ข้อแตกต่างของภาษีบุคคลธรรมดา กับ ภาษีบริษัท

สำหรับใครที่เริ่มทำธุรกิจมาได้สักพักแล้ว คงมีเรื่องของภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอบ่างแน่นอน ยิ่งทำไปนานวันเข้า ก็เริ่มสงสัยกับตัวเองว่าเราเหมาะสำหรับ ธุรกิจแบบบุคคลธรรมดาหรือบริษัทกันแน่นะ? พอเริ่มหาข้อมูลเองก็เริ่มสับสน ไม่แน่ใจว่าควรเลือกแบบไหนดีกว่ากัน เพราะมีทั้งข้อดีและเสียทั้งคู่

แต่ก่อนที่จะเริ่ม ตัดสินใจทำอะไรสักอย่าง เราก็ต้องมีข้อมูลเพื่อเป็นตัวช่วยในการคิด วิเคาระห์ และหาผลลัพธ์ ให้ออกมาดีที่สุด การเลือกว่าจะ เข้ามาเสียภาษีบุคคลธรรมดา หรือ ภาษีบริษัทดีก็ควรเลือกจากความเหมาะสม และความพร้อมของธุรกิจองคฺ์ก่อนจะดีที่สุด 

ข้อแตกต่างระหว่างภาษีส่วนบุคคลและภาษีบริษัท

ผู้ชำระเงิน: ภาษีส่วนบุคคลชำระในนามของบุคคลธรรมดา ในขณะที่ภาษีบริษัทจะชำระในนามของชื่อธุรกิจ

หลักเกณฑ์: ภาษีส่วนบุคคลขึ้นอยู่กับรายได้ของแต่ละบุคคล ซึ่งภาษีบริษัทขึ้นอยู่กับผลกำไรของธุรกิจ

อัตรา: อัตราภาษีส่วนบุคคลจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับรายได้ของแต่ละบุคคล กลับกันอัตราภาษีบริษัทมักจะเป็นแบบคงที่

การหักเงิน: ผู้เสียภาษีส่วนบุคคลสามารถหักค่าใช้จ่ายบางอย่างจากรายได้ที่ต้องเสียภาษี ในขณะที่ผู้เสียภาษีบริษัทสามารถหักค่าใช้จ่ายได้น้อยกว่า

เงินปันผล: เงินปันผลที่จ่ายให้กับผู้เสียภาษีส่วนบุคคลจะถูกหักภาษีเป็นรายได้ ในขณะที่เงินปันผลที่จ่ายให้กับผู้เสียภาษีบริษัทจะถูกหักภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า

ยกตัวอย่างภาษีส่วนบุคคลและภาษีบริษัทมีดังนี้

ภาษีส่วนบุคคล

หากคุณเป็นพนักงาน คุณต้องจ่ายภาษีส่วนบุคคลจากเงินเดือนของคุณ หากคุณประกอบอาชีพอิสระ คุณต้องเสียภาษีส่วนบุคคลจากกำไรจากธุรกิจของคุณ

ภาษีบริษัท

หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ คุณต้องจ่ายภาษีนิติบุคคลจากกำไรที่ธุรกิจของคุณที่ได้รับ

4 ข้อที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือก ภาษีบุคคลธรรมดา หรือว่า ภาษีบริษัทง่ายขึ้น

ข้อมูลต่อจากนี้จะช่วยให้คุณสามารถเลือกแนวทางการขึ้นภาษีได้ง่ายว่า รูปแบบบุคคลธรรมดาและบริษัท ทางเลือกไหนที่เหมาะกับเรามากกว่ากัน

 

ข้อที่ 1.เรื่องการจดภาษีขึ้นทะเบียน

ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจบุคคลธรรมดา หรือว่า บริษัท ก็ต้องจดทะเบียนด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งสามารถจดได้ที่ จดทะเบียนพาณิชย์ที่ สำนักงานเขต หรือ อบต.  แต่ของบริษัทจะต้อง จดทะเบียนบริษัทที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าต่อ

