เดือน: มิถุนายน 2023

ข้อแตกต่างของภาษีบุคคลธรรมดา กับ ภาษีบริษัท

สำหรับใครที่เริ่มทำธุรกิจมาได้สักพักแล้ว คงมีเรื่องของภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอบ่างแน่นอน ยิ่งทำไปนานวันเข้า ก็เริ่มสงสัยกับตัวเองว่าเราเหมาะสำหรับ ธุรกิจแบบบุคคลธรรมดาหรือบริษัทกันแน่นะ? พอเริ่มหาข้อมูลเองก็เริ่มสับสน ไม่แน่ใจว่าควรเลือกแบบไหนดีกว่ากัน เพราะมีทั้งข้อดีและเสียทั้งคู่

แต่ก่อนที่จะเริ่ม ตัดสินใจทำอะไรสักอย่าง เราก็ต้องมีข้อมูลเพื่อเป็นตัวช่วยในการคิด วิเคาระห์ และหาผลลัพธ์ ให้ออกมาดีที่สุด การเลือกว่าจะ เข้ามาเสียภาษีบุคคลธรรมดา หรือ ภาษีบริษัทดีก็ควรเลือกจากความเหมาะสม และความพร้อมของธุรกิจองคฺ์ก่อนจะดีที่สุด 

ข้อแตกต่างระหว่างภาษีส่วนบุคคลและภาษีบริษัท

ผู้ชำระเงิน: ภาษีส่วนบุคคลชำระในนามของบุคคลธรรมดา ในขณะที่ภาษีบริษัทจะชำระในนามของชื่อธุรกิจ

หลักเกณฑ์: ภาษีส่วนบุคคลขึ้นอยู่กับรายได้ของแต่ละบุคคล ซึ่งภาษีบริษัทขึ้นอยู่กับผลกำไรของธุรกิจ

อัตรา: อัตราภาษีส่วนบุคคลจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับรายได้ของแต่ละบุคคล กลับกันอัตราภาษีบริษัทมักจะเป็นแบบคงที่

การหักเงิน: ผู้เสียภาษีส่วนบุคคลสามารถหักค่าใช้จ่ายบางอย่างจากรายได้ที่ต้องเสียภาษี ในขณะที่ผู้เสียภาษีบริษัทสามารถหักค่าใช้จ่ายได้น้อยกว่า

เงินปันผล: เงินปันผลที่จ่ายให้กับผู้เสียภาษีส่วนบุคคลจะถูกหักภาษีเป็นรายได้ ในขณะที่เงินปันผลที่จ่ายให้กับผู้เสียภาษีบริษัทจะถูกหักภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า

ยกตัวอย่างภาษีส่วนบุคคลและภาษีบริษัทมีดังนี้

ภาษีส่วนบุคคล

หากคุณเป็นพนักงาน คุณต้องจ่ายภาษีส่วนบุคคลจากเงินเดือนของคุณ หากคุณประกอบอาชีพอิสระ คุณต้องเสียภาษีส่วนบุคคลจากกำไรจากธุรกิจของคุณ

ภาษีบริษัท

หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ คุณต้องจ่ายภาษีนิติบุคคลจากกำไรที่ธุรกิจของคุณที่ได้รับ

4 ข้อที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือก ภาษีบุคคลธรรมดา หรือว่า ภาษีบริษัทง่ายขึ้น

ข้อมูลต่อจากนี้จะช่วยให้คุณสามารถเลือกแนวทางการขึ้นภาษีได้ง่ายว่า รูปแบบบุคคลธรรมดาและบริษัท ทางเลือกไหนที่เหมาะกับเรามากกว่ากัน

 

ข้อที่ 1.เรื่องการจดภาษีขึ้นทะเบียน

ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจบุคคลธรรมดา หรือว่า บริษัท ก็ต้องจดทะเบียนด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งสามารถจดได้ที่ จดทะเบียนพาณิชย์ที่ สำนักงานเขต หรือ อบต.  แต่ของบริษัทจะต้อง จดทะเบียนบริษัทที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าต่อ

