มารู้จักกับระบบ PLC กันเถอะ

เนื่องจากผู้เขียนได้เป็นที่ปรึกษาในด้านการวางระบบโรงงานจำนวนมาก และได้สังเกตเห็นโรงงานจำนวนมากในปัจจุบันเริ่มมีการปรับตัวนำระบบ computer automation เข้าช่วยในด้านการผลิตมากขึ้น วันนึ้จึงขออธิบายเรื่องราวเล็กๆน้อยๆเป็นความรู้เกี่ยวกับAutomation โดยใช้ PLC ครับ

 
 
 

โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอลโทรลเลอร์ (Programmable logic Control : PLC) เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือกระบวนการทำงานต่างๆ โดยภายในมี Microprocessor เป็นมันสมองสั่งการที่สำคัญ PLC จะมีส่วนที่เป็นอินพุตและเอาต์พุตที่สามารถต่อออกไปใช้งานได้ทันที

 

โดยที่ตัว input switch จะต่อเข้ากับส่วนรับข้อมูล ส่วน Output จะ ต่อออกไปควบคุมการทำงานของอุปกรณ์หรือเครื่องจักรอีกหนนึง ทั้งนี้เราสามารถที่จะสร้างวงจร การควบคุมได้โดย ป้อนโปรแกรมคำสั่งเข้าไปใน PLC

 

*** หมายเหตุ PLC ยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นเช่นเครื่องอ่านบาร์โค๊ด (Barcode Reader) เครื่องพิมพ์ (Printer) และการทำงานของ PLC จะมีทั้งแบบ Stand Alone และแบบ Network

 

โครงสร้างของ PLC

PLC เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม ประกอบด้วย หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ หน่วยรับข้อมูล หน่วยส่งข้อมูล และหน่วยป้อนโปรแกรม PLC ขนาดเล็กส่วนประกอบทั้งหมดของ PLC จะรวมกันเป็นเครื่องเดียว แต่ถ้าเป็นขนาดใหญ่สามารถแยกออกเป็นส่วนประกอบย่อยๆ ได้

หน่วยความจำของ PLC ประกอบด้วย หน่วยความจำชนิด RAM และ ROM หน่วยความจำชนิดRAM ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมของผู้ใช้ ส่วน ROM ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมสำหรับใช้ในการปฏิบัติงานของ

 

1. RAM (Random Access Memory) หน่วยความจำประเภทนี้จะมีแบตเตอรี่เล็กๆ ต่อไว้ เพื่อใช้เลี้ยงข้อมูลเมื่อเกิดไฟดับ การอ่านและเขียนโปรแกรมลงใน RAM ทำได้ง่าย

2. EPROM (Erasable Programmable Read Only Memory) หน่วยความจำชนิด EPROM นี้จะต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการเขียนโปรแกรม การลบโปรแกรมทำได้โดยใช้แสงอัลตราไวโอเลตหรือตากแดดร้อนๆ นานๆ มีข้อดีตรงที่โปรแกรมจะไม่สูญหายแม้ไฟดับ จึงเหมาะกับการใช้งานที่ไม่ต้องเปลี่ยนโปรแกรม

3. EEPROM (Electrical Erasable Programmable Read Only Memory) หน่วยความจำชนิดนี้ไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการเขียนและลบโปรแกรม โดยใช้วิธีการทางไฟฟ้าเหมือนกับ RAM นอกจากนั้นก็ไม่จำเป็นต้องมีแบตเตอรี่สำรองไฟเมื่อไฟดับ

ความเชื่อมโยง

ท่านลองคิดดูว่า ทันทีที่ ระบบ ERP มีการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าแล้ว และนำคำสั่งซื้อนั้นไปเข้าสู่กระบวนการผลิต แล้วให้ระบบจัดการ คำนวณ วัตถุดิบ และ ระบบ automation ทำการจัดสรรวัตถุดิบ และนำไปผลิตทันที ในโรงงานจะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้มากมายขนาดไหน

 

การจะทำเช่นนั้นได้ ระบบ ERP ที่นำมาใช้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีเทคโนโลยีรองรับที่สอดคล้องกับอนาคต

โปรแกรมบัญชี AccCloud ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการเชื่อมโยงในส่วนนี้โดยเฉพาะ

 

สนใจติดต่อ https://www.acccloud.tech/