ปี: 2021

สำรวจตัวเองก่อนจะมาเป็นผู้ประกอบการ

1. เป็นผู้ที่มีเป้าหมายในการทำธุรกิจที่ชัดเจน

 

2. มีความมุ่งมั่นสูงที่จะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ

 

3. มีความอ่อนน้อม ไม่ถือตัว

 

4. เป็นคนที่ใฝ่รู้อยู่เสมอ เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาทำให้สามารถปรับตัวได้เสมอ

 

5. มีภาวะผู้นำ กล้าเสี่ยง และกล้าที่จะตัดสินใจ

 

6. ทำงานเร็ว รวมถึงมีสัมผัสที่เร็วต่อโอกาส ปัญหา และอุปสรรค

 

7. มีความฝัน ความคิดริเริ่ม และความคิดที่จะปรับปรุงสินค้าและบริการให้ดีขึ้นตลอดเลา

 

8. ต้องมีเครือข่ายดี เพื่อที่จะทำให้ได้ประโยชน์ทั้งด้านข้อมูล และการได้รับความ ช่วยเหลือด้านต่าง ๆ จากเพื่อน ๆ หรือเครือข่ายได้เป็นอย่างดี

 

9. ต้องมีความรู้จริง รู้สึก (Knowledge) ในธุรกิจที่ลงทุน

 

10. ไม่คิดว่าธุรกิจที่ทำอยู่เป็นงานที่ต้องทำ แต่เป็นงานที่อยากทำ

 

11. เก่งที่รู้จักเลือกหาทีมงานที่ไว้ใจได้

 

12. มีความรู้สึกยินดี เมื่อต้องให้

 
 
 
 

 

 

 

 

หากท่านสำรวจตัวเองแล้วพบว่ามีเกิน 6 ข้อ แสดงว่า ท่านพร้อมแล้วที่จะเป็นผู้ประกอบการ แล้วจะรออะไรล่ะ เริ่มลงมือได้เลยครับ เริ่มจากหาโปรแกรมบัญชีดีๆ ที่มีไว้ในกิจการ เช่น โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP ก่อนเลยครับ

 

 

 

ที่มา: โปรแกรมบัญชี www.acccloud.co

การจัดการของเสียในโรงงานอุตสาหกรรม

บทความนี้อาจจะไม่เกี่ยวข้องอะไรกับ โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP สักเท่าไหร่นะครับ แต่เป็นประสบการณ์จากที่ได้ไป Consult โรงงานมาหลายๆที่

 

ทุกโรงงานไม่ว่าจะมีการจัดการที่ดี หรือไม่ก็ตาม จะมีสิ่งนึงที่คล้ายๆกันคือ ของเสียจากการผลิต ไม่ว่าจะเป็นของที่ต้องเสียทิ้งจริงๆหรือ ของที่ยังสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ ในกรณีที่ของเสียทิ้งจริงๆการจัดการของเสียนับเป็นสิ่งที่สำคัญหลักคือพยายาม ให้นึกถึงโรงงานคือร่างกายของเราเอง ของเสียคือสิ่งที่ขับถ่ายจากร่างกาย ดังนั้นการจะสิ่งของเสียจากร่างกายต้อง รับประทานอาหารที่มีคุณค่า ปริมาณให้เพียงพอไม่มากเกินไป

 

ในโรงงานก็เช่นเดียวกันหลักการคือ

 

1. ลดการใช้วัตถุดิบ ใช้เท่าที่จําเป็น (Reduce)

 

2. พยายามซ้ำ (Reuse)

 

3 นำมาแปรรูปมาใช้ใหม่ (Recycle)

 

โรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจัดการของเสีย จะมีกิจกรรมต่างๆดังนี้คือ

๐ มีปรับปรุงกระบวนการผลิตทั้งในส่วนของการผลิตและกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

๐ จัดการกับของเสียแต่ละประเภทตามสมควรและ คำนึงถึงการใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด

๐ ยึดตามกฎหมายกําหนดเป็นตัวตั้งต้นก่อน จากนั้นค่อยมาดูกิจกรรมการจัดการของเสียชนิดต่างๆ ตั้งแต่การจัดเก็บของเสีย การนําไปใช้ และการกำจัดทิ้ง

 

ประโยชน์จากการจัดการของเสีย หลักๆคือการลดต้นทุนการปฏิบัติงาน การลดต้นทุนพลังงาน การมีพื้นที่ใช้สอยในโรงงานที่มากขึ้น และ แน่นอนว่าประสิทธิภาพการผลิตจะสูงขึ้นตามไปด้วยครับ

 
 
 
 

 

 

 

 

 

5 ข้อบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจของเรา

 
 
 
 

5 ข้อบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจของเรา

 

พูดถึงการเปลี่ยนแปลง นับเป็นเรื่องธรรมชาติ เพราะธรรมชาติคือการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในยุคไหนเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร การเปลี่ยนแปลงยิ่งเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้นและรวดเร็วมากขึ้น ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ ไม่เคยมียุคไหนที่มีการเปลี่ยนแปลงได้มากเท่ายุคนี้อีกแล้ว แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่า การเปลี่ยนแปลงมาเคาะประตูบ้านเราแล้วในตอนนี้ ข้อสังเกตมี 5 ข้อนี้ครับ

 
  1. ธุรกิจเริ่มมียอดขายลดลง เช่น ในปีที่แล้ว เดือน มกราคม ธุรกิจเราเคยมียอดขาย 10 ล้านบาท พอมาปีนี้เหลือเพียง 7 ล้านบาท สาเหตุมาจากการที่เรามีคู่แข่งในตลาดหรือไม่ สินค้าของเราเริ่มขายไม่ออก

  2. ธุรกิจเริ่มมีปัญหาเรื่อง พนักงาน เช่น มีการเรียกร้องต่อรองมากขึ้น หรือ มีการโยกย้ายงานมากขึ้น

