Acccloud โปรแกรมบัญชี

แนะนำ 4 แพลตฟอร์มสำหรับเริ่มต้นขายของออนไลน์

ในปัจจุบัน การขายของออนไลน์เป็นช่องทางการทำธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากมีต้นทุนต่ำ เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้กว้างขวาง และสามารถขยายตลาดได้อย่างรวดเร็ว สำหรับผู้เริ่มต้นขายของออนไลน์ การเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยให้สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ง่ายขึ้น และประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว

สำหรับแพลตฟอร์มขายของออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย มีดังนี้

1. Facebook Marketplace

Facebook Marketplace เป็นแพลตฟอร์มขายของออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากมีผู้ใช้งาน Facebook เป็นจำนวนมาก ใช้งานง่าย และไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปิดร้านค้า

2. Instagram Shop

Instagram Shop เป็นแพลตฟอร์มขายของออนไลน์ที่ได้รับความนิยมรองลงมาจาก Facebook Marketplace เนื่องจากผู้ใช้งาน Instagram นิยมใช้เพื่อติดตามข่าวสารและความบันเทิง จึงมีโอกาสที่จะเห็นร้านค้าของผู้ประกอบการมากขึ้น

3. LINE Shopping

LINE Shopping เป็นแพลตฟอร์มขายของออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เนื่องจากผู้ใช้งาน LINE นิยมใช้เพื่อติดต่อสื่อสารและสั่งซื้อสินค้าผ่าน LINE

4. Shopee/lazada /tiktok 

Shopee, Lazada และ TikTok Shop เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย โดย Shopee ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุด ตามมาด้วย Lazada และ TikTok Shop ตามลำดับ

Shopee เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย โดยมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ประมาณ 60% ของตลาดอีคอมเมิร์ซทั้งหมด Shopee ได้รับความนิยมเนื่องจากมีจุดแข็งในด้านต่างๆ ดังนี้

  • มีผู้ใช้งานจำนวนมาก โดย ณ เดือนตุลาคม 2566 มีผู้ใช้ Shopee ในประเทศไทยมากกว่า 60 ล้านคน
  • มีโปรโมชั่นและกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง
  • ใช้งานง่าย และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขวาง

Lazada เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ได้รับความนิยมรองลงมา โดยมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ประมาณ 30% ของตลาดอีคอมเมิร์ซทั้งหมด Lazada ได้รับความนิยมเนื่องจากมีจุดแข็งในด้านต่างๆ ดังนี้

  • มีผู้ใช้งานจำนวนมาก โดย ณ เดือนตุลาคม 2566 มีผู้ใช้ Lazada ในประเทศไทยมากกว่า 50 ล้านคน
  • มีสินค้าหลากหลายประเภทให้เลือกสรร
  • ให้บริการจัดส่งสินค้าที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

TikTok Shop เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซน้องใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ประมาณ 10% ของตลาดอีคอมเมิร์ซทั้งหมด TikTok Shop ได้รับความนิยมเนื่องจากมีจุดแข็งในด้านต่างๆ ดังนี้

  • เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่
  • เน้นการซื้อขายสินค้าผ่านวิดีโอแบบไลฟ์สด
  • มีโปรโมชั่นและกิจกรรมส่งเสริมการขายที่ดึงดูดใจ

สำหรับผู้ประกอบการที่เริ่มต้นขายของออนไลน์ สามารถเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมกับสินค้าและกลุ่มเป้าหมายของตนเอง โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ได้เลย

รู้จักฐานข้อมูล Big Data ตัวช่วยธุรกิจ Marketplace Online

ฐานข้อมูลของ Big Data แปลตรงตัวก็คือฐานข้อมูลใหญ่ หรือฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ เกิดจากยุคก่อนๆ ที่ธุรกิจส่วนใหญ่ใช้วิธีการบันทึกข้อมูลด้วยการจดหรือ Mannual เพราะยังไม่มีระบบคลาวด์ออนไลน์ ทำให้หาข้อมูลก็ยาก และยังเสี่ยงต่อข้อมูลเสียหายหรือสูญหายอย่างมาก แต่หลังจากโลกของเราเข้าสู่ยุคดิจิตัล Big Data ก็กลายมาเป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่พร้อมเก็บข้อมูลไว้ได้อย่างมากมายมหาศาล ทำให้ธุรกิจไม่ว่าจะเล็ก กลาง หรือใหญ่ ก็สามารถใช้งาน Big Data ได้

