Month: October 2021

kanban, work, work process-4051777.jpg

ระบบติดตามงานผลิตคืออะไร

Process Tracking หรือ การติดตามงานตามกระบวนการ หมายถึง การติดตามในแต่ละขั้นตอนของการปฏิบัติงานนั้นๆ เพื่อให้ทราบถึง สถานะของการทำงานในปัจจุบันว่า เป็นเช่นไร รวดเร็ว หรือ ล่าช้าไปกว่าแผนงาน ในการติดตามงานผลิต จะต้องประกอบด้วยตัวแปรหลักๆคือ คน งาน และ Process ครับ เริ่มจากการเปิด Job งานผลิต ส่งผ่านไปยังแผนกต่างๆ เช่นแผนกกลึง แผนกพ่นสี แผนกประกอบ โดยที่พนักงานในแต่ละแผนกเป็นผู้ดำเนินการผลิตตามสูตรที่ได้ตั้งไว้ และส่งมอบงานที่ผลิตเสร็จตามสายพานการผลิต ดังนั้นระบบติดตามการผลิต จะต้องช่วยเก็บข้อมูลที่หน้างานผลิตว่า งานผลิตนี้ ตอนนี้อยู่ที่ Process ไหน ใครเป็นผู้ดำเนินการ และ รับสินค้าได้กี่ชิ้น รวมถึงข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องเช่น Lot ไหน ส่งไป Station ใดต่อ เป็นต้น ในบางโรงงาน การ tracking การผลิตอาจจะใช้อุปกรณ์ RFID ซึ่งต้องลงทุนในราคาที่สูงมาก แต่ข้อดีคือ เราสามารถติดตามว่าในขณะนี้การผลิตทั้ง FG และ SEMI …

ระบบติดตามงานผลิตคืออะไร Read More »

โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP

ค่าโสหุ้ยการผลิตคืออะไรและประกอบด้วยอะไรบ้าง

ค่าโสหุ้ยการผลิต (Overhead) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากค่าแรงงานทางตรงและค่าวัสถุทางตรง จะประกอบด้วยค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ • ค่าวัสดุทางตรง • ค่าวัสดุทางอ้อม • ค่าสาธารณูปโภค • ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด • ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรและสินทรัพย์อื่นๆ • ค่าซ่อมแซมเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต • ค่าเช่า • ค่าประกันภัยสินทรัพย์ • ค่าภาษี (ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล) • ค่าสวัสดิการ• ค่าพลังงาน • ค่าน้ำดิบในหม้อต้ม • ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ค่าใช้จ่ายโรงงานจะอยู่ในรูปของค่าใช้จ่ายที่คงที่หรือไม่คงที่ก็ได้ แต่จะไม่แปรผันโดยตรงกับปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ค่าใช้จ่ายโรงงานจึงเป็นส่วนของค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนการผลิตซึ่งสามารถพิจารณาลดได้ก่อน เพราะหลายๆ ส่วนของต้นทุนการผลิตที่ลดไปอาจไม่กระทบต่อผลผลิตเลย. ค่าใช้จ่ายโรงงานหรือค่าโสหุ้ยการผลิต เมื่อรวมกับต้นทุนแรงงานจะเรียกว่า “ต้นทุนแปรสภาพ (conversion cost)” ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตที่ใช้กำหนค่าจ้างทำสำหรับงานสั่งทำที่มีการนำวัสดุมาให้แปรรูป. โปรแกรมบัญชี AccCloud มี Function ในการ Setup ข้อมูลเหล่านี้เพื่อบันททึกเป็นต้นทุนการผลิต และคำนวณออกมาเป็นต้นทุนต่อชิ้นของสินค้าสำเร็จรูปด้วยเช่นกัน

