การทำงานในยุคปัจจุบันนี้ ความรู้นับเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก เรียกว่าเป็นหัวใจของความสำเร็จในการทำงานทุกประเภท วันนี้ผมจะอธิบายประเภทของความรู้ให้ทุกๆท่านได้ฟังคร่าวๆครับว่า ความรู้มีกี่ประเภทอะไรบ้าง อันไหนเอามาใช้ได้ทันที อันไหนเอามาใช้ได้ไม่ทันที
Sallis and Jone (2002)ได้กล่าวไว้ว่า ความรู้นับเป็นสินทรัพย์อันมีค่ายิ่งขององค์กร ในการสร้างสรรค์ และ เพิ่มคุณค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยความรู้อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ความรู้ที่ปรากฏชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดโดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบของเอกสาร ตำรา
ทฤษฎี คู่มือ บางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบ “รูปธรรม” และความรู้ซ้อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เป็นภูมิปัญญา พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทําความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็น ทักษะการทํางานงานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์บางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบ “นามธรรม”
การนำความรู้ทั้งสองประเภทมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาองค์กร องค์กรจำเป็นต้องมีความตระหนักและกำหนดวิสัยทัศน์ให้ขัดเจนว่า ความรู้เป็นปัจจัยหลักในการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ และ ผู้นำจำเป็นจะต้องเห็นค่าของการจัดการความรู้รวมถึงการมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการสร้างองค์ความรู้
วิจารณ์ พานิช (2547) ได้แบ่งความรู้ออกเป็น 3 ประการดังนี้คือ
1. ความรู้ที่ไม่ชัดแจ้ง( Tacit Knowledge) ความคิดนี้เกิดขึ้นจากความเชื่อ ประสบการณ์ เป็นข้อสังเกตที่สั่งสมมานานจากการเรียนรู้ที่หลากหลาย จนเชื่อมโยงเป็นความรู้ที่มีคุณค่าสูง และความรู้ที่ฝังลึกนี้ไม่สามารถนำมาเปิดเผยได้ทั้งหมด แต่จะเกิดจากการเรียนรู้ผ่านชุมชน เช่นการสังเกต การ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างการทำงาน
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) หรือความรู้ชัดแจ้งที่รู้กันโดยทั่วไปพบเห็นได้จากในตำรา ในหนังสือ หรือ สื่อต่างๆที่มีการรวบรวมเป็นหมวดหมู่ สามารถเขาถึงและแลกเปลี่ยนได้ง่าย
3. ความรู้ที่แฝงอยู่ในองค์กร (Embedded knowledge) เป็นความรู้ที่ถูกแผงอยู่ระหว่างหระบวนการทำงาน คู่มือ และ กฏเกณฑ์ต่างๆ กติกา ข้อตกลง ตารางการทำงานและบันทึกการทำงาน
Edvinsson (2002) ได้แบ่งความรู้ออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. ความรู้เฉพาะบุคคล (individual knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในตัวพนักงานแต่ละคน
2. ความรู้ขององค์กร (Organization knowledge) เป็นความรู้ที่เกิดจากการแลกปลี่ยนการเรียนรู้ระหว่างพนักงานในองค์กรทำให้เกิดความรู้ สามารถใช้ประโยชน์ในการทำงานได้มากยิ่งขึ้น และ
3. ความรู้ที่เป็นระบบ (Structural Knowledge) เป็นความรู้ที่เกิดจากการสร้าง และต่อยอดองค์ความรู้เดิม
Nonaka & Takeuchi (1995) ได้แบ่งประเภทของความรู้เอาไว้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ 1. ความรู้ที่ไม่ชัดแจ้ง (Tacit Knowledge) หรือ ความรู้ที่ไม่สามารถแสดงออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน เป็นความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลเกิดจากประสบการณ์ การเรียนรู้ การกระทำ อาจจะเป็นความเชื่อ หรือ การมีพรสวรรค์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งยากต่อการถ่ายทอดในรูปของตัวอักษร และมีต้นทุนสูงในการถ่ายทอดความรู้ประเภทนี้ อย่างไรก็ดีความรู้ประเภทนี้จะก่อให้เกิดความสามารถในด้านการแข่งขันเนื่องจากความรู้ประเภทนี้อยู่กับคนข้างในองค์กร และ 2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถนำมาแสดงให้บุคคลภายนอกเห็นได้ อาจจะอยู่ในรูปแบบหนังสือ บทความ เอกสาร ตำราต่างๆ ซึ่งจะทำให้คนสามาถเข้าถึงได้ง่าย อย่างไรก็ดี บุญดี บุญญากิจ และคณะ(2549) ได้กล่าวถึงอัตราส่วนระหว่างความรู้ที่ชัดแจงต่อ ความรู้ที่ไม่ชัดแจ้ง เป็น 20:80 ซึ่งเปรียบเสมือนความรู้ในองค์กรที่มีความชัดแจ้งมีอัตราส่วนที่น้อยกว่า ความรู้ที่ไม่ชัดแจ้งมาก
กล่าวโดยสรุป ประเภทของความรู้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆด้วยกันคือ ความรู้ที่เห็นได้ชัดเจน( Explicit Knowledge) ซึ่งหมายถึงความรู้ที่สามารถอธิบายหรือ สื่อมาในรูปแบบของเอกสาร ตำรา บทความหรือรายงาน ต่างๆได้ หรือ แม้กระทั่ง software computer เช่น โปรแกรมบัญชี เป็นต้น และผู้ที่ต้องการเรียนรู้สามารถเข้าถึงได้โดยไม่ยาก และ ความรู้ที่ไม่ชัดเจน ( Tacit Knowledge) หมายถึงความรู้ที่ไม่สามารถสื่อได้ง่าย ความรู้ประเภทนี้เกิดจากตัวบุคคลเอง เช่นประสบการณ์ การกระทำจนชิน การสังเกตจากเหตุการณ์ พรสวรรค์ หรือแม้กระทั่งความเชื่อต่างๆ
ในบทความถัดไปผมจะอธิบายเรื่องของการจัดการความรู้ให้ทุกท่านได้ฟังครับว่า มีวิธีการอย่างไรบ้าง ถึงจะเอาความรู้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP เป็นตัวอย่างนึงของการนำเอาความรู้ ทั้ง Explicit knowledge และ implicit knowledge มาใช้ให้เป็นประโยชน์ภายใต้ Software ที่เก็บรวบรวมองค์ความรู้เอาไว้
ที่มา www.acccloud.tech