ฐานข้อมูล Big Data มีข้อดียังไง 

  • ฐานข้อมูล Big Data สามารถรองรับได้ทั้งข้อมูลแบบโครงสร้าง (structured data) เช่น ข้อมูลตัวเลข ข้อมูลตัวอักษร และข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง (unstructured data) เช่น ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง ข้อมูลวิดีโอ
  • ช่วยให้องค์กรตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ การวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูล ทำให้องค์กรเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า แนวโน้มของตลาด และสถานการณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำและทันต่อเหตุการณ์
  • สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กร เช่น การปรับปรุงกระบวนการผลิต การลดต้นทุน และการเพิ่มยอดขาย จากผลของการวิเคราะห์ข้อมูล
  • วิเคราะห์การแข่งขันขององค์กรที่ใช้ฐานข้อมูล Big Data ได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัดความได้เปรียบในการแข่งขันกับคู่แข่ง เนื่องจากสามารถมองเห็นภาพรวมของตลาดและแนวโน้มต่างๆ ได้ดีกว่า

ฐานข้อมูล Big Data กับ Marketplace Online

Big Data เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่และหลากหลาย เช่น ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า ข้อมูลสินค้าและบริการ ข้อมูลสถิติการตลาด เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของ Marketplace Online ในด้านต่างๆ ดังนี้

Personalization 

ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าแต่ละรายได้ดีขึ้น ซึ่งช่วยให้ Marketplace Online สามารถนำเสนอสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละรายได้มากขึ้น เช่น การแนะนำสินค้าที่เกี่ยวข้อง การเสนอโปรโมชั่นที่ตรงกับความสนใจของลูกค้า เป็นต้น

Recommendation

การแนะนำสินค้าและบริการที่ตรงกับความสนใจของลูกค้าได้ ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถค้นพบสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการได้ง่ายขึ้น เช่น การแนะนำสินค้าตามประวัติการซื้อสินค้า การแนะนำสินค้าจากความสนใจของลูกค้า เป็นต้น

Targeting 

กำหนดเป้าหมายกลุ่มลูกค้าได้อย่างแม่นยำ ซึ่งช่วยให้ Marketplace Online สามารถสื่อสารและนำเสนอสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การแบ่งกลุ่มลูกค้าตามความสนใจ การแบ่งกลุ่มลูกค้าตามพฤติกรรมการซื้อ เป็นต้น

Fraud Detection

 รูปแบบการตรวจจับการทำธุรกรรมที่ผิดปกติ เช่น การทุจริต การฉ้อโกง เป็นต้น ซึ่งช่วยให้ Marketplace Online สามารถปกป้องลูกค้าและทรัพย์สินของ Marketplace Online

Customer Service 

เราสามารถนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาช่วยปรับปรุงการบริการลูกค้า เช่น การตอบคำถามลูกค้า การแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้า เป็นต้น ซึ่งช่วยให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีจาก Marketplace Online 

และนี่ก็คือความหมายของฐานข้อมูล Big Data ว่ามีประโยชน์และใช้งานในด้านระบบ Marketplace Online ได้ยังไงบ้าง หลักๆ ก็จะเป็นการประเมินถึงคุณภาพของระบบการจัดการทั้งหมด ดูองค์รวมเพื่อประมวลผลออกมา รวมถึงการนำไปใช้ปรับปรุงการดูแลลูกค้า ว่ามีข้อควรปรับตรงไหนบ้าง หรือควรแก้ไขอะไรยังไงต่อไปในอนาคตได้

โปรแกรมบัญชี AccCloud เป็นโปรแกรมที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ครบถ้วน เป็นโปรแกรมระดับ ERP แต่ราคาระดับโปรแกรมบัญชีทั่วไป เหมาะกับองค์กรขนาดกลาง-ใหญ่ เข้าชมบริการเพิ่มเติมได้ที่ โปรแกรมบัญชี AccCloud

ต้องเริ่มเสียภาษีเงินเดือนเท่าไหร่ พร้อมทริควิธีการลดหย่อนภาษี

สำหรับมนุษย์เงินเดือนทุกคน หลังจากได้เริ่มทำงานมาได้ซักพักก็ต้องมีความคิดที่ว่า ถ้าเราทำงานแล้วต้องเริ่มเสียภาษีเงินเดือนเมื่อไหร่  แล้ววิธีการลดหย่อนภาษีให้คุ้มที่สุด บทความนี้เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับเกณฑ์การคิดภาษี ของปี 2567 แบบอย่างง่าย พร้อมวิธีการคิดแบบเสร็จสรรพ

เกณฑ์การเสียภาษีเงินเดือนสำหรับปี 2567 

เพื่อที่จะอธิบายให้เข้าใจทุกอย่างแบบง่ายๆ เราจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

1. กลุ่มที่ไม่ต้องเสียภาษี : เงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน และเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี (หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน)

2. กลุ่มที่ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี : เงินเดือน 10,001 – 26,583 บาทต่อเดือน และเงินได้สุทธิ 150,001 – 300,000 บาทต่อปี

3. กลุ่มที่ต้องเสียภาษี : เงินเดือน 26,584 บาทขึ้นไปต่อเดือน และเงินได้สุทธิ 300,001 บาทขึ้นไปต่อปี

ทริคการลดหย่อนภาษีแบบที่คุ้มที่สุด

สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าวิธีการลดหย่อนภาษี สามารถใช้วิธีไหนได้บ้าง เพื่อลดหย่อนภาษีให้ได้มากที่สุด มีรายการดังนี้