internet of things, iot, network-4129218.jpg

แนวทางการประยุกต์ใช้ระบบ ERP เข้ากับ IOT

ถ้าพูดถึง IOT (Internet Of Thing) โดยความหมายแล้วหมายถึง การที่อุปกรณ์ต่างๆ สิ่งต่างๆ ได้ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างสู่โลกอินเตอร์เน็ต ผ่านทางเครือข่ายไร้สายเช่น การเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (การสั่งการเปิดไฟฟ้าภายในบ้านด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์ควบคุม ) เครื่องมือทางการเกษตร รถยนต์ เครื่องจักร และอื่นๆเป็นต้น โดยหัวใจของ IOT คือ Sensor หรือ RFID ต่างๆ และ ระบบส่งข้อมูลและประมวลผลอย่างง่ายภายใน    แต่ในขณะที่ ระบบ ERP นั้น หัวใจสำคัญคือ การวางแผนทรัพย์กรขององคฺ์กรโดยใช้ข้อมูลเป็นฐาน ซึ่งระบบERP นั้นประกอบไปด้วย โปรแกรมต่างๆเช่น โปรแกรมบัญชี โปรแกรมบริหารการผลิต โปรแกรมจัดการงานขาย งานซื้อ การเงิน บุคคล และ อื่นๆที่เกี่ยวข้องกัน การนำระบบ ERP ไปเชื่อมกับ IOT จะเกิดขึ่นตั้งแต่ขั้นตอนการรับ Order ของลูกค้าผ่านทางระบบ ERP แล้ว โปรแกรมจะทำการประมวลผล …

แนวทางการประยุกต์ใช้ระบบ ERP เข้ากับ IOT Read More »

factory, industrial, manufacturer-6529742.jpg

โปรแกรมบัญชีสำหรับ ธุรกิจผลิต

อุตสาหกรรมการผลิต เป็นอะไรที่มีความเหมือนและแตกต่างจากอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆเช่นซื้อมาขายไป หรือ บริการ กล่าวคือ การขายสินค้าใดๆนั้น เราต้องเอาวัตถุดิบมาแปรรูปเสียก่อน โดยผ่านขั้นตอนการผลิตในขั้นต่างๆ ทั้งนี้อาจจะออกมาเป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ( Semi Product) หรือ สินค้่าสำเร็จรูปก็ได้ โดยใช้สูตรการผลิตเป็นตัวที่ใช้ในการควบคุมวัตถุดิบ ในแต่ละกระบวนการผลิต เราอาจจะใช้สูตรไม่เหมือนกัน และ ต้นทุนที่แตกต่างกันเช่น ในขั้นตอนการอบสี ต้องใช้เครื่องจักรเยอะ แต่ใช้คนน้อย ซึ่งจะทำให้ต้นทุนคนในกระบวนการนี้มีอยู่ไม่มาก แต่ในขณะที่ขั้นตอนการประกอบนี่ต้องใช้แรงงานคนเยอะ แต่ใช้เครื่องจักรไม่มาก ดังนั้นในการคุมต้นทุนผลิต เราต้องวิเคราะห์ให้ออกเป็นแต่ละกระบวนการว่ามีจุดที่ต้องพิจารณาหลักๆอะไรบ้าง และ มี Loss อะไรเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนบ้าง รวมถึงหลังจา่กมี Order เข้ามาแล้ว การวางแผนการผลิต จะต้องพิจารณาว่าเครื่องจักรใดว่าง และในแต่ละ Job งานต้องการทรัพยากรเท่าไหร่เพื่อจะทำงานให้เสร็จได้ทันเวลา โปรแกรมบัญชีโดยทั่วไปจะไม่ครอบคลุมความต้องการในด้านนี้ โดยมากกระบวนการทางบัญชีคือ เกิดการผลิต รับเบิกวัตถุดิบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ค่อยมาบันทึก จะไม่สามารถวางแผนการผลิตได้แน่นอน     โปรแกรมบัญชี AccCloud ได้ถูกออกแบบมาจากพื้นฐานของภาคการผลิตตั้งแต่เริ่มต้น ดังนั้นโปรแกรมบัญชี AccCloud.co จึงเป็นมากกว่าโปรแกรมบัญชีทั่วไป โดยสามารถทำในส่วนกระบวนการด้านการผลิตทั้งหมดที่ได้กล่าวมาในข้างต้นของบทความนี้ได้ รวมไปถึงทำนายการผลิต และ วิเคราะห์ในเชิง …