ธุรกิจ บุคคลธรรมดา

ข้อดี : ทำได้ง่าย  ค่าธรรมเนียมไม่แพง

ข้อเสียไม่น่าเชื่อถือ กรณีคู่ค้าต้องการทำการค้า กับนิติบุคคลเท่านั้น

ธุรกิจ บริษัท

ข้อดี :  น่าเชื่อถือกว่า

ข้อเสีย : ยุ่งยากกว่า ค่าธรรมเนียมสูงกว่า

ข้อที่ 2.เรื่องภาษี

ทุกคนเองก็รู้อยู่แล้วว่าต้องเสีบภาษีทั้งสองแบบ ซึ่งความแตกต่างในการยื่นเรื่องค่อนข้างต่างกันมาก มีอะไร้บ้างมาดูกัน

ภาษีเงินได้

ธุรกิจ บุคคลธรรมดา :  เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา

ธุรกิจ บริษัท:  เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ค่าใช้จ่าย

ธุรกิจ บุคคลธรรมดา:  ตามจริงหรือเหมา แล้วแต่ประเภทรายได้

ธุรกิจ บริษัท:  หักค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวกับบริษัท เช่น เงินเดือนพนักงาน หรือต้นทุนสินค้าต่างๆ

ฐาน

ธุรกิจ บุคคลธรรมดา:  เงินได้สุทธิ 

ธุรกิจ บริษัท:  จากกำไรสุทธิที่บริษัทได้รับ

อัตราภาษี

ธุรกิจ บุคคลธรรมดา:   อัตราก้าวหน้า สูงสุด 35 เปอร์เซ็นต์ 

ธุรกิจ บริษัท:  กำไร 300,000 บาทแรกยกเว้นภาษี, กำไรตั้งแต่ 300,000 – 3 ล้านบาท ต้องเสียภาษี 15%, กำไรมากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไป ต้องเสียภาษี 20%

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ธุรกิจ บุคคลธรรมดา:  ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นเข้าข่ายการจ่าย เงินตามมาตรา 50 ทวิและ ท.ป. 4/2528 แห่งประมวลรัษฎากร

ธุรกิจ บริษัท:  ภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีที่บริษัทต้องจ่ายให้กับสรรพกรทุกวันที่ 7 ของเดือน ต้องหักเมื่อมีการซื้อหรือจ่ายค่าบริการ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

เหมือนกัน ถ้ารายได้เกิน 1.8 ล้านบาท ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะทำธุรกิจรูปแบบใดก็แล้วแต่

ข้อที่ 3.เรื่องของค่าจ้างพนักงาน

เรื่องของค่าจ้างไม่ได้ต่างกันเลย เพราะว่าการจะมีพนักงานได้ก็ต้องมีลูกข้างมากว่า 1 คนทั้งคู่ แถมต้องทำตามกฏระเบียบให้เรียบร้อย ทำเรื่องขึ้นทะเบียนประกันสังคม และมีการส่งประกันทุกเดือนตามกฏหมาย 

ข้อที่ 4.เรื่องการส่งงบการเงิน 

จุดนี้จะทำให้เห็นได้ชัดถึงความแตกต่างของทั้งคู่อย่างชัดเจน กับในนามบุคคลธรรมดา กฏหมายไม่ได้บังคับให้ส่งงบการเงิน ซึ่งต่างจากบริษัท ที่ต้องทำบัญชีให้เรียบร้อย เพราะต้องนำงบไปส่งหน่วยงานราชการ ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจมีการจ้างฝากการบัญชีเข้ามาช่วยจัดระเบียนด้วยจะดีแะลง่ายกว่าการจัดกรข้อมูลเอง 

เชื่อว่าหลังจากที่ทุกคนอ่านข้อมูลจบแล้วจะสามารถเข้าใจ ข้อแตกต่างของภาษีบุคคลธรรมดา กับ ภาษีบริษัท และตัดสินใจเลือกได้แล้วว่าเราควรเลือกไปทางไหนดีกว่ากัน 

***ทริปเล็กๆ เรื่องความรู้เกี่ยวกับภาษี 

กฎเฉพาะสำหรับภาษีส่วนบุคคลและภาษีนิติบุคคลจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ตัวอย่างเช่น ในอินเดีย อัตราภาษีนิติบุคคลคือ 25% ในขณะที่อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอยู่ระหว่าง 5% ถึง 30%

