นักทำบัญชีฟรีแลนซ์ vs นักทำบัญชีในองค์กร ต่างกันอย่างไร

นักทำบัญชี คือบุคคลหรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีและการเงินขององค์กรหรือบริษัท ซึ่งหน้าที่หลักของนักทำบัญชี คือ การบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนสำหรับการรายงานแก่ผู้บริหาร นักลงทุน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นักทำบัญชีฟรีแลนซ์ คือ

คือ บุคคลหรือนักวิชาชีพที่ทำงานเป็นอิสระ ให้บริการทางการบัญชีแก่ลูกค้าหรือองค์กรต่างๆ โดยไม่ต้องเป็นพนักงานประจำในองค์กรใด ๆ นักทำบัญชีฟรีแลนซ์มักมีความเชี่ยวชาญในการจัดทำบัญชีทางการเงิน การวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน การเตรียมเอกสารภาษี และงานที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีและการเงินในองค์กร

นักทำบัญชีในองค์กร คือ

นักทำบัญชีในองค์กร คือบุคคลที่ได้รับการจ้างเป็นพนักงานขององค์กรหรือบริษัท เพื่อดำเนินการทางด้านการบัญชีและการเงินขององค์กรนั้น ๆ ซึ่งมีหน้าที่หลักในการจัดการและบันทึกข้อมูลทางการเงินเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ในองค์กร

อยากขึ้นทะเบียนนักทำบัญชี เตรียมตัวยังไง ?

การขึ้นทะเบียน สามารถทำได้ผ่านระบบเว็บไซต์ออนไลน์ได้ โดยจะทำผ่าน เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเมนูผู้ทำบัญชี ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ เมื่อทำการลงทะเบียนและได้รับการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว เราจะได้เลขประจำตัวมาเพื่อใช้แสดงความน่าเชื่อถือว่าเรานั่นเอง

เอกสารสำคัญที่ใช้ในการขึ้นทะเบียน

  1. สำเนาบัตรประชาชน
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. สำเนาวุฒิการศึกษา
  4. รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าชัดหลังตรง ไม่มีปิดบังใบหน้า สวมชุดสุภาพ พื้นหลังสีพื้น ไม่มีลวดลาย 
  5. ใบการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
  6. ใบเสร็จค่าสมาชิกสภาวิชาชีพที่ยังไม่หมดอายุ
  7. รายชื่อลูกค้าที่รับทำบัญชี
  8. หลักฐานการพัฒนาความรู้วิชาชีพ (CPD)

สรุปก็คือ นักทำบัญชีฟรีแลนซ์มีความอิสระในการทำงานและให้บริการแก่ลูกค้าจากหลากหลายธุรกิจต่าง ๆ ในขณะที่นักทำบัญชีในองค์กร มักมีบทบาทและความรับผิดชอบในการบัญชีและการเงินขององค์กรโดยเฉพาะ และจำต้องปฏิบัติตามกำหนดที่มีในสถานที่ทำงาน เพื่อให้สะดวกต่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

Education Template

Scroll to Top