โปรแกรมบัญชีสำหรับ ธุรกิจผลิต Read More »

โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP

อะไรคึอ Web Service API

ในการทำงาน ทั่วไปแล้วมักมีแต่ละโปรแกรมเพื่อตอบสนองความต้องการคนละอย่างของเรา เช่น มีโปรแกรมบัญชีเพื่อทำบัญชี โปรแกรมบุคคลเพื่อทำเกี่ยวกับพนักงาน โปรแกรมบริหารโครงการเพื่อติดตามจัดการโครงการต่าง และเรามักอยากจะให้เอาข้อมูลของโปรแกรมโน้น มาใส่ใน โปรแกรมนี้ เช่นข้อมูลลูกค้าอยู่โปรแกรมขาย เราอยากจะได้มาในบัญชีเพื่อตั้งหนี้ด้วยได้ไหม หรือ ข้อมูลการผลิตอยู่โปรแกรมผลิต เราอยากจะเอาสินค้ามาในโปรแกรมสต๊อก เป็นต้น นี่เป็นปัญหาโลกแตกของการทำงานจริง ซึ่งเจอกันทุกที่ ดังนั้นในโลกของเทคโนโลยีจึงมีการกำหนดมาตรฐานการคุยกันของ Software ขึ้นมาหรือที่เราเรียกกันว่า Web Service หรือ API ที่ย่อมาจาก Application Programming Interface เป็น ช่องทางการเชื่อมต่อ ที่ทำให้โปรแกรมประยุกต์เชื่อมต่อกับโปรแกรมประยุกต์อื่น หรือเชื่ิอมการทำงานเข้ากับระบบปฏิบัติการตัวอย่าง เช่น Google Maps API คือบริการของGoogle อีกรูปแบบหนึ่งที่เราสามารถนำข้อมูลของ Google Maps ที่ทาง Google ให้บริการโดยส่วนมากจะนำมาใช้กับเว็บไซต์ ของบริษัทฯหรือเว็บไซต์ห้างร้านต่างๆ จากเว็บที่ดึง API แบ่งเป็น1.เอพีไอที่ขึ้นกับภาษา (language-dependent API) คือ API ที่สามารถการเรียกใช้จากโปรแกรมภาษาใดภาษาหนึ่งเท่านั้น และ 2. API …

อะไรคึอ Web Service API Read More »

โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP

วิธีการหาต้นทุนของสินค้าคงคลัง

ต้นทุนสินค้าคงคลังมี 4 ชนิด คือ 1) ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ (Ordering Cost) เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าคงคลังที่ต้องการ ซึ่งจะแปรตามจำนวนครั้งของการสั่งซื้อ แต่ไม่แปรตามปริมาณสินค้าคงคลัง เพราะสั่งซื้อของมากเท่าใดก็ตามในแต่ละครั้ง ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อก็ยังคงที่ แต่ถ้ายิ่งสั่งซื้อบ่อยครั้งค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อจะยิ่งสูงขึ้น ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อเช่น ค่าจ้างพนักงานจัดซื้อ ค่าโทรศัพท์ ค่าขนส่งสินค้า เป็นต้น 2) ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา (carrying Cost) เป็นค่าใช้จ่ายจากการมีสินค้าคงคลังและการรักษาสภาพให้สินค้าคงคลังนั้นอยู่ในรูปที่ใช้งานได้ ซึ่งจะแปรตามปริมาณสินค้าคงคลังที่ถือไว้และระยะเวลาที่เก็บสินค้าคงคลังนั้นไว้ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา 3) ค่าใช้จ่ายเนื่องจากสินค้าขาดแคลน (Shortage Cost หรือ Stock out Cost) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการมีสินค้าคงคลังไม่เพียงพอต่อการผลิตหรือการขาย ทำให้ลูกค้ายกเลิกคำสั่งซื้อ ขาดรายได้ที่ควรได้ กระบวนการผลิตหยุดชะงักเกิดการว่างงานของเครื่องจักรและคนงาน ฯลฯ ค่าใช้จ่ายนี้จะแปรผกผันกับปริมาณสินค้าคงคลังที่ถือไว้ นั่นคือถ้าถือสินค้าไว้มากจะไม่เกิดการขาดแคลน แต่ถ้าถือสินค้าคงคลังไว้น้อยก็อาจเกิดโอกาสที่จะเกิดการขาดแคลนได้มากกว่า 4) ค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องจักรใหม่ (Setup Cost) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่เครื่องจักรจะต้องเปลี่ยนการทำงานหนึ่งไปทำงานอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเกิดการว่างงานชั่วคราว สินค้าคงคลังจะถูกทิ้งให้รอกระบวนการผลิตที่จะตั้งใหม่ ค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องจักรใหม่นี้จะมีลักษณะเป็นต้นทุนคงที่ต่อครั้ง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดของล็อตการผลิต ในบรรดาค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าคงคลังต่างๆ เหล่านี้ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาจะสูงขึ้นถ้ามีระดับสินค้าคงคลังสูง และจะต่ำลงถ้ามีระดับสินค้าคงคลังต่ำ …