8 ข้อที่ควรรู้ ก่อนเริ่มขั้นตอนการขึ้นระบบโปรแกรมบัญชี

ในปัจจุบัน การใช้แรงงานคนในการทำงาน หรือที่เรียกว่าระบบ Mannual กลายเป็นสัญลักษณ์ของความล้าหลัง ถ้าพูดถึงการทำธุรกิจก็จะมีสิ่งหนึ่งควบคู่ตามกันมาคือการทำบัญชี เพราะมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับหลายสิ่งมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายภาษี การคุมต้นทุน งบกำไรต่างๆ และการใช้คนในการทำบัญชี ก็มักจะเกิดความผิดพลาดและล่าช้า ทำให้เกิดการสร้างสิ่งที่จะช่วยให้การทำบัญชีสะดวกมากขึ้น นั่นก็คือ “โปรแกรมบัญชี” ที่จะเข้ามามีส่วนช่วยในการทำบัญชีของธุรกิจ ช่วยลดต้นทุน เก็บรักษาข้อมูล จัดแจงงานบัญชีและแบ่งส่วนงานต่างๆ ขององค์กร แต่การใช้โปรแกรมบัญชีก็ยังคงต้องการคนคอยควบคุมการทำงานอยู่แต่ใช้กำลังคนน้อยลง ทำให้ไม่ต้องจ้างพนักงานจำนวนมาก ซึ่งก่อนที่จะเริ่มใช้โปรแกรมบัญชี มีข้อที่ควรรู้ก่อนการขึ้นระบบโปรแกรมบัญชี

แนะนำข้อที่ควรรู้ ก่อนเริ่มขั้นตอนการขึ้นระบบโปรแกรมบัญชี

1. ประชุมสรุปหาความต้องการ

รวบรวมตัวแทนทีมงานแต่ละส่วน เพื่อเข้าร่วมการประชุมหาความต้องการของระบบ ว่าถ้าต้องการใช้โปรแกรมบัญชี มีความจำเป็นยังไงบ้าง และมีฟังก์ชั่นอะไรที่จำเป็นสำหรับธุรกิจของเรา และมีความจำเป็นมากพอหรือไม่ ที่จะลงทุนใช้โปรแกรมบัญชี เพื่อให้การทำงานง่ายขึ้น

2. Mapping การใช้งาน

วางแผนการใช้งานของโปรแกรมบัญชีที่ต้องการว่าแต่ละหน่วยงาน มีความจำเป็นต้องใช้ฟังก์ชั่นส่วนไหนบ้างของโปรแกรม เพื่อให้การทำงานมีความชัดเจนและราบรื่น เพราะการวางแผนที่ดีจะช่วยให้ การทำงานแต่ละหน่วยงานขึ้นและทำงานร่วมกันได้ดี

3. สอนการใช้งานหน่วยที่เกี่ยวข้อง

หลังจากประชุมสรุปหาความต้องการและวางแผนการทำงานเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องมีการเชิญตัวแทนของแต่ละหน่วยงานมาศึกษาวิธีการทำงานของโปรแกรมบัญชี เพื่อให้เข้าใจวิธีการทำงานอย่างถูกต้อง

4. จัดเตรียมข้อมูล

จัดเตรียมข้อมูลต่างๆ ที่ต้องใช้ตาม template ที่ถูกเตรียมไว้ด้วย Microsoft Excel เพื่อให้นำข้อมูลการเงินต่างๆ ที่ต้องนำเข้าระบบโปรแกรมบัญชีได้ง่าย และข้อมูลมีความถูกต้อง

5. นำข้อมูลเข้าสู่ระบบ

หลังจากทำการเตรียมข้อมูลเรียบแล้ว ให้เริ่มนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้เตรียมไว้อัพโหลดขึ้นบนโปรแกรมบัญชี ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ในการคำนวณ วิเคราะและสร้างแบบฟอร์มต่างๆ ของโปรแกรมบัญชี

6. นัดอบรมการใช้งานแยกแต่ละแผนก 

หลังจากที่ตัวแทนแต่ละหน่วยงานได้รับการสอนวิธีการใช้งานแล้ว ก็ต้องนำความรู้ที่ได้มาสอนแก่พนักงานคนอื่นภายในแผนก เพื่อให้เข้าใจวิธีการทำงานและใช้งานอย่างทั่วถึง