  3. ธุรกิจเริ่มมีปัญหาด้านการจัดการภายใน มากขึ้น ตัดสินใจผิดพลาดบ่อยขึ้น

  4. ธุรกิจเริ่มมีปัญหาด้านการสื่อสารกับลูกค้า หรือ การพบปะกับลูกค้าไม่ทันเวลา

  5. ธุรกิจมีปัญหาด้านต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

แต่ที่สำคัญที่สุดคือ เจ้าของธุรกิจไม่ทราบว่า ธุรกิจกำลังมีปัญหา ซึ่งโดยมากจะเกิดจากไม่มีข้อมูลที่ถูกต้องให้ทราบ

 

5 ปัจจัยนี้ บ่งบอกถึงว่า เราควรจะปรับตัวได้แล้ว ทั้ง 5 ข้อปัญหาใหญ่ร่วมกันคือ ข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลจากภายใน และ จากภายนอก ถ้าจากภายในก็คือ ข้อมูลการบริหารไม่ถูกต้อง หรือ ไม่ทันท่วงที ทำให้การตัดสินใจต่างๆผิดพลาดไป ส่วนข้อมูลจากภายนอกคือข้อมูลของคู่แข่ง และ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เช่นยุคของ Cloud คู้แข่งทุกรายปรับตัวเองให้ลดต้นทุนต่ำลง ใช้คนน้อยแต่ทำงานได้มากขึ้น ใช้ระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยบริหารจัดการเป็นต้น

 

ข้อมูลจากภายในโดยมากจะมาจากข้อมูลใน โปรแกรมบัญชี ที่ช้าและล้าหลัง ทำให้ตัดสินใจได้ไม่ทันท่วงที ดังนั้นการเลือกโปรแกรมบัญชี ที่จะเข้ามาช่วยธุรกิจจึงสำคัญมากๆ โปรแกรมบัญชีที่ดีต้องมีฟังก์ชั่นลงลึกในรายละเอียด ช่วยในด้านการวิเคราะห์ในเชิงลึกได้ ช่วยกิจการวางแผนการดำเนินงานต่างๆ เช่นวางแผนจัดซื้อวัตถุดิบ วางแผนการผลิตได้ ไม่ใช่แค่เก็บข้อมูลออกงบ เท่านั้น

 
 

โปรแกรมบัญชี AccCloud เป็นโปรแกรมที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ครบถ้วน เป็นโปรแกรมระดับ ERP แต่ราคาระดับโปรแกรมบัญชีทั่วไป แน่นอน สามารถช่วยกิจการในปัจจัยภายในได้100% 

เข้าชมบริการเพิ่มเติมได้ที่ www.acccloud.tech

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

การติดตั้งรหัสสินค้าในอุตสาหกรรมผลิต

ทำไมต้องติดตั้งรหัสสินค้าในอุตสาหกรรมผลิต

โดยอุตสาหกรรมการผลิต จะมีลักษณะคล้ายๆกัน (ร่วมกัน) เกี่ยวกับสินค้าและวัตถุดิบ ดังนี้

 
  1. วัตถุดิบมีจำนวนมาก แต่ที่ใช้จริงๆมีไม่ถึง 20% ที่เหลือเป็น วัสดุสิ้นเปลือง

  2. วัตถุดิบที่มีจำนวนมาก โดยมากจะไม่ทราบถึงจำนวนสต๊อกคงเหลือที่แท้จริง

  3. สินค้าสำเร็จรูป เดียวกัน แต่สูตรการผลิตแตกต่างกัน ตามลูกค้าแต่ละเจ้า ทำให้สินค้าเดียวกัน กลายเป็นหลายสินค้าไป

และอื่นๆ

 

ดังนั้น การติดตั้งรหัสสินค้า ในระบบบริหารการผลิต จึงเป็นหัวใจที่สำคัญ เนื่องจาก รหัสสินค้าจะเป็นโครงของระบบ เป็นหัวใจของการควบคุมสต๊อก เพื่อให้ทราบว่าสินค้าแต่ละตัวมีจำนวนคงเหลือเท่าไหร่กันแน่

การติดตั้งรหัสสินค้าในอุตสาหกรรมผลิต

การติดตั้งรหัสสินค้านับเป็นศาสตร์และศิลป์ ในการตั้งไปพร้อมๆกัน เช่น การตั้ง Code ให้อ่านได้รู้เรื่อง เช่น กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ประเภท TV LED ยี่ห้อ Samsung รุ่น AD1885 เราอาจจะตั้งเป็น TVLED-EL-AD1885

 

โปรแกรมบัญชี AccCloud.co
 

โดยที่ความหมายคือ TVLED กลุ่ม EL(ectric) รุ่น AD1885 ข้อดีคือผู้อ่านจะเข้าใจทันที โดยไม่ต้องไปหาชื่อสินค้า แต่ข้อเสียคือ ต้องคิดและวางแผนการตั้งรหัสก่อน เพื่อให้สื่อความหมายและใข้ได้ในระยะยาว

 

หรือประเภท 2 คือ การตั้งโดยยึดจาก Running No. เช่น TV000001 เป็นต้น วิธีนี้ข้อดีคือง่าย แต่ข้อเสียคือ ไม่สื่ออะไรเลย (โดยมากผมจะเจอรหัสที่ตั้งแบบนี้เป็นจำนวนมาก จากโปรแกรมบัญชีตามท้องตลาด) พอใช้ไปนานๆเข้า จะกลายเป็นสินค้าเดียวกันแต่มีหลายรหัส เพราะเราจำไม่ได้ว่าเคยตั้งไปแล้วหรือยัง

 

ดังนั้น การตั้งรหัส ควรจะแยกประเภทเป็น สินค้าสำเร็จรูป และ วัตถุดิบ และ วัตถุดิบสิ้นเปลือง

โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP
 

ประเภทสินค้าสำเร็จรูป และวัตถุดิบ ควร ตั้งเป็นรหัสที่อ่าน Code ออกและ ประชุมวางแผนการตั้งรหัสให้เรียบร้อยเสียก่อน ส่วนวัตถุดิบสิ้นเปลือง ควรจะต้องวิเคราะห์ว่าเราจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องคุม Stock ถ้าจำเป็นให้ตั้งรหัสที่มีความแตกต่างจาก สินค้าสำเร็จรูป และ วัตถุดิบ ส่วน ถ้าไม่จำเป็น ก็ไม่ต้องตั้ง ใช้รหัสกลาง แต่เปลี่ยนชื่อสินค้าตอนออกเอกสารเอา โปรแกรมบัญชี ทั้วไปจะไม่สามารถทำแบบนี้ได้ ยกเว้นโปรแกรมบัญชี AccCloud ERP ซึ่งมี Function รองรับทุกรูปแบบในการตั้งรหัส เนื่องจาก โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP ได้ผ่านการนำไปใช้ในโรงงานผลิตจำนวนมาก และได้มีการปรับแก้ไขให้รองรับกรณีต่างๆเหล่านี้แล้ว

 

ดูรายละเอียดได้ที่ www.acccloud.tech

โปรแกรมบัญชี

โปรแกรมบัญชีที่ดีควรประกอบด้วยอะไรบ้าง

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันโปรแกรมพื้นฐานของแต่ละกิจการมีหลักๆไม่กี่อย่างเช่น โปรแกรม Microsoft Office เช่น Excel, Word และ โปรแกรมบัญชี ที่แทบทุกกิจการจะต้องมีใช้ นอกจากนั้นก็จะเป็น โปรแกรมติดต่อสื่อสารประเภท Line หรือ email เป็นต้น

 

ในบทความนี้ผมจะมารีวิวในส่วนของโปรแกรมโปรแกรมบัญชีครับ (Romney and Steinbart (2003) )ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “โปรแกรมทางการบัญชี คือ ระบบการทำงานระบบหนึ่งซึ่งประกอบด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศ ทรัพยากรมนุษย์ และนโยบายของบริษัท เน้นถึงการใช้ข้อมูลทางการบัญชีที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อ ให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักดังนี้

 

1. การเก็บรวบรวมและบันทึกรายการค้าของธุรกิจ

 

2. การประเมินผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์ การวางแผน การสั่งการ และการควบคุม

 

3. การจัดให้มีการควบคุมข้อมูลของธุรกิจเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลมีความครบถ้วน ถูกต้อง และเชื่อถือได้ “

 
 

ดังนั้นความละเอียดซับซ้อนของโปรแกรมบัญชี จึงเป็นไปตามความละเอียดและซับซ้อนของธุรกิจ กล่าวคือ ถ้าธุรกิจเพิ่งเริ่มต้น ไม่มีความซับซ้อนอะไรสักเท่าไหร่ อาจจะไม่ต้องใช้โปรแกรมบัญชีเลยก็ได้ ใช้แค่เอกสารทำมือ หรือจะใช้ Excel ก็ได้ แต่พอทันที ที่ธุรกิจเริ่มซับซ้อนขึ้น มีข้อมูลมากขึ้นการทำมือ หรือ คุมด้วย Excel ก็อาจจะไม่พอจึงเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจโดยมากที่หันมาใช้โปรแกรมบัญชีกัน

 
 

แล้วจะรู้ได้ยังไงครับว่า ธุรกิจนั้นถึงเวลาที่จะใช้โปรแกรมบัญชี กันแล้วหรือยัง??

 

โดยธรรมชาติแล้ว ตอนเริ่มต้นธุรกิจ ผู้ประกอบการจะไม่ค่อยสนใจหรอกครับว่า บัญชีจะเป็นยังไง คือจะสนใจแต่ว่าจะขายได้ไหม จะมียอดขายจากที่ไหน ส่วนบัญชีค่อยว่ากัน ดังนั้นตอนแรกๆ ของธุรกิจจะดูยุ่งๆเหยิงหน่อย แต่เมื่อธุรกิจผ่านไปถึงปีที่ 2 ปีที่3 เริ่มมีทุนจะเริ่มหันกลับมาดูบัญชีภายในของธุรกิจเราเองว่า จริงๆแล้วที่มีเงินสดหมุนเวียนนี่มีกำไรที่แท้ทรูเท่าไหร่กันแน่ ตอนนี้ผู้ประกอบการก็จะเริ่มต้นหาโปรแกรมบัญชีที่ตอบสนองธุรกิจของเขา

 
 
 

แต่ในตลาดนี่โปรแกรมบัญชีก็มีเยอะไปหมด แล้วเราจะเลือกยังไงดี

 

ก่อนอื่นต้องมาดูก่อนว่า โปรแกรมบัญชี จะต้องมีคุณสมบัติขั้นต่ำอะไรบ้าง โดนปกติแล้วโปรแกรมบัญชีจะต้องมีคุณสมบัติตามนี้ครับ

 
  1. ด้านการ Setup ระบบ

  2. อย่างน้อยเลยต้องมีให้ Setup ดังนี้

  3. รหัสพื้นฐานเช่นพวกรหัสบัญชี รหัสสินค้า รหัสลูกหนี้ รหัสเจ้าหนี้

  4. รหัสJob งาน รหัสการบริการต่างๆ

  5. ด้านบันทึกบัญชีได้ (ถ้าลงไม่ได้ ก็ไม่ใช่โปรแกรมบัญชี)

  6. ลงบันทึกสมุดรายวันได้

  7. ลงบันทึกภาษีซื้อ ภาษีขาย ภาษีซื้อรอขอคืน ได้

  8. ลงบันทึก ภงด 1 3 53 หัก ณ ที่จ่าย ภพ 30 และ ประกันสังคมได้

  9. ออกรายงานแยกประเภท สมุดรายวัน งบกำไรขาดทุน กระดาษทำการ งบดุล วิเคราะห์งบการเงิน และ งบกระแสเงินสด ได้