วิธีการหาต้นทุนของสินค้าคงคลัง Read More »

โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP

การจัดการการผลิต แบบ JUST IN TIME (JIT) คืออะไร

การผลิตแบบ Just In Time, JIT คือ การที่ชิ้นส่วนที่จำเป็นเข้ามาถึงกระบวนการผลิตในเวลาที่จำเป็นและด้วยจำนวนที่จำเป็นหรืออาจกล่าวได้ว่า JIT คือ การผลิตหรือการส่งมอบ “ สิ่งของที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ ด้วยจำนวนที่ต้องการ” ใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นเครื่องกำหนดปริมาณการผลิตและการใช้วัตถุดิบ     วัตถุประสงค์ของการผลิตแบบทันเวลาพอดี 1. ควบคุมวัสดุคงคลังให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุดหรือให้เท่ากับศูนย์ ( Zero inventory ) 2. ลดเวลานำหรือระยะเวลารอคอยในกระบวนการผลิต ( Zero lead time ) 3. ขจัดปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิต ( Zero failures ) 4. ขจัดความสูญเปล่าในการผลิต ( Eliminate 7 Types of Waste ) ดังต่อไปนี้ – การผลิตมากเกินไป ( Overproduction ) : ชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ถูกผลิตมากเกินความต้องการ – การรอคอย …

การจัดการการผลิต แบบ JUST IN TIME (JIT) คืออะไร Read More »

โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP

Big Data คืออะไร

Big Data คือเทคโนโลยีในการประมวลผลข้อมูลข่าวสารที่มีปริมาณมหาศาลที่มีเข้ามาไม่ว่าจะเป็นแบบ Batch หรือ แบบ Continuous Real time data ก็ได้โดยทั้งนี้ ฺBig Data มีทั้งรูปแบบที่มีโครงสร้าง อาทิเช่นจากระบบ ฐานข้อมูล (Database System) หรือ ไม่มีโครงสร้างเช่น จาก log file จาก Excel Spread Sheet หรือ จาก Sensor ต่างๆ ที่มีความหลากหลาย   ข้อมูลใน Big Data จะต้องมีคุณค่าในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการเก็บเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง เช่น ข้อมูลพฤติกรรมการใช้งาน ข้อมูลเชิงตัวเลขในรูปแบบต่างๆ โดยข้อดีของ Bigdata Technology คือ การประมวลผลของ Big DATA จะสามารถประมวลผลเชิงกระจาย (Distributed CPU) และ การประมวลผลเชิงขนาน (Parallel CPU) …

