Year: 2021

plan, objective, strategy-2372176.jpg

ปัจจัยเบื้องต้นกับการวางแผนการผลิต

การวางแผนและควบคุมการผลิต   มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดและให้เป็นที่พอใจแก่ความต้องการของลูกค้าความหมายของทรัพยากรในที่นี้รวมหมายถึงสิ่งอํานวยความสะดวกในการผลิตเช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์แรงงานและวัตถุดิบ การใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดนั้น เป็นหน้าที่ของผู้บริหารโรงงาน โดย ผ่านหน้าที่ของฝ่ายวางแผนและควบคุมการผลิต โดยมีหน้าที่เกี่ยวกับการพยากรณ์การวางแผน การ กําหนดงาน การวิเคราะห์การควบคุมสินค้าคงคลัง และการควบคุมการดําเนินงานการผลิต   ดังนั้น ในขั้นตอนของการวางแผน จะต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ เช่น จำนวนของสินค้าคงคลัง เครื่องจักร หรือ แรงงานที่สามารถใช้ได้ ณ เวลาหนึ่งๆ ระยะเวลาในการรอคอยของลูกค้า(ความเร่งด่วน) และต้นทุนที่เกี่ยวข้องมาช่วยในการตัดสินใจ การจัดส่งต่างๆ และอื่นๆตามในรูปที่ 1 แสดงถึงตัวแปรที่เกี่ยวข้องสำหรับการตัดสินใจวางแผนการผลิต      รูปที่ 1 แสดงผังการตัดสินใจในการวางแผนการผลิต การวางแผนและควบคุมการผลิต 1 การจัดตารางการผลิตหลัก (Master Production Scheduling : MPS)   การจัดตารางการผลิตหลัก (MPS) เป็นการจัดทําแผนการผลิตที่ระบุเจาะจงลงไปว่าจะ ทําการผลิตชิ้นงานอะไร จํานวนเท่าใด และจะต้องเสร็จสมบูรณ์เมื่อใด โดยทั่วไปมักจะจัดทํา ตารางการผลิตหลักเป็นรายเดือนหรือรายสัปดาห์ ข้อมูลในตารางการผลิตหลักจะมาจากการแปลงค่าจากการพยากรณ์ยอดขาย ซึ่งอาจจะคํานวณ ตามหลักทางสถิติหรือมาจากใบสั่งซื้อของลูกค้า   …

ปัจจัยเบื้องต้นกับการวางแผนการผลิต Read More »

worker, grinder, factory-5736096.jpg

วิธีการลดต้นทุนการผลิต

    วิธีการลดต้นทุนการผลิต 7 ประการ 1) ความสูญเสียจากการผลิตมากเกินความจำเป็น (over production) นำมาซึ่งการ Over stock ของสินค้าคงคลัง การผลิตที่มากเกินความจำเป็นหรือความต้องการของลูกค้า เนื่องมาจาก 1.1 ประมาณการความต้องการผลิตภัณฑ์ผิดพลาด 1.2 การวางแผนการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ 1.3 อื่นๆ แนวทางในการลดต้นทุนที่เกิดจากการผลิตมากเกินความจำเป็น ฝ่ายขายต้องคอยอัพเดตและวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณการสั่งซื้อของลูกค้า ฝ่ายวางแผนการผลิตต้องมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายขายเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ 2) ความสูญเสียจากการรอคอย(Waiting) การรอคอยเป็นกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์และมูลค่า สาเหตุที่ทำให้เกิดการรอคอย วัตถุดิบไม่เพียงพอ เครื่องจักรเสีย แนวทางในการลดต้นทุนที่เกิดจากการรอคอย มีการกำหนด safety stock ที่เหมาะสม จัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร (preventive maintenance) เพื่อลดการหยุดการผลิตที่เกิดจากเครื่องจักรเสีย(machine break down) 3) ความสูญเสียจากการขนส่ง(Transportation) สาเหตุของความสูญเสียจากการขนส่ง วางผังโรงงานที่ขาดประสิทธิภาพ วางแผนกระบวนการที่ขาดประสิทธิภาพ การลดต้นทุนการผลิตที่เกิดจากการขนส่ง ทำการปรับผังกระบวนการผลิตและผังโรงงานโดยคำนึงถึงความต่อเนื่อง, 4) ความสูญเสียจากการเก็บวัสดุคงคลังมากเกินไป(Excess Inventory) สาเหตุของของสูญเสียจากการเก็บวัสดุคงคลังมากเกิน เป็นผลมากจากการผลิตที่มากเกิน จำนวนจัดเก็บเพื่อความปลอดภัย และ …

วิธีการลดต้นทุนการผลิต Read More »

