เดือน: กุมภาพันธ์ 2023

ธุรกิจล้มเหลว เสี่ยงลงทุนไม่รอด หากยังทำ 7 พฤติกรรมเหล่านี้

การลงทุน มักควบคู่กับความเสี่ยงเสมอ ยิ่งเราลงทุนมากแค่ไหน เราก็ต้องเสี่ยงที่จะขาดทุนได้เช่นกัน ยิ่งในด้านการตลาด มักจะเจอความเสี่ยงในการลงทุนได้ตลอดเวลา แต่ใช่ว่าการลงทุน จะไม่ไดผลตอบแทนเสมอไป ยิ่งเราเลือกที่จะลงทุนในช่วงตลาดขาขึ้น ก็ทำให้ได้ผลตอบแทนที่เกินเป้าหมายได้เช่นกัน แต่ก่อนจะเริ่มลงทุนนั้น ต้องรู้ถึงความเสี่ยงจาก 7 พฤติกรรมดังนี้ก่อน

รวม 7 พฤติกรรม เสี่ยงลงทุนไม่รอด

1. ทุ่มหมดตัว กล้าได้กล้าเสีย

การลงทุนแบบเทหน้าตัก หรือลงทุนแบบหมดตัว เพราะหวังว่าจะได้กลับคืนมาเท่าตัว เป็นความคิดที่ผิดมาก เพราะการลงทุน คือการแบ่งเงินส่วนต่าง ๆ ไปลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยง ดังนั้น ควรจะแบ่งสัดส่วนเงินในการลงทุนให้พอดี เพื่อกันปัญหาขาดทุนในอนาคต

2. เชื่อข่าวลือที่ไม่มีมูลความจริง

หากเชื่อข่าวที่พบเห็นได้ง่าย และไม่ได้มีการคัดกรอง เสี่ยงไม่น้อยที่จะทำให้ขาดทุนได้เช่นกัน ดังนั้นหากเจอข่าวลือ ให้ควรศึกษาอย่างถี่ถ้วนทุกครั้ง และไม่ควรเชื่อเสมอไป

3. ลงทุนโดยไม่ศึกษาให้ครบถ้วน

การตลาดเป็นสิ่งไม่แน่นอนและคงที่ หากเราลงทุนในสิ่งที่เรายังไม่เข้าใจดี ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน เนื่องจากความไม่เข้าใจทางการตลาดของธุรกิจนั้น ๆ ก็ทำให้การลงทุนติดลบ หรือขาดทุนได้ในที่สุด ดังนั้นเป็นไปได้ ควรศึกษาอย่างถี่ถ้วน ครบทุกความเข้าใจก่อนเริ่มการลงทุน

4. ไม่ติดตามข่าวสาร

เนื่องจากการตลาดมีการเคลื่อนไหวไม่แน่นอน และผันผวนแทบตลอดเวลา การไม่ติดตามข่าวสารด้านการตลาดเลย ทำให้พลาดสิ่งสำคัญในการลงทุนได้ ดังนั้น ควรติดตามข่าวสารด้านการตลาดอย่างน้อย 2 – 3 วัน หรือเป็นไปได้ก็ลองดูการตลาดในทุก ๆ วัน เพื่อให้ทันข่าวสารด้านนี้อย่างหมดจด

5. ไม่อดทนต่อการลงทุน

เนื่องจากการลงทุน มักคู่กับความเสี่ยง มีขาดทุนบ้าง ได้ผลตอบแทนบ้าง แต่หากเลือกที่จะทำไม่นาน แล้วหยุดไปเลย ก็อาจทำให้เสียโอกาสในการลงทุนได้ ดังนั้นนักลงทุนควรเข้าใจในธรรมชาติของการลงทุน มเสียบ้าง ก็ต้องมีได้บ้างเป็นเรื่องปกติ และยิ่งลงทุนเป็นเวลานาน โอกาสในการขาดทุนก็ยิ่งน้อยลงเช่นกัน 

6. กลัวการลงทุน

หากกลัวในการลงทุนว่าจะเสี่ยงขาดทุนมากแค่ไหน ก็ยิ่งเสียโอกาสในช่วงขาขึ้นของการตลาด แต่ให้เข้าใจไว้เสมอ ว่ายิ่งเราศึกษาการลงทุนดีแค่ไหน โอกาสในการขาดทุนก็ยิ่งน้อยลงแค่นั้น และเข้าใจในธรรมชาติของการตลาด แล้วเราจะค่อย ๆ หายกลัวในการลงทุนได้เอง