  10. ด้านการซื้อ

  11. ออกเอกสารที่เกี่ยวข้องได้อย่างน้อย

  12. ใบขอซื้อ

  13. ใบสั่งซื้อ

  14. เอกสารรับสินค้า

  15. เอกสารตั้งหนี้

  16. เอกสารพวกงานซื้อประเภทต่างๆ เช่นซื้อในประเทศ ต่างประเทศ

  17. รายงานการซื้อ เช่นสรุปการสั่งซื้อ สรุปสินค้าจากการสั่งซื้อ

  18. ด้านการขาย

  19. ออกเอกสารที่เกี่ยวข้องได้อย่างน้อย

  20. ใบเสนอราคา

  21. ใบสั่งขาย

  22. ใบส่งของ/ใบกำกับภาษี

  23. ใบส่งของ/ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี

  24. เครดิตโน้ต

  25. เดบิตโน้ต

  26. รายงานเกี่ยวข้องกับการขาย

  27. ด้านการเงินรับ

  28. ออกเอกสารที่เกี่ยวข้องได้อย่างน้อย

  29. ใบวางบิล

  30. ใบเสร็จรับเงิน

  31. ใบสำคัญรับชำระ

  32. รายงานที่เกี่ยวข้องกับการรับชำระ และ พวกรายงานลูกหนี้ต่างๆ

  33. ด้านการเงินจ่าย

  34. ออกเอกสารที่เกี่ยวข้องได้อย่างน้อย

  35. การรับวางบิล

  36. ใบสำคัญจ่ายชำระ

  37. พวกเอกสารเงินสดย่อย

  38. พวกเอกสารการตั้งหนี้ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ

  39. รายงานที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายชำระ และพวกรายงานเจ้าหนี้ต่างๆ

  40. ด้านธนาคาร

  41. ออกเอกสารที่เกี่ยวข้องได้อย่างน้อย

  42. ปรับปรุงธนาคาร

  43. ดู Bank Statement

  44. บันทึกการรับจ่ายเช็ค การเข้าเช็ค การ Reconcile Cheque

  45. รายงานที่เกี่ยวข้องกับพวกความเคลื่อนไหว และ ยอดเงินในธนาคาร ซึ่งต้องสอดคล้องกับยอดบัญชีด้วยเช่นกัน

  46. ด้านสต๊อกสินค้า

  47. ออกเอกสารที่เกี่ยวข้องได้อย่างน้อย

  48. พวกเอกสารรับจ่าย ใบรับ ใบเบิกสินค้า ตรวจนับสต๊อก ปรับยอดสินค้า และอื่นๆ

  49. ในโรงงานก็ควรมีพวกเอกสารสำหรับการผลิต

  50. รายงานที่เกี่ยวข้องกับการรับจ่ายและจำนวนคงเหลือ พร้อมทั้งต้นทุนสินค้าในคลัง

  51. ระบบสต๊อกในปัจจุบันนี้ อย่างน้อย ต้องมีการคำนวณต้นทุนแบบ FIFO และ Moving Average นะครับ ถ้าไม่มีนี่ไร้ค่าเลย เราจะไม่ทราบแม้แต่ว่า ต้องกระจายสินค้าไหนออกบ้าง

  52. ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล

  53. พูดถึงโปรแกรมบัญชี ถ้ามีแต่เก็บเอกสารเก็บข้อมูล กับรายงานขั้นพื้นฐานแต่ไม่มีการวิเคราะห์ นี่มันก็ไร้ค่ายังไงไม่รู้ เพราะหัวใจของการเอาโปรแกรมบัญชีมาใช้งานก็เพื่อวิเคราะห์สถานะต่างๆของกิจการนี่เอง

  54. ด้านอื่นๆ เช่นด้านการคำนวณค่าเสื่อม สินทรัพย์ ด้านเงินเดือนประกันสังคมเป็นต้น

 
 
 
 
 

คราวนี้พอเราทราบความต้องการขั้นต่ำของโปรแกรมบัญชีที่ใช้ในกิจการแล้ว เราก็ต้องมาดูต่อว่า แล้วธุรกิจเราต้องการแค่ไหน ต้องการแค่นี้ก็พอแล้ว หรือ ต้องมากกว่านี้อีกเช่น ธุรกิจเรามีการ pack สินค้าหรือ จัดชุดไปขายตามช่วงเทศกาล ธุรกิจเรามีการสั่งผลิตสินค้าเพื่อขาย ธุรกิจเราไม่ผลิตเลย แต่ไปจ้าง Supplier มาทำให้ หรือธุรกิจเราไม่มีสินค้าเลย มีแต่แค่บริการอย่างเดียวก็ต้องดูว่าจะควบคุมอะไรบ้าง เป็นต้น ธุรกิจเราปกติแล้วมีการเบิกงานไปใช้ล่วงหน้าแล้วค่อยมาเคลียร์กันหรือเปล่า หรือสินค้าของธุรกิจเรามันพิเศษเช่นมี Serial No มี วันหมดอายุ มี Lot อะไรประมาณนี้หรือไม่ ซึ่ง ถ้าเรามีความต้องการเหล่านี้ นั่นแสดงว่า โปรแกรมบัญชีที่ตอบแค่ความต้องการขั้นพื้นฐานไม่พอเสียแล้ว

 

เราจะต้องเลือกใหม่ ที่มี ฟังก์ชั่นสูงมากขึ้นๆ แต่แน่นอนว่ายิ่งสูงมากราคาก็ยิ่งแพง ถ้ายิ่งไปถึงระดับ ERP ราคายิ่งเป็นหลักล้าน ดังนั้น ในภาคธุรกิจที่ไม่ได้มีทุนทางด้านระบบสูงขนาดนั้น จึงจำเป็นต้อง ยอมปรับตัวให้เข้ากับระบบส่วนนึง เพื่อให้ใช้ระบบที่ไม่ต้องถึงขั้น ERP ให้ได้

 