องค์กรแห่งการเรียนรู้ คืออะไร

คำว่าการเรียนรู้นั้นเป็นหัวใจสำคัญของการเติิบโตขององค์กร ดังนั้นองค์กรที่ดีจะต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช ได้กล่าวไว้ว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นองค์กรที่ทำงานผลิตผลงานไปพร้อม ๆ กับเกิดการเรียนรู้ สั่งสมความรู้ และสร้างความรู้จากประสบการณ์ในการทำงาน พัฒนาวิธีทำงานและระบบงานขององค์กรไปพร้อม ๆ กัน ซึ่ง ผลลัพธ์ (Output) ขององค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ ผลงานตามภารกิจที่กำหนด การสร้างศาสตร์หรือสร้างความรู้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติภารกิจขององค์กรนั้น รวมทั้งการสร้างคน อันได้แก่ ผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์กร หรือมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับองค์กร จะเกิดการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยอาศัยการทำงานเป็นฐาน องค์กรแห่งการเรียนรู้ จะมีลักษณะเป็นพลวัต (dynamic) มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของพัฒนาการด้านต่าง ๆ คล้ายมีชีวิต มีผลงานดีขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และการสร้างนวัตกรรม (innovation) รวมทั้งมีบุคลิกขององค์กร ในลักษณะที่เรียกว่า วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) ที่ผู้เกี่ยวข้องสัมพันธ์สามารถรู้สึกได้       แนวทางในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Senge (1992) มีหลักการพื้นฐานทั้งสิ้น 5 …

องค์กรแห่งการเรียนรู้ คืออะไร Read More »

ecommerce, selling online, online sales-2140603.jpg

วิธีการหาจุดสั่งซื้อสินค้าที่ประหยัดที่สุด

   หากท่านทำธุรกิจด้านการผลิต มักจะมีคำถามว่าจะสั่งซื้อวัตถุดิบเมื่อไหร่ดี จำนวนละเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม ในบทความนี้จะอธิบายวิธีการคำนวณจำนวนและ ช่วงเวลาในการสั่งซื้อที่เหมาะที่สุดแบบง่ายๆให้ทุกท่านอ่านกันครับ   การหาจุดสั่งซื้อที่ประหยัด เป็นเทคนิคในการคำนวณจำนวนในการสั่งซื้อที่เหมาะสม แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการต้องทราบด้วยเช่นกันว่า ในปีนั้นๆต้องสั่งสินค้าเท่าไหร่ เทคนิคนี้จะมีไว้เพื่อบริหารคลังสินค้าไม่ให้มีสินค้าคงคลังเหลือมากหรือน้อยเกินความจำเป็น   (โดยทั่วไปการที่มีสินค้าเหลือมากเกินไปจะทำให้เกิดต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าสูงมาก ในขณะสินค้าที่เหลือน้อยเกินไปอาจเกิดความเสี่ยงต่อการผลิต หรือ สินค้าหมดและเสียโอกาสในการขายได้)   จุดสั่งซื้อที่ประหยัดหรือ Economic Order Quantity (EOQ) จึงเป็นวิธีคำนวณที่ช่วยให้สามารถสั่งสินค้าได้ในปริมาณที่เหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามมีข้อระวังคือ EOQ อาจจะคลาดเคลื่อนได้ในกรณีที่ประมาณการสินค้าที่ต้องการใช้ในแต่ละปี (D) มากหรือน้อยเกินไปจากความเป็นจริง ดังสูตรนี้      เมื่อ D คือ ปริมาณความต้องการสินค้าทั้งปี   S คือ ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อแต่ละครั้ง   H คือ ต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าต่อหน่วยต่อปี   เช่นบริษัท A มีความต้องการสินค้าต่อปีเท่ากับ 7000 หน่วย โดยต้นทุนในการสั่งซื้อแต่ละครั้งเท่ากับ 20 บาท และมีต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้า 1.5 บาทค่อหน่วยต่อปี …

วิธีการหาจุดสั่งซื้อสินค้าที่ประหยัดที่สุด Read More »

โปรแกรมบัญชี AccCloud ERP

Internet Of Things (IOT) Part 1

    หลายๆท่านอาจจะสงสัยว่าอะไรคือ Internet Of Thing (IOT) ที่กำลังเป็นกระแสในขณะนี้ บทความนี้ผมจะอธิบายหลักการและการนำไปใช้คร่าวๆของ IOT ว่าคืออะไร แนวคิดของ IOT จริงแล้วเริ่มมาตั้งแต่ปี 1999 โดย Kevin Aston นักวิทยาศาสตร์ประจำสถาบัน MIT ที่อเมริกา ได้เริ่มต้นจากการทำ RFID Sensors มาทำการเชื่อมต่อกัน (ปัจจุบันเราใช้คำว่า smart มาแทนสื่อความหมายของการเชื่อมต่อ) โดยประโยชน์ของการเชื่อมต่อเหล่านี้กับอุปกรณ์ขั้นมูลฐานมันจึงทำให้เครื่องมือคุยกันได้รู้เรื่องผ่านในโครงข่ายของมันเอง ต่อมากมีการเพิ่ม Sensor node ขึ้นมา จึงทำให้เกิด Wireless Sensor Node (WSN) ขึ้นให้กับอุปกรณ์ต่างสามารถเชื่อมต่อกันได้ และเครื่องมีอต่างๆเหล่านั้นจะมีการเชื่อมต่อกันภายใต้เทคโนโลยี ด้านการเข้าถึง (Access Technology อยู่ 3 ประเภทด้วยกันคือ 1. Bluetooth 4.0 , IEEE 802.15.4e , WLAN IEEE 802.11 …

