเตอรี่เล็กๆ ต่อไว้ เพื่อใช้เลี้ยงข้อมูลเมื่อเกิดไฟดับ การอ่านและเขียนโปรแกรมลงใน RAM ทำได้ง่าย

2. EPROM (Erasable Programmable Read Only Memory) หน่วยความจำชนิด EPROM นี้จะต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการเขียนโปรแกรม การลบโปรแกรมทำได้โดยใช้แสงอัลตราไวโอเลตหรือตากแดดร้อนๆ นานๆ มีข้อดีตรงที่โปรแกรมจะไม่สูญหายแม้ไฟดับ จึงเหมาะกับการใช้งานที่ไม่ต้องเปลี่ยนโปรแกรม

3. EEPROM (Electrical Erasable Programmable Read Only Memory) หน่วยความจำชนิดนี้ไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการเขียนและลบโปรแกรม โดยใช้วิธีการทางไฟฟ้าเหมือนกับ RAM นอกจากนั้นก็ไม่จำเป็นต้องมีแบตเตอรี่สำรองไฟเมื่อไฟดับ

ความเชื่อมโยง

ท่านลองคิดดูว่า ทันทีที่ ระบบ ERP มีการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าแล้ว และนำคำสั่งซื้อนั้นไปเข้าสู่กระบวนการผลิต แล้วให้ระบบจัดการ คำนวณ วัตถุดิบ และ ระบบ automation ทำการจัดสรรวัตถุดิบ และนำไปผลิตทันที ในโรงงานจะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้มากมายขนาดไหน

 

การจะทำเช่นนั้นได้ ระบบ ERP ที่นำมาใช้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีเทคโนโลยีรองรับที่สอดคล้องกับอนาคต

โปรแกรมบัญชี AccCloud ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการเชื่อมโยงในส่วนนี้โดยเฉพาะ

 

สนใจติดต่อ https://www.acccloud.tech/

 

 

 

 

 

 

 

 

อะไรคือ TQM และ TQM สำคัญอย่างไร

ปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันกันสูงขึ้น ทั้งด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เข้ามามีบทบาทอย่างมาก ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถแข่งขันในโลกธุรกิจกับคู่แข่งอื่นๆ ได้อย่างทัดเทียม การบริหารองค์กรด้วยระบบ TQM มีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตและพัฒนาขึ้นได้อย่างมั่นคง พร้อมตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้า

TQM คืออะไร?

TQM หรือ Total Quality Management คือ ระบบการบริหารเพื่อการพัฒนาและรักษาคุณภาพของสินค้าและบริการ เป็นรูปแบบการบริหาร (Management Model) รูปแบบหนึ่งที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญสูงสุดต่อลูกค้า โดยอาศัยความร่วมมือของพนักงาน องค์กร ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยรูปแบบการบริหารแบบ TQM มีปรัชญาว่า

"หากองค์การสามารถผลิตสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าที่พึงพอใจได้แล้ว ลูกค้าก็จะกลับมาซื้อสินค้าหรือบริการ"

กล่าวคือ TQM (Total Quality Management) เป็นระบบบริหารคุณภาพที่มุ่งเน้นการปรับปรุงเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการต่างๆ ทั้งด้านความต้องการ ด้านคุณภาพ ด้านสินค้าและบริการ ซึ่งมาจากลูกค้าอีกทีนึง ดังนั้น TQM จึงเป็นแนวทางที่หลายองค์กรนำมาใช้ปรับปรุงงานระบบที่เป็นภาพรวมทั้งองค์กร ระบบนี้ลูกค้าจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานหรือความต้องการ เป็นระบบที่ปรับปรุงการวางแผน การจัดองค์กร และการทำความเข้าใจในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับแต่ละบุคคลในแต่ละระดับเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ของ TQM

  • เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
  • เพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมทุกด้านและช่วยลดต้นทุน
  • เพื่อสร้างความพึงพอใจและยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน
  • เพื่อความอยู่รอดขององค์กรและการเจริญเติบโต
  • เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
  • เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

การที่องค์กรจะลงมือทำ TQM ได้นั้นโดยทั่วไปต้องผ่านด่านของ ISO เสียก่อนดังรูป

 

*** หมายเหตุ ISO ที่สำเร็จ มักจะมีรากฐานมาจากการวางระบบที่ดี โปรแกรมบัญชี AccCloud นับเป็นส่วนสำคัญในการวางรากฐานของ ISO ภายในองค์กร

 
 

เราสามารถเขียนภาพของส่วนประกอบของ TQM ได้ดังภาพ

 

ความสำคัญและประโยชน์ของ TQM

1. ช่วยเพิ่มความพึงพอใจ และตอบสนองความต้องการลูกค้า

การนำ TQM ไปใช้จะช่วยให้ลูกค้ามีความพึงพอใจในสินค้าและบริการมากขึ้น และยินดีที่จะกลับมาใช้บริการซ้ำอีกครั้ง