ในปัจจุบันเมื่อโลกมาถึงยุค Cloud โปรแกรมบัญชี ก็ได้ปรับตัวให้ขึ้น Cloud เช่นกัน โดยเริ่มแรกในตลาดจะเป็นโปรแกรม straccountonline เกิดมาตั้งแต่ 10 ปีทีแล้ว แต่เข้าใจว่า internet ยุคนั้นช้า บวกกับความไม่เชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยบน internet โปรแกรมจึงไม่ได้เป็นที่กล่าวขวัญมากมาย ถัดมาโปรแกรม straccountonline ได้พัฒนา Version ใหม่ขึ้นมาภายใต้ชื่อ ACCCLOUD ERP ซึ่งเป็น ระบบที่มีฟังก์ชั่นสูงกว่าตัวเดิมมาก ภายใต้เทคโนโลยีใหม่ โดยโปรแกรมเน้นไปทางด้านการผลิตมากขึ้น

 

เทคนิคการวางแผนจัดการสินค้าคงคลัง

การวางแผนสินค้าเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อมิให้เกิดภาวะที่ผู้ค้าปลีกมีสินค้าคงคลังมากหรือน้อยเกินไป (มากไปต้นทุนก็จมอยู่ที่วัตถุดิบ และ ต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บ น้อยไปก็เสี่ยงต่อสินค้าไม่พอผลิต) ดังนั้นหน้าที่ของฝ่ายคลังสินค้าคือ ต้องควบคุมปริมาณของสินค้าคงคลัง หรือ การบันทึกจำนวนหน่วยสินค้าที่อยู่ในมือ ที่สั่งซื้อ และขายในงวดหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งแสดงถึงระดับการยอมรับของลูกค้าต่อสินค้าแต่ละรายการ การควบคุมปริมาณจะเป็นการติดตามจำนวนรายการหรือชิ้นของสินค้า เพื่อช่วยผู้ซื้อในกรณีที่จะทราบว่าควรจะซื้อสินค้าจำนวนเท่าใด วิธีการง่ายๆ และไม่แพง ในการควบคุมปริมาณ เช่น การดูด้วยสายตา การนับสินค้าคงเหลือเฉพาะส่วนหนึ่งทุกวัน และผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ระบบการบันทึกในเอกสารเมื่อมีการขาย

 

การแก้ปัญหาเรื่องสินค้าที่สาเหตุ คือการใช้หลักการของ Logistic หรือ ห่วงโซ่อุปทาน เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ โดยมีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยระหว่าง Supplier ไปจนถึง กิจการ เช่น ระบบ Vender chain WareHouse Management หรือ ใช้ Electronic Data Interchange (EDI) เป็นต้น เพื่อให้เกิดการ Stock ให้น้อยที่สุด แค่พอเพียงต่อการใช้เท่านั้น

 
 
 
 

ลอจิสติกส์ หมายถึง กิจกรรมทุกอย่างที่ทำขึ้นเพื่อทำความแน่ใจว่าสินค้า และบริการจะเดินทางจากจุดกำเนิดไปยังลูกค้าขั้นสุดท้าย ส่วน การจัดการลอจิสติกส์ หมายถึง กระบวนการทั้งหมดในการจัดหาวัตถุดิบ การรับ การติดป้ายชื่อ และการเคลื่อนย้ายตัวสินค้า และบริการไปยังลูกค้า ในการทำลอจิสติกส์ของสินค้า และการจัดการประกอบด้วยมุมมองทุกด้านของระบบ ตั้งแต่การจัดการลอจิสติกส์ การเลือกวิธีการขนส่ง การตรวจสอบ การจัดเก็บสินค้า และการจัดการโซ่อุปทาน

 

ผู้ค้าปลีกยังมีภาระเพิ่มในการพัฒนาระบบรีเวอสลอจิสติกส์ (Reverse Logistics) หมายถึง การพัฒนานโยบาย และวิธีการสำหรับการคืนสินค้าที่ซื้อโดยลูกค้าไปยังร้านค้าหรือผู้ขายหรือผู้ผลิต

 

การจัดการ Logisitic ได้สำคัญอย่างแรกคือข้อมูลทางด้าน Stock ต้องดีในขั้นต้นแล้ว จึงสามารถขยับไปทำต่อได้ ดังนั้นหากธุรกิจคิดจะทำด้าน Logisitc เริ่มต้นคือ โปรแกรมบัญชี ต้องรองรับให้ได้ดีเสียก่อน จึงมีข้อมูลเพียงพอจะเดินหน้าต่อไปได้ โปรแกรมบัญชี AccCloud เหมาะสำหรับธุรกิจที่ในอนาคตจะใช้ระบบ Logistic ครบวงจร เนื่องจาก 1 ระบบโปรแกรมบัญชี AccCloud ERP นั้น Online และ มี Function ที่ซับซ้อนเพียงพอกับการรับส่งข้อมูลเชิงลึกระหว่างกัน 2 โปรแกรมบัญชี AccCloud มี API Webservice ที่รอบรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ทุกชนิด

งบกระแสเงินสดนั้น สำคัญไฉน

งบกระแสเงินสด งบกระแสเงินสดคือ งบการเงินที่แสดงการเปลี่ยนแปลงเงินสดของกิจการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น รอบปีบัญชี โดยจะแสดงการได้มาและใช้ไปของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของ 3 กิจกรรมหลักคือ กิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน และ กิจกรรมจัดหาเงิน ช่วยให้ผู้ใช้สามารถประเมินสภาพคล่องของกิจการ โดยเฉพาะความสามารถในการชำระหนี้

 

 

 
 
 
 

ข้อมูลที่ปรากฏในงบกระแสเงินสด จะเป็นข้อมูลสำคัญที่ผู้ใช้งบการเงินสามารถนำ ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้

 

1. เพื่อให้ผู้บริหารงานสามารถวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของเงินสด

2. บ่งบอกถึงสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ

3. เพื่อใช้ในการวางแผนการเงินในอนาคตเนื่องจากงบกระแสเงินสดจะแสดงให้ทราบถึงที่มาที่ไปของเงินสดว่า กิจการได้รับ หรือ จะต้องจ่ายเงินสดจากแหล่งใด เป็นจำนวนเท่าใด