ธุรกิจ บุคคลธรรมดา

ข้อดี : ทำได้ง่าย  ค่าธรรมเนียมไม่แพง

ข้อเสียไม่น่าเชื่อถือ กรณีคู่ค้าต้องการทำการค้า กับนิติบุคคลเท่านั้น

ธุรกิจ บริษัท

ข้อดี :  น่าเชื่อถือกว่า

ข้อเสีย : ยุ่งยากกว่า ค่าธรรมเนียมสูงกว่า

ข้อที่ 2.เรื่องภาษี

ทุกคนเองก็รู้อยู่แล้วว่าต้องเสีบภาษีทั้งสองแบบ ซึ่งความแตกต่างในการยื่นเรื่องค่อนข้างต่างกันมาก มีอะไร้บ้างมาดูกัน

ภาษีเงินได้

ธุรกิจ บุคคลธรรมดา :  เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา

ธุรกิจ บริษัท:  เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ค่าใช้จ่าย

ธุรกิจ บุคคลธรรมดา:  ตามจริงหรือเหมา แล้วแต่ประเภทรายได้

ธุรกิจ บริษัท:  หักค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวกับบริษัท เช่น เงินเดือนพนักงาน หรือต้นทุนสินค้าต่างๆ

ฐาน

ธุรกิจ บุคคลธรรมดา:  เงินได้สุทธิ 

ธุรกิจ บริษัท:  จากกำไรสุทธิที่บริษัทได้รับ

อัตราภาษี

ธุรกิจ บุคคลธรรมดา:   อัตราก้าวหน้า สูงสุด 35 เปอร์เซ็นต์ 

ธุรกิจ บริษัท:  กำไร 300,000 บาทแรกยกเว้นภาษี, กำไรตั้งแต่ 300,000 – 3 ล้านบาท ต้องเสียภาษี 15%, กำไรมากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไป ต้องเสียภาษี 20%

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ธุรกิจ บุคคลธรรมดา:  ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นเข้าข่ายการจ่าย เงินตามมาตรา 50 ทวิและ ท.ป. 4/2528 แห่งประมวลรัษฎากร

ธุรกิจ บริษัท:  ภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีที่บริษัทต้องจ่ายให้กับสรรพกรทุกวันที่ 7 ของเดือน ต้องหักเมื่อมีการซื้อหรือจ่ายค่าบริการ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

เหมือนกัน ถ้ารายได้เกิน 1.8 ล้านบาท ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะทำธุรกิจรูปแบบใดก็แล้วแต่

ข้อที่ 3.เรื่องของค่าจ้างพนักงาน

เรื่องของค่าจ้างไม่ได้ต่างกันเลย เพราะว่าการจะมีพนักงานได้ก็ต้องมีลูกข้างมากว่า 1 คนทั้งคู่ แถมต้องทำตามกฏระเบียบให้เรียบร้อย ทำเรื่องขึ้นทะเบียนประกันสังคม และมีการส่งประกันทุกเดือนตามกฏหมาย 

ข้อที่ 4.เรื่องการส่งงบการเงิน 

จุดนี้จะทำให้เห็นได้ชัดถึงความแตกต่างของทั้งคู่อย่างชัดเจน กับในนามบุคคลธรรมดา กฏหมายไม่ได้บังคับให้ส่งงบการเงิน ซึ่งต่างจากบริษัท ที่ต้องทำบัญชีให้เรียบร้อย เพราะต้องนำงบไปส่งหน่วยงานราชการ ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจมีการจ้างฝากการบัญชีเข้ามาช่วยจัดระเบียนด้วยจะดีแะลง่ายกว่าการจัดกรข้อมูลเอง 

เชื่อว่าหลังจากที่ทุกคนอ่านข้อมูลจบแล้วจะสามารถเข้าใจ ข้อแตกต่างของภาษีบุคคลธรรมดา กับ ภาษีบริษัท และตัดสินใจเลือกได้แล้วว่าเราควรเลือกไปทางไหนดีกว่ากัน 

***ทริปเล็กๆ เรื่องความรู้เกี่ยวกับภาษี 

กฎเฉพาะสำหรับภาษีส่วนบุคคลและภาษีนิติบุคคลจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ตัวอย่างเช่น ในอินเดีย อัตราภาษีนิติบุคคลคือ 25% ในขณะที่อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอยู่ระหว่าง 5% ถึง 30%

Education Template

Scroll to Top