Big Data คืออะไร Read More »

qr code, scanner, bar code-156717.jpg

QR Code คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

ถ้าพูดถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในคลังสินค้า สิ่งนึงที่เรามักจะนึกถึงคือเครื่องสแกนบาร์โค้ดใข้ไหมครับ แต่อันที่จริงแล้วเครื่องสแกนก็เป็นแค่เครื่องอ่านเท่านั้นเอง แต่ตัวที่ปะไว้กับสินค้านั่นเราเรียกว่า บาร์โค้ด   บาร์โค้ดเป็นเทคโนโลยีที่มีมานานมากๆๆๆ ถ้านับถอยหลังไปก็ไม่ตำกว่า 20 ปี ที่มีใช้กันมา จวบจนทุกวันนี้ แต่อย่างไรก็ดีบาร์โค้ดที่มีมาจะมีปัญหาในเรื่องของการจุจำนวนตัวอักษรในบาร์โค้ดนั้นๆ ซึ่งถ้ามีมากเกินไป ตัว แท่งบาร์โค้ดก็จะติดกันแน่นจนอ่านไม่ออก ด้วยปัญหานี้ต่อมาจึงได้มีการพัฒนามาเป็น QRCode แล้ว QR Code คืออะไรล่ะ จริงๆแล้ว QR Code ก็คือ Barcode นี่แหล่ะครับแต่เป็น 2 มิติ ซึ่งสามารถเก็บจำนวนตัวอักษรได้เป็นพันตัวอักษรเลยทีเดียว ดังนั้น เราจึงสามารถนำ QR Code มาประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น แสดง URL ของเว็บไซต์, ข้อความ, เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลที่เป็นตัวอักษรได้อีกมากมาย หรือ เราจะเห็นเอา QR code มาแสดง URL ของเว็บไซต์ กันโดยทั่วๆไป QR Code จึงมักจะเป็น แอฟนึงในอุปกรณ์มือถือของเราที่ติดตั้งพร้อมกับตัวเครื่องเพื่อช่วยในการแสดงและ …

QR Code คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง Read More »

โปรแกรมบัญชี AccCloud ERPโปรแกรมบัญชี AccCloud ERP

อะไรคือ มาตรฐานอุตสาหกรรม และ การขอ มอก ทำอย่างไร

ถ้าพูดถึงคำว่ามาตรฐานอุตสาหกรรม ทุกท่านย่อมเคยได้ยินกันมาก่อนเป็นเวลาช้านานแล้ว วันนี้เราจะมารู้จักกับความหมายที่แท้จริงของ มาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกัน ว่าคืออะไรกันแน่  “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” หมายถึงข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.)ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด โดยประกอบ ด้วยเกณฑ์ทางเทคนิค คุณสมบัติที่สำคัญ ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุที่นำมาผลิต และวิธีการทดสอบ เช่นมาตรฐานแอร์ประหยัดพลังงานเบอร์ 5 ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง เป็นต้น     ขั้นตอนการดำเนินงานขอมาตรฐาน มอก. สำหรับผู้ผลิตในประเทศประกอบไปด้วยกระบวนการดังนี้ 1. ขออนุญาตผลิตจากกระทรวงอุตสาหกรรม 2. จัดเตรียมตัวอย่างเพื่อการทดสอบ (ต้องใช้ห้อง Lab. ที่ใช้ทดสอบตามกำหนดของ สมอ) 3. เมื่อตัวอย่างผ่านการทดสอบ จะมีการเข้าไปตรวจโรงงานโดยเจ้าหน้าที่ สมอ 4. เมื่อผ่านขั้นตอนการตรวจโรงงานเรียบร้อยแล้ว จึงจะได้รับใบอนุญาตให้ทำการผลิตและใช้ตรา ม.อ.ก ได้ 5. ใบอนุญาตการผลิตจะมีผลตลอดไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆในเนื้อหามาตรฐานนั้นๆ 6. จะมีการตรวจติดตามผลโรงงานผลิต ปีละครั้ง 7. ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบใน ค่าใช้จ่ายเช่น การทดสอบ ใบอนุญาตการผลิต ค่าเดินทาง ค่าตรวจโรงงานผลิตครั้งแรก ค่าตรวจติดตามผลโรงงานผลิตในปีถัดไป 8. …

อะไรคือ มาตรฐานอุตสาหกรรม และ การขอ มอก ทำอย่างไร Read More »

Education Template

Scroll to Top