7. ปรับแต่งแบบฟอร์ม 

ก่อนการเริ่มใช้โปรแกรมบัญชี ต้องปรับแบบฟอร์มให้สอดคล้องกับการใช้งาน เพราะในแต่ละแบบฟอร์มจะมีรายละเอียดของธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป และจะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการแก้ไขแบบฟอร์มหลายๆ ครั้ง

8. ขึ้นระบบ และ ติดตามข้อมูลที่เข้าสู่ระบบ

เริ่มการใช้งานโปรแกรมบัญชี และคอยติดตามข้อมูลภายในโปรแกรมว่ามีความครบถ้วนหรือ จะได้ลดโอกาสเกิดความผิดพลาด และได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง 100% 

และทั้งหมดนี่ก็คือ ข้อที่ควรรู้ก่อนเริ่มขั้นตอนการขึ้นระบบโปรแกรมบัญชี ที่ทำได้ง่ายและไม่ยากการปรับมาใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ดีกว่าการทำบัญชีแบบเดิม ที่อาจเกิดข้อผิดพลาดได้ตลอดเวลาและล่าช้ามาก การหันมาใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์จะช่วยให้การทำบัญชีและการจัดการของธุรกิจคุณง่ายมากยิ่งขึ้น และลดความผิดพลาดจากการทำงาน ด้วยฟังก์ชั่นและแบบฟอร์มเอกสารที่หลากหลาย ทำให้ไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานจำนวนมาก และในทุกขั้นตอนการขึ้นระบบโปรแกรมบัญชี จะมีทีมดูแลและให้คำปรึกษาการใช้งานจากโปรแกรมบัญชีออนไลน์ ทำให้ไม่ต้องกังวลในแต่ละขั้นตอนเลย

สำหรับใครที่สนใจใช้งานโปรแกรมบัญชี AccCloud ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : AccCloud.tech
หรือถ้าอยากดูฟังก์ชั่นเพิ่มเติมก็สามารถเข้าทดลองการใช้งานได้ที่ คลิ๊ก

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

การปิดงบการเงิน สำคัญกับบริษัทขนาดไหนมาดูกัน

การปิดงบการเงินหมายถึงกระบวนการที่ใช้ในการสรุปและบันทึกข้อมูลทางการเงินขององค์กรหรือบริษัทในระยะเวลาที่กำหนด ปกติแล้ว การปิดงบการเงินเป็นกระบวนการที่ทำขึ้นเป็นประจำทุกๆ ปีหรือระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งรวมถึงการสร้างรายงานการเงินสำคัญ เช่น งบกำไรขาดทุน (Income Statement) งบการเงินสรุปผลกิจกรรมทางการเงิน (Statement of Cash Flows) และงบสมดุล (Balance Sheet) ซึ่งเป็นเอกสารที่สำคัญในการวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินธุรกิจขององค์กร เพื่อสร้างรายงานการเงินสรุปผลกำไรหรือขาดทุนและสภาพการเงินอื่น ๆ ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น พนักงาน  และผู้อื่นที่ให้ความสนใจด้านการเงินภายในบริษัท 

การปิดงบการเงิน สำคัญกับบริษัทขนาดไหน

สำคัญกับบริษัททุกขนาดไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ เพราะงบการเงินเป็นเอกสารที่สำคัญในการวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินธุรกิจขององค์กร นอกจากนี้ การปิดงบการเงินยังเป็นการสร้างความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรต่อสถานะทางการเงินขององค์กรและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ 

องค์กรขนาดใหญ่ อาจมีทีมงานการเงินภายในที่รับผิดชอบในการปิดงบการเงิน โดยมีบัญชีและผู้เชี่ยวชาญทางการเงินภายในที่เป็นผู้รับผิดชอบภายในระบบ  องค์กรที่ใหญ่ขนาดยังมักมีความซับซ้อนในการดำเนินการทางการเงิน ซึ่งอาจต้องรวมกับข้อมูลทางการเงินจากสาขาหรือธุรกิจย่อยต่างๆ ภายในบริษัท 