  • ค่าใช้จ่าย: หักได้ 50% ของเงินได้ ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว: 60,000 บาทต่อปี
  • ประกันสังคม: หักเบี้ยประกันสังคมที่จ่ายทั้งปี
  • ประกันชีวิต: หักเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายทั้งปี สูงสุด 30,000 บาท
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: หักเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สูงสุด 15% ของเงินเดือน
  • ค่าลดหย่อนอื่นๆ: เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าดูแลบิดามารดา ค่าจ้างพนักงาน เงินบริจาค ฯลฯ

วิธีการคำนวณภาษีแบบอย่างง่าย

ตัวอย่าง นายเอ ได้รับเงินเดือน 27,000 บาทต่อเดือน หักจ่ายประกันสังคม 750 บาทต่อเดือน และจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 15,000 บาทต่อปี

ขั้นที่ 1 คำนวณเงินได้ = 27,000 บาท x 12 เดือน = 324,000 บาท

ขั้นที่ 2 คำนวณค่าใช้จ่าย = 324,000 บาท x 50% = 162,000 บาท

ขั้นที่ 3 เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย = 324,000 บาท – 162,000 บาท = 162,000 บาท

ขั้นที่ 4 หักค่าลดหย่อน = 60,000 บาท + (750 บาท x 12 เดือน) + 20,000 บาท = 106,000 บาท

ขั้นที่ 5 ยอดเงินได้สุทธิ = 162,000 บาท – 106,000 บาท = 56,000 บาท

สรุปได้ว่า นายเอมีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท จึงถูกจัดอยู่ในกลุ่มไม่ต้องเสียภาษี

ข้อมูลข้างต้นนี้เป็นวิธีการคิดอย่างง่ายเท่านั้น สำหรับข้อมูลการยื่นภาษีต่างๆ สามารเข้าตรวจสอบหรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.rd.go.th และศึกษากำหนดการยื่นภาษีอยู่ช่วงไหนที่ >>>  https://www.rd.go.th/558.html <<<

โปรแกรมบัญชี AccCloud เป็นโปรแกรมที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ครบถ้วน เป็นโปรแกรมระดับ ERP แต่ราคาระดับโปรแกรมบัญชีทั่วไป เหมาะกับองค์กรขนาดกลาง-ใหญ่ และแบบฟอร์มเอกสารสำหรับยื่นสรรพากรที่เพรียบพร้อม เลือกเข้าชมบริการเพิ่มเติมได้ที่ โปรแกรมบัญชี AccCloud

ธุรกิจ Drop Shipping ขายของแบบไม่สต็อคสินค้า ดียังไง

การเริ่มต้นทำธุรกิจหรือการขายของออนไลน์ในปัจจุบัน มีธุรกิจเติบโตขึ้นมากมาย และวิธีการขายก็เพิ่มขึ้นตาม เช่นการเป็นนายหน้าสินค้า หรือการทำ Affiliate ที่เป็นการเสนอสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ส่วนตัวของเราเอง หรือการทำธุรกิจแบบ Dropship ที่ไม่ต้องสต็อคสินค้าก็สามารถเริ่มขายได้เลย

การขายแบบ Drop Shipping (ดรอปชิป) คืออะไร

รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ร้านค้าไม่ต้องสต็อกสินค้าเอง แต่อาศัยซัพพลายเออร์เป็นผู้ดำเนินการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าโดยตรง เมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้าจากร้านค้า ระบบจะแจ้งคำสั่งซื้อไปยังซัพพลายเออร์ จากนั้นซัพพลายเออร์จะดำเนินการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า โดยร้านค้าจะทำหน้าที่การตลาดและขายสินค้าเท่านั้น

ข้อดีของธุรกิจ Drop Shipping

  • ไม่ต้องลงทุนสูง ในการทำธุรกิจ Drop Shipping ไม่จำเป็นต้องมีสินค้ามาสต็อกไว้เป็นจำนวนมาก จึงไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนก้อนใหญ่ในการเริ่มต้นธุรกิจ
  • มีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากไม่ต้องลงทุนสูง จึงมีความเสี่ยงต่ำในการขาดทุน
  • ทำธุรกิจได้ง่ายและประหยัดเวลา เพียงเปิดร้านค้าออนไลน์และโพสต์สินค้าที่ต้องการขาย ก็สามารถสร้างรายได้ได้ทันที
  • ไม่ต้องกลัวสินค้าไม่ตรงปก เนื่องจากสินค้าจะถูกส่งตรงจากผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายไปยังลูกค้าโดยตรง จึงมั่นใจได้ว่าสินค้าจะตรงกับที่โฆษณาไว้แน่นอน

ข้อควรระวังของธุรกิจ Drop Shipping

  • ต้องแข่งขันกับร้านค้าอื่นๆ จำนวนมาก เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยม จึงมีร้านค้า Drop Shipping จำนวนมากเกิดขึ้น
  • อาจมีปัญหากับผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่าย หากผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายไม่สามารถจัดส่งสินค้าได้ตามกำหนด อาจส่งผลเสียต่อร้านค้า