4. เพื่อให้ผู้บริหารงานสามารถวางแผนการใช้จ่ายเงินของกิจการได้

5. เพื่อให้ผู้บริหารทราบถึงความสามารถในการทำ กำไรของกิจการ 6. เพื่อให้ผู้บริหารทราบถึงการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์สุทธิ

 

งบกระแสเงินสดประกอบไปด้วยองค์ประกอบดังนี้คือ

• กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน คือ กระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมหลักที่ก่อให้เกิดรายได้ของกิจการ และกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่กิจกรรมลงทุนหรือกิจกรรมจัดหาเงิน

• กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน คือ กระแสเงินสดที่เกิดจากการได้มาและการจำหน่ายสินทรัพย์ระยะยาวและเงินลงทุนอื่นซึ่งไม่รวมอยู่ในรายการเทียบเท่าเงินสด

• กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน คือ กระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมที่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในขนาดและองค์ประกอบของส่วนของเจ้าของและส่วนของการกู้ยืมของกิจการ ดังแสดงในตัวอย่างดังรูป

 
โปรแกรมบัญชี AccCloud.co
 
  

โปรแกรมบัญชีมีเพียงไม่กี่รายที่มี การคำนวณงบกระแสเงินสด โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP  เป็นโปรแกรมบัญชีที่มีการคำนวณงบกระแสเงินสดในตัวเองโดยไม่ต้องติดตั้งหรือซื้อเพิ่ม สามารถใช้งานได้จาก รายงาน >> รายงานบัญชี >> งบกระแสเงินสด

นวัตกรรมสำหรับงานบริการ

วันนี้พอดีผมได้ไปอ่านบทความนึงที่น่าสนใจต่อรูปแบบการบริหารธุรกิจในยุคปัจจุบันนี้มาฉบับนึง ด้านนวัตกรรมการบริการ เลยจะขอมาแชร์บางส่วนของบทความให้ทุกๆท่านได้อ่านกันตามนี้ครับ

 
 
 
 

 

 

“นวัตกรรมช่วยทําให้ผู้ประกอบการค่อยๆ ก้าวนําคู่แข่งออกไปทีละน้อย ซึ่งหากองค์การใดไม่สามารถคิดค้น นวัตกรรมได้ในขณะที่องค์การอื่นๆ มีการคิดค้น เปลี่ยนแปลงและปรับปรุงกระบวนการดําเนินการต่างๆ อยู่ ตลอดเวลา จะทําให้เกิดความเสี่ยงต่อผลการดําเนินงาน ขององค์การได้

 

นวัตกรรมการบริการเป็นแนวคิดที่ต่อยอดมาจาก เรื่องโซ่คุณค่า (Value Chain) หรือกระบวนการส่งต่อสินค้า และบริการให้ถึงมือลูกค้าอย่างราบรื่น เพียงแต่ได้เพิ่มเรื่อง การสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์บริการ การตอบสนองความ ต้องการของผู้บริโภคอย่างทันที (Real-time) ระบบการส่ง มอบสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูง และการใช้อินเทอร์เน็ตหรือ ระบบดิจิตอลมาให้บริการแก่ลูกค้า จุดเด่นของภาคบริการจึงอยู่ที่การเร่งหาความคิด ใหม่ๆ ช่วงชิงความต้องการบริโภคสินค้าในวิธีการที่แข่งกับ เวลาและเพิ่มแนวทางการจัดหาสินค้าสู่ผู้บริโภคด้วย คุณภาพ ราคา ตําแหน่งคุณค่าของสินค้าและความสัมพันธ์ กับคู่แข่ง นวัตกรรมการบริการสามารถเริ่มขึ้นตั้งแต่ กระบวนการผลิต การวางแผนการผลิตจําเป็นต้องควบรวม การผลิตเข้ากับการบริการ โดยบริษัทต่างๆ จะเน้นการ สร้างทักษะความสามารถในการปฏิบัติงานของพนักงาน ภายในมากกว่าการจ้างเอาต์ซอร์ส (Out Source) ส่งเสริมพนักงานให้มีความ สามารถในการใช้นวัตกรรม การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ การเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ด้วย การสร้างภาพลักษณ์ที่ทันสมัย

 

การจัดการนวัตกรรมการบริการ

 

เศรษฐกิจโลกในยุคปัจจุบัน เป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพิง ภาคบริการเป็นหลัก กว่าร้อยละ 60 ของประเทศที่พัฒนา แล้ว มีสัดส่วน GDP ของประเทศมาจากภาคบริการ (กิตติ ยา กุลวัฒนาพร, 2552) เมื่อภาคบริการมีความสําคัญต่อ เศรษฐกิจโลก จึงเป็นที่มาของกระแสการแข่งขันแย่งชิง ลูกค้า และเป็นที่มาของกระแสนวัตกรรมบริการ ซึ่งก็คือ การนําแนวคิดนวัตกรรมมาใช้ในการหาแนวทางการ ดําเนินงานที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า การจัดการนวัตกรรมได้รวมเอาศาสตร์หลาย แขนงมาไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี วิศวกรรม สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจและการตลาด ด้วยเหตุนี้ การ จัดการนวัตกรรมจึงถือได้ว่าเป็นการจัดการศักยภาพใน หลายแขนงเพื่อให้ได้มาและรักษาศักยภาพในการแข่งขัน และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ความรู้ แนวปฏิบัติ และ กระบวนการใหม่ที่ดีขึ้นเมื่อพิจารณาในด้านกิจกรรม จะพบว่าสิ่งสําคัญ ที่สุด คือ การปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm Shifts) เพื่อให้ เกิดมุมมองใหม่ในการบริหารทรัพย์สินที่ไม่สามารถจับต้อง ได้ โดยผู้ที่มีความสําคัญที่สุดในการปรับกระบวนทัศน์คือ ผู้ประกอบการหรือนักนวัตกรรม โดยกิจกรรมหลักที่นัก นวัตกรรมจะต้องให้ความสําคัญ ได้แก่ 1) กลยุทธ์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเช่นการใช้ระบบ Cloud ช่วยในการบริการ ที่ช่วยในการทำงานกระจายของข้อมูลต่างๆ 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ 3) พันธมิตรธุรกิจ 4) การปฏิบัติงานและการผลิต 5) กระบวนการเชิงพาณิชย์6) การวิจัยและพัฒนา โดยมี ปัจจัยภายนอกหลัก 4 ด้าน เป็ นตัวกําหนดการปรับ กระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดการนวัตกรรม ได้แก่ 1) การเปลี่ยนแปลงรูปแบบนวัตกรรม 2) การเปลี่ยนแปลง รูปแบบอุตสาหกรรม 3) ระบบธุรกิจและนวัตกรรม 4) โลกา ภิวัตน์(พันธุ์อาจ ชัยรัตน์, 2549: 17-18)