7. มั่นใจในการลงทุนมากเกินไป

การมั่นใจในการลงทุนก็ไม่ใช่เรื่องที่แย่ แต่หากมั่นใจเกินไป โดยไม่ได้นึกถึงการตลาดที่มักเปลี่ยนไปได้ทุกเวลา ก็เสี่ยงขาดทุนได้เช่นกัน ดังนั้นการลงทุน ควรลงทุนแค่พอดี เพื่อผลตอบแทนที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ 

การได้รู้ว่าพฤติกรรมแบบไหนที่เสี่ยงทำให้การลงทุนมีความเสี่ยง ก็ควรหยุดและค่อย ๆ ปรับตัวไปกับการลงทุนนั้น ๆ แต่ต้องเข้าใจธรรมชาติของการตลาดเสมอ ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ลงทุน ไม่ควรใจร้อนจนเกินไป เพื่อให้การลงทุนมีความเสี่ยงที่น้อยที่สุด และได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด

4 เหตุผลผิด ๆ ของการวางแผนทางการเงิน

การวางแผนทางการเงินนั้น เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อย ที่ช่วยให้ธุรกิจและการลงทุนต่าง ๆ คล่องตัว มั่นคงและมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากวางแผนทางเงินเร็วแค่ไหน โอกาสในการลงทุนรวมทั้งธุรกิจต่าง ๆ ก็ยิ่งคล่องตัวแค่นั้น เนื่องจากการเงินมีการผันผวนตลอดเวลา จึงต้องมีการวางแผนที่จะใช้เงินในการลงทุนต่าง ๆ เพื่อให้ผลตอบแทนออกมาดีที่สุด แต่หากไม่รู้เหตุผลผิด ๆ ในการลงทุนนั้นเลย ก็มีสิทธิที่จะทำให้ธุรกิจนั้นไม่ถึงเป้าหมาย หรือขาดทุนได้ในที่สุด

1. ไม่มีความรู้ในการวางแผนทางการเงินมากพอ

หากคิดว่าตนเองไม่มีความรู้เลยในการวางแผนทางการเงิน จึงไม่กล้าที่จะลงมือทำ ควรจะเริ่มจากบันทึกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในแต่ละวัน เช่น บันทึกรายรับ บันทึกรายจ่าย และเพิ่มเงินออมไปได้ ซึ่งการทำวธีนี้ทำให้รู้เส้นทางการเินเงินของเราว่าไปในทิศทางไหน และสามารถวางแผนในอนาคตต่อไปได้

2. ไม่มีเวลา

การวางแผนทางการเงิน บางคนอาจคิดว่ามันยุ่งยากจนไม่มีเวลาทำ ไม่จริงเลย เนื่องจากการวางแผนทางการเงิน เป้นการประเมินค่าใช้จ่ายในแต่ละวันหรือแต่ละเดือนว่าไปในทิศทางบวกหรือทิสทางลบ แล้วนำมาคำนวณว่าเดือนต่อ ๆ ไปควรใช้เงินประมาณเท่าไหร่ จึงจะสมดุลกันนั่นเอง

3. ยังไม่พร้อมในการวางแผนทางการเงิน

หากคิดแต่ว่ายังไม่พร้อม การเงินก็ยิ่งแย่ลงได้เช่นกัน ดังนั้นหากทำการวางแผนทางการเงินเร็วแค่ไหน ก็ยิ่งสร้างประโยชน์ต่อทางการเงินของเราได้มากแค่นั้น

4. มีหนี้และภาระเยอะ

ยิ่งมีหนี้และภาระเยอะมากแค่ไหน ยิ่งต้องวางแผนทางการเงินให้เร็วที่สุด เนื่องจากการวางแผนทางการเงิน สามารถช่วยบริหารและจัดการปัญหาในการใช้จ่ายได้ดีไม่น้อย และเป็นประโยชน์ได้ในอนาคต และอาจเคลียร์หนี้สินได้เช่นกัน หากวางแผนทางการเงินได้ดี

หวังว่าบทความนี้ จะช่วยเป็นแนวทางในการแก้ไขความเข้าใจผิด และมั่นใจในการลงทุน รวมถึงมั่นใจในการวางแผนทางการเงิน เพื่อผลตอบแทนที่ดี และลดปัญหารวมถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ในอนาคตได้อีกด้วย