สรุปแล้ว ธุรกิจ Drop Shipping เป็นธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์ โดยมีข้อดีหลายประการ เช่น ไม่ต้องลงทุนสูง ความเสี่ยงต่ำ ทำธุรกิจได้ง่ายและประหยัดเวลา อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการควรศึกษาข้อมูลและวางแผนให้ดีก่อนเริ่มต้นธุรกิจ เพื่อให้ประสบความสำเร็จ

โปรแกรมบัญชี AccCloud เป็นโปรแกรมที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ครบถ้วน เป็นโปรแกรมระดับ ERP แต่ราคาระดับโปรแกรมบัญชีทั่วไป เหมาะกับองค์กรขนาดกลาง-ใหญ่ เข้าชมบริการเพิ่มเติมได้ที่ โปรแกรมบัญชี AccCloud

ควรจ้างสำนักงานบัญชีหรือใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ แบบไหนดีกว่า

ในยุคของการจัดการธุรกิจ การตัดสินใจว่าจะจ้างสำนักงานบัญชีหรือใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาวะทางการเงินและการรักษาประสิทธิภาพของบริษัท เนื่องจากทั้งสองตัวเลือกมีข้อได้เปรียบที่แตกต่างกัน เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องประเมินความต้องการอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจเลือก ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกข้อดี พร้อมทั้งความเหมาะสมของแต่ละตัวเลือกสำหรับธุรกิจประเภทต่างๆ ว่าควรเลือกใช้แบบไหน

การเลือกจ้างสำนักงานบัญชี

การจ้างสำนักงานบัญชี เป็นการจ้างงานกับทีมนักบัญชีมืออาชีพที่จัดการด้านต่างๆ ของการดำเนินงานทางการเงินของบริษัท และนี่ก็คือข้อดีของการเลือกสำนักงานบัญชี

1. ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์

สำนักงานบัญชีจะมีผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านการเงินต่างๆ รวมถึงการจัดเตรียมภาษี การตรวจสอบบัญชี และการรายงานทางการเงิน ประสบการณ์และความรู้ของพวกเขาสามารถช่วยแนะนำการจัดการด้านการเงินที่ซับซ้อนได้

2. ได้รับการซัพพอร์ตโดยตรง

การทำงานร่วมกับสำนักงานบัญชี มั่นใจได้เลยว่าธุรกิจของคุณจะได้รับความเอาใจใส่ ความต้องการและการดูแลโดยเฉพาะของธุรกิจเป็นรายบุคคลได้ นักบัญชีจากสำนักงานสามารถให้คำแนะนำและการปรับรูปแบบให้เหมาะสม เพื่อให้ทำข้อมูลต่างๆ ได้ถูกต้องตามกระบวนการ

3. การปฏิบัติตามกฎระเบียบและการลดความเสี่ยง

สำนักงานบัญชีจะคอยติดตามกฎระเบียบและมาตรฐานการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิเช่น การยื่นภาษี หรือการจัดการเอกสารกำกับภาษี เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจจะปฏิบัติตามกฎหมายภาษีและกฎระเบียบทางการเงิน นอกจากนี้ ยังช่วยลดความเสี่ยงด้านการเงินและหาคำตอบได้เมื่อพบปัญหา

การใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์

แต่ในทางกลับกัน การเลือกใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เป็นเหมือนนำเสนอโซลูชันใหม่ๆ ทางดิจิทัลสำหรับการจัดการงานบัญชีการเงิน โดยมักจะทำผ่านแพลตฟอร์มบนคลาวด์ และข้อดีของการใช้โปรแกรมดังกล่าวมีดังนี้

1. ความคุ้มทุน

โปรแกรมบัญชีออนไลน์เป็นการจ่ายแบบครั้งเดียวโดยแต่ละแพคเกจก็จะแตกต่างกันออกไปตามจำนวน ทำให้คุ้มสำหรับต้นทุนของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง เมื่อเปรียบเทียบกับการจ้างสำนักงานบัญชี ไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมสำหรับการอัปเดตซอฟต์แวร์หรือการบำรุงรักษา

2. การเข้าถึงและความสะดวกสบาย

โปรแกรมบัญชีมีการทำงานบนคลาวด์ ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้แบบเรียลไทม์จากทุกที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ช่วยให้เจ้าของธุรกิจและผู้ร่วมใช้งาน สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพทางการเงินผ่านบัญชีและใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้

3. ระบบอัตโนมัติและประสิทธิภาพ

โปรแกรมบัญชีออนไลน์สามารถปรับปรุงแก้ไขงานที่ต้องทำซ้ำๆ ผ่านระบบอัตโนมัติ เช่น การออกใบแจ้งหนี้ การติดตามค่าใช้จ่าย และการกระทบยอด ด้วยการลดการแทรกแซงให้เหลือน้อยที่สุด ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ จึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานบัญชีได้