 

มาโคโตะ ยูซูอิ (2555) กล่าวว่า การจัดการ นวัตกรรมการบริการให้ประสบความสําเร็จจะต้องคํานึงถึง ปัจจัย 4 ประการ คือ

 
  1. ใช้แนวคิดที่มีผู้ดํารงชีวิต (ลูกค้า) เป็น จุดเริ่มต้น

  2. การปฏิรูปกรอบที่มีอยู่เดิม

  3. การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นแบบ แพลตฟอร์มที่เหมาะกับธุรกิจบริการ

  4. บริการที่มีลักษณะของการมีส่วนร่วม”

 

 

การปรับปรุง Platform และ ปฏิรูปกรอบเดิม สำหรับการบริการ มีอีกวิธีนึงคือการใช้ระบบสารสนเทศเข้ามาช่วย โปรแกรมบัญชี AccCloud เป็นโปรแกรมที่ได้ออกแบบมาเพื่อตอบสนอง การใช้นวัตกรรมการบริการอย่างแท้จริง

 

ที่มา วารสารการจัดการสมัยใหม่ ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2559 (ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์, 13-24)

 

www.acccloud.tech

 

 

 
 
 
 

 

 
 
 
 

 

 

ตัวอย่างการวิเคราะห์ ROI และ ROE

ก่อนอื่นเรามาทราบก่อนว่า อัตราส่วนทางการเงินที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของผลกำไรและสัดส่วนการลงทุน ที่เรียกว่า ROI และ ROEคืออะไร โดยปกติแล้ว เงินลงทุนจะถูกแบ่งออกมาเป็น 2 ชนิดประเภทด้วยกันคือ “เงินทุนส่วนของเจ้าของ” โดยปกติ เจ้าของกิจการมักใช้ทุนส่วนตัวในการเริ่มต้น แต่ปกติแล้วถ้าทุนไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องหาเงินทุนเพิ่มเติ่มในรูปแบบต่างๆ ที่เรียกว่า “เงินทุนจากแหล่งอื่น” เช่น การกู้ธนาคารหรือ สถาบันการเงิน การออกหุ้นกู้ เป็นต้น เมื่อได้เงินทุนที่เพียงพอแล้ว จึงนำมาดำเนินกิจการจนเกิดผลกำไรสุดท้ายที่เรียกว่า กำไรสุทธิ ดังนั้น

 

ROI อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment, ROI ) จึงคำนวณจาก ฐานเงินลงทุนรวม (ทุนส่วนของเจ้าของ และ ทุนจากแหล่งอื่น ) เพื่อแสดงถึง ประสิทธิภาพการดำเนินงานว่า “การลงทุนครั้งนี้ สามารถสร้างผลตอบแทนกลับคืนมาจากเงินลงทุนทั้งหมดได้กี่เปอร์เซนต์” ดังนั้น ยิ่งค่า ROI สูง จึงยิ่งดี

 

ROI = (กำไรจากการดำเนินการ / เงินลงทุนรวม ) x100%

 
 
 

ROE อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ (Return on Equity, ROE ) คำนวณจากฐานเงินลงทุนเฉพาะส่วนของเจ้าของ เพื่อแสดงว่า “การนำเงินทุนตนเองมาลงทุนครั้งนี้ จะได้ผลตอบแทน กลับคืนมากี่เปอร์เซนต์” ดังนั้น ยิ่งค่า ROE สูง จึงยิ่งดี

 

ROE = (กำไรจากการดำเนินการ / เงินลงทุนส่วนเจ้าของ ) x100%

 

ตัวอย่างเช่น

 

“นาย ก ลงทุนโครงการสร้างโรงงานขาย ต้องใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 25 ล้านบาท แต่ตัวเองมีเพียง 15 ล้านบาท นาย ก ได้ทำการกู้เงินสถาบันการเงินเพิ่มอีก 10 ล้านบาท หลังจากนั้น เมื่อสร้างเสร็จแล้วขายหมด ได้กำไรสุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 7.5 ล้านบาท”

 

จากตัวอย่าง พบว่า

 

เงินทุนส่วนของเจ้าของ 15 ล้านบาท

 

เงินทุนจากแหล่งอื่น 10 ล้านบาท

 

มีกำไรสุทธิ 7.5 ล้านบาท

 

จะได้ ROI = ( 7.5 / 25 ) x 100 = 30%

 

ROE = (7.5 / 15) x 100 = 50%

 

แสดงว่า การลงทุนนี้ นาย ก มีผลตอบแทน 50% มีผลตอบแทนทั้งโครงการ 30%

 

การวิเคราะห์งบการเงินในส่วนนี้ มีอยู่ในโปรแกรมบัญชี AccCloud หัวข้อรายงาน >> ระบบบัญชี >> วิเคราะห์งบการเงิน

สามารถศึกษาข้อมูลของระบบบัญชีได้ที่นี่ >> คลิ๊ก

 