อยากเป็นเจ้าของธุรกิจต้องรู้ ประเภทของการจดทะเบียนธุรกิจมีอะไรบ้าง

ทุกวันนี้ไม่ว่าใครก็ใฝ่ฝันอยากที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจของตนเองกันทั้งนั้น หากเรามีแผนที่จะขายสินค้าหรือบริการบางอย่างก็ควรจะมีการจดทะเบียนธุรกิจ เพื่อให้การดำเนินการต่างๆ ของเราเป็นไปในนามของบริษัทหรือทะเบียนพาณิชย์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการบริหารจัดการธุรกิจ ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ทำให้ธุรกิจของเราสามารถเติบโตได้ดียิ่งขึ้น แต่ก่อนที่เราจะจดทะเบียนธุรกิจ เราควรมารู้จักกับประเภทของการจดทะเบียนธุรกิจก่อน มีอะไรบ้าง มาดูกันเลย

ประเภทการจดทะเบียนธุรกิจ

การจดทะเบียนธุรกิจสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท นั่นคือ 1. การจดทะเบียนพาณิชย์ สำหรับบุคคลธรรมดา และ 2. การจดทะเบียนบริษัท สำหรับนิติบุคคล แต่ละประเภทจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. การจดทะเบียนพาณิชย์ สำหรับบุคคลธรรมดา

การจดทะเบียนพาณิชย์เป็นการจดทะเบียนที่เหมาะกับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่เป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งอาจเป็นการประกอบอาชีพ เช่น การขายสินค้าทั่วไปโดยมีหน้าร้านเป็นของตัวเอง การขายของออนไลน์ ตัวแทนขายสินค้า/บริการผ่านเว็บไซต์ ขายของผ่านแพลตฟอร์มบน Social Media เป็นต้น

2. การจดทะเบียนบริษัท สำหรับนิติบุคคล

การจดทะเบียนบริษัทเหมาะกับธุรกิจหลายระดับที่มีเจ้าของหรือผู้ลงทุนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป หากต้องการให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดได้ก็ควรมีการจดทะเบียนบริษัท การจดทะเบียนประเภทนี้จะทำให้บริษัทมีสถานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งจะมีภาระการจัดการที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ เช่น การจัดทำบัญชี การเสียภาษี และยื่นประกันสังคม การจดทะเบียนบริษัทยังสามารถแย่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญ

ห้างหุ้นส่วนสามัญเป็นการทำธุรกิจที่แบบมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งหุ้นส่วนแต่ละคนสามารถเข้ามามีบทบาทในการจัดการกับธุรกิจและแบ่งปันผลกำไรได้ ถือว่ามีภาระหน้าที่ร่วมกันทั้งในส่วนของผลกำไรและหนี้สินของกิจการ หากไม่ได้จดทะเบียนบริษัทจะนับเป็นบุคคลธรรมดา แต่ถ้าจดทะเบียนแล้วจะมีสภาพเป็นนิติบุคคล

  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะมีความแตกต่างจากห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ การแบ่งภาระความรับผิดชอบของหุ้นส่วนจะมีการกำหนดข้อจำกัด และไม่จำกัด เกี่ยวกับหนี้สินของกิจการไว้ด้วย หุ้นส่วนแต่ละคนจะรับผิดชอบหนี้สินไม่เกินจำนวนเงินลงทุนของตนเอง

  • บริษัทจำกัด

บริษัทจำกัดเป็นธุรกิจที่ต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 3 ขึ้นไป และจดทะเบียนนิติบุคคลให้เรียบร้อย ทุกคนมีภาระการรับผิดชอบหนี้สินแบบ จำกัด การจดทะเบียนบริษัทจะช่วยให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้ก้าวหน้าได้ดีมากกว่าการทำธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา

การจดทะเบียนบริษัทอาจมีขั้นตอนที่ค่อนข้างยุ่งยาก และเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องเยอะ แต่อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนธุรกิจย่อมมีข้อดีกว่าไม่จดเลย เพราะถ้าเราอยากให้ธุรกิจเติบโต เป็นที่รู้จัก และได้รับการยอมรับในวงกว้าง การจดทะเบียนธุรกิจนี่แหละเป็นทางเลือกที่ดีและคุ้มค่าที่สุดแล้ว

Education Template

Scroll to Top