แล้วควรเลือกใช้แบบไหนที่จะเหมาะกับธุรกิจ

ถ้าต้องเลือกระหว่างการจ้างสำนักงานบัญชีและการใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงขนาดธุรกิจ ความซับซ้อนของการทำบัญชี และลักษณะของธุรกิจ

ความซับซ้อนในการทำบัญชี

ธุรกิจที่มีโครงสร้างทางการเงินที่ซับซ้อนและแหล่งรายได้ที่หลากหลาย อาจได้รับประโยชน์จากความเชี่ยวชาญส่วนบุคคลที่นำเสนอโดยสำนักงานบัญชี ในทางกลับกัน ธุรกิจขนาดเล็กที่มีความต้องการทางการเงินน้อยกว่าอาจพบว่าโปรแกรมการบัญชีออนไลน์เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการของตนได้

ข้อพิจารณาด้านงบประมาณเงินทุน

ต้นทุนเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจ แม้ว่าการจ้างสำนักงานบัญชีอาจมีค่าใช้จ่ายล่วงหน้าสูงกว่า แต่โปรแกรมบัญชีออนไลน์ก็นำเสนอโซลูชั่นที่คุ้มค่าช่นกัน โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพและธุรกิจขนาดเล็กที่ดำเนินงานด้วยงบประมาณที่จำกัด

แผนการรองรับการเติบโตในอนาคต

ธุรกิจที่วางแผนเพื่อการขยายหรือกระจายความเสี่ยงตั้งแต่ต้น อาจพบว่าโปรแกรมการบัญชีออนไลน์สามารถปรับขนาดและปรับให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงได้มากขึ้นอย่างรวดเร็ว และโปรแกรมเหล่านี้มักนำเสนอฟีเจอร์ที่ยืดหยุ่นเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจได้

สุดท้ายแล้วไม่มีคำตอบไหนที่บอกได้ ว่าการจ้างสำนักงานบัญชีหรือการใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์จะดีกว่า เพราะแต่ละตัวเลือกมีข้อดีที่แตกต่างกันและเหมาะกับบริบททางธุรกิจที่แตกต่างกัน ท้ายที่สุดแล้ว เจ้าของธุรกิจควรประเมินความต้องการเฉพาะ ข้อจำกัดด้านงบประมาณ และวัตถุประสงค์ในการเติบโต เพื่อเลือกโซลูชันที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการจัดการบัญชีธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โปรแกรมบัญชี AccCloud เป็นโปรแกรมที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ครบถ้วน เป็นโปรแกรมระดับ ERP แต่ราคาระดับโปรแกรมบัญชีทั่วไป เหมาะกับองค์กรขนาดกลาง-ใหญ่ และแบบฟอร์มเอกสารสำหรับยื่นสรรพากรที่เพรียบพร้อม เลือกเข้าชมบริการเพิ่มเติมได้ที่ โปรแกรมบัญชี AccCloud

การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการธุรกิจด้วยระบบ ERP

ระบบ ERP เป็นระบบหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญมากสำหรับธุรกิจในปัจจุบัน ระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) หรือ ระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร ถือเป็นเครื่องมือที่เกิดขึ้นเพื่อทำให้ธุรกิจมีการจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพช่วยเพิ่มความสอดคล้องกับทิศทางที่เป็นไปได้ของธุรกิจในอนาคต

บทความนี้เราจะบอกถึงข้อดีของระบบ ERP ที่ช่วยให้ธุรกิจของเราเติบโตและก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1. ระบบ ERP ช่วยจัดการข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

ระบบ ERP ช่วยให้ธุรกิจสามารถรวบรวมข้อมูลของทรัพยากรทั้งหมดในองค์กร เช่น การเงิน การผลิต การคลังสินค้า การขาย และการบริหารจัดการได้ในระบบเดียว เพื่อให้สามารถดำเนินการและติดตามข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง

2. การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ

ความสามารถของระบบ ERP นั้นจะช่วยให้เราจัดการข้อมูลทรัพยากรองค์กรได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น สามารถตรวจสอบรายละเอียดข้อมูล วิเคราะห์ และตั้งค่าการทำงานแบบอัตโนมัติได้ ช่วยลดความผิดพลาดในการบริหารจัดการและการตัดสินใจ

3. ช่วยปรับกลยุทธ์ธุรกิจให้ทันสมัยอยู่เสมอ

ระบบ ERP ที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลในเวลาจริง ทำให้สามารถปรับแผน และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ทันทุกสถานการณ์ ช่วยให้ธุรกิจทันต่อความเปลี่ยนแปลงของกลไกตลาดในปัจจุบัน และสามารถปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับการเติบโตในอนาคต การสร้างความร่วมมือในองค์กร

4. เพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูล

เมื่อธุรกิจของเรามีการจัดการข้อมูลด้วยระบบ ERP เราจะสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ในองค์กรได้อย่างเป็นระบบ และสามารถตั้งค่าการจัดการเฉพาะส่วนได้ง่าย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลของเราได้มากขึ้น ป้องกันการเข้าถึงจากบุคคลภายนอกที่ไม่ได้รับอนุญาต และยังช่วยให้จัดการข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงสุด

5. สร้างการวัดและประเมินประสิทธิภาพ

การติดตามและวัดผลประสิทธิภาพของระบบ ERP จะช่วยให้ธุรกิจปรับปรุงและปรับตัวให้สอดคล้องกับเป้าหมายของธุรกิจได้อยู่เสมอ สามารถเห็นผลลัพธ์การทำงานได้อย่างง่ายได้ ไม่ว่าจะจากการซื้อ การขาย การทำบัญชี การจัดการคลังสินค้า ทุกระบบจะได้รับการติดตามข้อมูล วัดผล และประเมินประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างสอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจ

6. ปรับเปลี่ยนธุรกิจให้ทันต่อเทคโนโลยียุคใหม่

โลกของเรามีการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา การปรับตัวให้เข้ากับโลกยุคใหม่ เปิดรับกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเป็นสิ่งสำคัญมาก ระบบ ERP นั้นจะช่วยให้เราก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจของเรามีการพัฒนาไปอย่างมั่นคง เพิ่มโอกาสเติบโตทางธุรกิจให้มีโอกาสก้าวหน้าได้เป็นอย่างดี

ระบบ ERP ที่มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการธุรกิจ ช่วยให้ธุรกิจเติบโตและมีความก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกใช้ระบบ ERP ที่เหมาะกับความต้องการและการปรับปรุงตามเทคโนโลยีที่ทันสมัยจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเติบโตและประสบความสำเร็จได้ดี ช่วยให้ธุรกิจก้าวหน้ายิ่งกว่าธุรกิจคู่แข่งและเหนือชั้นยิ่งกว่าใครๆ ได้ในอนาคต

ไขข้อสงสัย SAP ERP และ Local ERP ระบบไหนคุ้มกว่ากัน

SAP ERP และ Local ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning) ทั้งสองระบบมีจุดเด่นและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน การเลือกระบบ ERP ที่เหมาะสมจึงควรพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ เช่น ประเภทธุรกิจ ขนาดองค์กร งบประมาณ เป็นต้น

SAP ERP 

เป็นระบบ ERP ระดับโลกที่พัฒนาโดยบริษัท SAP จากประเทศเยอรมนี มีฟังก์ชันการทำงานที่ครอบคลุมทุกด้านของธุรกิจ ตั้งแต่การผลิต การเงิน ทรัพยากรบุคคล การขายและการตลาด เป็นต้น SAP ERP ได้รับการยอมรับจากองค์กรชั้นนำทั่วโลกว่าเป็นระบบ ERP ที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า

ข้อดีของ SAP ERP

  • ครอบคลุมทุกด้านของธุรกิจ
  • มีประสิทธิภาพและใช้งานง่าย
  • ได้รับการยอมรับจากองค์กรชั้นนำทั่วโลก

ข้อเสียของ SAP ERP

  • ราคาแพง
  • ใช้เวลาในการติดตั้งและปรับใช้นาน
  • ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งและใช้งาน

Local ERP 

เป็นระบบ ERP ที่พัฒนาโดยบริษัทในประเทศ มีฟังก์ชันการทำงานที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจไทยโดยเฉพาะ Local ERP มีข้อดีคือ ราคาไม่แพงและใช้งานง่ายกว่า SAP ERP แต่อาจไม่ครอบคลุมทุกฟังก์ชันการทำงานเหมือนกับ SAP ERP

ข้อดีของ Local ERP

  • ราคาไม่แพง
  • ใช้งานง่าย
  • ตรงกับความต้องการของธุรกิจไทยโดยเฉพาะ

ข้อเสียของ Local ERP

  • ครอบคลุมฟังก์ชันการทำงานน้อยกว่า SAP ERP
  • อาจไม่มีประสิทธิภาพเท่า SAP ERP

SAP ERP และ Local ERP ระบบไหนคุ้มกว่ากัน ?

ระบบ ERP ไหนคุ้มกว่ากันนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ประเภทธุรกิจ ขนาดองค์กร งบประมาณ เป็นต้น 

หากองค์กรมีขนาดใหญ่ มีความต้องการใช้ฟังก์ชันการทำงานที่ครอบคลุมทุกด้านของธุรกิจ และมีเงินทุนเพียงพอ SAP ERP อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า Local ERP 

แต่หากองค์กรมีขนาดเล็ก มีความต้องการใช้ฟังก์ชันการทำงานที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจไทยโดยเฉพาะ และงบประมาณจำกัด Local ERP อาจเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่ากว่า ที่สำคัญ แนะนำว่าให้ลองศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบระบบ ERP จากหลายบริษัท เพื่อประกอบการตัดสินใจ

5 เหตุผลสำคัญที่ธุรกิจ SMEs ควรใช้ระบบ ERP

ในยุคดิจิทัล การแข่งขันทางธุรกิจมีความรุนแรงมากขึ้น ธุรกิจทุกขนาดจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญที่ธุรกิจ SMEs ควรพิจารณาคือ ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning)