สำหรับบริษัทขนาดเล็ก หรือร้านค้าขนาดเล็ก อาจใช้บริการจากผู้ที่มีความชำนาญในการบัญชีและการเงินภายนอกแทน อย่าง บริษัทที่ให้บริการด้านบัญชี บริการที่ปรึกษาการเงิน หรือบริษัทตรวจสอบและปิดงบการเงิน (Audit and Accounting Firms) เข้ามาทำแทน เนื่องจากการจ้างพนังงานการเงินเข้ามา อาจไม่คุ้มทุนที่ต้อเสียให้แบบรายเดิน การจ้างบรษัทภายนอก ถือว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดนั่นเอง 

ขั้นตอนการปิดงบการเงินปกติประกอบด้วยขั้นตอนหลักๆ ดังนี้:

ขั้นตอนการปิดงบการเงินอาจมีความหลากหลายและขึ้นอยู่กับลักษณะและขนาดขององค์กร แต่ขั้นตอนที่กล่าวมาเป็นขั้นตอนพื้นฐานที่ถูกนำมาใช้ในหลายองค์กรเพื่อปิดงบการเงินและสร้างรายงานการเงิน ก่อนส่งสรรพกรดท่านั้น

  1. รวบรวมข้อมูลการเงิน เริ่มต้นด้วยการรวบรวมข้อมูลทางการเงินที่จำเป็น เช่น ใบบันทึกการเงิน (financial transactions), รายงานการเงินรายเดือน/รายไตรมาส, รายงานการเงินของส่วนต่างๆ ในองค์กร เป็นต้น
  2. การบันทึกข้อมูล ข้อมูลการเงินภาษีซื้อ-ขายที่รวบรวมมาจะต้องถูกบันทึกในระบบบัญชีขององค์กร โดยใช้วิธีการบัญชีที่ถูกต้องและเป็นไปตามหลักการบัญชีที่กำหนด
  3. การตรวจสอบการเงินที่เดินบัญชี หรือ Statement ในขั้นตอนนี้จะตรวจสอบข้อมูลการเงินที่บันทึกไว้ว่าถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ และทำการปรับปรุงหากพบข้อผิดพลาดหรือข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
  4. เริ่มสร้างรายงานการเงิน หลังจากที่ข้อมูลการเงินถูกตรวจสอบและปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว จะทำการสร้างรายงานการเงินต่างๆ เช่น งบกำไรขาดทุน, งบการเงินสรุปผลกิจกรรมทางการเงิน, และงบสมดุล
  5. การตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบภายนอก (หากมี) บริษัทหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในการตรวจสอบและปิดงบการเงินอาจมาตรวจสอบรายงานการเงินเพื่อยืนยันความถูกต้องและเชื่อถือได้  เป็นข้อมูลจัดเก็บสำหรับกิจการต่อไป ไม่น้อยกว่า 5 ปี ตามที่กฎหมายกำหนด
  6. การส่งงบ รายงานการเงินที่สร้างขึ้นจะถูกนำส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมกสรรพากรภายใน 150 วัน นับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

การปิดงบการเงินในองค์กรมักมีความซับซ้อนและจำเป็นต้องมีผู้ที่มีความรู้และความชำนาญในการบัญชีและการเงินมารับผิดชอบ บางองค์กรอาจมีทีมงานการเงินภายในที่รับผิดชอบในการปิดงบการเงิน ในขณะที่องค์กรอื่นๆ อาจเลือกที่จะจ้างบริษัทการเงินภายนอกแทน เพื่อลดค่าใช่จ่ายที่ไม่จำเป็นกับบริษัท

ทำความรู้จัก การวางแผนการเงิน ที่สามารถทำให้ธุรกิจก้าวไปถึงความสำเร็จ

การวางแผนการเงินหมายถึงกระบวนการจัดการเงินให้เป็นไปตามเป้าหมายที่เราต้องการ แน่นอนว่านี่คือจุดเริ่มต้นของความสำเร็จของธุรกิจ ตั้งแต่เล็กไปจนถึงใหญ่  การวางแผนการเงินจะช่วยให้เราสามารถกำหนดเป้าหมายการใช่จ่ายเงินที่ต้องการบบแบบระยะยาว และยังช่วยให้สามารถสร้างยุทธศาสตร์เพื่อทำให้เป้าหมายนั้นเป็นจริงได้เร็วมากขึ้น เหมือนเป็นทางสูตรลัพธ์ ที่จะนำพาเราไปสู่เป้าหมายอย่างมั่นคง