ที่มา www.acccloud.tech

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

วิวัฒนาการด้านการจัดเก็บฐานข้อมูล

ถ้าพูดถึงการดำเนินชีวิต หรือ การตัดสินใจต่างๆในโลกยุคปัจจุบัน สิ่งที่หนีไม่พ้นคือ การนำข้อมูลในอดีตที่ถูกต้องมาช่วยเป็นปัจจัยในการตัดสินใจว่าเราจะดำเนินการเรื่องต่างๆ หากเป็นในสมัยก่อน การนำข้อมูลในอดีตอาจจะไม่ได้มีความหมายมากสักเท่าไหร่ เนื่องจาก การเก็บข้อมูลต่างๆยังมีน้อยและ คู่แข่งของเราก็ไม่ได้แตกต่างกับเรามากนัก ดังนั้นในเมื่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางด้านการแข่งขัน และ ทางด้านเทคโนโลยีไม่ได้มีความแตกต่าง การดำเนินธุรกิจในสมัยก่อน ทุกๆคนจึงมีความเท่าเทียมกัน แต่แข่งกันที่การจัดการและ การนำมาใช้ซึ่งทรัพยากรของเราเท่านั้น

 

ในโลกยุคปัจจุบันจะแตกต่างกับในสมัยก่อนอย่างสิ้นเชิง ข้อมูลจัดเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในปัจจุบันข้อมูลส่วนบุคคล หรือ องค์กรแทบจะถูกจัดเก็บตั้งแต่เราตื่นนอนมาตอนเช้า หรือ เราเข้าทำงานในวินาทีแรกเลยทีเดียว ดังนั้น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกประมวลผลและนำไปใช้ในการตัดสินใจได้อย่างเป็นจำนวนมาก ดังนั้นองค์กรที่รู้จักวิธีการใช้ของข้อมูล และ องค์กรที่มีระบบจัดเก็บข้อมูลที่ดีและทันสมัยย่อมได้เปรียบในแง่โครงสร้างการบริหารกว่า องค์กรที่ไม่มี

 

ลักษณะของการจัดเก็บข้อมูลแบบดั้งเดิม เราจะใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า File Base หรือเก็บข้อมูลในรูปแบบไฟล์ เช่น dBase, Foxbase หรือ MS Access เป็นต้น ซึ่งมีข้อจำกัดสูงมากและ ไม่ยืดหยุ่นต่อการขยายตัวและการเติบโดในอนาคตของธุรกิจ รวมถึงยังมีความเสี่ยงต่อการ โดน Virus หรือ ไฟล์เสียไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายในเช่น มีคนไปลบไฟล์ทิ้ง หรือ Harddisk เสีย หรือ ปัจจัยภายนอกเช่น เครื่องที่เก็บข้อมูลเสีย ไฟซ๊อต หรือ น้ำท่วมเป็นต้น

 

การจัดเก็บข้อมูลแบบยุคกลาง (Client Server) คือ การติดตั้งระบบฐานข้อมูลไว้เครื่อง Server และ การติดตั้งโปรแกรมไว้แต่ละเครื่องที่จะใช้งานโดยต่อสายแลนเพื่อใช้งานระบบ ในวิธีนี้ไม่แตกต่างจาก Filebase เลยคือมีความเสี่ยงซึ่งกลายคลึงกัน และ การเข้าถึงฐานข้อมูลยังมีช่องโหว่จำนวนมากอีกด้วย นอกจากนั้น หากธุรกิจที่มีสาขาจำนวนมาก จะใช้ระบบแบบนี้ไม่ได้ เนื่องจากปัญหาเรื่องเทคโนโลยีการส่งถ่ายข้อมูลแบบดั้งเดิมจะไม่เหมาะสมกับการใช้งานผ่านเครือข่าย internet ทำให้องค์กรต้องไปเช้าสัญญาณ lease line ซึ่งราคาแพงมหาศาลมาใช้ในองค์กร

 

การจัดเก็บข้อมูลแบบยุคปัจจุบัน (Cloud Server) แบ่งเป็น Public Cloud และ Private Cloud กล่าวคือการใช้งาระบบผ่าน Cloud Service รองรับผู้ใช้ได้จำนวนมากๆ พร้อมกับรายการจำนวนมากเช่นเดียวกัน ไม่มีปัญหาเรื่องความเร็วในการใช้งาน เพราะใช้เทคโนโลยี แบบใหม่และมีการ update ตลอดเวลา รวมถึง การแก้ไขระบบผู้ใช้งานจะแทบไม่รู้สึกอะไร ไม่ต้องรอให้มีการ Remote ไปติดตั้งเสียเวลาเป็นวันๆ การ update จะใช้เวลาเพียง ไม่เกิน 5 นาที ทุกเครื่องผู้ใช้งานจะได้ระบบใหม่ในทันที และด้วยระบบ Cloud Server นั้น ระบบฐานข้อมูลได้ถูกแยกออกไปตามประเภทการใช้งานจำนวนมาก ดังนั้น ด้วยจำนวนข้อมูลที่สามารถรองรับได้มหาศาล รวมถึงความเสถียรและ ความถูกต้องของระบบจึงมีมากกว่าระบบแบบดั้งเดิม

 
 

ในอดีต จนถึงปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่า รากฐานขององค์กรด้านการผลิตในแง่ข้อมูลจะหนีไม่พ้นข้อมูล 3 ส่วนด้วยกันคือ ข้อมูลด้านบัญชีการเงิน (ซื้อ ขาย จ่าย รับ ลูกหนี้ เจ้าหนี้ ) ด้านสินค้าวัตถุดิบ และ ด้านการผลิตและสูตรต่างๆ ดังนั้น การจัดเก็บข้อมูลทั้ง 3 มิตินี้จึงนับเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องใช้ระบบที่ครอบคลุมกระบวนการทำงาน และมีความทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม (เช่นการใช้ระบบ Cloud เข้ามาช่วยในการทำงาน)

 

โปรแกรมบัญชี AccCloud.tech เป็นระบบที่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้และ ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมในอนาคตเช่นเดียวกัน

Education Template

Scroll to Top