ระบบ ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กรที่รวมเอาข้อมูลและกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของธุรกิจเข้าไว้ด้วยกันในที่เดียว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความซ้ำซ้อน และลดต้นทุนในการดำเนินงาน

รวม 5 เหตุผลสำคัญที่ธุรกิจ SMEs ควรใช้ระบบ ERP

ระบบ ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กรที่รวมเอาข้อมูลและกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของธุรกิจเข้าไว้ด้วยกันในที่เดียว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความซ้ำซ้อน และลดต้นทุนในการดำเนินงาน

1. ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน

ระบบ ERP ช่วยรวบรวมข้อมูลและกระบวนการทำงานต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลและทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดขั้นตอนการทำงานซ้ำซ้อน และลดความผิดพลาดในการทำงาน  สามารถเข้าถึงข้อมูลการขายและการตลาดได้อย่างง่ายดาย ทำให้สามารถวางแผนการตลาดและการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือระบบ ERP สามารถช่วยลดขั้นตอนการทำงานซ้ำซ้อน การบันทึกข้อมูลลูกค้าและคำสั่งซื้อ ทำให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. เพิ่มความแม่นยำของข้อมูล

ระบบ ERP ช่วยจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้องและครบถ้วนมากขึ้น ช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถช่วยจัดเก็บข้อมูลการเงินอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้บริหารสามารถติดตามสถานะทางการเงินของธุรกิจได้อย่างแม่นยำ ช่วยติดตามข้อมูลการผลิตและสินค้าคงคลัง ทำให้ผู้บริหารสามารถวางแผนการผลิตและควบคุมสต็อกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ลดต้นทุนการดำเนินงาน

ระบบ ERP ช่วยลดความซ้ำซ้อนของงาน ทำให้สามารถลดจำนวนพนักงานลงได้ ช่วยลดต้นทุนในการจ้างงานและฝึกอบรมพนักงาน ช่วยลดขั้นตอนการทำงานซ้ำซ้อน เช่น การบันทึกข้อมูลลูกค้าและคำสั่งซื้อ ทำให้สามารถลดจำนวนพนักงานที่ทำงานในส่วนนี้ลงได้ ช่วยจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถลดเวลาในการค้นหาข้อมูลลงได้

4. เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

ระบบ ERP ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดความผิดพลาด ทำให้ธุรกิจสามารถแข่งขันกับธุรกิจอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยปรับปรุงกระบวนการผลิต ทำให้สามารถผลิตสินค้าได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพมากขึ้น ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากขึ้น

5. ยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการธุรกิจ

ระบบ ERP ช่วยยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการธุรกิจให้เทียบเท่าธุรกิจขนาดใหญ่ ทำให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของลูกค้ามากขึ้น  สามารถช่วยจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ธุรกิจมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากขึ้น ติดตามกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของธุรกิจ ทำให้ธุรกิจสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานได้ง่าย 

สรุปแล้ว ระบบ ERP เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับธุรกิจ SMEs ช่วยให้ธุรกิจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความผิดพลาด ลดต้นทุน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ธุรกิจ SMEs ควรลงทุนติดตั้งระบบ ERP เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น 

เตรียมความพร้อมก่อนการเปลี่ยนบุคคลธรรมดาให้เป็นนิติบุคคล

ทุกธุรกิจย่อมมีจุดเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ เช่น การเปิดกิจการด้วยตัวคนเดียว เป็นบุคคลธรรมดา แต่เมื่อกิจการเริ่มมีการเติบโต ขยับขยายมากขึ้นก็ต้องเปลี่ยนจาก บุคคลธรรมดามาเป็นนิติบุคคล อาทิเช่น ห้างหุ่นส่วนจำกัด หรือ บริษัทจัดจ้าง ที่มีสเกลกว้างและใหญ่ขึ้น แต่ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนบุคคลธรรมดาให้เป็นนิติบุคคล ควรมีการเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อให้การดำเนินการนั้นง่ายขึ้นและไม่ติดปัญหาใดๆ

การเตรียมพร้อมการเปลี่ยนบุคคลธรรมดาให้เป็นนิติบุคคล

1. การเปิดบัญชีธนาคารในนามของบริษัท

ขั้นตอนสำคัญอยากแรกในการเปลี่ยนจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคลคือการเปิดบัญชีธนาคารธุรกิจในชื่อนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ บัญชีนี้จำเป็นสำหรับการทำธุรกรรมทางการเงินในนามของบริษัท การรับการชำระเงิน และการจัดการค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการนี้ 

เบื้องต้นคุณจะต้องจดทะเบียนบริษัท เพื่อรับหมายเลขทะเบียนธุรกิจอย่างเป็นทางการ และเตรียมเอกสารทางกฎหมายที่จำเป็นสำหรับธนาคารเพื่อใช้เปิดบัญชี

2. การทำภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)  เป็นส่วนสำคัญในด้านการเงินของนิติบุคคล กรณี ที่บริษัทมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี ต้องจัดการทำภาษีมูลค่าเพิ่ม อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> ขั้นตอนการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามระเบียบของกฏหมายได้กำหนดให้นิติบุคคล เมื่อมีการใช้จ่ายเงิน อาทิเช่น ค่าบริการ ค่าเช่า ดอกเบี้ย เงินปันผล จำเป็นที่ต้องมีการทำภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราที่ กรมสรรพากรได้กำหนด และดำเนินการส่งให้สรรพากร ทุกวันที่ 7 ถัดจากเดือนที่ได้มีการใช้จ่าย

3. เก็บเอกสาร ใบเสร็จซื้อ – ขาย

สำหรับการเป็นนิติบุคคลต้องเก็บข้อมูลเอกสารที่สำคัญ เพื่อใช้ในการลงรายการบัญชี เมื่อมีการซื้อขายสินค้าหรือบริการ ที่มีการออกส่วนของใบเสร็จการรับเงิน และรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริการธุรกิจของเรา จำเป็นต้องมีบิลหรือใบเสร็จที่มีรายละเอียดครบถ้วน เพื่อนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้

4. การจัดทำบัญชี 

เอกสารทั้งหมดที่ได้รวบรวมไว้ ไม่ว่าจะเป็นบิลใบเสร็จหรือ ใบกำกับภาษีซื้อและขาย เอกสารหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกิจการธุรกิจของเรา มาจัดการทำบัญชี หรือรวบรวมเอกสารทั้งหมดส่งให้กับ “ผู้ทำบัญชี” เพื่อส่งให้ทำการลงบัญชี ปิดบัญชี เพื่อจัดทำงบการเงินตามรอบที่กำหนด

* ผู้ทำบัญชี * : จะต้องมีคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามกฏหมาย ซึ่งอาจจะเป็นพนักงานภายในบริษัท หรือองค์กรภายนอก เช่น สำนักงานบัญชี เป็นต้น

5. การหาผู้สอบบัญชี

ข้อสุดท้าย ส่วนของผู้สอบบัญชี นิติบุคคลจะต้องมีการจัดให้มีผู้สอบบัญชี มาตรวจสอบและประเมินงบประจำปีของบริษัท ก่อนที่จะนำส่งข้อมูลกับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

* ผู้สอบบัญชี * : บุคคลภายนอกบริษัท ที่มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีงบด้านการเงินของกิจการว่ามีความถูกต้องหรือไม่

การเปลี่ยนจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคลต้องเริ่ม ตั้งแต่การเปิดบัญชีธนาคารของธุรกิจไปจนถึงการจัดการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย การรวบรวมเอกสารทางกฎหมายที่จำเป็น การเก็บรักษาบันทึกการขายและการซื้ออย่างละเอียด และการขอรับบริการจากผู้ตรวจสอบบัญชี จะทำให้รากฐานทางกฎหมายและการเงินของบริษัทแข็งแกร่งขึ้น และเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าถึงการเป็นนิติบุคคลแบบเต็มรูปแบบ

อยากยื่นขอใบแทนใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำยังไง ?

เอกสารใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ก.พ.20 ผู้ประกอบกิจการจะได้รับเอกสารใบนี้เมื่อ ธุรกิจได้รับรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี โดยวิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ขั้นตอนการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)  ใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ก.พ.20 เป็นเอกสารขนาด A4 ผู้ประกอบการมักเก็บไว้ในกรอบหรืออุปกรณ์ที่สามารถป้องกันไม่ให้เอกสารเสียหายได้ ซึ่งในเอกสารก็จะมีข้อมูลของ จุดสถานที่ตั้งของสถานประกอบการ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี และวันทีให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนและข้อมูลสำคัญอื่นๆ  แต่ถ้าเอกสารได้รับความเสียหานจะทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ ทำให้มีการใช้งานเอกสารทดแทนที่เรียกว่า “ใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม” และมีวิธีการขอเอกสารอย่างไร 

ใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ

เอกสารที่ใช้ทดแทน “ใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม” ที่ชำรุดหรือเสียหายได้

วิธีการยื่นขอใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรณีที่ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน ยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่แล้วแต่กรณี หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร https://www.rd.go.th 

หมายเหตุ : ต้องยื่นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลาย

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • แบบคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.04) จำนวน 3 ฉบับ
  • ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ที่ชำรุด
  • ใบแจ้งความกรณีสูญหาย
  • หนังสือมอบอำนาจ กรณีให้ผู้อื่นทำการแทนปิดอากรแสตมป์ 10 บาท
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว

เอกสารใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นจริงๆ เท่านั้น ทางที่ดีควรดูและเอกสารใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับจริงให้ดี จะดีกว่า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่จะตามมาภายหลัง หรือความยุ่งยากในการไปขอเอกสารใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 

Education Template

Scroll to Top