การวางแผนการเงิน ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างไร 

การวางแผนการเงิน มีข้อดีหลายอย่าง เช่น:

การมีความชัดเจนในเป้าหมายการเงิน

การวางแผนการเงินช่วยให้เราสามารถกำหนดเป้าหมายการเงินที่ชัดเจนและเหมาะสมกับทุนในช่วงนั้นๆ ที่สำคัญยังช่วยกำหนดเป้าหมายการออมเงินหรือการลงทุนในอนาคตได้อีกด้วย การที่เรามีแนวทางที่ชัดเจน ช่วยให้เรามีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนมากขึ้น รู้ว่าเงินแต่ละส่วนต้องไปทางไหน ทำให้เราเดินไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง

การควบคุมและการจัดการเงิน

การวางแผนการเงินช่วยให้คุณมีการควบคุมและการจัดการเงินที่ดีขึ้น สามารถตรวจสอบรายได้และรายจ่ายได้แบบเรียวไทม์และตลอดเวลาทำให้รู้จุดผิดพลาดได้เร็ว และสร้างแผนการชำระหนี้ภาษีตามกฏหมายได้อย่างเหมาะสม ที่สำคัญยังช่วยให้ประหยัดเงินและสามารถนำส่วนต่างมาเพิ่มมูลค่าเงินได้อีกด้วย

 การเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉิน

การเตรียมพร้อมเรื่องการเงิน กองเงินฉุกเฉิน เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่งมากที่จะสามารถทำให้เราเดินหน้าไปถึงความสำเร็จของธุรกิจได้อย่างราบรื่น กองทุนฉุกเฉินมี เพื่อรับมือกับค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น เช่น การสูญเสียงาน การเจ็บป่วย หรือภัยพิบัติ การมีแผนการเงินชัดเจนช่วยให้เราไม่ต้องหาทางออกใหม่ อย่างการกู้ยืมเงิน หรือวางที่ค้ำประกัน จุดนี้เลย ทำให้เราสามารถโล่งใจการใช้เงินส่วนนี้ในการบริหารได้ 

การสร้างมูลค่าเงินในระยะยาว

การออมเงิน หรือลงทุนในทรัพย์สินที่เติบโตมูลค่า เช่น การลงทุนในหุ้นหรืออสังหาริมทรัพย์ที่มีโอกาสเพิ่มมูลค่าในอนาคต การวางแผนการเงินช่วยให้คุณมีความรู้สึกสบายใจว่าคุณกำลังสร้างความมั่งคั่งให้กับงาน ทั้งกับตัวเองครอบครัว และองค์กร

ลดความเครียดทางการเงิน

เมื่อมีการวางแผนที่ดี รู้ว่าเงินอต่ละส่วนต้องกระจายไปตรงไหน เงินสำรองที่ต้องเก็บมีเพียงพอสำหรับธุรกิจที่เรากำลังทำอยู่ เราก็จะรู้สึกสบายใจมากขึ้น ไม่ต้องมานั่งเครียด ว่าเงินก้อนนี้ต้องเอาไปลงทุนส่วนไหน หรือชักหน้าไม่ถึงหลัง นอกจากนี้ การวางแผนเพื่อเตรียมการเงินในอนาคตยังช่วยให้คุณมีความมั่นใจในการเดินทางสู่อนาคตทางการเงินที่แข็งแกร่งและสมดุล

การวางแผนการเงิน มีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากมันช่วยให้เราควบคุมและจัดระเบียบทิศทางของเงินได้ดียิ่งขึ้น แถมยังในเรื่องของการ บริหารจัดการรายได้และรายจ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไปจนถึงการตั้งกองทุนฉุกเฉิน  ช่วยสร้างมูลค่าเงินสะสมและเพิ่มมูลค่าเงินให้กับเงินออมได้แบบระยะยาว เท่านี้การเดินทางของธุรกิจก็พร้อมที่จะนำเราไปสู่ความสำเร็จแล้ว 

Education Template

Scroll to Top