 

2. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร

ระบบ TQM ช่วยให้องค์กรมีกระบวนการทำงานที่สะดวก รวดเร็ว มีการทำงานที่เป็นระบบมากขึ้น ช่วยลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นในการทำงาน ช่วยให้พนักงานในองค์กรดำเนิงานได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ

 

3. สร้างสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาปะสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

การพัฒนาองค์กรที่ดีเริ่มได้จากการสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม TQM มีส่วนช่วยในการสร้างสภาพแวดล้อมเหมาะกับการปรับปรุงและพัฒนาระบบต่างๆ ให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น รวดเร็ว และเป็นระบบ


4. สร้างความน่ามั่นคงให้องค์กร ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ

การนำ TQM ไปใช้กับองค์กร มีผลทำให้องค์กรมีความมั่นคงทั้งในด้านการเงินและความเชื่อถือของลูกค้า


5. พัฒนาทรัพยากรบุคคล เพิ่มศักยภาพของบุคลากร

TQM ช่วยพัฒนาทักษะและความรู้ของพนักงาน ทำให้พวกเขามีความสามารถในการแก้ไขปัญหาและปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงได้อยู่เสมอ

TQM หรือ Total Quality Management เป็นการบริหารจัดการที่มุ่งเน้นคุณภาพในทุกกระบวนการขององค์กร โดยให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก การนำ TQM มาใช้ในองค์กรสามารถก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย ทั้งในด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ นวัตกรรม ความยั่งยืน และการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ช่วยให้องค์กรสามารถแข่งขันในโลกธุรกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

หากคุณมีความสนใจที่จะเข้าใช้งานโปรแกรมบัญชี คลิ๊ก เข้าสู่ระบบ Accloud

และสามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมบัญชี Accloud ได้ที่ : www.acccloud.tech

อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างการเช่าซื้อ กับ ลีสซิ่ง

โปรแกรมบัญชี AccCloud.co
 
 
 

เช่าซื้อ (Hire Purchase)

 

ง่ายๆเลยครับ คือ สินค้าหรือ ของชิ้นๆนั้นๆ ยังไม่เป็นของเราจนกว่า จะจ่ายครบ

 

เราในฐานะลูกค้าหรือผู้เช่าซื้อจะทำสัญญากับผู้ให้เช่าซื้อว่าจะชำระค่าสินค้าเป็นงวด ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยระหว่างนั้นผู้เช่าซื้อสามารถนำสินค้าหรือทรัพย์สินนั้นมาใช้งานได้ก่อน แต่ว่ากรรมสิทธิ์ยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ จนกว่าจะผู้เช่าซื้อจ่ายเงินครบตามสัญญาจึงจะโอนกรรมสิทธิ์นั้นมาเป็นของเรา เช่น การเช่าซื้อรถยนต์เป็นต้น

 

ลีสซิ่ง (Leasing)

เหมือนเช่าซื้อครับ แต่เราสามารถเลือกได้ว่าจะซื้อสินค้า หรือ ทรัพย์สินชิ้นนั้นหรือเปล่า

 

กล่าวคือ เราจะต้องชำระเงินค่าเช่าเป็นงวด ๆ ตามเวลาที่กำหนดในสัญญาเช่า แต่เมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า เราสามารถเลือกได้ว่าจะซื้อ ต่อสัญญาเช่า หรือส่งคืนทรัพย์ให้กับผู้ให้เช่า ส่วนมากผู้ที่ทำสัญญาลักษณะนี้ มักเป็นบริษัทหรือนิติบุคลที่ต้องการเช่าทรัพย์สินที่มีราคาแพงหรือเช่าทรัพย์สินในปริมาณมาก หรืออาจเป็นการเช่าสินค้าที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

 

สัญญาเช่าลิสซิ่ง มี 2 ประเภท

1. สัญญาเช่าดำเนินงาน (Operating Lease) ผู้เช่าจะถือว่าเงินที่จ่ายออกไปทุกเดือนนั้นเป็น “ค่าเช่า” และกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์นั้นไม่ได้เป็นของผู้เช่า

 

2. สัญญาเช่าทางการเงิน (Financial Lease) ผู้เช่าจะบันทึกสินทรัพย์ที่เช่าเป็น “สินทรัพย์” ของบริษัท และนำมาคำนวณค่าเสื่อมราคา

 

โปรแกรมบัญชี AccCloud สามารถรองรับกับธุรกิจประเภทที่มีการผ่อนชำระเป็นงวดๆ แบบเช่าซ์้อได้ โดยที่จะคอยมีปฏิทินคอยเตือนด้านการชำระเงิน และ การติดตามด้านการเงินต่างๆในระบบเช่นกัน

 

www.acccloud.tech

 

 

 

 

 

 

 
 
 

Education Template

Scroll to Top