Internet Of Things (IOT) Part 1 Read More »

การตลาด 4.0 คืออะไร และจะช่วยอย่างไรในธุรกิจเราได้

      การตลาด 4.0 เป็นวิธีการทำตลาด แบบonline + offline ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและลูกค้าเข้าด้วยกัน โดยใช้การเชื่อมต่อให้เป็นประโยชน์ในการสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้า เพื่อสร้างแบรนด์ โดยเป็นการกำหนดนิยามใหม่ให้กับการตลาด ซึ่งการตลาด Digital และการตลาดแบบ Traditional จะสามารถดำเนินการควบคู่กันไปในการตลาด 4.0 โดยมีเป้าหมายเพื่อชนะใจลูกค้า “แก่นแท้ของการตลาด 4.0 คือการเข้าใจถึงการเปลี่ยนบทบาทของการตลาดแบบดั้งเดิม ร่วมกับการตลาดดิจิทัลในการสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้า”   แนวทางสำคัญของการตลาด 4.0 เริ่มจากการตลาดที่ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ ซึ่งเน้นการทำให้แบรนด์มีคุณลักษณะคล้ายมนุษย์ จากนั้นจะศึกษาเรื่องการตลาดคอนเทนต์ (Content Marketing) ให้ละเอียดยิ่งขึ้นเพื่อสร้างบทสนทนาที่โดนใจผู้บริโภค รวมทั้งการนำการตลาดแบบเข้าถึงแบรนด์ได้ทุกช่องทาง หรือ Omnichannel Marketing มาใช้เพิ่มยอดขาย   หลักการของ Thailand 4.0 จะเน้นอยู่ 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ   1.) เปลี่ยนแปลงจากการผลิตสินค้าทั่วไป เป็นสินค้าเชิงนวัตกรรมมากขึ้น 2.) มีการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในอุตสาหกรรม 3.) …

การตลาด 4.0 คืออะไร และจะช่วยอย่างไรในธุรกิจเราได้ Read More »

Google Trends คืออะไร

Google Trends คืออะไร และมีประโยชน์ต่อธุรกิจเราอย่างไร

บ้างทีเราก็อยากตามทันเทรนโลกปัจจุบันบ้าง แต่ก็ไม่รู้ว่าจะต้องตามยังไงให้ทัน วันนี้เรามีเครื่องมือ Google ที่จะมาช่วยให้คุณตามทันทุกเทรนทั้งในและต่างประเทศแล้ว Google Trends คืออะไร? Google Trends คือ เครื่องที่ช่วยในการวิเคราะห์แนวโน้มการค้นหาคำต่างๆ ผ่าน Google Search Engine กล่าวคือทุกครั้งที่เราทำการดำค้นอะไรก็ตาม Googleจะจดจำที่เราพิมพ์เข้าไป และ จะประมวลผลเอามาแสดงให้เห็นว่า ในแต่ละ keyword มีการค้นหามากน้อยแค่ไหน โดยข้อมูลจะแสดงเป็นเส้นกราฟเส้นดังรูป    จะสังเกตได้ว่า คำค้นหาว่า AKB48 มีการค้นหาในปริมาณที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับใน keyword อื่นๆ   ดังนั้นหากเราต้องการวิเคราะห์ keyword ใด ก็สามารถใช้เครื่องมือนี้ช่วยได้ทันที ประโยชน์ที่เห็นๆคือ การช่วยวิเคราะห์ด้านการตลาด Google Trends ช่วยอะไร? Google Trends นั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการทำการตลาด ทั้งในเรื่องของเทรนในการทำคอนเทนต์ หรือแม้แต่การเปรียบเทียบจำนวนการค้นหาหรือโอกาสทางการตลาด เช่น  นำมาช่วยวัด Rating ของสินค้าของเราจะจัดจำหน่าย เช่น เสื้อสีฟ้า เสื้อสีม่วง เสื้อสีเหลือง เราเพียงแค่พิมพ์ keyword …

Google Trends คืออะไร และมีประโยชน์ต่อธุรกิจเราอย่างไร Read More »

question, mark, answer-4105529.jpg

การแยกประเภทของความรู้สำหรับการจัดการความรู้

การทำงานในยุคปัจจุบันนี้ ความรู้นับเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก เรียกว่าเป็นหัวใจของความสำเร็จในการทำงานทุกประเภท วันนี้ผมจะอธิบายประเภทของความรู้ให้ทุกๆท่านได้ฟังคร่าวๆครับว่า ความรู้มีกี่ประเภทอะไรบ้าง อันไหนเอามาใช้ได้ทันที อันไหนเอามาใช้ได้ไม่ทันที Sallis and Jone (2002)ได้กล่าวไว้ว่า ความรู้นับเป็นสินทรัพย์อันมีค่ายิ่งขององค์กร ในการสร้างสรรค์ และ เพิ่มคุณค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยความรู้อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ความรู้ที่ปรากฏชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดโดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบของเอกสาร ตำรา ทฤษฎี คู่มือ บางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบ “รูปธรรม” และความรู้ซ้อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เป็นภูมิปัญญา พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทําความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็น ทักษะการทํางานงานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์บางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบ “นามธรรม” การนำความรู้ทั้งสองประเภทมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาองค์กร องค์กรจำเป็นต้องมีความตระหนักและกำหนดวิสัยทัศน์ให้ขัดเจนว่า ความรู้เป็นปัจจัยหลักในการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ และ ผู้นำจำเป็นจะต้องเห็นค่าของการจัดการความรู้รวมถึงการมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการสร้างองค์ความรู้ วิจารณ์ พานิช (2547) ได้แบ่งความรู้ออกเป็น 3 ประการดังนี้คือ …

การแยกประเภทของความรู้สำหรับการจัดการความรู้ Read More »

study, learn, classroom-2831334.jpg

แนวทางการ สร้างความรู้ ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร

การสร้างความรู้เราจึงต้องรู้จักการนำความรู้ที่ไม่ชัดเจนขึ้นมาให้เป็นความรู้ที่ชัดเจน โดยมีแนวคิดสร้างความรู้ซึ่ง Nonaka (1994) ได้พัฒนารูปแบบการเปลี่ยนแปลงของความรู้ที่เรียกว่า SECI Model ( Socialization, Externalization, Combination, Internalization) โดยมีหลักการดังแสดงในภาพประกอบ ดังนี้      ภาพ แสดงถึง การทำให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ โดยพัฒนาวงจรของ Tacit และ Explicit Knowledge ตามรูปแบบดังกล่าว การสร้างความรู้เกิดขึ้นใน 4 ลักษณะ คือ Socialization, Externalization, Combination, และ Internalization สำหรับ Socialization คือ การแบ่งปันและสร้าง Tacit Knowledge ด้วยการสื่อสารระหว่างกันในสิ่งที่เป็น Tacit Knowledge ของผู้ที่สื่อสารกัน ซึ่งจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรง เช่น การมีปฏิสัมพันธ์ของบริษัทกับลูกค้าและผู้รับจ้างช่วง หรือลักษณะ “การจัดการด้วยการเดินเยี่ยมในที่ทำงาน” (Management by walking around, MBWA) เมื่อมีการแบ่งปันข้อมูลด้วยกระบวนการทางสังคมดังกล่าวแล้ว …

แนวทางการ สร้างความรู้ ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร Read More »

brain, turn on, training-770044.jpg

องค์ประกอบของการจัดการความรู้

บทความนี้จะยาวหน่อยนะครับ (ตั้งใจเขียนพอสมควร) เรื่องนี้ค่อนข้างจำสำคัญคือองค์ประกอบของการจัดการความรู้ ครับ      ในการจัดการความรู้โดยทั่วไปมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนคือ คน (man) เทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology-IT) และกระบวนการจัดการความรู้ (process) โดย Awad and Ghaziri (2004) ได้กล่าวถึง ความสำเร็จของความรู้เกิดจากการผสมผสานระหว่างการทำงานของคน กระบวนการ และ เทคโนโลยี มีรายละเอียดดังนี้ ก. องค์ประกอบแรกสุดคือ คน (man) ในการจัดการความรู้ คนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เนื่องจากคนเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ส่วนบุคคล (personal knowledge management-PKM) คือ ผู้ซึ่งต้องการจัดการความรู้เพื่อการใช้ประโยชน์กับตัวเอง จึงสามารถจัดการทุกอย่างทุกขึ้นตอนได้เองเป็นส่วนใหญ่ อาจจะมีบ้างที่ต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่น(ศรัญญาภรณ์ , 2554) บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดการความรู้หรือ KM Team ขององค์กรอาจแบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆด้วยกัน คือ ส่วนงานหลักหรือส่วนงานถาวร (core team or permanent team) …

องค์ประกอบของการจัดการความรู้ Read More »

Education Template

Scroll to Top